x
icon-filter ค้นหาคอนโด
product filter
product filter
product filter
product filter
product filter
product filter
product filter
product filter
product filter
product filter

ชื่อสถานีรถไฟฟ้าสาย (ศรี) สีเหลือง ทำไมต้องชื่อนี้และมีที่มายังไง?

icon 16 มิ.ย. 66 icon 9,458
ชื่อสถานีรถไฟฟ้าสาย (ศรี) สีเหลือง ทำไมต้องชื่อนี้และมีที่มายังไง?
หลังจากที่ทางการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยได้เปิดให้ประชาชาชนได้ทดลองใช้รถไฟฟ้าสายสีเหลืองไปเมื่อวันที่เสาร์ที่ 3 มิถุนายน 2566 ฟรี!  จำนวน 13 สถานี (จากทั้งหมด 23 สถานี) ได้แก่ หัวหมาก กลันตัน ศรีนุช ศรีนครินทร์ 38 สวนหลวง ร.9 ศรีอุดม ศรีเอี่ยม ศรีลาซาล ศรีแบริ่ง ศรีด่าน ศรีเทพา ทิพวัล สำโรง ไปแล้วนั้น ได้รับความสนใจจากประชาชนเป็นจำนวนมาก และมีผู้ใช้บริการไม่น้อยสงสัยว่าชื่อสถานีของรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ทำไมมีคำว่า “ศรี” เยอะจัง วันนี้เช็คราคาจะมาอธิบาย ขยายความให้ค่ะ และสำหรับใครที่กำลังสนใจโครงการติดรถไฟฟ้าสายสีเหลือง คลิกเลย 

หลักการตั้งชื่อสถานีรถไฟฟ้าให้เป็นไปตามหลักสากล

กรมการขนส่งทางราง กระทรวงคมนาคม ได้ให้ความรู้เกี่ยวกับการตั้งชื่อสถานีรถไฟฟ้า โดยแบ่งออกเป็น 6 ข้อ ดังนี้
1. ง่าย ชื่อสถานีรถไฟฟ้าจะต้องเป็นชื่อที่ง่ายและสามารถจดจำได้ง่าย
2. กระชับ ชื่อสถานีรถไฟฟ้าควรเป็นชื่อที่สั้นได้ใจความ โดยชื่อภาษาไทยควรมีความยาวไม่เกิน 5 พยางค์ และชื่อภาษาอังกฤษควรใช้ตัวอักษรไม่เกิน 15 ตัวอักษร
3. ยั่งยืน ชื่อสถานีควรใช้ได้ตลอดระยะเวลาที่สถานียังคงเปิดให้บริการอยู่
4. ระบุตำแหน่งได้ชัดเจน ชื่อสถานีจะต้องทำให้ผู้โดยสารสามารถระบุตำแหน่งหรือบริเวณที่ตั้งของสถานีได้อย่างชัดเจน และควรมีความเกี่ยวข้องกับพื้นที่ตั้งสถานีด้วย
5. ชื่อเฉพาะ หากจะใช้ชื่อเฉพาะเจาะจงต้องไม่ซ้ำกันหรือสร้างความสับสนให้กับผู้ใช้บริการ
6. เชื่อมโยงกัน ชื่อสถานีจะต้องสามารถสร้างความเชื่อมโยง ต้องทำให้ผู้ใช้บริการวางแผนการเดินทางได้ โดยเฉพาะชื่อสถานีที่เป็นชื่อสถานีเชื่อมต่อควรใช้ชื่อเดียวกันทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษโดยมีการระบุความแตกต่างของเส้นทางโดยรหัสสถานี
โดยชื่อที่เป็นข้อสงสัยก็คือสถานีที่ขึ้นต้นด้วย “ศรี” ของรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ซึ่งมีทั้งหมด 9 สถานีเลยทีเดียว แต่ละชื่อมีที่มาอย่างไร และมีความหมายอะไรบ้าง ไปดูกันเลยค่ะ

