x
icon-filter ค้นหาคอนโด
product filter
product filter
product filter
product filter
product filter
product filter
product filter
product filter
product filter
product filter

ส่องความคืบหน้า รถไฟฟ้าสายสีทอง (สถานีกรุงธนบุรี-สถานีประชาธิปก) ภาพจริงถ่ายเอง ก่อนเปิดใช้ปี 63!

icon 31 มี.ค. 63 icon 4,366
ส่องความคืบหน้า รถไฟฟ้าสายสีทอง (สถานีกรุงธนบุรี-สถานีประชาธิปก) ภาพจริงถ่ายเอง ก่อนเปิดใช้ปี 63!

ส่องความคืบหน้า รถไฟฟ้าสายสีทอง (สถานีกรุงธนบุรี-สถานีประชาธิปก) ภาพจริงถ่ายเอง ก่อนเปิดใช้ปี 63!

ชาวฝั่งธนบุรีใกล้ได้ใช้เต็มที่แล้วกับ "รถไฟฟ้าสายสีทอง" โครงการที่มีระยะทางสั้นที่สุด จำนวนสถานีน้อยที่สุด และมีขนาดรถเล็กที่สุด ดำเนินการโดยกรุงเทพมหานคร และกลุ่มไอคอนสยาม เป็นรูปแบบรถไฟฟ้ารางเดี่ยว (โมโนเรล) ระบบล้อยาง มีความพิเศษตรงที่ควบคุมการเดินรถด้วยระบบคอมพิวเตอร์ไร้คนขับ (Automated People Mover Transit) ความเร็วสูงสุด 80 กม./ชม. จำนวน 3 ขบวน ขบวนละ 2 ตู้ มีระยะทางรวมทั้งหมดประมาณ 2.7 กิโลเมตร แบ่งการก่อสร้างออกเป็น 2 ระยะด้วยกัน
โครงการนี้ปัจจุบันยังอยู่ระหว่างการก่อสร้างมีความคืบหน้าไปแล้วกว่า 60% ส่วนค่าโดยสารอยู่ที่ 15 บาทตลอดสายเท่านั้น วันนี้เราได้ไปเก็บภาพบรรยากาศการก่อสร้างล่าสุดของรถไฟฟ้าสายสีทอง ก่อนที่จะเปิดใช้งานจริงมาฝากกัน แต่ต้องบอกก่อนว่าเนื่องจากตำแหน่งทางขึ้นลงของบางสถานียังไม่ได้ข้อสรุปที่แน่ชัดจึงอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ในอนาคต จะคืบหน้าไปมากขนาดไหนแล้วนั้น ถ้าพร้อมแล้วตามไปชมกันค่ะ
ระยะที่ 1 : ประกอบด้วย 3 สถานี คือ สถานีกรุงธนบุรี, สถานีเจริญนคร, สถานีคลองสาน ซึ่งระยะนี้แหละที่จะเตรียมเปิดให้ใช้ก่อนในปี 2563 นี้ เริ่มต้นจากสถานีกรุงธนบุรี (S7) ของรถไฟฟ้า BTS สายสีลม จากนั้นสร้างตามแนวถนนกรุงธนบุรี เลี้ยวซ้ายเข้าสู่ถนนเจริญนคร ผ่านวัดสุวรรณ ห้าง ICON SIAM สำนักงานเขตคลองสาน แล้วเลี้ยวซ้ายเข้าสู่ถนนสมเด็จเจ้าพระยา ผ่านโรงพยาบาลตากสิน และไปสิ้นสุดที่สถานีคลองสาน ซึ่งเป็นสถานีเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงเข้ม
ระยะที่ 2 : มี 1 สถานี คือ สถานีประชาธิปก แนวเส้นทางจะวิ่งต่อไปตามแนวถนนสมเด็จเจ้าพระยา ผ่านสถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา โรงเรียนจันทรวิทยา และสิ้นสุดบริเวณก่อนถึงวัดอนงคารามวรวิหาร ซึ่งสามารถเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีม่วงได้ในอนาคต

