ไม่ว่าจะรถมอเตอร์ไซค์เล็กหรือคันใหญ่ก็ต้องหมั่นดูแล และรักษาเครื่องยนต์ หรือส่วนประกอบอื่นๆ ให้สามารถพร้อมใช้งานได้เสมอ ยิ่งเป็นมือใหม่หัดขี่กันด้วยแล้ว ก็ควรที่จะต้องรู้เบื้องต้น หรือสังเกตอาการต่างๆ ของรถ Yamaha ของคุณอยู่เป็นประจำ บทความนี้ผู้เขียนก็อยากจะมาแนะนำมือใหม่ทั้งหลาย หรือไม่ใหม่ แต่อาจจะหลงลืมห่างหายกับการดูแลรถ Yamaha ที่คุณรักไป กับ 5 อาการที่หากจะต้องเจอกับรถที่คุณรัก
1. เครื่องไม่ฟิต สตาร์ทติดยาก
จะออกไปซิ่งทั้งทีแต่ดันเจอปัญหาเครื่องไม่ฟิตสตาร์ทติดยาก ซึ่งจะมีอาการเหมือนสตาร์ทติดแต่ก็สำลัก ไอแค๊กๆ แล้ววูบดับไป หรือติดอยู่สักพักก็ดับ กดปุ่มสตาร์ทก็ไม่มีเสียงการหมุนของเครื่องยนต์ (กรณีสตาร์ทไฟฟ้า) และหนักสุด คือไม่ติดเลย ซึ่งสาเหตุอาจเกิดได้จาก
ระบบเชื้อเพลิง : เชื้อเพลิงอาจเหลือแค่ระดับก้นถัง ไม่พอที่จะไหลลงระบบฉีดน้ำมัน, รั่วซึมทำให้แรงดันตก (กรณีเป็นระบบหัวฉีด), น้ำมันท่วมหรือหนาเกินไป (กรณีเป็นคาร์บูเรเตอร์), ไส้กรองเชื้อเพลิงอุดตัน/สกปรก, น้ำมันผิดประเภท/ไม่สะอาด, ระบบหัวฉีดหรือนมหนูคาร์บูเรเตอร์จ่ายน้ำมันอุดตัน, เครื่องมีอุณหภูมิต่ำเกินไป เป็นต้น
ระบบไฟ : อาจเกิดจากหัวเทียนสกปรก, สายหัวเทียนชำรุด, ระบบจานจ่ายชำรุด, มอเตอร์สตาร์ทกำลังไม่พอ (ระบบสตาร์ทไฟฟ้า) เป็นต้น
วิธีแก้ไขเบื้องต้น : สตาร์ทด้วยเท้าให้เว้นระยะแล้วค่อยลองอีกครั้ง อาจต้องทำบ่อยให้เครื่องวอร์มจากอุณหภูมิที่ต่ำเกินไป (ระบบสตาร์ทไฟฟ้าไม่ควรกดสตาร์ทแช่นานเกินไปเพราะแบตเตอรี่อาจหมด) ตรวจระดับน้ำมันในถัง, อาจใช้วิธีเขย่ารถช่วยในกรณีที่มีอุปกรณ์บางอย่างเกี่ยวกับน้ำมันเชื้อเพลิงอุดตัน เป็นต้น และรีบนำรถเข้าศูนย์บริการหรือร้านซ่อมทันที
2. มีกลิ่นและควันแปลกๆ ลอยออกมา
ขี่อยู่ดีๆ มีควันอะไรลอยพุ่ง… หมอกจางๆ หรือควัน? หลายคนอาจลืมใส่ใจรถที่คุณรักจนละเลยระยะการดูแลทำให้ชิ้นส่วนต่างๆ สึกหรอบ้าง ชำรุดบ้าง ยิ่งเป็นระบบไฟฟ้าภายใน หรือตามขั้วแบตที่เกิดสนิม ระบบท่อเดินน้ำมันชำรุดเสียหายก็อาจเป็นสาเหตุ ให้เกิดควัน หรือกลิ่นแปลกๆ โพยพุ่งออกมาจากรถคุณได้ หากเป็นเช่นนั่น ให้ลองสังเกตกลิ่นแปลกๆ ที่ลอยมาในส่วนต่างๆ ของรถว่าผิดปกติหรือไม่ เช่น กลิ่นไหม้, กลิ่นน้ำมันเบนซิน เป็นต้น ซึ่งอาจมีระบบไฟฟ้าลัดวงจรในบางจุด หรือเกิดการรั่วซึมของระบบท่อทางเดินของน้ำมันเชื้อเพลิงก็เป็นได้