YL10 ศรีกรีฑา

 
สถานีศรีกรีฑา ตั้งอยู่บนถนนศรีนครินทร์ บริเวณแยกกรุงเทพกรีฑา ปัจจุบันกรุงเทพกรีฑาถือเป็นทำเลเนื้อหอมฝั่งตะวันออกของกรุงเทพฯ โซนใหม่ ที่ได้รับความนิยมในการสร้างโครงการอยู่อาศัยเป็นจำนวนมาก ชื่อสถานีจึงเกิดจากการผสมกันระหว่าง “ศรีนครินทร์+กรุงเทพกรีฑา” นั่นเอง ซึ่งก็เป็นไปตามหลักการตั้งชื่อของกระทรวงคมนาคมข้อที่ว่าระบุตำแหน่งได้ชัดเจน ทำให้ผู้ใช้บริการทราบว่าสถานีนี้อยู่บนถนนศรีนครินทร์ และใกล้กับแยกกรุงเทพกรีฑา และสามารถวางแผนการเดินทางต่อไปได้
โดยสถานีศรีกรีฑา มีตำแหน่งทางขึ้น - ลง จำนวน 4 จุด ดังนี้
จุดที่ 1 ถนนกรุงเทพกรีฑา
จุดที่ 2 ซอยศรีนครินทร์ 5
จุดที่ 3 ซอยศรีนครินทร์ 6
จุดที่ 4 สวนปิยะภิรมย์
และสถานีนี้เป็นที่สูงที่สุดในบรรดารถไฟฟ้าสายสีเหลืองด้วย มีความสูงถึง 25.79 เมตร นับจากพื้นถึงชานชาลา ใครที่ขึ้น-ลงบันไดไม่ไหวแนะนำลิฟต์ - ทางลาด ตั้งอยู่บริเวณทางขึ้น - ลง ที่ 1, 3 และ 4 บันไดเลื่อน ตั้งอยู่บริเวณทางขึ้น-ลง ที่ 2 และ 4 และ บันไดขึ้น-ลง ตั้งอยู่บริเวณทางขึ้น-ลง ที่ 1 และ 4 

YL12 กลันตัน

 
สถานีกลันตัน ตั้งอยู่บนถนนศรีนครินทร์ บริเวณหน้าศูนย์การค้าธัญญาพาร์ค แต่ทำไมชื่อถึงไม่ขึ้นต้นด้วย “ศรี” เหมือนสถานีอื่นๆ ที่อยู่บนถนนศรีนครินทร์ และชื่อนี้ก็เหมือนกับชื่อชื่อของรัฐกลันตัน ประเทศมาเลเซียอีกด้วย สาเหตุที่ตั้งชื่อนี้ก็เพราะว่าตั้งชื่อตามหลักการตั้งชื่อแบบเฉพาะเจาะจง กลันตันเป็นชื่อที่ไม่ซ้ำกับที่อื่นในกรุงเทพฯ โดยมีที่มาจากประวัติศาสตร์คือ ในช่วงสมัยรัชกาลที่ 1-3 สยามเกิดสงครามกับหัวเมืองมลายู และมีการกวาดต้อนเชลยศึกชาวมลายูมายังพื้นที่กรุงเทพฯ ทำให้ชาวกลันตันที่อาศัยอยู่ในเมืองปัตตานีซึ่งปกครองโดย “ราชวงศ์กลันตัน” เป็นราชวงศ์สุดท้ายถูกกวาดต้อนมาด้วย 
จนกระทั่งในสมัยรัชกาลที่ 3 มีการขุดคลองแสนแสบเชื่อมกับคลองพระโขนง เพื่อเป็นเส้นทางกองทัพไปรบกับญวน ขุดโดยแรงงานชาวมลายูและชาวกลันตันที่ถูกกวาดต้อนมา จึงได้ตั้งชื่อคลองว่าคลองกลันตัน ภายหลังเรียกให้สั้นลงเหลือเพียง "คลองตัน” แต่ปัจจุบันก็ยังสามารถพบเห็นชื่อ "กลันตัน" อยู่ อาทิ โรงเรียนคลองกลันตัน
สถานีกลันตันมีตำแหน่งทางขึ้น - ลง จำนวน 4 จุด และลิฟต์ ทางลาด บันไดเลื่อน ดังนี้
จุดที่ 1 ก่อนถึงศูนย์การค้าธัญญาพาร์ค
จุดที่ 2  คลองโคกวัด (ขาออก)
จุดที่ 3  คลองโคกวัด (ขาเข้า)
จุดที่ 4  ก่อนถึงศูนย์บริการรถยนต์ฮอนด้า
โดยลิฟต์ - ทางลาด ตั้งอยู่บริเวณทางขึ้น - ลง ที่ 1 2 และ 3 บันไดเลื่อน ตั้งอยู่บริเวณทางขึ้น - ลง ที่ 1 และ 4 บันไดขึ้น - ลง ตั้งอยู่บริเวณทางขึ้น - ลง ที่ 1 , 2 , 3 และ 4 