1. สถานีกรุงธนบุรี (G1)
ตั้งอยู่บนถนนกรุงธนบุรี ซึ่งเป็นสถานี Interchange ระหว่างรถไฟฟ้า BTS สายสีเขียว (สนามกีฬาแห่งชาติ-บางหว้า) สถานีกรุงธนบุรี กับรถไฟฟ้าสายสีทอง สถานีกรุงธนบุรี และจุดนี้ยังเป็นที่ตั้งของโรงจอดและศูนย์ซ่อมบำรุงของรถไฟฟ้าสายสีทองอีกด้วย
  • ทางขึ้นลงจุดที่ 1 อยู่หน้าโรงจอดแล้วจร ค่อนมาทางโครงการ ไฮฟ์ สาทร
  • ทางขึ้นลงจุดที่ 2 อยู่หน้าโรงจอดแล้วจร ค่อนมาทางโครงการ วิลล่า สาทร
  • ทางขึ้นลงจุดที่ 3 อยู่ใกล้ทางออกที่ 4 ของ BTS กรุงธนบุรี หรือ ใกล้กับ บริษัท โพลีอะคริลิค จำกัด

แผนที่ตั้งสถานีกรุงธนบุรี

แผนผังแสดงตำแหน่งทางขึ้นลงสถานีกรุงธนบุรี

ภาพจำลองสถานีกรุงธนบุรี

ภาพบรรยากาศจริงบริเวณสถานีกรุงธนบุรีของรถไฟฟ้สายสีทอง จะอยู่เชื่อมต่อกับสถานี BTS กรุงธนบุรี

โดยทางเชื่อมจะอยู่บนชั้น 2 ของสถานี

ตำแหน่งทางเชื่อมระหว่างรถไฟฟ้าสายสีทองสถานีกรุงธนบุรี กับ BTS กรุงธนบุรี
หากจะเปลี่ยนจากสายสีทองมาใช้บริการรถไฟฟ้า BTS จะต้องเสียค่าแรกเข้าระบบ 16 บาท

ทางขึ้นลงที่ 1 อยู่ใกล้กับโครงการ ไฮฟ์ สาทร ตรงจุดนี้มีทั้งบันไดแบบธรรมดา และลิฟต์

ปัจจุบันยังไม่มีบันไดให้เห็นเป็นรูปเป็นร่าง 

ทางลงฝั่งนี้จะอยู่บริเวณด้านหน้าลานจอดแล้วจรของ BTS กรุงธนบุรี ซึ่งลานจอดนี้สามารถรองรับรถได้ประมาณ 200 คัน

จุดขึ้นลงที่ 2 เป็นแบบบันได ยังคงอยู่หน้าจุดจรแล้วจร แต่จะค่อนมาทางฝั่งคอนโดวิลล่าสาทร ใกล้ป้ายรถประจำทาง

เริ่มมีการปรับพื้นที่สำหรับเตรียมการก่อสร้างบ้างแล้ว

ทางขึ้นลงที่ 3 เป็นแบบบันได อยู่ฝั่งขาออกนอกเมือง ในอนาคตจะสร้างเป็นสะพานลอยคนข้าม

ตำแหน่งทางขึ้นลง จะอยู่ใกล้กับ บริษัท โพลีอะคริลิค จำกัด

จากสถานีกรุงธนบุรี แนวเส้นทางรถไฟฟ้าจะมุ่งหน้าไปทางทิศตะวันออก (ไปทางสาทร) แล้วเลี้ยวซ้ายเข้าสู่ถนนเจริญนคร

ผ่านแยกถนนกรุงธนบุรี-ถนนเจริญนคร (แยกท่าเรือเป๊ปซี่) จากนั้นเลี้ยวซ้ายเข้าถนนเจริญนคร

