คอนโดที่ขายๆ กันอยู่ตอนนี้น้อยมากๆ ที่จะมีที่จอดรถ 100% ปกติคนส่วนมากก็จะกังวลที่จอดรถในเรื่องจำนวน แต่ว่าลืมนึกถึงปัญหา "ขนาดช่องจอด" ที่มีขนาดพอดีกับรถ เปิดประตูลงมาไม่ได้ ติดรถคันข้างๆ บ้าง ติดกำแพงบ้าง แล้วต้องเจอปัญหาแบบนี้ทุกวันก็ปวดหัวใช่เล่น วันนี้เรามาดูกันว่าที่จอดรถคอนโดนั้นมีปัญหาอะไรบ้างเมื่อลูกบ้านเข้าไปใช้จริงๆ ค่ะ
1. จำนวนที่จอดรถในคอนโด เขาคิดกันแบบไหน?
ตามกฎกระทรวงฉบับที่ 7 และ พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2544 "คอนโดมิเนียม" จัดอยู่ในประเภทของ "ที่อยู่อาศัยรวม" หรือ "อาคารชุด" โดยจะแบ่งเป็น 2 กรณี คือ คอนโดที่ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่กรุงเทพฯ และคอนโดที่ตั้งอยู่นอกเขตพื้นที่กรุงเทพฯ
คิดตามพื้นที่การใช้สอย
คิดตามขนาดของอาคาร
จากทั้ง 2 กรณีผู้ประกอบการก็จะคำนวณและเลือกแบบที่ได้ที่จอดรถมากที่สุด หากจะคิดเป็นเปอร์เซ็นต์สามารถคิดได้ดังนี้
คอนโดห้องกว้าง ที่จอดรถก็จะยิ่งมากตาม ราคานั้นคอนโดก็จะแพง เพราะเวลาคิดราคาขายต้องรวมเอาพื้นที่ทั้งหมด (ห้อง+ส่วนกลาง+ที่จอดรถ) ดังนั้นพื้นที่จอดรถหรือช่องจอดจึงต้องออกแบบมาให้พอดีมากที่สุดตามที่กฏหมายกำหนด เพื่อไม่ให้สิ้นเปลือง เดี๋ยวเรามาดูกันว่าหากทำตามกฎหมายเป๊ะๆ แล้ว การใช้งานจริงจะเป็นอย่างไร
2. คอนโดหรู...แต่ช่องจอดรถขนาดเท่ารูหนู
เรามีภาพจริงของที่จอดรถจากคอนโดใจกลางกรุงเทพฯ มาให้ดูกันค่ะ ซึ่งภาพด้านล่างนี้เป็นภาพช่องจอดในคอนโดของ 2 โครงการ ซึ่งแต่ละโครงการนั้นต่างก็มีชื่อเสียงอยู่ในตลาดหลักทรัพย์ทั้งนั้น ถ้าไม่นับเรื่องจำนวนที่จอดรถที่คิดเป็นเปอร์เซ็นต์ต่างๆ สิ่งที่เหมือนกันคือช่องจอดแคบมาก ลองนึกภาพตามว่าเราลงจากรถบางทีก็จะมีกระเป๋าของที่ต้องถือมากมาย การลงหรือขึ้นจากรถนี่เรียกได้ว่าเป็นความลำบากที่ต้องเจอในทุกวันๆ เลย คำถามคือทำไมที่จอดรถคอนโดถึงแคบขนาดนี้ อะไรคือคำโฆษณาที่บอกว่าใส่ใจผู้อยู่อาศัย?