YL13 ศรีนุช

 
บริเวณที่สถานีศรีนุชตั้งอยู่เป็นจุดตัดของถนนศรีนุครินทร์และถนนสุขุมวิท 77 (อ่อนนุช) มีชื่อแยกว่าแยกสวนหลวง แต่แยกนี้ก็ชื่อเล่นที่คนทั่วไปเรียกกันก็คือ ศรีนุช เกิดจากการผสมกันระหว่าง “ศรีนครินทร์+อ่อนนุช” มีตำแหน่งทางขึ้น - ลง จำนวน 4 จุด ดังนี้
จุดที่ 1  ถัดจากแยกสวนหลวง (ศรีนุช) ฝั่งขาออก
จุดที่ 2  ซอยศรีนครินทร์ 29
จุดที่ 3  ซอยศรีนครินทร์ 28
จุดที่ 4  ก่อนถึงแยกสวนหลวง (ศรีนุช) ฝั่งขาเข้า
ในส่วนของสถานีศรีนุช มีลิฟต์และทางลาด รองรับรถเข็นวีลแชร์ บริเวณทางขึ้น - ลง ที่ 1 และ 3 และมีบันไดเลื่อน รองรับในส่วนของ ทางขึ้น - ลง ที่ 2 , 3 และ 4

YL16 ศรีอุดม

 
สถานีศรีอุดม ตั้งอยู่บนถนนศรีนครินทร์ บริเวณแยกศรีอุดม เกิดจากการผสมกันระหว่าง “ศรีนครินทร์+อุดมสุข” ชื่อศรีอุดมนี้เป็นชื่อแยกที่เป็นทางการอยู่แล้ว จึงทำให้การตั้งชื่อนี้ก็ไม่ได้ทำให้ผู้ใช้บริการสับสน โดยมีตำแหน่งทางขึ้น - ลง จำนวน 4 จุด
จุดที่ 1 แยกศรีอุดม (ฝั่งขาออก)
จุดที่ 2 ซอยศรีนครินทร์ 63
จุดที่ 3 ซอยศรีนครินทร์ 58
จุดที่ 4 ซอยศรีนครินทร์ 54 (อุดมสุข 1)
ในส่วนของสถานีศรีอุดม มีลิฟต์และทางลาด รองรับรถเข็นวีลแชร์ บริเวณทางขึ้น - ลง ที่ 1 และ 4 และมีบันไดเลื่อน รองรับในส่วนของ ทางขึ้น - ลง ที่ 2 และ 3

YL17 ศรีเอี่ยม

 
สถานีศรีเอี่ยม ตั้งอยู่บนถนนศรีนครินทร์ บริเวณทางแยกต่างระดับศรีเอี่ยม ชื่อสถานีนี้ตั้งขึ้นตามชื่อพื้นที่เดิมอยู่แล้ว ไม่ได้เกิดจากการผสมคำ ปรากฎตามชื่อวัด โรงเรียน อาทิ วัดศรีเอี่ยม โรงเรียนศรีเอี่ยมอนุสรณ์ เป็นต้น และเป็นสถานีที่สามารถเชื่อมต่อกับอาคารจอดแล้วจร (Park and Ride) ได้ มีตำแหน่งทางขึ้น - ลง จำนวน 4 จุด
จุดที่ 1 อาคารจอดแล้วจร สถานีศรีเอี่ยม (ฝั่งทิศเหนือ)**
จุดที่ 2 อาคารจอดแล้วจร สถานีศรีเอี่ยม (ฝั่งทิศใต้) **
จุดที่ 3 แยกถนนศรีนครินทร์ - ถนนเทพรัตน
จุดที่ 4 วัดศรีเอี่ยม
และมีบริการลิฟต์ - ทางลาด ตั้งอยู่บริเวณทางขึ้น - ลง ที่ 1 , 2 และ 4 บันไดเลื่อน ตั้งอยู่บริเวณทางขึ้น - ลง ที่ 1 และ 2 และบันไดขึ้น - ลง ตั้งอยู่บริเวณทางขึ้น - ลง ที่ 1 , 2 , 3 และ 4

