x
icon-filter ค้นหาบ้าน
product filter
product filter
product filter
product filter
product filter
product filter
product filter
product filter
product filter
product filter

หลักสูตรเร่งรัด... คู่มือซื้อบ้านหลังแรก

icon 31 มี.ค. 63 icon 15,246
หลักสูตรเร่งรัด... คู่มือซื้อบ้านหลังแรก

หลักสูตรเร่งรัด... คู่มือซื้อบ้านหลังแรก

เวลาซื้อบ้านหลังแรก เป็นเรื่องธรรมดาค่ะ ที่หลายคนจะมีคำถามเกิดขึ้นมากมายก่อนตัดสินใจ จนบางครั้งแค่ถามคนรอบข้างก็อาจไม่พอ ยังไปแอบถาม Google ด้วยสารพัดคำถามที่เกี่ยวกับเรื่องการซื้อบ้านอีกใช่มั้ยล่ะคะ...
เพราะเราเข้าใจเรื่องนี้ดี "พฤกษา" จึงรวบรวมเรื่องน่ารู้ 10 ข้อเกี่ยวกับการเลือกและซื้อบ้านหลังแรก เพื่อเป็นคู่มือเบื้องต้นสำหรับคนที่มีแผนหรือกำลังตัดสินใจจะซื้อบ้านมาฝากกันค่ะ

1. ถามตัวเองให้ดี

ที่เรายกเรื่องนี้มาเป็นข้อแรกก็เพราะว่ามันคือจุดเริ่มต้นของการตัดสินใจเรื่องนี้เลยทีเดียว การถามตัวเองหมายถึงการพิจารณาให้รอบด้านว่าถึงเวลาต้องซื้อบ้านหลังแรกแล้วจริงๆ ไม่ใช่นึกจะซื้อเพราะอ่านกระทู้ประเภท "สิ่งที่ควรมีก่อนอายุ 30" แล้วกดดันตัวเองว่าต้องมีบ้างทั้งที่อาจยังไม่จำเป็น
นอกจากนี้ควรดูถึงความต้องการของคุณเองว่าการตัดสินใจซื้อครั้งนี้เพื่ออะไร งบประมาณที่คุณคิดไว้ในใจนั้นประมาณเท่าไร ไลฟ์สไตล์ของตัวเองเป็นแบบไหน ทำเลที่ตั้งของโครงการ รวมทั้งความต้องการในอนาคต เพื่อดูความเหมาะสมว่าจริงๆ แล้วสิ่งที่คุณต้องการหรือกำลังมองหานั้นควรเป็นบ้านหรือว่าคอนโดกันแน่

2. ถามกระเป๋าสตางค์ตัวเองด้วย

เมื่อทราบงบประมาณคร่าวๆ ที่ต้องการสำหรับที่อยู่อาศัยของคุณแล้ว คราวนี้ก็ต้องลงลึกกันสักหน่อย เพราะการซื้อบ้านถือเป็นภาระผูกพันในระยะยาว การซื้อบ้านที่เกินกำลังเงินของตัวเองจะส่งผลถึงการใช้ชีวิตของคุณไปอีกหลายปี ดังนั้นควรพิจารณาอย่างถี่ถ้วนว่ารายได้ที่คุณมีอยู่นั้น จะครอบคลุมรายจ่ายปกติและค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นจากการซื้อบ้านหรือไม่
ลองคำนวณคร่าวๆ ถึงเรื่องเงินดาวน์ ค่าจำนอง 2%  ค่าโอน 2%  การตกแต่งเพิ่มเติมหรือค่าดำเนินการขอสินเชื่อ และค่าดำเนินการสาธารณูปโภคต่างๆ  ซึ่งหากการซื้อบ้านนั้นผู้ขายและธนาคารผลักภาระมาทางผู้ชื้อ ดังนั้นคุณควรจะต้องเตรียมพร้อมเงินในก้อนแรกนั้นด้วย