คอนโด A ย่านพระราม 4
ช่องจอดรถคอนโดหรูแต่ลงจากรถได้ด้านเดียว
ช่องนี้ถูกต้องตามกฎหมายจริง (2.4 x 5.0 ม.) แต่พอดีเกินไปในชีวิตจริง ยังขึ้นลงรถลำบาก
ที่จอดรถเล็กจนต้องกำหนดให้เป็นช่องจอดของรถ Eco car
คอนโดหรูแต่ฝั่งคนขับไม่สามารถลงจากรถได้ ต้องลงอีกฝั่งซึ่งก็เปิดประตูลำบาก
คอนโด B ย่านสีลม
ทางเดินรถในคอนโดถ้าสวนกันได้ต้องกว้างไม่น้อยกว่า 6 เมตร แต่ของจริงรูปนี้ขับสวนกันยากมาก และถ้าลองวัดจริงๆ อาจไม่ถึง 6 เมตร
ช่องจอดนี้ขนาดถูกต้องตามกฎหมาย 2.4 x 5.0 เมตรพอดี แต่ในความเป็นจริงเป็นช่องจอดที่ลงจากรถแทบไม่ได้
3. กฎหมายกำหนดช่องจอดรถไว้แค่ไหน
กฎหมายบ้านเราเวลาสร้างคอนโดมิเนียมในเขตกรุงเทพฯ ผู้ประกอบการจะต้องปฏิบัติตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครควบคุมอาคาร 2544 ในหมวด 9 เรื่องอาคารจอดรถ ที่จอดรถ ที่กลับรถและทางเข้าออกของรถ ประกอบกับกฎกระทรวงที่ออกภายใต้ พรบ. ควบคุมอาคาร ซึ่งระบุไว้ดังนี้
สรุปแล้วก็คือที่จอดรถจะมี 3 รูปแบบหลักๆ ดังนี้
ที่จอดรถแบบทำมุมกับทางเดินรถตั้งแต่ 30 องศาขึ้นไป (ภาพจาก
https://www.thestreetratchada.com/About )
4. กฎหมายตั้งแต่ปี 2544 รถใหม่ๆ ยังจอดกันได้อยู่ไหม?
ปัจจุบันที่จอดรถของคอนโดยังใช้กฎหมายเมื่อ 20 ปีที่แล้วอยู่ แต่รถในปัจจุบันพัฒนาออกกันปีละหลายๆ รุ่น ขนาดนั้นก็ใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ ส่วนทางกับขนาดที่จอดรถ ที่ยังคงมีช่องจอดเท่าเดิม หากใครที่ขับ SUV หรือ Super car ก็จะมีปัญหาเข้า-ออกช่องจอดยาก ลงรถไม่ได้เพราะติดคันข้างๆ ต้องคอยระวังอย่างสูงไม่ให้เปิดประตูไปกระแทกคันข้างๆ เรามาดูกันค่ะว่ารถที่ออกใหม่ๆ ช่วง 2-3 ปีมานี้ มีขนาดเท่าไหร่กันแล้วบ้าง
จากรูปด้านบนจะเห็นได้ว่ารถแต่ละคันจะสามารถจอดเข้าไปในพื้นที่กว้าง 2.40 เมตร และยาว 5 เมตร ได้แน่นอน โดยเฉพาะรถเล็กๆ หรือ City car จะไม่มีปัญหา แต่ถ้าเริ่มเป็นรถ SUV รถตู้ หรือ Super Car ก็จะจอดลำบากแล้ว เช่น Honda HRV กว้าง 1.840 เมตร แน่นอนว่าไม่เกินช่องจอด 2.40 เมตร แต่ในความเป็นจริงเราเปิดประตูลงจากรถยากมากๆ และถ้าหากเป็น Alpard ความยาว 5 เมตร ของช่องจอด ก็แทบไม่มีพื้นที่ให้เปิดประตูด้านหลังรถ ดังนั้นผู้ประกอบการควรที่จะตระหนักในเรื่องนี้ แม้ว่าจะไม่ผิดกฎหมาย แต่ก็ควรที่จะทำที่จอดรถให้เหมาะสมกับวิถีชีวิตลูกบ้าน เพื่อความสะดวกสบายของลูกบ้านทั้งหมด ส่วนที่จอดรถมอเตอร์ไซค์
และอีก 1 สิ่งที่สำคัญสำหรับที่จอดรถคือต้องมีที่กันตกแบบแข็งแรง เราเห็นข่าวรถตกจากที่จอดรถปีละหลายๆ คัน เหตุมาจากการเข้าเกียร์ผิด หรือคิดว่าคันเร่งเป็นเบรก ฯลฯ บ้านเราไม่ได้มีกฎหมายออกแบบที่กันตกรถยนต์อย่างมีมาตรฐานแบบสามารถรองรับแรงกระแทกได้ เป็นเพียงปูนก่อขึ้นมาเพื่อกันหวาดเสียวเท่านั้น แตกต่างกับที่ต่างประเทศอย่างออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ ที่กันตกต้องรองรับแรงกระแทกได้ถึง 280 กิโลกรัมขึ้นไป และสูง 1.3 เมตร หากเป็นทางวิ่งลาดยาวต้องรองรับแรงกระแทกได้ 24 ตัน สร้างด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก 2 ชั้นขึ้นไป ห้ามใช้วัสดุที่มความหนาแน่นน้อยกว่านี้เป็นอันขาด เรื่องนี้ควรแก้ไขเข้าสู่ พรบ. ควบคุมอาคาร เพื่อให้ผู้ใช้รถมีความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น
5. ถึงเวลาต้องแก้กฎหมายแล้วหรือยัง?