YL18 ศรีลาซาล

 
สถานีศรีลาซาล ตั้งอยู่บนถนนศรีนครินทร์ บริเวณแยกศิครินทร์ ชื่อสถานีนี้เกิดจากการผสมคำระหว่าง “ศรีนครินทร์+ลาซาล” ซึ่งลาซาลนี้ก็เป็นชื่ออย่างไม่เป็นทางการของถนนสุขุมวิท 105 เรียกตามชื่อโรงเรียนลาซาลกรุงเทพ ซึ่งเป็นโรงเรียนซึ่งคณะภราดาลาซาลตั้งขึ้น เมื่อปี พ.ศ. 2506 ซึ่งคณะภราดาลาซาลคือนักบุญชาวฝรั่งเศส ฌอง-แบพติสต์ เดอลาซาล ที่ได้เผยแผ่ศาสนาและก่อตั้งโรงเรียนขึ้นในหลายประเทศทั่วโลกรวมถึงประเทศไทยด้วย สถานีนี้มีตำแหน่งทางขึ้น - ลง จำนวน 4 จุด
จุดที่ 1 ซอยคลองหนองบัว
จุดที่ 2 ซอยศรีด่าน 24
จุดที่ 3 ซอยศรีด่าน 29
จุดที่ 4 ถนนลาซาล
และลิฟต์ - ทางลาด ตั้งอยู่บริเวณทางขึ้น - ลง ที่ 1 และ 4 บันไดเลื่อน ตั้งอยู่บริเวณทางขึ้น - ลง ที่ 2 และ 4 บันไดขึ้น - ลง ตั้งอยู่บริเวณทางขึ้น - ลง ที่ 1 , 2 , 3 และ 4

YL19 ศรีแบริ่ง

 
สถานีศรีแบริ่ง ตั้งอยู่บนถนนศรีนครินทร์ บริเวณซอยศรีด่าน 18 ถึง ซอยศรีด่าน 16 โดยฝั่งตรงข้ามคือซอยสุขุมวิท 107 หรือชื่ออย่างไม่เป็นทางการคือซอยแบริ่งนั่นเอง ชื่อสถานีนี้จึงเกิดจากการผสมคำระหว่าง “ศรีนครินทร์+แบริ่ง” โดยคำว่าแบริ่งนี้ไม่ปรากฏแน่ชัดคาดว่ามาจากตำแหน่งที่ตั้งของซอยนี้ที่บางส่วนเป็นที่ดินของกองทัพเรือ คำว่า “แบริ่ง” ก็เป็นคำที่นิยมใช้กันมากในหมู่นักเดินเรือและทหารเรือ หมายถึงทิศทางสิ่งหนึ่งไปถึงสิ่งหนึ่ง จึงคาดเดาว่าอาจจะใช้คำนี้มาเรียกอาคารสิ่งก่อสร้างของกองทัพเรือที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ด้วย สถานีนี้มีตำแหน่งทางขึ้น - ลงจำนวน 4 จุด คือ
จุดที่ 1 ซอยศรีด่าน 18
จุดที่ 2 ซอยศรีด่าน 16
จุดที่ 3 ซอยศรีด่าน 11
จุดที่ 4 แยกศรีแบริ่ง
และมีลิฟต์ - ทางลาด ตั้งอยู่บริเวณทางขึ้น - ลง ที่ 1 และ 4 บันไดเลื่อน ตั้งอยู่บริเวณทางขึ้น - ลง ที่ 2 และ 3 บันไดขึ้น - ลง ตั้งอยู่บริเวณทางขึ้น - ลง ที่ 1 , 2 , 3 และ 4 

YL20 ศรีด่าน

 
สถานีศรีด่าน ตั้งอยู่บนถนนศรีนครินทร์ บริเวณทิศเหนือของทางแยกศรีด่าน (จุดตัดกับถนนสุขุมวิท 113) ชื่อสถานีนี้เป็นชื่อเดิมของทำเลนี้อยู่แล้ว ปรากฏเป็นชื่อซอยศรีด่าน ขึ้นกับถนนศรีนครินทร์ จำนวน 29 ซอย
จุดที่ 1 ซอยศรีด่าน 2 (ลิฟต์)
จุดที่ 2 ถนนหนามแดง-บางพลี (บันไดเลื่อน)
จุดที่ 3 ซอยด่านสำโรง (ซอยสุขุมวิท 113) (บันไดเลื่อน)
จุดที่ 4 ซอยศรีด่าน 1 (ลิฟต์)