จากมุมนี้มองตรงไปเริ่มจะเห็นสถานีเจริญนครแล้ว

2. สถานีเจริญนคร (G2)
ตัวสถานีตั้งอยู่ถนนเจริญนครระหว่างคลองวัดทองเพลงกับซอยเจริญนคร 4 หรือจำง่ายๆ คือ อยู่ด้านหน้าห้าง ICON SIAM และสถานียังมี Sky Walk ที่สามารถเดินตรงเข้าสู่ตัวห้างได้เลยอีกด้วย โดยตำแหน่งของตัวสถานีสร้างไว้ตามแนวเกาะกลางถนนเจริญนคร
  • ทางขึ้นลงจุดที่ 1 ตั้งอยู่ระหว่างสะพานข้ามคลองวัดทองเพลง กับซอยเจริญนคร 6
  • ทางขึ้นลงจุดที่ 2 ตั้งอยู่ระหว่างซอยเจริญนคร 6 กับซอยเจริญนคร 4
  • ทางขึ้นลงจุดที่ 3 ตั้งอยู่ด้านหน้าห้าง ICON SIAM ใกล้ประตูทางเข้า SIAM Takashimaya
  • ทางขึ้นลงจุดที่ 4 ตั้งอยู่ด้านหน้าห้าง ICON SIAM ค่อนไปทางฝั่งซอยเจริญนคร 5

แผนที่ตั้งสถานีเจริญนคร

แผนผังแสดงตำแหน่งทางเข้าออกของสถานีเจริญนคร

ภาพจำลองสถานีเจริญนคร

ตัวสถานีเริ่มก่อสร้างให้เห็นบ้างแล้ว ตั้งอยู่ด้านหน้าห้าง ICON SIAM
ทางขึ้นลงจุดแรกอยู่ใกล้สะพานข้ามคลองวัดทองเพลง

คาดว่าตรงจุดนี้จะเป็นบันไดแบบธรรมดา ล้อมรั้วสำหรับเตรียมก่อสร้างแล้ว

จุดที่ 2 ตั้งอยู่ใกล้กับซอยเจริญนคร 6 ซึ่งยังไม่ได้ก่อสร้างในส่วนของบันได แต่ตรงจุดนี้คาดว่าจะเป็นแบบบันไดเลื่อน 

ตรงจุดนี้เป็นที่ตั้งของลิฟต์โดยสาร
ส่วนพื้นที่ก่อสร้างด้านข้างที่ล้อมรั้ว ในอนาคตจะกลายเป็นห้าง ICON SIAM เฟส 2

ตำแหน่งจะขยับค่อนมาทางฝั่งเจริญนครซอย 4

หากเดินเลยซอยเจริญนคร 4 ไปนิดนึงจะเป็นที่ตั้งของ B-Quik

ข้ามถนนไปดูจุดขึ้นลงฝั่ง ICON SIAM กันต่อ

จุดขึ้นลงนี้อยู่ด้านหน้าห้าง ICON SIAM จากมุมนี้จะมองเห็นตำแหน่งบันได

เดินลงมาปุ๊บเจอประตูทางเข้าห้างโซน SIAM Takashimaya เลย

เป็นบันไดแบบธรรมดา อยู่ใกล้กับทางเชื่อมบนชั้น 2 ระหว่างห้างกับตัวสถานีเจริญนคร

ตรงจุดนี้มีลิฟต์ไว้คอยบริการด้วย

จากมุมนี้จะมองเห็นทางเดินที่ก่อสร้างเป็น Sky Walk เชื่อมต่อจากสถานีเข้าสู่ตัวห้าง

ช่วยอำนวยความสะดวกให้กับผู้ที่จะเดินทางมาใช้บริการห้างได้เป็นอย่างดี

ขยับมาอีกนิดจะเจอกับทางขึ้นลงอีกจุด 

ตรงจุดนี้เป็นแบบบันไดเลื่อน เห็นหน้าตาเป็นรูปเป็นร่างแล้ว

อยู่ใกล้ป้าย ICON SIAM หรือทางออกของห้าง (ซอยเจริญนคร 5)
สถานที่ใกล้เคียงรอบสถานีเจริญนคร 

