ก่อนจะเซ็นต์รับโอนบ้านหรือคอนโดทุกครั้ง ขั้นตอนในการเข้าไปตรวจเช็คความเรียบร้อยเป็นเรื่องที่สำคัญ และไม่ควรละเลยเด็ดขาด ซึ่งแน่นอนว่าการตรวจแต่ละเรื่องย่อมต้องมีอุปกรณ์หรือตัวช่วยในการตรวจสอบ ดังนั้นวันนี้เราจะมาแนะนำอุปกรณ์ หรือของที่จำเป็นต้องมีติดตัวไปในวันตรวจรับโอนบ้านหรือคอนโดอย่างมืออาชีพ เพื่อไม่ให้พลาดทุกการตรวจสอบ จะต้องมีอุปกรณ์อะไรบ้างไปชมกัน
1. กระดาษ
แนะนำให้เตรียมกระดาษไว้สำหรับจดบันทึกข้อมูลที่ตรวจสอบว่ามีอะไรบ้างที่ต้องแก้ไข แนะนำให้เลือกใช้กระดาษ ขนาด A4 ที่มีเส้นบรรทัดจะทำให้จดข้อมูลได้เป็นระเบียบเรียบร้อยอ่านง่าย และสะดวกในการทำสำเนามากขึ้น
2. เครื่องเขียน
หลังจากที่เรามีกระดาษแล้ว ก็ต้องมีปากกา หรือดินสอ พร้อมอุปกรณ์สำหรับลลคำผิดอย่าง ยางลบหรือ ลิควิดเปเปอร์ไปด้วย
3. แบบแปลนบ้าน
แนะนำให้ขอล่วงหน้าจากโครงการ หากโครงการไม่มอบแบบให้ ให้ถ่ายสำเนาแบบบ้านหรือแบบห้องจากใบโบชัวร์ที่ทางโครงการแจกในช่วงก่อนที่เราจะไปซื้อแทนก็ได้ ถ้าแบบจากใบโบชัวร์ที่ได้รับมาไม่ได้แสดงสัญลักษณ์ระบุทิศ (ทิศเหนือ) มาให้ ให้เราเพิ่มข้อมูลในส่วนนี้ลงไปในใบโบชัวร์ที่เราจะเตรียมไปในวันตรวจสอบให้ชัดเจน จะช่วยให้การอ้างอิงถึงบริเวณต่างๆ ทำได้ง่ายยิ่งขึ้น
4. อุปกรณ์ทำเครื่องหมาย
เอาไว้ใช้สำหรับทำเครื่องหมายหรือระบุจุดที่ต้องการสั่งให้แก้ไข ควรเลือกใช้วัสดุที่มองเห็นได้ชัดเจน หรือเมื่อถ่ายภาพแล้วเห็นได้ชัดว่าจุดที่พูดถึงคือพื้นที่ส่วนไหน เมื่อพนักงานโครงการเข้ามาจะได้หาเจอได้แบบง่ายๆ ไม่พลาดในการมองเห็น เช่น เทปพันสายไฟ ข้อดีคือมีความเหนียวแน่นหนึบ และไม่ทำให้ผิววัสดุเสียหายเมื่อลอกออก หรือโพสต์อิท ติดง่าย สามารถเขียนข้อความสั่งงานลงไปบนโพสต์อิทได้ แต่ข้อเสียคือหลุดง่าย ไม่ค่อยแน่น
5. คัตเตอร์หรือกรรไกร
แนะนำให้พกกรรไกรหรือตัตเตอร์ติดตัวไปด้วย ไม่จำเป็นต้องเป็นขนาดใหญ่มากก็ได้ เผื่อเอาไว้สำหรับตัดเทปพันสายไฟ หรือมีอะไรที่จำเป็นต้องตัด
6. ถังน้ำ
เลือกใช้ถังน้ำขนาดกลางไม่เล็กจนเกินไป หรือจะใช้ภาชนะอื่นที่พอใส่น้ำมาแทนก็ได้ โดยนอกจากจะเอาไว้ใส่น้ำตอนที่ตรวจรับโอนแล้ว ถังน้ำนี่ยังสามารถใช้เป็นที่ใส่อุปกรณ์ต่างๆ ที่จะนำไปในวันตรวจรับโอนได้อีกด้วย
