เตรียมตัวยังไงให้คู่รัก LGBTQ กู้ร่วมซื้อบ้านได้ผ่านฉลุย
ปัจจุบันสังคมไทยเปิดกว้างในเรื่องของความหลากหลายทางเพศ หรือกลุ่ม LGBTQ มากขึ้นอ รวมไปถึงการเปิดโอกาสให้คู่รักกลุ่ม LGBTQ สามารถทำธรุกรรมทางการเงินร่วมกันได้ด้วย ซึ่งถือเป็นข่าวดีสำหรับคู่รักที่ฝันอยากจะสร้างครอบครัวและซื้อบ้าน ทาวน์โฮม หรือคอนโดร่วมกัน หลายคนอาจมีคำถามในใจว่าแล้วจะต้องเตรียมตัวอะไรบ้าง เงื่อนไขในการกู้ร่วมเป็นอย่างไร ทำอย่างไรการกู้ร่วมครั้งนี้ถึงจะผ่านฉลุย ลดความเสี่ยงในการถูกธนาคารปฏิเสธ บทความนี้เรามีคำตอบมาให้แล้วค่ะ
1. เช็กสถาบันการเงินที่ให้คู่รัก LGBTQ กู้ร่วมกันได้
ที่ผ่านมาคู่รัก LGBTQ มัจะมีปัญหาและข้อจำกัดที่ทำให้ไม่สามารถขอสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยในฐานะผู้กู้ร่วมด้วยกันได้ เนื่องจากทางธนาคารมีนโยบายของการกู้ร่วมที่ระบุไว้ว่า "ผู้กู้ร่วมนั้นจะต้องเป็นบุคคลที่มีความใกล้ชิดกัน เป็นผู้ที่มีความสัมพันธ์ร่วมเชื้อสายเดียวกัน เช่น พ่อ แม่ พี่ น้อง หรือเป็นชายหญิงที่เป็นคู่สมรสกัน ซึ่งจะจดทะเบียนหรือไม่จดทะเบียนก็ได้" แต่กลุ่มคู้รัก LGBTQ ไม่เข้าข่ายนโยบายดังกล่าว เพราะยังไม่มีกฏหมายรองรับการจดทะเบียนสมรสของคู้รักเพศเดียวกัน
แต่ปัจจุบันมีหลายธนาคารที่เปิดโอกาสให้คู่รักกลุ่ม LGBTQ สามารถยี่นขอสินเชื่อที่อยู่อาศัยได้เหมือนกับคู่รักชาย-หญิงทั่วไปที่ไม่ได้จดทะเบียนสมรส อาทิ ธนาคารออมสิน ธนาคารไทยพาณิชย์ ธนาคารกสิกรไทย ธนาคารกรุงเทพ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา และธนาคารยูโอบี โดยหลักเกาณฑ์เงื่อนไขในการพิจารณาของแต่ละธนาคารก็จะแตกต่างกันไปแล้วแต่ข้อกำหนดตามที่ธนาคารระบุไว้ โดยคุณสมบัติหลักๆ พื้นฐานในการขอกู้ร่วมจะคล้ายกัน อาทิ
- ผู้กู้เป็นบุคคลธรรมดา สัญชาติไทย
- ผู้กู้อายุ 20 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป และไม่เกิน 65 ปี
- ภาระหนี้ไม่เกิน 60% ของรายได้
- มีอาชีพการงานที่มั่นคง ตรวจสอบได้
- ไม่เคยเป็นลูกหนี้ปรับโครงสร้างหนี้ของสถาบันการเงิน
2. เตรียมเอกสารในการกู้ร่วมให้พร้อม