ส่วนควันมักจะมาพร้อมกับกลิ่น เช่น เมื่อมีจุดที่ไฟฟ้าลัดวงจรมักจะมีควันลอยตามมาด้วย หากเป็นเช่นนี้ยิ่งง่ายต่อการตรวจเช็คด้วยตาเปล่า จากจุดที่ควันนั้นลอยออกมา
วิธีแก้ไขเบื้องต้น : อันดับแรกตั้งสติ เข็นไปจอดในที่ปลอดภัยแล้วดับเครื่องยนต์ทันที หาจุดที่มีควันให้เจอเพื่อระงับเปลวไฟหรือชิ้นส่วนต่างๆ ที่อาจเกิดการลุกไหม้ได้ หากพอมีความรู้เรื่องช่างอยู่บ้าง ควรถอดขั้วแบตเตอรี่ออกไว้ก่อนก็ดี จากนั้นให้รีบนำรถเข้าศูนย์บริการหรือร้านซ่อม
3. แฮนด์หนัก ล้อแกว่ง ขับทีต้องออกแรง
เคยสังเกตไหมครับขี่รถคู่ใจมานาน ตกหลุม ตกบ่อ เซล้ม หรือ บรรทุกหนักมาก็บ่อย หรือหลายคนอาจจะไม่ค่อยสังเกตถึงอาการ เช่น ต้องออกแรงดันแฮนด์ไปทางขวาจนรู้สึกเมื่อยล้า อาจเป็นเพราะศูนย์ของตัวรถ (ล้อหน้า/หลังไม่ได้ศูนย์) หรือแฮนด์ล้อหน้าเอียงซ้ายมากเกินไป ส่งผลให้เกิดอาการเมื่อยล้า
ซึ่งผลจากอาการเหล่านี้อาจจะทำให้เกิดอันตราย เมื่อขับเจอถนนที่ไม่เป็นใจอย่างรวดเร็วจนทำให้บังคับแฮนด์ไม่สะดวก ส่วนอาการ "แกว่ง" นั้น เมื่อใช้ความเร็วสูงๆ รถจะสะเทือนสั่นเป็นเจ้าเข้า สาเหตุอาจเกิดจากวงล้อที่ "คด" หรือบิดเบี้ยวไม่กลมทำให้เมื่อหมุนแล้วไม่สมดุล จึงเกิดการสั่นสะเทือนขึ้น
ซึ่งผลจากอาการเหล่านี้อาจจะทำให้เกิดอันตราย เมื่อขับเจอถนนที่ไม่เป็นใจอย่างรวดเร็วจนทำให้บังคับแฮนด์ไม่สะดวก ส่วนอาการ "แกว่ง" นั้น เมื่อใช้ความเร็วสูงๆ รถจะสะเทือนสั่นเป็นเจ้าเข้า สาเหตุอาจเกิดจากวงล้อที่ "คด" หรือบิดเบี้ยวไม่กลมทำให้เมื่อหมุนแล้วไม่สมดุล จึงเกิดการสั่นสะเทือนขึ้น
วิธีแก้ไขเบื้องต้น : ใช้ความเร็วต่ำและรีบนำรถเข้าศูนย์บริการหรือร้านซ่อมเพื่อตรวจเช็คอาการอย่างละเอียดพร้อมแก้ไขซ่อมแซมให้มีสภาพสมบูรณ์ที่สุด
4. กระเด้งกระดอน แม้ทางเรียบ