ห้าง ICON SIAM ห้างขนาดใหญ่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา และยังถือเป็นแลนด์มาร์กที่สำคัญของฝั่งธนบุรีอีกด้วย

แมกโนเลียส์ วอเตอร์ฟรอนท์ เรสซิเดนซ์ คอนโดริมแม่น้ำเจ้าพระยา

โรงแรม มิลเลนเนียม ฮิลตัน กรุงเทพ เป็นโรงแรมหรูวิวแม่น้ำเจ้าพระยา

คลองสาน พลาซ่า แหล่งรวมอาหาร และของช้อปปิ้งหลายร้านค้าที่วางขายกันยาวตลอดซอยลึกไปจนถึงด้านใน
ซึ่งเป็นที่ตั้งของท่าเรือคลองสาน สามารถข้ามไปยังฝั่งสี่พระยาได้

3. สถานีคลองสาน (G3)
ตำแหน่งของสถานีจะอยู่เยื้องกับโรงพยาบาลตากสิน มีทางเดิน Sky Walk เชื่อมเข้าสู่โรงพยาบาลตากสินได้โดยตรง และสถานีนี้ในอนาคตยังจะเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีแดงเข้ม (ช่วงหัวลำโพง-บางบอน-มหาชัย) ได้อีกด้วย ปัจจุบันยังติดปัญหาเรื่องข้อสรุปจุดขึ้นลง
  • ทางขึ้นลงจุดที่ 1 อยู่ด้านหน้าโรงพยาบาลตากสิน ค่อนไปทางสำนักงานเขตคลองสาน
  • ทางขึ้นลงจุดที่ 2 เป็นทางเชื่อม Sky Walk เข้าสู่ตัวโรงพยาบาลตากสิน
  • ทางขึ้นลงจุดที่ 3 เป็นลิฟต์อยู่ด้านหน้าโรงพยาบาลตากสิน ใกล้ป้ายรถประจำทาง
  • ทางขึ้นลงจุดที่ 4 เป็นบันไดวนค่อนไปทางฝั่งถนนลาดหญ้า

แผนที่ตั้งสถานีคลองสาน

แผนผังแสดงตำแหน่งทางขึ้นลงของสถานีคลองสาน

ภาพจำลองสถานีคลองสาน

จากสถานีเจริญนครแนวรถไฟฟ้าจะตรงมาข้ามแยกคลองสาน

และโค้งเข้าสู่ถนนสมเด็จเจ้าพระยาก็จะเจอกับสถานีคลองสาน

ตำแหน่งทางขึ้นลงจุดนี้คาดว่าจะอยู่บริเวณด้านหน้าโรงพยาบาลตากสิน
ค่อนมาทางฝั่งคลองสาน (ประมาณแนวรั้วสีเขียว) เป็นบันไดแบบธรรมดา

และมีทาง Sky Walk เชื่อมต่อจากชั้น 2 ของสถานีเข้าสู่ตัวอาคารของโรงพยาบาลตากสิน
โดยตำแหน่งของ Sky Walk จะอยู่เหนือประตูทางเข้าหลักของโรงพยาบาลตากสิน

และจะมีลิฟต์บริการอีก 1 จุด ตำแหน่งอยู่ใกล้กับป้ายรถโดยสารประจำทาง หน้าโรงพยาบาลตากสิน

ทางขึ้นลงอีกจุดอยู่ฝั่งตรงข้ามกับโรงพยาบาลตากสิน ตรงจุดนี้สร้างมาเป็นแบบบันไดวน

สามารถเดินข้ามมายังถนนลาดหญ้าได้ ใกล้โครงการศุภาลัย พรีเมียร์ เจริญนคร
ซึ่งถนนเส้นนี้ในอนาคตยังจะเป็นแนวเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีแดงเข้มอีกด้วย
สถานีที่ใกล้เคียงรอบสถานีคลองสาน

