เผยโฉม ... อนาคต "สามย่าน-จุฬา-สยาม" จะเปลี่ยนแปลงไปแค่ไหน ?
พื้นที่หลายๆ ส่วนในย่าน "สามย่าน-จุฬา-สยาม" นั้นไม่ได้เป็นกรรมสิทธิ์ของเอกชน หรือประชาชนทั่วไป แต่เจ้าของกรรมสิทธิ์ตัวจริงเสียงจริงของพื้นที่เหล่านี้คือ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ดังนั้น เมื่อสองหน่วยงานใหญ่นี้เริ่มขยับตัวก็ทำให้เกิดแรงกระเพื่อมทำให้พี้นที่หลายๆ ส่วนตรงนี้เริ่มมีความเปลี่ยนแปลง และจะเปลี่ยนแปลงไปอีกเรื่อยๆ ในอีก 2 - 5 ปีข้างหน้านี้ คำถามคือในช่วง 1 - 2 ปีทีผ่านมา มีอะไรใหม่ๆ ในย่านนี้? และนับจากปี 2558 เป็นต้นไป จะมีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงตรงไหนบ้าง? วันนี้ Checkraka เราได้รวบรวมความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในย่านนี้มาให้ชมกันค่ะ
โครงการพัฒนาแล้วเสร็จช่วง 1 - 2 ปีที่ผ่านมา
แผนที่แสดงตำแหน่งโครงการต่างๆ ที่เกิดขึ้นในช่วงปี 2556 - 2558 ที่ผ่านมา
(
คลิกเพื่อดูภาพขยาย)
โครงการในอนาคตที่กำลังพัฒนาหรือวางแผนออกแบบอยู่ในปี 2558
แผนที่แสดงตำแหน่งโครงการต่างๆ ที่จะทยอยเกิดขึ้นอีกเรื่อยๆ ในย่านสามย่าน - จุฬา - สยาม นี้
(
คลิกเพื่อดูภาพขยาย)
1. ศูนย์การค้าและห้างสรรพสินค้า
2. สวนสาธารณะและโครงการ Mixed Use
3. รูปแบบการพัฒนาคอนโดมิเนียม
สำหรับการพัฒนาคอนโดมิเนียมในย่านนี้ หลักๆ มี 2 แบบคือ แบบสิทธิการเช่า (Leasehold) ซึ่งก็คือแปลงที่ดินของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเอง และสำนักงานจัดการทรัพย์สินจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยก่อสร้าง และพัฒนาเพื่อปล่อยเช่า และแบบเจ้าของกรรมสิทธิ์ (Freehold) ซึ่งก็คือแปลงที่ดินซึ่งผู้ประกอบการเอกชนซื้อมา และพัฒนาคอนโดขาย
จามจุรี สแควร์ เป็นคอนโดแบบสิทธิการเช่า 30 ปี สูง 24 ชั้น
ปัจจุบันสิทธิการเช่าผ่านไปแล้วประมาณ 7 ปี คงเหลือ 23 ปี
CU Terrace และ CU iHouse เป็นรูปแบบการเช่า 30 ปีเช่นกัน อาคารสองอาคารนี้สร้างเสร็จเข้าอยู่เมื่อปี 2557
แอชตัน จุฬา-สีลม (Ashton Chula-Silom) ของอนันดาฯ จะสร้างเสร็จพร้อมอยู่ในปี 2561
เดอะ รูม พระราม 4 (The Room Rama 4) ของ L&H จะสร้างเสร็จพร้อมอยู่ในปี 2559
คลาส สยาม (Klass Siam) ของกลุ่มบริษัทคลาส จะเริ่มดำเนินการก่อสร้างในปี 2559
ระบบคมนาคมขนส่งในอนาคต
โครงการรถไฟฟ้าโมโนเรลระยะสั้นรูปแบบรถไฟฟ้ายกระดับรางเดี่ยว เป็นโครงการที่ริเริ่มโดยกรุงเทพมหานคร (กทม.) (BMA: Bangkok Metropolitan Administration) ร่วมกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยมีจุดประสงค์เพื่อแก้ไขปัญหารถติดบริเวณนี้ และเชื่อม BTS และ MRT ให้เข้ามาเป็น Loop ง่ายต่อการเดินทางเชื่อมต่อให้มากที่สุด โครงการนี้ครอบคลุมรอบจุฬาฯ ตั้งแต่ถนนพระราม 1 ถึง พระราม 4 มีระยะทางทั้งหมด 6.7 กิโลเมตร จำนวน 11 สถานี จะแบ่งการก่อสร้างเป็น 3 Phases เมื่อ 2 ปีที่แล้วทาง Team Group (ในฐานะที่ปรึกษา) ได้มีการออกแบบโครงการขึ้นมาเบื้องต้นแล้ว และได้มีการจัด Public Hearing แล้วด้วยเช่นกัน แต่ไม่ได้กระแสตอบรับในทางบวกมากสักเท่าไหร่ ณ ปัจจุบันนี้ โครงการยังอยู่ในความดูแลของ กทม. และก็ยังไม่มีความชัดเจนว่า กทม. จะเดินหน้าหรือไม่ และกำหนดการก่อสร้างจะเป็นอย่างไร
แนวเส้นทางการเดินรถไฟฟ้า Monorail
(ขอบคุณภาพจาก
Wikipedia)
Phase 1 (เส้นสีน้ำเงินในรูปข้างบน) บนถนนพญาไท จำนวน 6 สถานี ระยะทาง 4 กิโลเมตร สถานีเฉลิมเผ่า สยามสแควร์ ปทุมวัน โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและสามย่าน
Phase 2 (เส้นสีชมพูในรูปข้างบน) เพิ่มอีก 3 สถานี บริเวณสามย่าน (จุฬา ซอย 5 และจุฬา ซอย 12) คือ สถานีตลาดสามย่าน บรรทัดทอง และจุฬา ซอย 12
Phase 3 (เส้นสีแดงในรูปข้างบน) บนถนนอังรีดูนังต์ เพิ่มอีก 2 สถานี คือ สถานีสภากาชาดไทย และราชกรีฑาสโมสร
บทสรุปทำเล สามย่าน-จุฬา-สยาม
เจ้าของพื้นที่อย่างจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์นั้น มีแผนและโครงการที่จะพัฒนาพื้นที่นี้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะมีส่วนช่วยให้ทำเล "สามย่าน-จุฬา-สยาม" นี้เปลี่ยนแปลงพัฒนาต่อเนื่องไปเรื่อยๆ ในอีก 2 - 3 ปีข้างหน้า ในส่วนของคอนโดทำเลนี้นั้น ก็เริ่มจะได้รับความนิยมในตลาดมากขึ้น เมื่อดูจากราคาเริ่มต้นโครงการในข้างต้นกับราคาขายปัจจุบันจะเห็นว่ามีแนวโน้มที่สูงขึ้น และด้วยความที่ทำเลนี้ใกล้ทั้งแหล่งทำงาน สถานศึกษาและช้อปปิ้งไลฟ์สไตล์ทำให้ทำเลนี้เหมาะแก่การซื้อเพื่อลงทุนปล่อยเช่า หรืออยู่อาศัยในอนาคตเป็นอย่างมาก