ฮอนด้า ฟอร์ซ่า 350 ใหม่ ปรับเพิ่มรุ่นย่อย RoadSync ที่มีระบบส่งงานด้วยเสียงผ่านแอปพลิเคชั่น (HSVCs) กับ 2 สีใหม่ และรุ่น 350 สแตนดาร์ด สีใหม่ เมื่อ 9 กันยายนที่ผ่านมา หลังเคยนำร่องส่งรุ่น RoadSync จำหน่ายแบบจำกัดจำนานในงานมอเตอร์เอ็กซ์โปปลายปีที่ผ่านมา ซึ่งได้รับกระแสตอบรับที่ดี จนล่าสุดผลิตออกจำหน่ายอย่างเป็นทางการเพื่อเป็นทางเลือกให้กับผู้ที่ชื่นชอบใช้เทคโนโลยีเชื่อมต่อทันสมัยกับตัวรถ ซึ่งทีมงานมอเตอร์ไบค์กูรูเคยรีวิวการใช้งานระบบนี้ไปแล้ว ครั้งนี้จึง
ขอทดสอบด้านสมรรถนะการขับขี่ทางไกลเสมือนใช้งานจริง โดยกำหนดเส้นทางไป-กลับ กรุงเทพฯ-บุรีรัมย์ พรร้อมพิสูจน์ให้รู้ไปเลยว่าระยะทางกว่า 900 กม. ไป-กลับ ด้วยพาหนะสองล้อขับเคลื่อนด้วยสายพานอย่าง ฟอร์ซ่า 350 ล่าสุดจะตอบสนองการเดินทางไกลได้ดีแค่ไหน ไม่ว่าอัตราสิ้นเปลือง ความเมื่อยล้าของการขี่ การทำความเร็ว อรรถประโยชน์ ฯลฯ
การเดินทางไปกับ ฮอนด้า ฟอร์ซ่า 350 ใหม่ ทริปทางไกลสู่บุรีรัมย์ในครั้งนี้ได้รับการเอื้อเฟื้อรถจากทาง ไทยฮอนด้า แมนูแฟคเจอริ่ง เป็นความตั้งใจที่อยากทดสอบสกู๊ตเตอร์พรีเมียมคลาสไม่เกิน 400 ซีซี กับการขับขี่ทางไกล ผู้เขียนพร้อมเพื่อนร่วมทดสอบอีก 2 คนจากสื่อเว็บไซต์มอเตอร์ไซค์ ร่วมเดินทางเป็นกลุ่มเล็กขนาด 3 คัน โดยสตาร์ทจาก ฮอนด้า บิ๊กวิง สาขาประดิษฐ์มนูธรรม ออกเดินทางกันในช่วงบ่ายสาม โดยเติมน้ำมันเต็มถังกันครบ ใช้เส้นทางรามอินทราตัดเข้าสู่ถนนวิภาวดีรังสิตมุ่งหน้าตามเส้นทางถนนพหลโยธินการขับขี่ช่วงแรกเจอการจราจรหน้าแน่นบนถนนรามอินทราและดอนเมือง แต่ฟอร์ซ่า 350 ขับขี่ง่ายให้แรงบิดที่ฉับไว ทั้งยังควบคุมการเลาะเลี้ยวได้คล่องตัว ตลอดจนการชะลอเบาเบรกที่มีระบบเอบีเอสช่วยให้มั่นใจในทุกจังหวะกระชั้นชิด
การทำความเร็วเร่ง เบา เติม ผ่านการจราจรบนถนนในเมือง รู้สึกได้ถึงอัตราเร่งที่ตอบสนองได้ทันใจ ตัวรถเมื่อชะลอจนเกือบหยุดให้สมดุลที่ดี ทรงตัวไปต่อได้ง่าย เมื่อขี่กันจนมาถึงถนนมิตรภาพก็เริ่มทำความเร็วได้ดีและต่อเนื่องกว่าเดิม แม้มีบางช่วงที่รถติดเพราะรถใหญ่เริ่มวิ่งออกจากโรงงานเยอะ แต่จังหวะขี่ผ่านใกล้ๆ ก็ไปได้แบบไม่เสียอาการ จนมาถึงแยกตัดเข้าถนนโชคชัย-เดชอุดม พื้นที่ห้วยซับประดู่ เราก็แวะเติมน้ำมันอีกครั้งก่อนฟ้าจะมึดลง เพื่อยิงยาวไปบุรีรัมย์ เส้นทางบนถนนสาย 24 ที่คุ้นเคยจากการเดินทางมา สนามช้าง อินเตอร์เนชันแนล บ่อยครั้งเป็นถนนเลนสวน