x
icon-filter ค้นหาคอนโด
product filter
product filter
product filter
product filter
product filter
product filter
product filter
product filter
product filter
product filter

รู้ก่อนใช้ ประเภทของกระเบื้องเซรามิกและพื้นไม้

icon 17 ก.พ. 65 icon 32,852
รู้ก่อนใช้ ประเภทของกระเบื้องเซรามิกและพื้นไม้
วันนี้เราจะมาพูดถึง "กระเบื้องเซรามิก" และ "พื้นไม้" ที่มักจะติดมากับห้องคอนโด หรือบ้านที่เราซื้อกันนะครับ ซึ่งกระเบื้องเซรามิก และพื้นไม้แต่ละประเภทนั้นมีการใช้วัตถุดิบ และส่วนผสมในการผลิตที่แตกต่างกัน วันนี้เรามาเรียนรู้คุณสมบัติ และความเหมาะสมในการใช้ของวัสดุแต่ละประเภทพวกนี้กันครับ
ประเภทของพื้นกระเบื้อง

1. กระเบื้องบุผนัง (Wall Tiles)

กระเบื้องประเภทนี้มีทั้งแบบการปูผนังภายในและกระเบื้องสำหรับปูภายนอก ต้องเลือกให้ถูกชนิด เพราะกระเบื้องบุผนังภายในนั้นสามารถรับน้ำหนักได้น้อย และไม่ทนทานต่อรอยขูดขีดและสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงบ่อย ดังนั้นแล้วไม่ควรนำมาปูพื้นหรือปูผนังภายนอกอาคารเป็นอย่างยิ่ง (เปอร์เซ็นต์การดูดซึมน้ำไม่เกิน 17%) ส่วนกระเบื้องบุผนังภายนอกก็จะมีความทนทานมากกว่า
ขอบคุณภาพจาก https://totaltiles.co.uk/

2. กระเบื้องปูพื้น (Floor Tiles)

เหมาะสำหรับการปูพื้นอาคารเนื่องจากสามารถรับน้ำหนักได้มาก ทนทานต่อรอยขูดขีด และยังสามารถปูผนังได้อีกด้วย (เปอร์เซ็นต์การดูดซึมน้ำไม่เกิน 6%)
ขอบคุณภาพจาก https://www.thespruce.com/

3. กระเบื้องแกรนิตโต้ (Granito)  

เป็นกระเบื้องที่มีการผสมผงหินแกรนิต และผลิตเป็นเนื้อเดียวกันทั่วทั้งแผ่น ไม่มีการเคลือบผิวหน้า โดยมีความสามารถในการรับแรงได้มาก และทนต่อการขัดสีได้ดีกว่ากระเบื้องชนิดอื่นๆ จึงเหมาะกับการใช้งานในการปูพื้นอาคารที่มีการใช้งานเป็นประจำ เช่น พื้นห้องนั่งเล่น พื้นอาคารสำนักงาน (เปอร์เซ็นต์การดูดซึมน้ำไม่เกิน 0.1%)

ขอบคุณภาพจาก https://www.homesukkapan.com/content/view/245

4. กระเบื้องเกลซพอร์ซเลน (Glazed Porcelain Tiles)

กระเบื้องที่มีการเคลือบสีที่ผิวหน้า ที่ผ่านกรรมวิธีการขึ้นรูปด้วยวิธีการปั๊ม ทำให้ได้กระเบื้องเนื้อแน่น และเรียบ มีเนื้อกระเบื้องเป็นแบบพอร์ซเลน มีความสามารถในการรับแรงได้มาก ทนต่อการขัดสีได้ดี เหมาะกับการใช้งานในการปูพื้นอาคารที่มีการใช้งานเป็นประจำ เช่น พื้นห้องนั่งเล่น พื้นอาคารสำนักงาน (เปอร์เซ็นต์การดูดซึมน้ำไม่เกิน 0.5%)

5. กระเบื้องโมเสค (Mosaic Tiles)