3. จัดลำดับความสำคัญของชีวิต

เพราะไม่มีบ้านหลังไหนที่ ‘เพอร์เฟกต์’ ไม่อย่างนั้นแล้ว คุณคงไม่ต้องเจอกับสถานการณ์ลังเลว่าจะซื้อบ้านในโครงการนั้นดี หรือโครงการนี้จะเหมาะกว่า เพราะฉะนั้นอย่าเสียเวลาตามหาบ้านที่เพอร์เฟกต์ แต่ให้ตามหาบ้านที่ตอบโจทย์สิ่งต่างๆ ที่เป็นเรื่องสำคัญอันดับต้นๆ ของชีวิต ถ้าจัดลำดับได้แล้ว คราวนี้ก็ตัดสินใจได้ง่ายขึ้น

4. แวะไปดูบ้านทั้งกลางวันและกลางคืน แถมสำรวจพื้นที่ใกล้เคียงด้วย

ส่วนใหญ่แล้ว คนมักจะไปดูบ้านในโครงการหรือบ้านตัวอย่างกันก่อนเพื่อการตัดสินใจในการซื้อ นอกจากดูเรื่องของตัวบ้านและโครงการแล้ว ควรที่จะถือโอกาสสำรวจบริเวณใกล้เคียงไปด้วยว่ามีสิ่งอำนวยความสะดวกบริเวณใกล้เคียงหรือไม่ อย่างโรงพยาบาล ห้างสรรพสินค้า ร้านค้า ร้านอาหาร โรงเรียน เพื่อวางแผนสำหรับการใช้ชีวิตประจำวัน และเราต้องอยู่กับบ้านไปอีกนาน
และเราขอแนะนำให้เพิ่มอีกขั้นตอน คือ แวะไปย่านนั้นช่วงกลางคืนด้วย ซึ่งไม่ได้หมายความว่าจะให้คุณเข้าไปขอดูบ้านตัวอย่างในยามวิกาล แต่เราอยากให้คุณพอเห็นภาพว่าสภาพแวดล้อมตอนกลางคืนในละแวกนั้นเป็นอย่างไรบ้าง จะได้รู้จักทำเลนั้นจริงๆ ทั้งกลางวันและกลางคืน ก่อนจะตัดสินใจ

