x
icon-filter ค้นหาบ้าน
product filter
product filter
product filter
product filter
product filter
product filter
product filter
product filter
product filter
product filter

วิธีเลือกปลั๊กพ่วงสำหรับใช้ในบ้าน ต้องดูอะไรบ้าง ?

icon 15 พ.ย. 64 icon 6,168
วิธีเลือกปลั๊กพ่วงสำหรับใช้ในบ้าน ต้องดูอะไรบ้าง ?
แทบทุกบ้านจะต้องซื้อปลั๊กพ่วงมาใช้งานกันทั้งนั้น ซึ่งการเลือกซื้อปลั๊กพ่วงไม่ใช่จะเลือกซื้อจากราคาที่ถูก เพราะเป็นเรื่องของไฟฟ้า อะไรที่ถูกๆ ต้องคิดไว้ก่อนว่าไม่ได้มาตรฐานแน่ๆ หรือที่แพงที่สุดก็อาจจะไม่ได้ดีเสมอไป เพราะอาจจะเกิดจากพ่อค้าแม่ค้าหัวใส หลอกใช้ของเกรดต่ำมาย้อมแมวขายในราคาสูงเกินจริงอีกก็เป็นได้ เพราะฉะนั้นวันนี้เราเลยเอาวิธีการเลือกซื้อปลั๊กพ่วงสำหรับใช้ในบ้านมาให้ดูกันเป็นหลักการซื้อเบื้องต้นสำหรับคนที่ไม่ค่อยชำนาญในเรื่องนี้ มาให้ทำความเข้าใจกันแบบง่ายๆ มาฝากค่ะ
ทำความรู้จักกับแต่ละส่วนของปลั๊กพ่วง
ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักกับปลั๊กพ่วงที่เราคุ้นเคยกันดีกันก่อนค่ะ แต่หลายคนก็อาจจะไม่รู้ว่าแต่ละส่วนเรียกว่าอะไร เอาแบบง่ายๆ ที่คนทั่วไปเรียกกันก็จะมีประมาณนี้ค่ะ

ปลั๊กไฟมาตรฐาน มอก. ที่มีความปลอดภัยเบื้องต้น หน้าตาจะประมาณนี้ค่ะ
 
เลือกปลั๊กไฟใช้ในบ้าน ต้องดูอะไรบ้าง
 
1. มีมาตรฐาน มอก. ปลั๊กพ่วง
สิ่งแรกที่เราต้องคำนึงในการเลือกซื้อปลั๊กพ่วงก็คือมีมาตรฐาน มอก.2432-2555 นั่นเองค่ะ ซึ่งต้องระบุไว้ในตัวปลั๊กเลย (ไม่ใช่แค่ในสายไฟ) จึงจะเป็นมาตรฐานที่ครอบคลุมทั้งหมดของตัวปลั๊ก ทั้งสายไฟ ตัวเต้ารับ และเต้าเสียบของปลั๊กพ่วงทั้งหมด ถ้ามีมาตรฐานนี้ก็จะวางใจได้ในระดับหนึ่งว่าเราสามารถซื้อมาใช้งานในบ้านได้เลย อย่างไรก็ตาม ยังมีข้อพิจารณาอื่นๆ อีก ในข้อต่อๆ ไปค่ะ
 
2. ดูกำลังไฟของปลั๊กพ่วง
กำลังไฟที่ใช้จะถูกกำหนดไว้ในฉลากของสินค้า สำหรับ มอก.2432-2555 กำหนดให้ปลั๊กพ่วงรองรับแรงดันไฟฟ้าตั้งแต่ 50V - 440V (มาตรฐานอยู่ที่ 250V) และรองรับกระแสไฟฟ้าได้ไม่เกิน 16Amps ซึ่งโดยปกติ เต้ารับในบ้านโดยทั่วไป รองรับกระแสไฟฟ้าได้ไม่เกิน 16Amps อยู่แล้วค่ะ ส่วนจะนำเอาไปใช้กับอะไรในบ้านนั้นต้องดูที่กำลังไฟค่ะ ถ้าปลั๊กพ่วงอันไหนไม่ได้บอกกำลังไฟ (วัตต์) เราสามารถคิดได้คร่าวๆ จากการนำตัวเลข Volt x Amps = (วัตต์) ค่ะ สมมติว่าเราซื้อปลั๊กพ่วงมา ระบุไว้ว่าแรงดันไฟฟ้า 250V และกระแสไฟฟ้า 16A ก็จะได้ตัวเลขกำลังไฟฟ้าที่ประมาณ 4000 (250V x 16A = 4000W) แต่ไม่ควรใช้จนเต็ม 4000 อยู่ดีนะคะ ถ้ายี่ห้อไหนระบุกำลังไฟฟ้าไว้เลยก็จะดีมาก