7. เศษผ้า หรือผ้าขี้ริ้ว
เอาไว้ใช้สำหรับเช็ดทำความสะอาดบริเวณที่มีน้ำรั่วซึม หรือสกปกรก นอกจากนี้ยังเอาไว้อุดช่องระบายน้ำเพื่อตรวจสอบการระบายน้ำในบริเวณต่างๆ ได้อีกด้วย
8. เทปวัด หรือตลับเมตร
ควรเลือกใช้เทปวัด หรือตลับเมตร แบบที่ใช้ในงานก่อสร้าง หรือแบบที่มีแถบวัดระยะทำด้วยเหล็ก เพราะจะมีแข็งแรงและสามารถยื่ดได้ยาวเพื่อวัดระยะต่างๆ ของบ้านหรือห้องคอนโดได้อย่างสะดวก
9. ไม้ยาว
อาจเป็นไม่ตรงๆ ที่ยาวพอสมควร เช่น ไม้หน้าสามที่ไสใหตรง หรือไม้บรรทัดที่ขายตามร้านเครื่องเขียนทั่วไปก็ได้ แต่แนะนำให้เลือกชนิดที่มียาวมากกว่า 60 เซนติเมตร หรือ 2 ฟุตขึ้นไป เอาไว้ใช้้สำหรับตรวจสอบระนาบของพื้นผิวดูว่ามีความเรียบเสมอกันหรือไม่
10. ลูกแก้ว หรือลูกเหล็ก
ใช้สำหรับตรวจสอบความลาดเอียงของพื้น ดูว่าพื้นมีความลาดเอียงหรือไม่ และลาดเอียงไปทางไหน ซึ่งสามารถตรวจสอบได้โดยนำลูกแก้วหรือลูกเหล็กมาบนพื้นที่ต้องการตรวจสอบ ไม่แนะนำให้ใช้ลูกปิดปองเพราะว่ามีน้ำหนักน้อยเกินไป ข้อมูลที่ได้อาจไม่แม่นยำ
11. ขนมปัง
หลายคนคงคิดไม่ถึงว่าขนมปังจะกลายเป็นส่วนหนึ่งของอุปกรณ์ในการตรวจรับโอนบ้านหรือคอนโดได้ แต่การเตรียมขนมปังปอนด์สีขาวไป 4-5 แผ่น ควรเลือกเป็นแบบแบบไร้ขอบ หรือไม่มีขอบเท่านั้น เอาไว้สำหรับเป็นตัวแทนของสิ่งปฎิกูล เพื่อตรวจสอบการทำงานของชักโครก
12. กล้องถ่ายภาพ
เอาไว้ใช้สำหรับบันทึกภาพจุดที่ต้องการให้แก้ไข หรือจะใช้กล้องในมือถือก็ได้ แค่ควรเป็นกล้องที่มีคุณภาพดีหน่อย ภาพจะได้คมชัดไม่เบอล และเวลาที่ถ่ายภาพควรเรียงลำดับการถ่ายภาพให้ตรงกับรายการที่จดไว้ให้มากที่สุด จะช่วยให้จำได้ว่าเป็นรูปที่ต้องการอธิบายเรื่องไหน และยังช่วยอ้างอิงกับรายการที่บันทึกไว้ได้ง่ายยิ่งขึ้น
13. เครื่องบันทึกเสียง
นอกจากล้องแล้วเราควรมีเครื่องบันทึกเสียงไปด้วย หรือจะใช้แอพพลิเคชั่นบันทึกเสียงในโทรศัพท์มือถือแทนก็ได้ ควรบันทึกเสียงตั้งแต่ไปตรวจงาน โดยพูดถึงหัวข้อที่ต้องการให้แก้ไขอย่างชัดเจนเป็นเรื่องๆ ไป เพื่อให้การบันทึกข้อมูลที่เกิดขึ้นในวันตรวจรับบ้านหรือคอนโดไม่ตกหล่น
14. ไฟฉาย
เอาไว้สำหรับส่องดูตามจุที่อยู่ในความมืด หรือมุมที่แสงส่องไม่ถึง เช่น บริเวณหนือฝ้าเพดาน ภายในท่อ แต่ถ้าไม่มีสามารถใช้ไฟฉายจากโทรศัพท์แทนก็ได้ แต่ข้อเสียคือไฟอาจจะไม่ค่อยสว่างนัก
