หลังออกทริป ต้องเช็คอะไรบ้าง? : การตรวจเช็คเบื้องต้น หลังเดินทางไกล
รถมอเตอร์ไซค์หลังจากออกทริปวันหยุดยาวจากเทศกาลต่างๆ ควรดูแลบำรุงรักษาให้มีสภาพพร้อมใช้งาน เพื่อเพิ่มอายุการใช้งานให้ยาวนานมากขึ้น เพราะทุกๆ ครั้งที่ขับขี่ทางไกล ระบบเครื่องยนต์ ช่วงล่าง และระบบไฟฟ้าต่างก็ทำงานตลอดระยะเวลาที่เราเดินทาง ซึ่งบางครั้งก็อาจถึงระยะที่ควรตรวจเช็คหรือชิ้นส่วนบางอย่างก็ใกล้จะหมดอายุ นอกจากนี้อาจเกิดการเสื่อมสภาพของชิ้นส่วนเนื่องจากสภาพอากาศ สภาพถนนและลักษณะการขับขี่ เป็นต้น
การตรวจเช็คสภาพรถมอเตอร์ไซค์นั้น ผู้ขับขี่อาจจะนำรถเข้าศูนย์บริการมาตรฐาน หรือตรวจเช็คโดยช่างผู้ชำนาญภายนอกศูนย์บริการก็ได้ หรือจะเริ่มจากการตรวจเช็คด้วยตนเองเบื้องต้นก็ได้เช่นกัน โดยสิ่งที่เราควรตรวจเช็คมีอะไรบ้าง ไปดูกันครับ
ร่องดอกยางไม่ควรต่ำกว่า 3 มม. เนื้อของยางต้องนิ่มใช้เล็บจิกดูเป็นรอยและคืนรูปได้ สภาพแก้มยางและหน้ายางไม่แตกลายงา พร่องลงต่ำกว่าระดับปกติหรือไม่ หากลดลงต่ำกว่าระดับปกติ 1 ใน 3 ส่วน ให้สังเกตรอยรั่วซึมรอบๆ เครื่องยนต์ และคราบน้ำมันที่อาจหยดลงพื้น ระดับน้ำในถังพักควรอยู่ระดับปกติ หากลดลงเกินกว่า 1 ใน 3 ส่วน ให้สังเกตรอยรั่วซึมและคราบหยดลงพื้น - ระบบพัดลมระบายความร้อน (ถ้ามี)
รถที่ใช้ระบบระบายความร้อนด้วยน้ำให้ตรวจเช็คการทำงานของพัดลมไฟฟ้าว่าหมุนแรงหรือมีเสียงดังผิดปกติหรือไม่ กรณีใช้ดิสก์เบรกให้ตรวจดูที่ตาแมวของกระปุกน้ำมันเบรก (เบรกหน้าที่แฮนด์ขวา, เบรกหลังอยู่ใกล้กับแป้นเบรกเท้าขวา) ว่าลดลงต่ำเกิน 1 ใน 3 ส่วนหรือไม่ หากลดลงอาจมีการรั่วซึมในระบบเบรก เช่น สายอ่อนเบรก, ข้อต่อ, แม่ปั้มเบรก และอาจเกิดจากผ้าเบรกที่บางลงจากการใช้งานนานๆ ให้ลองเช็คระยะฟรีของสายเบรกและตั้งให้เหมาะสม หากเป็นไปได้อาจให้ช่างถอดมาตรวจเช็คสภาพผ้าเบรก และทำความสะอาด - ระดับความหนาของผ้าเบรกหน้า-หลัง
สังเกตความหนาของเนื้อผ้าเบรกไม่ควรน้อยกว่า 3 มม. หรือสังเกตว่าเบรกเริ่มแข็งและไม่ค่อยอยู่ อาจเกิดจากการเสื่อมของเนื้อผ้าเบรก แม้จะมีความหนาอยู่ก็ตาม ตรวจจุดที่สำคัญได้แก่ ไฟหน้า, ไฟท้าย, ไฟเลี้ยว, ไฟหน้าปัด - ใช้งานได้ปกติหรือไม่ มีเสียงดังขณะวิ่งและหย่อนเกินไปหรือไม่ รวมถึงสภาพของข้อต่อโซ่ปกติหรือไม่ รวมทั้งเพิ่มสารหล่อลื่นและกันสนิมด้วย - ความหนึบแน่นของโช้กอัพหน้า-หลัง
ให้สังเกตอาการของโช้ก เมื่อขับขี่ว่ามีอาการนิ่มผิดปกติหรือ หรือเมื่อตกหลุมมีเสียงดังและมีคราบน้ำมันรั่วซึมหรือไม่ ไฟหน้าติดครบ
ไฟท้ายและไฟเลี้ยว
เมื่อสังเกตว่ามีสิ่งใดผิดปกติ เราก็สามารถบอกช่างที่ศูนย์บริการได้ว่า รถเรามีสิ่งใดต้องซ่อมบำรุงหรือเปลี่ยนชิ้นส่วนบ้าง และยังช่วยให้รู้ถึงสภาพรถที่แท้จริง พร้อมตัดสินใจเปลี่ยนอะไหล่ได้ทันที
สภาพยางต้องพร้อมใช้งาน
ระดับน้ำมันเครื่องพร้อมกับสังเกตคราบรั่วซึมรอบๆ เครื่องยนต์
น้ำระบายความร้อนปกติหรือไม่ (สำหรับรุ่นมีหม้อน้ำ)
โดยทั่วไปนั้นการตรวจเช็คสภาพรถมักจะตรวจดูก่อนการล้างคราบสกปรกต่างๆ เพราะอาจเป็นคราบที่เกิดจากการใช้งานหรือคราบการรั่วซึมของของเหลว ซึ่งหากล้างสะอาดเกินไปอาจทำให้เรามองไม่เห็นจุดที่เกิดการรั่วซึม หรือเสียหายได้อย่างชัดเจนนัก และเมื่อตรวจเช็คแล้วจึงนำรถไปล้างได้ครับ
สภาพจานเบรกมีรอยหรือไม่และผ้าเบรกบางเกิน 3 มม.หรือไม่
มาตรวัดใช้งานได้ปกติหรือไม่
การตรวจเช็ครถหลังการใช้งานนั้น นอกจากจะเป็นการดูแลรักษารถให้อยู่ในสภาพดีแล้ว ยังเพิ่มความปลอดภัยในการใช้งานอีกด้วย และเมื่อออกทริปครั้งต่อไป อย่าลืม
"เช็ครถก่อนเดินทางไกล" เพื่อให้รู้ถึงสภาพของรถมอเตอร์ไซค์คู่ใจและมั่นใจในทุกเส้นทางครับ
"ใส่หมวก เปิดไฟ มีน้ำใจ ไม่ประมาท" นะครับ