5. ทักทายว่าที่เพื่อนบ้าน

การหาข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องที่อยากรู้ทางอินเทอร์เน็ตเป็นเรื่องปกติของคนยุคนี้ แต่อย่าลืมว่าไม่ใช่ข้อมูลทุกอย่างจะอยู่ในนั้น อย่างเช่นข้อมูลจากปากคนที่อยู่โครงการนั้นจริงๆ เพราะไม่ใช่ทุกคนที่จะโพสต์ความรู้สึกของตัวเองลงในพื้นที่สาธารณะ ดังนั้น เวลาแวะไปดูบ้าน ไม่ว่าจะโครงการใด ถ้าเป็นโครงการที่พอจะมีคนอาศัยอยู่บ้างแล้วและมีจังหวะเหมาะ ให้ลองพูดคุยกับคนที่อยู่ในหมู่บ้านนั้นดู ซึ่งเราเชื่อว่าคนส่วนใหญ่จะตอบเรื่องนี้อย่างจริงใจ
6. จับเวลาการเดินทางจากบ้านถึงที่ทำงาน
คุณอาจจะแย้งว่า เรื่องเดินทางลองเช็ค Google Maps ดูก็รู้ แต่คุณก็น่าจะรู้เหมือนกันว่า ถึง Google Maps จะแม่นยำเรื่องเส้นทางแต่เรื่องเวลาการเดินทางนั้นไม่เสมอไป เพราะฉะนั้นถ้าอยากรู้จริงก็ทดลองด้วยตัวเองกันไปเลย ลองดูว่าถ้าเราเลือกบ้านหลังนี้ เราจะใช้เวลาเท่าไหร่ในการเดินทางไปที่ทำงาน โดยเฉพาะในช่วง rush hours เช้า-เย็น
นอกจากนี้การสำรวจเส้นทางสำรองเพิ่มเติม หรือข้อมูลเกี่ยวกับขนส่งมวลชน ไม่ว่าจะเป็นสายรถเมล์ หรืออยู่ละแวกของเส้นทางรถไฟฟ้าทั้ง BTS หรือ MRT ทางขึ้น – ลงทางด่วนที่ใกล้ที่สุด ทางเข้า – ออกของโครงการสามารถเข้าออกได้กี่ทาง เพื่อความมั่นใจในการเดินทางเมื่อเข้าอยู่จริง
7. เดินเข้าแบงค์แต่เนิ่นๆ
ไม่จำเป็นต้องตัดสินใจได้ก่อนว่าจะซื้อบ้านหลังไหนถึงค่อยติดต่อธนาคาร คุณสามารถเข้าไปคุยกับธนาคารตั้งแต่มีแผนจะซื้อบ้านได้เลย เพื่อจะได้ประเมินได้ว่าเราสามารถกู้ได้มากน้อยเพียงใดและมีศักยภาพในการผ่อนเดือนละเท่าไหร่ เงื่อนไขการให้กู้ของธนาคาร รวมทั้งโปรโมชั่นอย่างการจำนองฟรี โอนฟรี ประเมินราคาฟรี เป็นต้น ซึ่งข้อมูลที่ได้จากการธนาคารตรงนี้จะช่วยทำให้เราตัดสินใจได้ดียิ่งขึ้นในการซื้อบ้าน
นอกจากนี้ลองประเมินเพิ่มเติมสำหรับสถานการณ์ในอนาคตอย่างอัตราดอกเบี้ยในการรีไฟแนนซ์ไปที่ธนาคารอื่นหรือการพิจารณาประกันชีวิตคุ้มครองสินเชื่อ (MRTA) ซึ่งหลายๆ คนอาจจะไม่เคยทราบกันว่ามันคืออะไร เพราะฉะนั้นไม่ต้องลังเล ถ้าคิดจะมีบ้านแล้วเดินไปหาธนาคารได้เลย 
8. ไม่จำเป็นต้องเป็น #สายเปย์ เททั้งบัญชี
การลงเงินดาวน์เยอะกว่าราคาดาวน์ขั้นต่ำ เพื่อลดค่าใช้จ่ายที่มาจากดอกเบี้ยในการผ่อนบ้านเป็นสิ่งที่คนซื้อบ้านทำกัน แต่เราขอเตือนนิดว่าอย่าให้ถึงขั้นทุ่มเงินที่มีทั้งบัญชีหรือเกือบเกลี้ยงบัญชีไปกับการดาวน์เลย เพราะในการซื้อบ้านใหม่มักจะมีค่าใช้จ่ายที่เราไม่คาดคิดมาก่อนเกิดขึ้นได้เสมอ แม้เราจะกันเงินส่วนหนึ่งไว้สำหรับตรงนี้แล้วก็ตาม เพราะฉะนั้นจะวางแผนเรื่องนี้ก็ควรคิดให้รอบด้าน ไม่ใช่นึกถึงแค่เรื่องเพิ่มเงินดาวน์เพื่อประหยัดดอกเบี้ย
