x
icon-filter ค้นหาบ้าน
product filter
product filter
product filter
product filter
product filter
product filter
product filter
product filter
product filter
product filter

8 วัสดุ "ติดตั้งกันสาด" เลือกแบบไหนถึงเหมาะกับบ้านเรา?

icon 7 พ.ค. 64 icon 33,055
8 วัสดุ "ติดตั้งกันสาด" เลือกแบบไหนถึงเหมาะกับบ้านเรา?

8 วัสดุ "ติดตั้งกันสาด" เลือกแบบไหนถึงเหมาะกับบ้านเรา?

หลายๆ ท่านที่ซื้อบ้านมาใหม่แล้วโครงการไม่ได้ติดตั้งกันสาดมาให้บริเวณหน้าบ้านที่เป็นพื้นที่จอดรถ หรือบริเวณประตูข้างหรือหลังบ้านมาให้ นั่นก็เป็นสิ่งที่เจ้าของบ้านอย่างเราต้องจัดการด้วยตัวเอง ปัจจุบันก็มีให้เลือกหลายแบบมากค่ะ นอกจากเรื่องเรื่องดีไซน์ให้เข้ากับบ้านของเราแล้ว วัสดุก็เป็นเรื่องสำคัญที่เราต้องตระหนัก เพราะจะสัมพันธ์กับหน้าตากันสาด วัตถุประสงค์ และงบประมาณที่เรามีด้วยค่ะ เรามาดูกันว่ากันสาดในปัจจุบันใช้วัสดุอะไรบ้าง และแบบไหนที่เหมาะกับบ้านของเราที่สุด

1. กันสาดไวนิล
ขอบคุณภาพจาก bprungruang
ไวนิล ผลิตจาก UPVC หรือ Unplasticised poly vinyl chloride เป็นที่นิยมในปัจจุบันเพราะน้ำหนักเบา ดีไซน์ทันสมัยปรับได้ตามชอบ มีหลายรูปแบบทั้งลอนเดี่ยว ลอนคู่ ลอนสาม หรือลอนเรียบ
ข้อดีของไวนิล
  • ไม่ติดไฟง่าย
  • ผิวมันเรียบง่ายต่อการดูแลและทำความสะอาด
  • มีน้ำหนักเบากว่าเมื่อเทียบกับหลังคากระเบื้องลอนคู่หรือเมทัลชีท
  • เย็นเพราะมีฉนวนในแผ่นหลังคา
  • อายุการใช้งาน 10- 20 ปี 
  • ซับเสียงได้ดีเมื่อฝนตก
  • ไม่เป็นสนิม
ข้อเสียของไวนิล
  • ใช้ไปนานๆ สีจะซีด ดูเก่า
  • ถ้าเป็นแบบลอนฝุ่นจะเข้าไปเกาะอยู่จะทำให้ดูไม่สวยงาม ต้องล้างทำความสะอาดสม่ำเสมอ

2. กันสาดสมาร์ทรูฟ
ขอบคุณภาพจาก dobesttrading
สมาร์ทรูฟ ผลิตจาก APVC/UPVC หรือ Polyvinyl chloride resin เป็นแผ่นทึบแสง กันความร้อนได้ดี เก็บเสียงได้ดีกว่าหลังคาแบบเมทัลชีท เป็นที่นิยมเพราะติดตั้งง่าย แผ่นใหญ่ ป้องกันปัญหารั่วซึมได้
ข้อดีของสมาร์ทรูฟ
  • ทนต่อกรดและสารเคมี สามารถติดตั้งในพื้นที่ใกล้ทะเลได้
  • เย็น ไม่ต้องติดฉนวนกันความร้อน เพราะแผ่นกันความร้อนอยู่แล้ว
  • แข็งแรง ทนทาน มีน้ำหนักเบา
  • ไม่เป็นสนิม 
  • ปราศจากใยหิน ไม่มีสารก่อมะเร็ง
ข้อเสียของสมาร์ทรูฟ
  • ไม่ทนความร้อนมากนัก ดังนั้นหลีกเลี่ยงการติดตั้งในพื้นที่อุณหภูมิ 50-60 องศาขึ้นไป อาจทำให้แผ่นเสียหาย บิดเบี้ยว หรือเปลี่ยนรูปทรง
  • ไม่ควรติดฉนวนกันความร้อน โฟมกันความร้อน หรือแผ่นฝ้าใดๆ ใต้สมาร์ทรูฟอีกเพราะจะทำให้แผ่นร้อนและเปลี่ยนรูปทรง
  • ไม่สามารถรองรับแรงกระแทกที่ตกมาจากที่สูงได้

3. กันสาดชินโคไลท์
ขอบคุณภาพจาก ROOVTECT
ชินโคไลท์ หรือเรียกอีกชื่อว่าเป็นกันสาดอะคริลิค ชินโคไลท์เป็นแผ่นกันสาดโปร่งแสงที่คล้ายกระจก สามารถในการกันรังสี UV ถึง 99% และยังซับเสียงได้ เมื่อทำเป็นหลังคากันสาดจะได้ความเรียบหรูดูแพง 
ข้อดีของชินโคไลท์
  • ซับเสียงได้
  • สามารถกันรังสี UV ถึง 99%
ข้อเสียของชินโคไลท์
  • แผ่นมีน้ำหนักมากต้องใช้โครงสร้างที่ใหญ่ในการรองรับแผ่น 