ในส่วนของเอกสารที่ใช้สำหรับในการขออนุมัติสินเชื่อเพื่อซื้อบ้าน ทาวน์โฮม หรือคอนโด ไม่ว่าจะเป็นคู่รักชาย-หญิง หรือคู่รัก LGBTQ จะไม่ค่อยแตกต่างกัน ดังนั้นก่อนที่จะยื่นกู้ควรศึกษาให้ดีก่อนว่าเอกสารสำคัญที่ต้องใช้ประกอบการกู่ร่วมมีอะไรบ้าง เพื่อความสะดวกเวลาที่ต้องไปยื่นกู้ เพราะหากเอกสารไม่ครบอาจทำให้ขั้นตอนในการอนุมัติล่าช้าออกไป หรืออาจถูกปฎิเสธจากทางธนาคารได้ ดังนั้นเตรียมเอกสารให้ครบพร้อมไว้ดีที่สุด ซึ่งเอกสารจะมีด้วยกัน 2 ส่วนหลักๆ คือ
เอกสารส่วนตัว
- บัตรประชาชน
- ทะเบียนบ้าน
- ใบเปลี่ยนชื่อ-นามสกุล (ถ้ามี)
- สำเนาทะเบียนสมรส (ถ้ามี)
เอกสารด้านการเงิน
- หนังสือรับรองเงินเดือน
- สลิปเงินเดือน
- บัญชีเงินฝากธนาคารย้อนหลัง 6 เดือน
3. ศึกษาเงื่อนไขการกู้ร่วมของกลุ่ม LGBT
นอกจากการเตรียมเอกสารส่วนตัว และเอกสารด้านการเงินแล้ว เอกสารอีกส่วนหนึ่งที่คู่รัก LGBTQ จำเป็นจะต้องยื่นให้กับทางธนาคารด้วยเช่นกัน ก็คือ เอกสารที่แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ในลัษณะของคู่รัก อาทิ
- เอกสารรับรองการอยู่ร่วมกัน (เป็นแบบฟอร์มของทางธนาคารที่ให้คู่รัก LGBTQ เซ็นเพื่อยืนยันการใช้ชีวิตอยู่ร่วมกัน มีเฉพาะบางธนาคารเท่านั้น)
- รูปถ่ายงานมงคลสมรส (ถ้ามี)
- ทะเบียนสมรส จากประเทศที่รองรับการจดทะเบียนของ LGBT พร้อมแปลเอกสารเป็นภาษาไทย (ถ้ามี)
4. มีวินัยทางการเงินดี
ความพร้อมทางด้านการเงินก็เป็นเรื่องสำคัญไม่แพ้กัน หรือจะเรียกว่าสำคัญที่สุดก็ได้ เพราะหากคุณมีวินัยทางการเงินที่ดี เช่น มีเงินเก็บในบัญชีสม่ำเสมอ มีการลงทุนในกองทุนหรือฝากประจำบ้าง มีภาระหนี้ที่ต้องจ่ายต่อเดือนน้อย ไม่มีประวัติในการผิดนัดชำระหนี้หรือไม่ติดเคดิตบูโร ฯลฯ ซึ่งปัจจัยเหล่านี้จะช่วยสร้างความน่าเชื่อถือของคุณที่มีต่อธนาคารเพิ่มโอกาสในการอนุมัติเงินกู้ง่ายขึ้น
ยิ่งช่วงนี้ถือเป็นโอกาสที่ดีสำหรับคู่รัก LGBTQ ที่อยากซื้อที่อยู่อาศัย เพราะค่ายอสังหาริมทรัพย์หลายค่ายต่างออกแคมเปญ และมอบสิทธิพิเศษสำหรับคู่รัก LGBTQ ที่จองและซื้อที่อยู่อาศัยในช่วงเดือน Pride Month นี้ บวงกับช่วงโควิด 19 ที่อัตราดอกเบี้ยธนาคารปรับลดล จึงทำให้ผู้กู้ผ่อนธนาคารต่อเดือนต่ำลงไปด้วย ดั้งนั้นหากคู่รัก LGBTQ คู่ไหนที่คิดแล้วว่าในอนาคตอยากจะกู้ซื้อบ้านร่วมกัน ไม่ควรพลาดโอกาสดีๆ แบบนี้นะคะ ยังไงก็ลองนำเทคนิคเหล่านี้ไปปรับใช้กันดูนะคะ เพียงเท่านี้คู่รัก LGBTQ ก็สามารถมีเรือนหอหลังงาม หรือมีบ้านในฝันร่วมกันได้ไม่ยากแล้วจร้า