สนใจลงทุนทองคำ: ลงทุนรูปแบบไหนได้บ้าง?

icon icon 7,855
สนใจลงทุนทองคำ: ลงทุนรูปแบบไหนได้บ้าง?

สนใจลงทุนทองคำ: ลงทุนรูปแบบไหนได้บ้าง?
โดยทั่วไปในตลาดทองคำบ้านเรา เราจะสามารถลงทุนในทองคำได้ 6 รูปแบบหลักๆ ซึ่งก่อนที่เราชาวเช็คราคา.คอม จะเลือกลงทุนในรูปแบบใดแบบหนึ่งนั้น เรามาทำความรู้จักรูปแบบ ข้อดี และข้อเสียของการลงทุนในแต่ละแบบกันก่อนนะคะ
1. ทองรูปพรรณ (Gold Ornaments)
สำหรับบางคน การซื้อทองรูปพรรณอาจไม่ถือเป็นการลงทุนในแง่ของการแสวงหากำไรเสียทีเดียว เพราะบางคนอาจเน้นนำมาสวมใส่เพื่อแสดงฐานะทางสังคม และทองรูปพรรณจะตามมาด้วยค่าใช้จ่ายหลายต่อในรูปของค่ากำเหน็จ (ค่าแรง) ในการทำลวดลายต่างๆ บวกเพิ่มจากราคาทอง และเมื่อเวลาที่เราต้องการนำทองไปขายคืน ส่วนของค่ากำเหน็จก็เป็นส่วนที่เราจะไม่ได้คืน นอกจากนี้ เมื่อเวลาขายคืน ร้านทองจะเอาทองไปชั่ง และหักค่าสึกหรอจากการสวมใส่ที่ทำให้ค่าทองหายไป อีกทั้งราคาขายคืนจะต่ำกว่าราคาซื้อหลายบาท เช่น ราคาทองรูปพรรณรับซื้อ 19,510 บาท ราคาขายอยู่ที่ 20,300 บาท ต่างกัน 790 บาท และเมื่อหักค่าสึกหรอของทองคำด้วยราคาก็จะยิ่งต่ำลง เป็นต้น

2. ทองคำแท่ง (Gold Bars)
การลงทุนในทองคำแท่งน่าจะเป็นการลงทุนที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในประเทศไทย เพราะซื้อง่าย ขายสะดวก ค่าธรรมเนียมในการซื้อขายต่ำกว่าทองรูปพรรณ ส่วนมากทองคำที่นิยมลงทุนในประเทศไทยจะเป็นทอง 96.5% เพราะขายง่าย และราคาถูกกว่า ทองคำ 99.99% โดยขนาดที่นิยมซื้อขายกันจะมีตั้งแต่ 5 บาท, 10 บาท, 20 บาท และ 50 บาท แต่ในกรณีทองคำ 99.99% จะเป็นที่นิยมสำหรับนักลงทุนต่างชาติ ซึ่งขนาดที่นิยมซื้อขายกัน เช่น 100 กรัม และ 1 กิโลกรัม

3. เหรียญทองคำ (Gold Coins)
การลงทุนในเหรียญทองคำจะเป็นที่นิยมกันมากโดยเฉพาะนักสะสมทองคำในต่างประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา (U.S. Eagles) แอฟริกาใต้ (Krugerrand) หรือแคนาดา (Maple Leaf) ซึ่งเหรียญทองคำที่เป็นที่นิยมของนักสะสม นอกจากการขายจะได้กำไรจากราคาส่วนต่างแล้ว ยังได้กำไรจากความนิยมในตัวเหรียญอีกด้วย ซึ่งเมื่อรวมแล้วอาจได้มากกว่าการลงทุนในทองคำแท่งเสียอีก ดังนั้นการลงทุนในเหรียญทองคำก็เป็นการลงทุนที่น่าสนใจอีกแบบหนึ่ง เช่น การลงทุนในเหรียญกษาปณ์ที่ระลึกแบบที่เป็นทองคำ ซึ่งการลงทุนในเหรียญแบบนี้แม้ว่าราคาทองจะต่ำลง แต่ราคาหน้าเหรียญก็ยังสามารถเป็นหลักประกันให้กับเหรียญทองได้ และเมื่อราคาทองขึ้น ราคาเหรียญก็จะยิ่งสูงขึ้นอีก เป็นต้น เหรียญทองคำเป็นการลงทุนกึ่งกลางระหว่างทองรูปพรรณที่สามารถใช้ประโยชน์ในฐานะที่เป็นเครื่องประดับ และทองคำแท่ง แม้จะมีค่าธรรมเนียมสูงกว่าทองคำแท่ง แต่ก็ยังถูกกว่าทองรูปพรรณ ในบ้านเรานี้ ถ้ามองในแง่ของการลงทุนแบบแสวงหากำไร การลงทุนในเหรียญทองคำอาจยังมีไม่มากนัก แต่ก็เริ่มมีเปิดตลาดให้สะสม หรือลงทุนแล้วอย่างเช่นของบริษัท ออสสิริส จำกัด ตามรูปข้างล่างนี้

