นายวรวรรต ศรีสอ้าน รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร โครงการ วัน แบงค็อก กล่าวว่า “วัน แบงค็อก ให้ความสำคัญกับแนวคิดการพัฒนาเมืองยั่งยืน และสนับสนุนงานด้านศิลปะและวัฒนธรรมมาอย่างต่อเนื่อง พร้อมยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้คน และผสานเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนอย่างสมบูรณ์ เรามีความยินดีที่ได้ร่วมมือกับหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร ภายใต้วิสัยทัศน์ด้านการสนับสนุนศิลปะและวัฒนธรรม โดยการจัดนิทรรศการ “เมืองเปลี่ยนแปลง : วัน แบงค็อก เอดิชัน”
ครั้งนี้ ได้นำผลงานบางส่วนจากนิทรรศการ “เมืองเปลี่ยนแปลง” ที่จัดขึ้นที่หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร ระหว่างเดือนธันวาคม 2564 - เมษายน 2565 มาจัดแสดงในมุมมองใหม่ โดยคัดเลือกผลงานของนักสร้างสรรค์ 3 ท่านที่นำเสนอให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงของกรุงเทพฯ ในหลากหลายมิติ และบริบทที่แตกต่างกัน ตั้งแต่อดีต ปัจจุบัน จนถึงอนาคต ตลอดจนความมุ่งมั่นในการสร้างความเปลี่ยนแปลงที่ดีให้กับเมืองนี้ ซึ่งสอดคล้องกับเป้าหมายของวัน แบงค็อก ที่จะร่วมเสริมสร้างศักยภาพของกรุงเทพฯ ให้ก้าวสู่การเป็นจุดหมายปลายทางในฐานะศูนย์กลางของประสบการณ์ระดับโลกสำหรับทุกไลฟ์สไตล์ ที่สร้างสรรค์ขึ้นภายใต้แนวคิดที่คำนึงถึงผู้คนเป็นหลัก ความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม และสมาร์ท ซิตี้ เพื่อการใช้ชีวิตในเมืองที่สมบูรณ์แบบในอนาคต”
ทั้งนี้ นิทรรศการ “เมืองเปลี่ยนแปลง : วัน แบงค็อก เอดิชัน” มีวัตถุประสงค์ที่จะสื่อให้เห็นว่า ถึงแม้ว่ามนุษย์จะเป็นเพียงส่วนหนึ่งของระบบนิเวศ แต่มนุษย์ ไม่ว่าจะในฐานะปัจเจกบุคคล กลุ่มคน หรือชุมชน ต่างก็เป็นส่วนสำคัญที่จะสร้างการเปลี่ยนแปลงที่ดีให้เกิดขึ้นกับเมืองได้เช่นกัน ผ่านผลงานของ 3 นักสร้างสรรค์ที่ร่วมสำรวจเมืองเปลี่ยนแปลง ดังนี้
- เมืองเปราะบาง / ภาพฟิล์มกระจกเมืองกรุงเทพฯ โดย ผศ. ดร. พีรศรี โพวาทอง อาจารย์ประจำคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้เชี่ยวชาญด้านประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรมไทยสมัยรัตนโกสินทร์ ซึ่งถ่ายทอดความเปลี่ยนแปลงของกรุงเทพฯ ผ่านทางภาพถ่ายฟิล์มกระจก ซึ่งมีทั้งภาพที่สมบูรณ์และภาพที่ชำรุดบางส่วน เพื่อนำเสนอมุมมองของเมืองที่ไม่สมบูรณ์แบบและมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ตลอดจนสะท้อนความเป็นไปได้ใหม่ ๆ ในการมองเมืองกรุงเทพฯ ทั้งตามความเป็นจริงและในอุดมคติ
- บันทึกประสบการณ์สำรวจเครือข่ายสัญจรทางน้ำในเขตกรุงเทพและปริมณฑล, 2564 โดย วิชญ์ พิมพ์กาญจนพงศ์ ศิลปิน นักออกแบบ และผู้ก่อตั้ง DuckUnit ซึ่งสำรวจเครือข่ายแม่น้ำลำคลองในปัจจุบันของกรุงเทพฯ และปริมณฑล ในฐานะโครงสร้างพื้นฐานและเครือข่ายการสัญจรทางธรรมชาติ ซึ่งครั้งหนึ่งเคยเป็นเส้นทางการคมนาคมหลัก จนเกิดความเข้าใจในธรรมชาติที่ถูกละเลย และค้นพบการเดินทางรูปแบบใหม่บนโครงสร้างพื้นฐานเดิมของเมือง ซึ่งเป็นอีกหนึ่งรูปแบบในการใช้ชีวิต ทั้งในปัจจุบันและอนาคต
-ไบโอจีเนซิส 2121 โดย สุริยะ อัมพันศิริรัตน์ สถาปนิกรางวัลศิลปาธร และผู้ก่อตั้ง Walllasia นำเสนอมุมมองของการปรับตัวเพื่ออยู่ร่วมกับการเปลี่ยนแปลงของเมืองในอนาคต ผ่านบริบทเชิงสัญลักษณ์ของน้ำและที่อยู่อาศัย เพื่อหาคำตอบเกี่ยวกับความสัมพันธ์และการอยู่ร่วมกันระหว่างสิ่งต่าง ๆ ในระบบนิเวศ ทั้งผู้คน น้ำ ต้นไม้ แสงอาทิตย์ และเทคโนโลยี
“เราตระหนักถึงการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นของภูมิทัศน์ในกรุงเทพฯ จึงพร้อมสนับสนุนและร่วมมือกับทุกภาคส่วนในการพัฒนาความก้าวหน้าให้กับเมืองและมุ่งมั่นนำพากรุงเทพฯ ไปสู่การเปลี่ยนแปลงที่ดี นอกจากนี้เราพร้อมที่จะร่วมมือกับองค์กรด้านศิลปะและวัฒนธรรมต่าง ๆ เพื่อร่วมสร้างชุมชนศิลปะที่ยั่งยืนให้กับประเทศไทยต่อไป ซึ่งนิทรรศการครั้งนี้จะเปิดพื้นที่แห่งการเรียนรู้ให้ผู้คนได้เข้ามาสำรวจความเปลี่ยนแปลงของกรุงเทพฯ ในมิติต่างๆ ผ่านมุมมองทางศิลปะ ตลอดจนสร้างแรงขับเคลื่อนในการมีส่วนร่วมที่จะเปลี่ยนแปลงกรุงเทพฯ ให้ดียิ่งขึ้นอย่างยั่งยืนในอนาคต” นายวรวรรตกล่าวเสริม
นิทรรศการ “เมืองเปลี่ยนแปลง : วัน แบงค็อก เอดิชัน” จัดแสดงที่เดอะ พรีลูด วัน แบงค็อก (The Prelude One Bangkok) ตั้งแต่วันที่ 11 พฤษภาคม – 31 สิงหาคม 2565 นี้ นอกจากนี้ผู้เข้าชมยังสามารถเรียนรู้รายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับนิทรรศการบนโมบายแอปพลิเคชันของ The Prelude