9. เช็คเงื่อนไขในการต่อเติมบ้าน
หมู่บ้านจัดสรรโดยทั่วไปมักจะมีระเบียบและเงื่อนไขในการต่อเติมบ้าน รวมถึงจุดประสงค์ในการใช้พื้นที่ ซึ่งบางคนอาจมองข้ามเรื่องนี้ไปในขั้นตอนการหาข้อมูลประกอบการตัดสินใจ เราแนะนำให้คุณคุยกับโครงการถึงเรื่องนี้ตั้งแต่แรก เพราะไม่ใช่ทุกคนที่จะซื้อบ้านเพื่ออยู่อาศัย บางคนอาจซื้อเพื่อดัดแปลงเป็นโฮมออฟฟิศหรือเป็นร้านกาแฟเล็กๆ ก็ได้ อย่างถ้าคุณเห็นจุดไหนที่มีความเป็นไปได้และอยากจะต่อเติม เราแนะนำให้ชี้จุดและแจ้งโครงการกันไปเลย
ทั้งนี้การพูดคุยตั้งแต่แรกก็จะได้เกิดความเข้าใจที่ตรงกันของคุณกับโครงการ เพื่อป้องกันปัญหาที่จะเกิดขึ้นในภายหลัง รวมทั้งปัญหากับเพื่อนบ้านที่อาจจะได้รับผลกระทบต่อการต่อเติมของคุณด้วย หรือต่อให้คุณยังไม่มีแผนการเรื่องนี้ก็ควรจะถามให้รู้ไว้ก่อนอยู่ดี เพราะในอนาคตนี่อาจเป็นข้อมูลที่จำเป็นสำหรับคุณก็ได้
10. อย่ามองข้ามช่วง Pre-sale และโปรโมชั่นอีเวนท์ต่างๆ
ช่วง Pre-sale มักจะมาพร้อมกับโปรโมชั่นพิเศษจูงใจว่าที่ลูกบ้าน ดังนั้น เราแนะนำเลยว่าถ้าสมมติว่าคุณมีแผนจะซื้อบ้านภายในปีนี้ ให้หาข้อมูลล่วงหน้าเลยว่า Pre-sale ของแต่ละโครงการที่เราสนใจมีช่วงไหนบ้าง ทำเป็นปฏิทิน pre-sale ไว้ดูเองไปเลยก็ได้ แถมมาร์คด้วยงานอีเวนท์ต่างๆ ที่เกี่ยวกับเรื่องบ้านและธนาคาร อย่างงานมหกรรมบ้านและคอนโดคุณจะได้เจอกับทุกเรื่องที่คุณอยากรู้เรื่องบ้าน หรืออีเวนท์ของธนาคารคุณก็จะได้เจอโปรโมชั่นเงินกู้ดีๆ ด้วย
นอกจากนี้สิ่งที่จำเป็นต้องทำอีกอย่างก็คือ ก่อนจะถึงวัน Pre-sale ให้หาข้อมูลและไปดูโครงการจนถึงระดับที่เกือบตัดสินใจได้แล้ว แล้วเมื่อถึงวันที่ Pre-sale แล้ว ถ้าบ้านหลังที่เรามองไว้ยังเป็นหลังที่เราชอบที่สุดอยู่ก็สามารถจองในวันนั้นได้เลย จะได้ได้บ้านที่ถูกใจ พร้อมโปรโมชั่นที่พิเศษกว่าปกติด้วย

หวังว่า 10 ทิปส์ของเรื่องควรรู้ ที่จะช่วยให้คุณลดความกังวลและการวางแผนก่อนจะตัดสินใจซื้อบ้านลงได้ และถ้าต้องการข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการขอสินเชื่อและคำนวณสินเชื่อ สามารถตรวจสอบได้จาก www.pruksa.com ที่เมนู บริการสินเชื่อ ของพฤกษา และ Mobile application Pruksa Family ผู้ช่วยส่วนตัวที่จะทำให้คุณตัดสินใจเรื่องนี้ได้ดีขึ้น
สนับสนุนข้อมูลโดย บริษัท พฤกษา เรียลเอสเตท จำกัด (มหาชน) คิด สร้างสรรค์คุณค่า เพื่อลูกค้า www.pruksa.com
แท็กที่เกี่ยวข้อง บ้านเดี่ยว พฤกษา บ้านหลังแรก pruksa พฤกษา เรียลเอสเตท วิธีซื้อบ้าน คู่มือซื้อบ้าน
Property Guru
เขียนโดย เช็คราคา.คอม Property Guru

พูดคุยกับกูรูได้ที่




เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)