กฎหมายกำหนดขนาดที่จอดรถมาเป็น 20 ปีแล้ว ดังนั้นควรจะมีการปรับเปลี่ยนขนาดช่องจอดให้มีความสอดคล้องกับรุ่นรถยนต์ในปัจจุบันมากยิ่งขึ้น โดยขนาดพื้นที่ที่จอดรถมาตรฐานตามกฎหมายสำหรับรถ 1 คัน ต้องมีขนาด 2.40 x 5.00 ม. เพื่อความสะดวกในการขึ้น-ลง เปิดประตู ควรเผื่อพื้นที่ด้านข้างไว้อีกประมาณข้างละ 0.3 เมตร และเผื่อสำหรับการเปิดประตูท้ายรถด้วย ขนาดที่พอเหมาะน่าจะอยู่ที่ 2.80-3.00 x 5.50-6.00 เมตร หากต้องมีการแก้ไขจริงๆ ผู้มีความเชี่ยวชาญจะต้องทำการวิจัยและวัดระยะให้มีความแม่นยำ อาจจะต้องชั่งคนละครึ่งระหว่างความสะดวกสบายของผู้ใช้รถและความคุ้มค่าของเจ้าของโครงการ
6. การแก้ปัญหาที่จอดรถในปัจจุบัน
ในปัจจุบันการเรื่องขนาดช่องจอดยังไม่ได้รับการแก้ไขเท่าไรนัก แต่เรื่องปัญหาที่จอดไม่พอก็ได้มีการแก้ปัญหากันไปแต่ละโครงการ เช่น เก็บค่าที่จอด ออกโฉนดที่จอดรถส่วนตัว และโครงการใหม่ๆ และรวมถึงบรรดาห้างสรรพสินค้า โรงพยาบาลได้หันมาใช้ Automatic Parking หรือระบบจอดรถอัตโนมัติกันเยอะขึ้น ซึ่งก็มีทั้งข้อดีและข้อเสียดังนี้
ข้อดี
1. ช่วยเพิ่มพื้นที่จอดรถ ทำให้จอดรถได้เยอะขึ้น ไม่ต้องเหลือพื้นที่ขึ้น-ลงรถ
2. ประหยัดเวลาในการหาที่จอดรถ ระบบจะโชว์อัตโนมัติว่าจอดได้กี่คัน ว่างจอดกี่คัน
3. ลดความเลี่ยงในการเฉี่ยว ชน ในการถอยเข้าที่จอดรถ
4. ไม่เหนื่อยเดินจากที่จอดรถเข้าห้องพัก (ในกรณีได้ที่จอดรถไกลจากทางเข้า-ออก)
ข้อด้อย
1. คนส่วนใหญ่กังวลว่าถ้าระบบโปรแกรมเสียจะมีวิธีแก้หรือลดผลกระทบอย่างไร
2. ช่วงเวลาที่รถเยอะอาจจะต้องรอคิวนาน
3. หากมีอะไหล่เสีย อาจไม่มีอะไหล่ให้ได้ทันทีต้องสั่งจากต่างประเทศ
ปัจจุบัน Auto Parking ในมุมมองบางท่านยังมีข้อด้อยและไม่สามารถที่จะแก้ปัญหาที่จอดรถได้อย่างลื่นไหลและยั่งยืน ซึ่งหากจะแก้ต้องแก้ถึงต้นตอซึ่งมี 2 ประเด็นใหญ่ๆ คือ 1) แก้กฎหมายขนาดช่องจอดรถในประเทศไทย เพราะไม่สามารถอำนวยความสะดวกและใช้งานได้จริงสำหรับรถที่มีขนาดใหญ่ได้ 2) แม้กฎหมายจะกำหนดขนาดไว้ แต่ถ้าผู้ประกอบการใส่ใจถึงการใช้งานของผู้บริโภคจริง ก็ควรทำขนาดช่องจอดให้ใหญ่ขึ้นอีกเพื่อรองรับรถรุ่นใหม่ๆ บางท่านซื้อคอนโดหรูราคาแพงแต่กลับมามองที่จอดรถก็รู้สึกว่าไม่สมราคา ทั้งๆ ที่เป็นส่วนกลางของโครงการที่ต้องใช้ทุกวัน ดังนั้นก็ควรจะปรับให้มีคุณภาพตามราคาคอนโดด้วย ไม่ใช่เพิ่มเฉพาะจำนวนช่องจอดค่ะ