เป็นกระเบื้องที่มีมีขนาดเล็กไม่เกิน 4X4 นิ้ว เหมาะสำหรับตกแต่งผนัง ปูพื้นสระว่ายน้ำ หรืองานเฉพาะพื้นที่ เช่น ผนังโค้ง การปูกระเบื้องเรียงเป็นรูปต่างๆ (Art Tiles)

6. กระเบื้องแก้ว (Glass Tiles)

ลักษณะเป็นพื้นผิวมันวาวเนื้อโปร่งแสง เหมาะสำหรับตกแต่งผนังภายในทั่วไป มีทั้งแบบเป็นแผ่นและเป็นโมเสคเม็ดเล็ก
ขอบคุณภาพจาก https://www.tileletter.com/

7. กระเบื้องเรซิ่น (Resin Tiles)

มีลักษณะเป็นเรซิ่นนำมาหล่อขึ้นรูปร่วมกับวัสดุธรรมชาติ เช่น กลีบดอกไม้ ใบไม้ เหมาะสำหรับการตกแต่งผนังภายในบ้านทั่วไป แต่ไม่เหมาะกับบริเวณที่สัมผัสกับอุณหภูมิสูง เช่น ห้องครัว

ขอบคุณภาพจาก https://pourgreatart.com/
สำหรับกระเบื้องปูพื้นและปูผนังนั้นหากเป็นห้องที่มีพื้นที่มากสามารถเลือกกระเบื้องขนาด 16 x 16 นิ้ว, 24 x 24 นิ้ว, 24 x 48 นิ้ว ไปจนถึงขนาด 1 x 1 เมตร หากเป็นห้องที่มีพื้นที่ขนาดเล็กอาจจะใช้ขนาด 8 x 8 นิ้ว หรือ 12 x 12 นิ้ว แทน นอกจากจะเลือกกระเบื้องจากความสวยงามแล้ว ควรคำนึงถึงความปลอดภัยอีกด้วย เช่น ในบริเวณที่พื้นต้องสัมผัสกับน้ำควรเลือกกระเบื้องที่มีผิวหยาบเพื่อป้องกันอุบัติเหตุขณะลื่นล้ม แต่กระเบื้องที่มีผิวหยาบก็จะทำความสะอาดค่อนข้างยาก ดังนั้นควรเลือกใช้งานตามความเหมาะสมนะครับ ต่อไปเรามาดูประเภทของพื้นไม้กันดีกว่าครับ
ประเภทของพื้นไม้ 

1. พื้นไม้ลามิเนต (Laminate Flooring)

พื้นไม้ลามิเนตเป็นวัสดุปูพื้นที่ผลิตขึ้นมาเพื่อใช้งานทดแทนไม้ปาร์เก้ และพื้นไม้จริง จะมีคุณสมบัติที่เป็นจุดเด่นคือใช้เวลาการติดตั้งที่รวดเร็วกว่า ผิวหน้าสามารถทนทานต่อรอยขูดขีด แรงกดกระแทกได้ดีกว่า และ สามารถเลือกสีผิวหน้าให้เป็นลวดลายที่ต้องการได้ โดยส่วนประกอบของพื้นลามิเลตจะมีด้วยกัน 4 ส่วนคือ
ขอบคุณภาพจาก https://www.ctm.co.za/
1. ผิวหน้า เคลือบด้วย "เมลามีน เรซิ่น" สำหรับการป้องกันรอยขูดขีดและกดทับจากการใช้งาน
2. ลายไม้ ฟิล์มที่พิมพ์ลายไม้ตามแบบที่ต้องการเคลือบทับด้วยเมลามีนด้วยวิธีแรงดันสูงทำให้ลายไม้สามารถทนต่อแสงแดดได้เป็นปีๆ
3. ชั้นแกนกลาง ผลิตจากไม้จริงนำมาบดและอัดด้วยแรงดันสูงในส่วนชั้นนี้จะเป็นตัวกำหนดความคงทนของพื้นลามิเนต (โดยความหนาที่นิยมจะเป็น 8 ม.ม และ 12 ม.ม.) สำหรับความเชื่อที่ว่ายิ่งหนายิ่งดีกว่าคงไม่ถูกต้องนัก เพราะหากเป็นพื้น 8 ม.ม. ที่มีการผลิตที่ดีกว่า แบบ 12 ม.ม. ในส่วนแกนกลางมีความหนาแน่นกว่า ความชื้นเข้าถึงได้น้อยกว่า ก็จะมีความคงทนที่มากกว่าก็เป็นได้
4. ชั้นล่าง จะมีแผ่นฟิล์มไว้สำหรับป้องกันความชื้นจากพื้นผิวอาคาร 