แต่ถึงแม้ว่าโทรศัพท์มือถือเครื่องเดียวจะสามารถใช้งานแทนได้หลากหลายฟังก์ชัน ทั้งกล้องถ่ายภาพ เครื่องบันทึกเสียง หรือไฟฉาย แต่การที่เราจะใช้มือถือเครื่องเดียวทำอะไรหลายๆ อย่างในเวลาเดียวกัน อาจจะทำให้ไม่สะดวกมากนัก จึงแนะนะให้หาอุปกรณ์แยกชิ้นที่ทำหน้าที่แต่ละอย่างเฉพาะทางไปจะดีกว่า
15. อุปกรณ์ตรวจปลั๊กไฟ
อุปกรณ์นี้อาจะเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้า เช่น โคมไฟ พัดลมตัวเล็กๆ หรือที่ชาร์จมือถือ เพื่อตรวจเช็คดูว่าเมื่อเสียบปลั๊กไปแล้ว มีไฟจ่ายออกมาหรือไม่ หรือถ้าจะให้ดีแนะนำให้มี "เครื่องตรวจสอบขั้วเต้ารับชนิดมีสายดิน" หรือ "Easy Check Outlet" ของการไฟฟ้า ราคาประมาณ 300 บาท ที่สามารถตรวจสอบปลั๊กไฟฟ้ว่าเดินสายไฟฟ้าภายในแต่ละเส้นถูกต้องหรือไม่ นับเป็นอุปกรณ์ที่มีประโยชน์มากๆ ในการตรวจสอบปลั๊กไฟ
16. อุปกรณ์ตรวจสายโทรศัพท์
ต้องใช้อุปกรณ์สำหรับตรวจเช็คสัญญาณโทศัพท์โดยเฉพาะ หากเราไม่มีอุปกรณ์นี้ แนะนำให้ลงบันทึกในรายการตรวจสอบว่า "ยังไม่ได้ตรวจสอบระบบสายโทรศัพท์ภายใน โครงการต้องแก้ไขถ้าระยยที่เดินไว้ไม่สมบูรณ์" ถ้าวันที่เข้าอยู่แล้วระบบใช้งานไม่ได้ต้องแจ้งทางโครงการให้แก้ไขในทันที
17. ไขควง
ให้นำไขควงไปทั้งแบบที่เป็นหัว 2 แฉก และหัวแบบ 4 แฉก เลือกขนาดที่พอเหมาะเอาไว้สำหรับไขดูอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ต้องการตรวจสอบ เช่นสวิตช์ไฟฟ้า หรือปลั๊กไฟฟ้า หรือหากใครพอมีความรู้เรื่องช่างแนะนำให้นำไขควงเช็คไฟไปด้วยเพื่อตรวจสอบดูว่าจุดไหนมีไฟฟ้าเดินฝ่าน หรือมีไฟรั่วหรือไม่ด้วยก็ได้ แต่หากใครไม่มีความรู้ให้ข้ามข้อนี้ไปเพราะอาจจะเป็นอันตรายได้
18. ถุงมือยาง รองเท้ายาง
เพื่อความปลอดภัยในระหว่างที่ทำการเดินตรวจสอบ ควรใส่ถึงมือยาง และรองเท้ายางเอาไว้เพื่อเป็นการช่วยป้องกันไม่ให้เกิดอันตรายหากว่าเกิดมีไฟฟ้าลัดวงจรจะได้ไม่เข้าตัว
19. บันได
และสุดท้ายคือบันไดที่มีความสูงหน่อยเหมือนบันไดช่าง แต่เนื่องจากเป็นอุปกรณ์ที่ชิ้นใหญ่เราไม่จำเป็นต้องเอาไปเอง แต่อาจจะขอยืมจากทางโครงการให้ช่วยจัดหาหรือเตรียมไว้ให้ในวันที่เราจะเข้าไปตรวจสอบ