บางยี่ห้อระบุกำลังไฟฟ้าไว้เลย
เราต้องเลือกไปใช้งานให้ถูกต้องตามกำลังไฟที่ระบุไว้ด้วยค่ะ เพราะถ้าหากใช้งานเกินกำลังไฟฟ้าที่ปลั๊กพ่วงรับได้ จะทำให้ปลั๊กไฟทำงานหนักเกินไป อาจจะเกิดอันตรายได้ค่ะ สำหรับปลั๊กพ่วงที่มีช่องรับเยอะๆ นั่นไม่ได้หมายความว่าจะสามารถรับกำลังไฟฟ้าได้เยอะตามนะคะ สมมติว่าปลั๊กพ่วงมีกำลังไฟ 2,200 วัตต์ ก็จะสามารถรับกำลังไฟของเครื่องใช้ไฟฟ้าทั้งหมดรวมกันได้ไม่เกิน 2,200 วัตต์เช่นกัน
 
3. วัสดุผลิตจากอะไร ?
วัสดุที่นำมาทำปลั๊กพ่วงนั้นต้องเป็นวัสดุที่ทนความร้อนได้สูงตามมาตรฐาน เป็นพลาสติกคุณภาพสูงเช่น พลาสติก ABS หรือ พลาสติก AVC หรือ โพลีคาร์บอเน็ต เป็นต้น ซึ่งจะมีคุณสมบัติในการช่วยยับยั้งการลุกลามของไฟไม่ให้สร้างความเสียหายไปยังส่วนอื่นๆ ได้ บางยี่ห้อจะระบุถึงความปลอดภัยไว้ บวกกับถ้ามีตรามอก. ก็เชื่อถือได้ในระดับหนึ่งค่ะ
 
4. ความปลอดภัย มีสายดินหรือไม่ มีตัวตัดไฟไหม ?
ปัจจุบันปลั๊กพ่วงถูกกำหนดให้เต้าเสียบต้องมี 3 รูเท่านั้น ซึ่งรูที่สามที่เป็นก้านเดี่ยวๆ อันนั้นคือขั้วสายดิน แต่เราก็ยังเห็นแบบ 2 รูวางขายอยู่บ้าง อันนั้นทางกฏหมายกำหนดให้ขายได้จนกว่าจะหมดสต๊อกนั่นเองค่ะ ไม่สามารถผลิตเพิ่มได้แล้ว แต่ก็ยังมีผู้ผลิตหัวใส ทำปลั๊ก 3 รูออกมา แต่เป็นรูหลอก รูเปล่าๆ ที่ไม่ใช่สายดิน ซึ่งสังเกตเอาได้จากราคาที่ถูกจนผิดปกติ และแน่นอนว่าไม่มีมาตรฐาน มอก.2532-2555 ซึ่่งอาจจะเป็นอันตรายได้
นอกจากนี้ต้องมาดูเรื่องอุปกรณ์ป้องกันกระแสไฟฟ้าเกิน ถ้าหากเต้ารับของปลั๊กพ่วงมีเกิน 3 ช่องขึ้นไป จะต้องมี Circuit Breaker หรือ Circuit Switch เท่านั้น กฏหมายได้มีการห้ามให้ใช้ระบบฟิวส์นะคะ ถึงแม้ว่าจะเป็นตัวตัดไฟเหมือนกัน แต่ด้วยความเสี่ยงในหลายๆ อย่างที่อาจเกิดขึ้นได้ มอก. จึงระบุให้ระบบฟิวส์นั้นผิดมาตรฐานของมอก. สำหรับระบบ Circuit Bearker หรือ Circuit Switch มีหลายเกรดขึ้นอยู่กับราคาปลั๊ก หลักๆ แล้วก็มีไว้ตัดกระแสไฟฟ้าอัตโนมัติ หากมีการใช้กระแสไฟฟ้าสูงเกินไป เพื่อป้องกันไม่ให้สายไฟร้อน และอาจเกิดความเสียหายต่อเครื่องใช้ไฟฟ้าได้
ข้อสังเกต: ถึงแม้ว่า มอก. จะกำหนดให้ฟิวส์ในปลั๊กพ่วงนั้นผิดกฏหมาย แต่ก็ยังมีขายตามท้องตลาดอยู่ดี ผู้ซื้อควรระมัดระวัง และอ่านฉลากให้ดีก่อนซื้อ
 