นอกจากสภาพถนนที่เราต้องเจอเกือบเป็นประจำ อีก 1 อาการที่อยากให้ผู้ขี่ทั้งมือใหม่ มือเก่า ได้สังเกตกันดูบ้างกับอาการกระเด้งกระดอนซึ่งอาจเกิดจากระบบกันสะเทือนที่ชำรุดหรือเสื่อมคุณภาพได้เช่นกัน โดยอาการที่เกิดขึ้นนั้นคือ เมื่อตัวรถมีช่วงยุบมากเกินไปจน "โช้กยัน" หรือตัวรถกระเด้งขึ้น-ลงมากผิดปกติ สาเหตุอาจเกิดจากหลายกรณี เช่น โช้กแตก/รั่ว, แกนโช้ก "คด/งอ" เป็นต้น ส่งผลให้การควบคุมรถทำได้แย่ลง โดยเฉพาะเมื่อขับผ่านเนินหรือคอสะพาน รถอาจจะยุบตัวจนใต้ท้องกระแทกพื้นได้ และยังส่งผลเมื่อต้องการขับผ่านทางโค้งอีกด้วย ให้สังเกตรอย, คราบของเหลว (น้ำมันโช้ก) ที่ส่วนแกนโช้ก หรือรอยหยดที่ตัวกระบอกโช้ก ว่ามีหรือไม่
วิธีแก้ไขเบื้องต้น : ขับด้วยความระมัดระวัง ใช้ความเร็วต่ำ และรีบนำรถเข้าตรวจเช็คระบบช่วงล่าง เช่น เปลี่ยนโช้ก, สปริง, อัดน้ำมันแก้ไขจุดที่รั่วใหม่
5. เร่งสะดุด บิดไม่ขึ้น แซงไม่ผ่าน
อีก 1 อาการที่มือใหม่ทั้งหลายต้องสังเกตดูสักนิด เช่น เร่งไม่ออกหรือไม่ขึ้น มาพร้อมเสียงแปลกๆ หรือไม่ เช่น มีเสียงดังคล้ายลมรั่วหรือดังแกร็กๆ ซึ่งเสียงแต่ละแบบจะแสดงถึงความผิดปกติแตกต่างกันไป หรือมีเสียงของไฟสปาร์ค (ลัดวงจร) หรือไม่ และสุดท้ายให้ดูถึงระบบเบรกว่าติดขัดหรือไม่ (อาจมาจากลูกสูบเบรก/ดรัมเบรกที่หมดสภาพ) ส่งผลให้มีความหนืดจนเครื่องยนต์ทำงานหนักเกินไปและเร่งไม่ขึ้นนั่นเอง และนำข้อ 1,2 มาใช้ควบคู่กัน รวมทั้งทดลองเข็นรถเปล่าไปข้างหน้าดูว่ามีความฝืดหรือไม่
วิธีแก้ไขเบื้องต้น : ให้ใช้ความเร็วต่ำที่สุดและหาที่จอดเมื่อปลอดภัย, รีบนำรถเข้าศูนย์บริการหรือร้านซ่อมเพื่อตรวจเช็กแก้ไขโดยละเอียดอีกครั้ง
สุดท้ายไม่ว่าจะรถเล็กรถใหญ่
หมั่นใส่ใจดูแลรักษารถ Yamaha ของคุณ ให้พร้อมใช้งาน และตรวจเช็กรถโดยช่างผู้ชำนาญหรือศูนย์บริการที่ได้มาตรฐาน เพื่อความปลอดภัยทั้งคุณและเพื่อร่วมทาง รวมไปถึงยืดอายุการใช้งานรถ Yamaha ของคุณให้นานมากขึ้น และที่สำคัญเลือกรถที่ดูแลหลังการขายให้คุณได้อุ่นใจกันไปนานๆ เช่นเดียวกับที่
ยามาฮ่ารับประกันรถทุกคันนาน 5 ปี หรือ 50,000 กิโลเมตร*