ขอบคุณภาพจาก http://www.kronoswissthailand.com/

2. พื้นไม้เอนจิเนียร์ (Engineered Wood)

คือพื้นไม้ที่มีส่วนประกอบของแผ่นไม้จริง นำมารวมกับไม้อัดแท่งหรือไม้เนื้ออ่อนซ้อนทับกันหลายชั้น ซึ่งความรู้สึกจะแตกต่างจากพื้นไม้ลามิเนต และมีราคาที่สูงกว่า ซึ่งรายละเอียดของชั้นไม้จะแบ่งได้คร่าวๆ ดังนี้
ขอบคุณภาพจาก https://hardwoodfloorstore.co.uk/
1. ชั้นบนสุด จะเป็นไม้เนื้อแข็ง จะมีการตกแต่งลายไม้และเคลือบผิวกันรอยไว้
2. ชั้นแกนกลาง จะใช้พวกไม้สนอัดแท่ง, ไม้เนื้ออ่อน หรือ HDF แบบที่พื้นลามิเนตใช้โดยเนื้อไม้จะเป็นลักษณะยืดหยุ่นได้สูงเพื่อการยืดตัวของชั้นไม้
3. ชั้นล่างสุด จะเป็นไม้แผ่นที่มีความแข็งเพื่อรองรับแผ่นไม้กับพื้นห้อง
โดยความหนาของแผ่นไม้จะแตกต่างกันตามผู้ผลิต ยิ่งหนามาก ราคาก็จะสูงตามไปด้วย

3. พื้นไม้จริง

เป็นพื้นไม้ที่นำไม้จริงนำมาแปรรูปให้เป็นลักษณะแผ่น มีการเคลือบสารกันรอย กันปลวก ลายไม้ในแต่ละแผ่นอาจจะมีสีไม่สม่ำเสมอ สีของลายไม้อาจจะซีดจางหากถูกแสงแดดเป็นเวลานาน การใช้งานก็ต้องดูแลรักษามากกว่าพื้นไม้ประเภทอื่นๆ ปัจจุบันมีการทำเป็นระบบรางลิ้นรางเดือยเพื่อความสะดวกในการติดตั้ง

ขอบคุณภาพจาก https://commons.wikimedia.org/

4. พื้นไม้ปาร์เก้ (Parquet Flooring)

ไม้ปาร์เก้คือไม้จริงขนาดเล็กนำมาปูบนพื้นต่อๆกัน พื้นไม้ประเภทนี้ต้องระวังในเรื่องปลวก ความชื้นการหด และขยายตัวของไม้ รวมไปถึงรอยบนพื้นขณะเคลื่อนย้ายเฟอร์นิเจอร์ ควรดูแลพื้นไม้ประเภทนี้อย่างสม่ำเสมอ และควรใช้น้ำยาสำหรับทำความสะอาดพื้นไม้โดยเฉพาะอีกด้วย
ขอบคุณภาพจาก www.ขายไม้ทั่วไทย.com
พื้นไม้ในแต่ล่ะประเภทก็มีข้อดีข้อเสีย และข้อจำกัดที่แตกต่างกันออกไป เราควรเลือกใช้ให้เหมาะกับประเภทของห้องและงบประมาณนะครับ ทาง CheckRaka.com หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์กับผู้ที่ต้องการเลือกวัสดุสำหรับการปูพื้นห้องนะครับ
แท็กที่เกี่ยวข้อง วัสดุปูพื้นบ้าน วัสดุปูพื้นคอนโด ปูพื้น กระเบื้องเซรามิก พื้นไม้
Condo Guru
เขียนโดย เช็คราคา.คอม Condo Guru

พูดคุยกับกูรูได้ที่




เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)