4. กันสาดอลูมิเนียม
อลูมิเนียม เป็นวัสดุที่เราเห็นกันมาตั้งแต่ยังเด็ก จะเห็นได้บ่อยๆ ตามกันสาดอาคารพาณิชย์ ปัจจุบันอลูมิเนียมก็ยังเป็นที่นิยมนำมาติดตั้งกันสาดอยู่ เพราะน้ำหนักเบา แข็งแรง ทนทาน ทนต่อแสงแดดและฝน แต่ดีไซน์จะปรับเปลี่ยนให้มีความทันสมัยมากขึ้น นำมาทำเป็นฝ้ากันสาดหรือหุ้มอาคารด้านนอกก็สวยงาม หรือใครชอบแบบวินเทจ ลายฉลุสีหวานก็ยังสามารถทำด้เหมือนเดิมค่ะ
ข้อดีของอลูมิเนียม
  • มีน้ำหนักเบา ไม่เป็นสนิม มีสีทั้งสองด้านเป็นสีเดียวกัน
  • ลดเสียงรบกวน 
  • อายุการใช้งานยาวนานถึง 20 ปี
  • ลดอุณหภูมิภายในอาคารมากกว่าเมทัลชีท 3-12 องศา
  • ป้องกันความร้อนได้ดี เพราะเป็นหลังคาทึบแสง
  • มีความยืดหยุ่นสูง 
  • ทนไฟ และ ไม่ติดไฟ 
ข้อดีเสียอลูมิเนียม
  • บุบได้ง่าย

5. กันสาดเมทัลชีท

ขอบคุณภาพจาก บ้านกันสาด
เมทัลชีท หรือแผ่นโลหะรีดลอน คือ แผ่นเหล็กเคลือบโลหะผสมอลูมิเนียมและสังกะสีที่นำมาขึ้นรูปเป็นลอนมีความทนทาน ดัดโค้งได้ง่าย
ข้อดีของเมทัลชีท 
  • น้ำหนักเบา
  • โค้งงอได้ดี
  • ไม่เป็นสนิม
  • แผ่นใหญ่ รอยต่อน้อยจึงทำให้ไม่ค่อยเกิดการรั่วซึม
ข้อเสียของเมทัลชีท 
  • เสียงจะดังมากเมื่อฝนตก

6. กันสาดโพลีชีทตัน
โพลีชีทตัน คือ แผ่นโพลีคาร์บอเนต แผ่นใสตัน (Solid Sheet) ที่ทำจากผงหรือเม็ดพลาสติกใสแล้วนำไปขึ้นรูปกับแม่พิมพ์ เป็นแผ่นโปร่งแสงแต่ไม่ใสเท่ากระจก มีความแข็งแรงกว่ากระจกหลายเท่า มีทั้งแบบสีใส สีชา สีใสลายเรียบและผิวส้ม เป็นต้น
ข้อดีของโพลีชีทตัน
  • ไม่เป็นรอยขีดข่วน
  • น้ำหนักเบา แต่มีความเหนียวมากกว่าอะคริลิคถึง 10-20 เท่า 
  • ทนความร้อนได้ถึง 120 องศา 
  • ติดไฟได้ยาก
ข้อเสียของโพลีชีทตัน
  • ราคาสูง
  • เมื่อมีความชื้นเล็ดลอดเข้าไปในร่องก็จะมีตะใคร่และเชื้อราขึ้นเขียว ไม่สามารถทำความสะอาดบริเวณนี้ได้

7. กันสาดดีไลท์
ขอบคุณภาพจาก บ้านกันสาด
ดีไลท์ เป็นวัสดุที่ทำจากไฟเบอร์กสาส เหมาะสำหรับคนที่อยากติดตั้งกันสาดแบบให้มีแสงทะลุผ่านได้ ยิ่งเลือกสีที่ทึบแสงก็จะยิ่งทำให้แสงลอดผ่านเข้ามาได้น้อย ใครชอบสว่างๆ ก็เลือกแบบใสไปเลยค่ะ
ข้อดีของดีไลท์
  • ให้แสงสว่างอย่างเป็นธรรมชาติ
  • กันรังสียูวีได้ 99%
  • สะท้อนความร้อนได้ดี
  • ปรับรูปทรงได้ตามต้องการ 
  • ทนความร้อนได้ประมาณ 150 องศา
ข้อเสียของดีไลท์
  • เมื่อใบไม้หรือวัสดุอะไรมาอยู่บนหลังคาก็จะเห็นชัดเพราะโปร่งแสง
  • เมื่อใช้ไปนานๆ จะสึกกร่อนเป็นฝุ่นผงเล็กๆ อาจจะทำให้เกิดอาการภูมิแพ้และระคายเคืองตามผิวหนังได้

8. กันสาดผ้าใบ
ขอบคุณภาพจาก บ้านกันสาด
ส่วนใหญ่แล้วผู้ที่เลือกติดตั้งกันสาดผ้าใบก็จะเลือกแบบที่สามารถพับเก็บเข้าได้ เมื่อต้องการใช้ก็แค่กางออกมาถือว่าสะดวกและยังทำให้บ้านยังคงสวยงามไม่มีอะไรมาบดบังอีกด้วย
ข้อดีของผ้าใบ
  • สามารถพับเก็บได้เมื่อไม่ใช้งาน
  • มีให้เลือกหลายแบบ หลายสี
  • ทำความสะอาดง่าย
  • ออกแบบได้หลากหลายตามความต้องการของผู้ใช้
ข้อเสียของผ้าใบ
  • เมื่อลมแรงๆ จะทำให้ผ้าใบเปิดขึ้นไม่สามารถกันสาดได้เต็มประสิทธิภาพ
  • ใช้ไปนานอาจทำให้ฉีกขาดได้ง่าย
  • ถ้าไม่ผึ่งลมให้แห้งก่อนพับเก็บจะทำให้เกิดเชื้อรา

แท็กที่เกี่ยวข้อง กันสาด ติดตั้งกันสาด
Property Guru
เขียนโดย ปรียานุช สองศร Property Guru

พูดคุยกับกูรูได้ที่




เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)