YL21 ศรีเทพา

 
สถานีศรีเทพา ตั้งอยู่บนถนนเทพารักษ์ บริเวณด้านหน้าหมู่บ้านธนเศรษฐ์แลนด์ เกิดจากการผสมระหว่างคำว่า "ศรีนครินทร์+เทพารักษ์" เป็นจุดตัดของถนน 2 สายนี้ และเป็นสถานีแรกที่ออกมาสู่ถนนศรีนครินทร์มุ่งหน้าลาพร้าว มีตำแหน่งทางขึ้น - ลง จำนวน 4 จุด
จุดที่ 1 สี่แยกศรีเทพา (ฝั่งใต้)
จุดที่ 2 ซอยร่วมจิตพัฒนา
จุดที่ 3 ถนนเทพารักษ์ กม. 3.5 (ฝั่งขาเข้า)
จุดที่ 4 สี่แยกศรีเทพา (ฝั่งเหนือ)
ในส่วนของสถานีบางกะปิ มีลิฟต์และทางลาด รองรับรถเข็นวีลแชร์ บริเวณทางขึ้น - ลง ที่ 2 และ 3 และมีบันไดเลื่อน รองรับในส่วนของ ทางขึ้น - ลง ที่ 1 และ 4
ชื่อของสถานีรถไฟฟ้าในประเทศไทยส่วนใหญ่ก็จะเป็นชื่อตามเขตพื้นที่นั้นๆ ซึ่งจะมีทั้งชื่อทางการและชื่อเฉพาะที่ชื่อติดปากของคนในพื้นที่มานาน เพื่อความสะดวกและไม่เข้าใจผิดก็จะนำชื่อนั้นๆ ขึ้นมาใช้ ส่วนชื่อของสถานีรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ที่ขึ้นต้นด้วย “ศรี” นั้น ก็ล้วนแล้วแต่เป็นสถานีที่ตั้งอยู่บนถนนศรีนครินทร์ ศรี + ชื่อแยก ชื่อซอย ชื่อที่คนนิยมเรียก นำมาตั้งเป็นชื่อสถานี เพื่อให้เข้าใจตรงกันว่าสถานีนี้ตั้งอยู่จุดตัดบริเวณใด เช่น เป็นจุดตัดของถนนศรีนครินทร์และเทพารักษ์ = ศรีเทพา นั่นเอง
ใครที่ยังไม่ลองนั่งรถไฟฟ้าสายสีเหลืองสามารถไปทดลองนั่งได้ฟรีนะคะ โดยสายนี้เป็นแบบไร้คนขับ ช่วงแรกให้นั่งเฉพาะ 13 สถานีที่กล่าวไปแล้วข้างต้น และมีจุดเชื่อมต่อทั้งหมด 4 จุด ซึ่งมีสถานีจุดเชื่อมต่อ 2 สถานีที่เปิดใช้บริการแล้ว ได้แก่ สถานีสำโรง สามารถเปลี่ยนเส้นทางไปใช้รถไฟฟ้า BTS สายสีเขียว สถานีสำโรง (ทางออกที่ 2 และ 3) สถานีหัวหมาก สามารถเปลี่ยนเส้นทางไปใช้รถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ สถานีหัวหมาก (ให้ใช้ทางออกที่ 2) และ รถไฟสายตะวันออก สถานีหัวหมาก (ให้ใช้ทางออกที่ 3) ส่วนอีก 2 สถานีจุดเชื่อมต่อ (ลาดพร้าว/แยกลำสาลี) ยังไม่เปิดให้ใช้บริการ และคาดว่าในอนาคตอันใกล้นี้ ท่านใดที่สนใจโครงการใกล้รถไฟฟ้าสายสีเหลือง แต่ยังไม่รู้จะเลือกใกล้สถานีไหนดี สามารถปรึกษากูรูได้ที่นี่ >> Add Line Checkraka
ขอบคุณภาพข้อมูลจาก กรมการขนส่งทางราง กระทรวงคมนาคม, โครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำโรง
แท็กที่เกี่ยวข้อง รถไฟฟ้าสายสีเหลือง คอนโดใกล้รถไฟฟ้าสายสีเหลือง สถานีรถไฟฟ้า ศรีลาซาล คอนโดติดรถไฟฟ้าสายสีเหลือง mrtyellowline ศรีนุช
Condo Guru
เขียนโดย ปรียานุช สองศร Condo Guru

พูดคุยกับกูรูได้ที่




เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)