ช่วงแรกผิวถนนเสียหายหลายจุด ระบบกันสะเทือนของฟอร์ซ่า 350 ก็ยังรับแรงกระแทกจากหลุม รอยแตกบนถนนได้ดี แต่ช่วงยุบตัวอาจเยอะไปนิด เนื่องจากยังไม่ได้ปรับพรีโหลดหลัง ผู้เขียนขี่ได้สะดวกไม่กังวลมากนัก เพราะสัมภาระทั้งหมด มีกระเป๋าเดินทางใบใหญ่และถุงเก็บของอีกใบใส่ไว้ใต้เบาะนั่งที่จุได้ลึกพอ ทำให้บนตัวผู้เขียนมีเพียงแค่กะเป๋าคาดเอวกันน้ำไว้ใส่ของส่วนตัวที่หยิบสะดวกโดยเฉพาะสมาร์ทโฟนที่เชื่อมต่อบลูทูธกับหมวกผ่านอุปกรณ์บนหมวกที่ติดต้้งเอง ทำให้การเดินทางไม่มีสะดุดติดขัด จนมาถึงแยกตัดเข้าถนนโชคชัย-เดชอุดม พื้นที่ห้วยซับประดู่ เราก็แวะเติมน้ำมันอีกครั้งก่อนฟ้าจะมึดลง เพื่อยิงยาวไปบุรีรัมย์ เส้นทางบนถนนสาย 24 ที่คุ้นเคยจากการเดินทางบ่อยครั้งมา สนามช้าง อินเตอร์เนชันแนล เป็นถนนเลนสวน ช่วงแรกผิวถนนเสียหายหลายจุด ระบบกันสะเทือนของฟอร์ซ่า 350 ก็ยังรับแรงกระแทกจากหลุม รอยแตกบนถนนได้ดี แต่ช่วงยุบตัวอาจเยอะไปนิด เนื่องจากยังไม่ได้ปรับพรีโหลดหลัง ช่วงพักสัมภาระ กระเป๋าเดินทางใบใหญ่ที่เก็บไว้ใต้เบาะซึ่งรองรับความจุได้ดี โดยเฉพาะแนวลึก และมีถุงเก็บของอีกใบด้วยช่วยให้การเดินทางสะดวก บนตัวผู้เขียนมีเพียงแค่กะเป๋าคาดเอวกันน้ำไว้ใส่ของส่วนตัวที่หยิบสะดวกโดยเฉพาะสมาร์ทโฟนที่เชื่อมต่อบลูทูธกับหมวกผ่านอุปกรณ์บนหมวกที่ติดต้้งเอง ทำให้การเดินทางไม่มีสะดุดติดขัด
หลังจากนั้นไม่นานก็เป็นการขี่ช่วงค่ำที่ต้องพึ่งไฟหน้าแอลอีดีของ ฟอร์ซ่า 350 ในการนำทาง เส้นทางช่วงระหว่างแยกปักธงชัย - โชคชัย มีฝนเทลงมาหนักสลับเบาทำให้การขี่และมองเห็นเป็นไปอย่างยากลำบาก ความเร็วที่ใช้อยู่ระดับ 110 กม./ชม. ตัวรถให้การควบคุมที่ดีแม้ขี่ในสภาพแวดล้อมที่แย่ แต่สุดท้ายก็ต้องยอมแพ้ธรรมชาติ เพราะฝนเทกระหน่ำอย่างหนักทำให้ต้องแวะหลบฝนกันในปั้มใกล้เคียง แม้อาศัยการปรับชิลด์สูงลดการปะทะเม็ดฝนด้านหน้าแล้ว ช่วงที่ขี่เข้าปั้มพื้นที่ของปั้มเป็นปูนขัดมันและนองน้ำ เจ้าหน้าที่ในปั้มเห็นเราเข้ามาถึงกับตะโกนเตือนให้ระวังลื่น แม้มีระบบแทร็คชันคอนโทรลแต่จังหวะเอียงของรถบนพื้นผิวที่ลื่นจัดแบบนี้ล้อหลังก็เกิดอาการสลิปก่อนถูกตัด ก็นับเป็นข้อควรระวังเพราะแทร็กชันรถคลาสเริ่มต้นถ้าตัดคือตัด ไม่ได้คำนวนการเอียงของรถแล้วเกลี่ยระดับการผ่อนกำลัง