โรงพยาบาลตากสิน

วัดทองนพคุณ ตั้งอยู่ภายในซอยสมเด็จเจ้าพระยา 7 หรือติดกับซอยโรงพยาบาลตากสิน

สถานีดับเพลิงคลองสาน

ล้ง 1919 สถานที่ท่องเที่ยวริมน้ำที่ออกแบบมาในสไตล์จีนโบราณ มีมุมถ่ายรูปเยอะ
หรือจะแวะมาสักการะศาลเจ้าแม่หม่าโจ้ว (คลองสาน) ที่นี่ก็มี

ตลาดท่าดินแดง ย่านที่มีชื่อเสียงและเต็มไปด้วยอาหารอร่อยๆ

หากเข้าไปสุดถนนจะเป็นที่ตั้งของ ท่าเรือท่าดินแดง

4. สถานีประชาธิปก (G4)
สถานีประชาธิปก อยู่ในแผนการก่อสร้างระยะที่ 2 มี 1 สถานี โดยจากสถานีคลองสานมุ่งหน้าต่อมาบนทางเดินเท้าของถนนสมเด็จเจ้าพระยาประมาณ 950 เมตร ก็จะถึงสถานีประชาธิปก โดยตัวสถานีจะตั้งอยู่ระหว่างซอยสมเด็จเจ้าพระยา 4 กับซอยสมเด็จเจ้าพระยา 8
  • ทางขึ้นลงจุดที่ 1 อยู่ระหว่างซอยสมเด็จเจ้าพระยา 3 กับซอยสมเด็จเจ้าพระยา 5 ใกล้ร้านล้างรถ A Clean Car Wash
  • ทางขึ้นลงจุดที่ 2 อยู่ระหว่างซอยสมเด็จเจ้าพระยา 6 กับซอยสมเด็จเจ้าพระยา 4
  • ทางขึ้นลงจุดที่ 3 อยู่ระหว่างซอยสมเด็จเจ้าพระยา 6 กับซอยสมเด็จเจ้าพระยา 4 ค่อนมาทางวัดอนงคารามวรวิหาร

แผนที่ตั้งสถานีประชาธิปก

แผนผังแสดงตำแหน่งทางเข้าออก

ภาพจำลองสถานีประชาธิปก และตำแหน่งทางขึ้นลง

ภาพบรรยากาศจริงบริเวณถนนสมเด็จเจ้าพระยาบริเวณซอยสมเด็จเจ้าพระยา 8
ซึ่งจะเป็นที่ตั้งของสถานีประชาธิปกในอนาคต ปัจจุบันสถานีนี้ยังไม่มีการก่อสร้าง

โดยทางขึ้นลงจุดแรกจะอยู่ระหว่างซอยสมเด็จเจ้าพระยา 3 กับซอยสมเด็จเจ้าพระยา 5 เป็นบันไดแบบธรรมดา
ซึ่งอยู่ใกล้กับร้านล้างรถ (อาคารสีเหลือง)

ภาพจำลองทางออกของสถานีประชาธิปกฝั่งที่ค่อนไปทางวัดอนงคาราม ฝั่งนี้มีทางออกอีก 2 จุด
โดยจุดที่ 2 เป็นแบบบันไดธรรมดา และจุดที่ 3 เป็นลิฟต์

ภาพบรรยากาศจริงบริเวณระหว่างซอยสมเด็จเจ้าพระยา 6 กับซอยสมเด็จเจ้าพระยา 4

ปลายทางออกที่ 3 จะอยู่ใกล้กับซอยทางเข้าอุทยานเฉลิมพระเกียรติ
สถานที่ใกล้เคียงรอบสถานีประชาธิปก

วัดอนงคารามวรวิหาร

อุทยานเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระศรีนครินทรา-บรมราชชนนี

สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา
แท็กที่เกี่ยวข้อง ความคืบหน้ารถไฟฟ้าสายสีทอง อัปเดตความคืบหน้ารถไฟฟ้า 2563
Condo Guru
เขียนโดย เช็คราคา.คอม Condo Guru

พูดคุยกับกูรูได้ที่




เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)