5. จำนวนเต้ารับ และความยาวสาย
หลายคนอาจจะคิดว่า ซื้อปลั๊กพ่วงที่มีจำนวนเต้ารับเยอะๆ และสายยาวๆ เผื่อไว้เลย ซึ่งในความเป็นจริงก็ไม่ใช่เรื่องผิดอะไร แต่การใช้งานปลั๊กพ่วงที่เกินจำเป็น ก็อาจจะเป็นเรื่องที่ยุ่งยากวุ่นวายในภายหลัง เช่น เมื่อเราเอาไปใช้งานจริง แต่พื้นที่ไม่ได้มีมากมาย และไม่ได้ต้องการสายยาวขนาดนั้นก็จะทำให้ต้องวางสายปลั๊กกองกับพื้น ก็จะเกะกะเปล่าๆ ถ้าหากมีสายที่ยาวเกินไปทำให้กองกับพื้นเยอะ ก็อาจเกิดอัตรายกับคนในบ้านได้เช่นกันค่ะ หรือถ้าหากเรามานำม้วนไว้เป็นก้อน ก็อาจจะทำให้เกิดการสะสมความร้อน ก็เป็นอันตรายได้อีกเช่นกันค่ะ เพราะฉะนั้น เราควรต้องรู้ก่อนว่าปลั๊กไฟพ่วงนั้นจะเอาไปใชกับอะไร และวัดขนาดมาให้พอดีกับตัวปลั๊กค่ะ
 
6. ฟังก์ชันเสริม
นอกจากนี้ความจำเป็นด้านอื่นๆ เช่น มีรูต่อ USB หรือไม่ มีสวิตช์เปิดปิดปลั๊กให้ด้วยหรือไม่ อันนี้จะขึ้นอยู่กับความต้องการการใช้งานของผู้ใช้งานเลยค่ะ หากเราไม่ได้ต้องการจะใช้ช่อง USB การซื้อปลั๊กพ่วงที่มีช่องนี้ด้วยก็จะทำให้เกินความจำเป็น สุดท้ายไม่ได้ใช้งานอะไร และปลั๊กพ่วงที่มีช่อง USB ก็จะมีราคาที่แพงขึ้นไปอีกด้วยค่ะ
ในส่วนของสวิตช์เปิด-ปิดปลั๊กพ่วง ที่มีทั้งแบบแยกแต่ละเต้าเสียบ หรือแบบรวมสวิตช์เดียวเลย ก็มีเผื่อไว้สำหรับผู้ที่ต้องการใช้งานเสียบปลั๊กพ่วงไว้นานๆ เมื่อยังไม่ได้ใช้งานก็สามารถปิดสวิตช์ไว้ก่อนได้ และยังสามารถประหยัดไฟได้ด้วย และเมื่อต้องการจะใช้ก็ค่อยมาเปิดสวิตช์ ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับความจำเป็นของผู้ใช้งานเลยค่ะ

ตั้งแต่มี มอก. 2532-2555 ก็ทำให้การเลือกปลั๊กไฟตามท้องตลาดเป็นเรื่องง่ายยิ่งขึ้น อย่างไรก็ตาม สำหรับปลั๊กพ่วงที่ได้มาตรฐานตามที่กล่าวมาข้างต้น เดี๋ยวนี้ก็มีขายเยอะขึ้น สามารถหาซื้อได้ตามห้างสรรพสินค้า หรือ Online Shopping ก็ได้เช่นกันค่ะ

ขอบคุณข้อมูลจาก
แท็กที่เกี่ยวข้อง รถครอบครัว ของใช้ในบ้าน กระเบื้องยางคลิกล็อก
Property Guru
เขียนโดย พชรธรณ์ ถิ่นสอน Property Guru

พูดคุยกับกูรูได้ที่




เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)