เมื่อฝนเริ่มเบา กับเวลาที่ผ่านไปเรื่อยๆ ระยะทางที่เหลือยังพอสมควร ทำให้เราตัดสินใจออกเดินทางต่อ ฝูงฟอร์ซ่า 350 สามคันขี่บนถนนเปียกกันมาถึงแยกธงชัยเข้าสู่หนองกี่ฝนก็เริ่มเบาสลับหยุด รู้สึกได้ถึงความเย็นจากลมปะทะด้านหน้า ชิลด์หน้ารถที่ปรับได้แบบไฟฟ้าเข้ามามีบทบาทมากในการขี่ทางไกลแบบนี้ หลายครั้งที่ต้องปรับเพื่อหลบแรงลม ฝน แมลงบิน
ถึงแยกนางรอง สีสันยามค่ำของจุดนี้ช่วยให้ประสาทตาตื่นตัว จนถึงแยกเข้าตัวเมืองบุรีรัมย์สาย 218 ถนนบุรีรัมย์-นางรอง ช่วงนี้เป็นถนนที่เหล่าไบค์เกอร์มักชอบทำความเร็วสูงสุดกัน เพราะถนนตรงยาวและมองเห็นด้านหน้าได้ไกล แต่ตราบใดที่ยังใช้ร่วมกับผู้ใช้ทางทั่วไปก็อันตรายเสมอ สำหรับการทำความเร็วของฟอร์ซ่า 350 ที่ขับขี่มาตลอดจนถึงจุดหมายปลางทางบุรีรัมย์ตอนสามทุ่มครึ่งนั้น บอกเลยว่ากวาดได้จนหมดเรือนไมล์ และขึ้นได้ดีอย่าต่อเนื่องไม่ต้องลุ้นลมดันหลังหรือทางลงเขา โดยเฉพาะช่วงถนนโล่งเร่งได้ถึง 150 กม./ชม. แบบสบายๆ นับเป็นสมรรถนะจากรถสแตนดาร์ดที่น่าประทับใจ
การขับขี่ใช้งานในตัวเมืองบุรีรัมย์ในวันต่อมา ก็ไปไหนมาไหนสะดวกมากขึ้น ด้วยความคล่องตัวและสมรรถนะที่ดีรอบด้านทั้งใช้ในชีวิตประจำวันและเดินทางไกลแบบนี้่
เมื่อต้องใช้ในเมืองผู้เขียนปรับชิลด์ไว้ต่ำสุด ขี่ปะทะลมเบาๆ ไปไหนก็จอดง่าย ขยับรถสะดวก ซื้อของกินของใช้เก็บใต้เบาะได้เยอะ ก่อนเดินทางกลับในอีกวันก็ได้ทำการปรับพรีโหลดด้านหลังให้ระดับฮาร์ดสุด ฟิลลิ่งที่ได้ในช่วงขี่เดินทางกลับแตกต่างจากตอนมาอย่างชัดเจน แค่ปรับพรีโหลดจากโช้กอัพสแตนดาร์ดเท่านั้น รู้สึกได้ถึงความแน่นหนึบที่มากกว่าเดิม รองรับการขับขี่แบบทางไกลได้ดีขึ้นและเพียงพอ เรามาถึงกรุงเทพฯ กันอย่าปลอดภัยมีแวะเติมน้ำมันก่อนออกมา 1 ครั้ง และระหว่างทางอีกครั้ง
รวมระยะทางทริปนี้ทั้งหมด 877 กม. มีอัตราสิ้นเปลือง 24.4 กม./ลิตร ตังรถขับขี่ได้อย่างไร้ปัญหาใดๆ รบกวน ระยะทางเกือบ 900 กม. แต่เมื่อขี่จริงๆ ความรู้สึกเหมือนไม่ใช่ทางไกลเพราะขี่สนุก ไม่เมื่อย เร่งได้เร้าใจสุดๆ เหมือนขี่ไปแค่ปากซอยแถวบ้าน ด้านการปรับแต่ง ส่วนตัวอยากเปลี่ยนจุ๊บลมแบบข้องอ เพราะช่วยให้เติมลมสะดวกเวลาแวะปั้ม ถ้ามากไปกว่านี้ก็คงเป็นยางและช่วงล่างสำหรับผู้ที่ชอบขับขี่แบบสปอร์ตทำความเร็ว อย่าไงไรก็ตามการขี่ฮอนด้า ฟอร์ซ่า 350 แบบสแตนดาร์ด กับทริปทางไกลครั้งนี้ให้ความรู้สึกที่ประทับใจในสมรรถนะโดยรวมเป็นอย่างมาก
ด้วยราคา 173,500 บาท Forza 350 นับเป็นตัวเลือกที่โดดเด่นเหลือเกินในกลุ่มสกู๊ตเตอร์คลาสไม่เกิน 400 ซีซี