รูปภาพจาก www.ausirisgroup.com
4. หุ้นเหมืองทอง (Gold Miner Shares)
การลงทุนในหุ้นเหมืองทองก็คือ การเข้าถือ หรือซื้อหุ้นในบริษัทที่ทำเหมืองทองนั่นเอง ในเมืองไทยมีบริษัทเดียวคือ บมจ. ทุ่งคาฮาเบอร์ (THL) แต่ถ้าในต่างประเทศจะเป็นที่นิยม และมีหุ้นให้ถือพอสมควร เช่น Barrick Gold Corporation หรือ Anglogold Ashanti ซึ่งอาจให้ผลตอบแทนได้สูง เพราะเหมืองทองมีต้นทุนการผลิตต่ำลง แต่ขายทองคำได้ราคาดีขึ้น กรณีนี้จริงๆ แล้วบางคนอาจมองได้ว่าเป็นการลงทุนในหุ้นมากกว่า เพียงแต่ราคาหุ้นของบริษัทเหล่านี้จะได้รับผลกระทบบวก หรือลบเต็มๆ จากราคาทองคำในตลาดโลก

รูปภาพจาก www.barrick.com
5. กองทุนรวมทองคำ (Gold Mutual Funds)
การลงทุนในกองทุนรวมทองคำก็คือ การเข้าซื้อหน่วยลงทุน (Unit) ในกองทุนรวม (Mutual Fund) ที่ซื้อทองคำมาเก็บไว้เป็น Asset นั่นเอง โดยในเมืองไทยนั้น จะเป็นการไปซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมทองคำในต่างประเทศอีกทีหนึ่ง ซึ่งทำให้มีความเสี่ยงทั้งในแง่ของราคาทองคำ และอัตราแลกเปลี่ยน โดยเราสามารถซื้อกองทุนรวมทองคำเหล่านี้ได้จากบริษัทจัดการกองทุนหลายๆ บริษัทในเมืองไทย โดยอาจมีทั้งแบบธรรมดาไม่มีเงินปันผล (เช่น กองทุนกรุงศรีโกลด์ (KF-Gold)) แบบมีเงินปันผล (เช่น กองทุนเปิดเค-โกลด์ (K-Gold)) และแบบเพื่อการเลี้ยงชีพ (เช่น กองทุนเปิดเอ็มเอฟซี อินเตอร์เนชั่นแนล โกลด์ เพื่อการเลี้ยงชีพ (MFC International Gold Retirement Fund)) 
ข้อดีของกองทุนรวมทองคำคือ ผู้ลงทุนมีโอกาสได้รับผลตอบแทนระหว่างการลงทุนไม่ว่าจะในรูปของเงินปันผล (ซึ่งจะมีภาษี ณ ที่จ่าย 10%) หรือในรูปของกำไรจากส่วนต่างในมูลค่าหน่วยลงทุน (Capital Gain ซึ่งไม่ต้องเสียภาษี) แต่ก็มีข้อเสียเช่นกัน ตัวอย่างเช่น มูลค่าหน่วยลงทุนที่อาจลดลง และมีค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการของบริษัทจัดการลงทุน และค่าธรรมเนียมในการซื้อขาย เป็นต้น
6. โกลด์ ฟิวเจอร์ส (Gold Futures)
เป็นการลงทุนในทองคำรูปแบบใหม่ล่าสุดในบ้านเรา โดยผ่านตลาดอนุพันธ์ TFEX (Thailand Futures Exchange) ซึ่งโกลด์ ฟิวเจอร์สนี้โดยสาระแล้วก็คือ การเข้าทำสัญญาซื้อขายทองคำล่วงหน้านั่นเอง โดยมีทองคำ 96.5% เป็นสินค้าอ้างอิง (Underlying) เป็นการลงทุนระยะสั้นที่เริ่มได้รับความนิยมจากนักลงทุนในเมืองไทยพอสมควร เพราะใช้เงินลงทุนไม่เยอะ ไม่ต้องลงตามมูลค่าทองจริงๆ แต่ใช้วิธีวางเงินประกัน (หรือมาร์จิน (Margin) และสามารถทำกำไรได้ทั้งขาขึ้น และขาลง แต่ประเด็นสำคัญสำหรับการลงทุนแบบนี้คือ เราจำเป็นต้องศึกษาและทำความเข้าใจอย่างมาก เพราะการลงทุนทองคำในรูปแบบนี้มีความซับซ้อนมากกว่าแค่การซื้อทองคำแท่งมาเก็บแล้วรอเวลาขายทำกำไร

ท้ายที่สุดนี้ ถ้าเราจะเลือกลงทุนทองคำไม่ว่าในรูปแบบใด สิ่งที่ควรทำเสมอคือ ศึกษาข้อมูลการลงทุนรูปแบบนั้นๆ ให้เข้าใจ รวมถึงกราฟการลงทุนที่ผ่านมาว่ามีแนวโน้ม และทิศทางไปในรูปแบบใด เพราะ "การลงทุนมีความเสี่ยง ควรศึกษาข้อมูลทุกครั้งก่อนการตัดสินใจ" นะคะ
ขอขอบคุณ: www.การลงทุนไทย.คอม และนสพ. Post Today
แท็กที่เกี่ยวข้อง
Economy Guru
เขียนโดย เช็คราคา.คอม Economy Guru

พูดคุยกับกูรูได้ที่



เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)