ประเมินวงเงินรู้ผลใน 3 นาที

กับ กรุงศรี ออโต้ พร้อมสตาร์ท

เริ่มประเมินวงเงินพร้อมสตาร์ท
ผ่านมือถือ สแกนเลย

ดูวงเงินพร้อมสตาร์ทที่ได้รับ

x
icon-filter ค้นหารถมอเตอร์ไซค์
product filter
product filter
product filter
product filter
product filter

เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับยางมอเตอร์ไซค์

icon 30 ม.ค. 61 icon 301,679
เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับยางมอเตอร์ไซค์

เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับยางมอเตอร์ไซค์
ส่วนสำคัญมากอีกส่วนในจักรยานยนต์ก็คือ "ยาง" ซึ่งมีหน้าที่สัมผัสกับพื้นผิวถนนอยู่ตลอดเวลา ดังนั้น "ยาง" จึงเป็นสิ่งสำคัญที่เราต้องตรวจสอบว่า มีสภาพดีพร้อมใช้งานหรือเปล่า ดังนั้นเราควรเลือกใช้ยางให้ถูกต้อง และเหมาะสมกับการใช้งานของรถมอเตอร์ไซค์ของเรา โดยสิ่งที่ควรพิจารณามีดังนี้
ชนิดของยางมอเตอร์ไซค์

  • ควรเลือกใช้ยางขนาดเดิมที่ได้รับการประกอบมาจากโรงานผู้ผลิตรถมอเตอร์ไซค์ เพราะผู้ผลิตรถมอเตอร์ไซค์ได้ออกแบบขนาดยางให้เหมาะสมกับขนาดของรถมอเตอร์ไซค์แต่ละรุ่น ทั้งนี้เพื่อความปลอดภัย และสมรรถนะที่เหมาะสม
  • หากมีความต้องการจะเปลี่ยนขนาดยาง ก็อาจจะเปลี่ยนได้บ้าง แต่ควรจะต้องคงไว้ซึ่งขนาดหน้ากว้างของยาง และขนาดวงล้อ เช่น ยางที่ติดรถมาเป็นขนาด 70/90-17 เราอาจจะสามารถเปลี่ยนเป็น 70/80-17 หรือ 70/100-17 ได้ แต่ไม่ควรเปลี่ยนวงล้อจาก 17 เป็นวงล้อขนาดอื่น และไม่ควรเปลี่ยนขนาดหน้ากว้างของยางจาก 70 ไปเป็นขนาดอื่น
ขนาดของวงล้อยางมอเตอร์ไซค์

ควรใช้ขนาดความกว้างวงล้อให้เหมาะสมกับขนาดของยาง การใช้วงล้อที่แคบเกินไป หรือกว้างเกินไปจะส่งผลให้ยางไม่อยู่ในรูปทรงที่ออกแบบไว้ ซึ่งจะส่งผลต่อสมรรถนะในการขับขี่
ควรเติมลมยางมอเตอร์ไซค์เท่าไร

ความดันลมยางควรตรวจลมยางให้พอดีกับน้ำหนัก และข้อกำหนดที่บอกไว้กับยางมอเตอร์ไซค์ที่ใช้ และควรตรวจวัดความดันลมทุกครั้งที่ออกเดินทางไกล หรือตรวจความดันลมยางทุกสัปดาห์ การตรวจวัดลมยางควรทำขณะที่ยางยังเย็นอยู่ เพราะหากทำขณะที่ยางมีความร้อน อากาศภายในยางจะขยายตัวทำให้ค่าผิดเพี้ยนไป ถ้าความดันลมยางมากเกิน หน้ายางจะสัมผัสกับถนนได้น้อย ทำให้มีการสะเทือนของล้อมากกว่าปกติ และทำให้การยึดเกาะถนนน้อยลง ซึ่งอาจทำให้เกิดอันตรายได้ แต่ถ้าความดันลมยางน้อยเกิน ยางจะแบน หน้ายางจะสัมผัสกับพื้นถนนมาก ยางจะสึกหรอเร็ว และเปลืองน้ำมันมากขึ้น การเติมลมยางที่พอดีตามข้อกำหนด จะทำให้ขับขี่ปลอดภัยและช่วยยืดอายุของยางให้ใช้งานได้นานขึ้น
ข้อสังเกตระยะเวลาในการเปลี่ยนยาง

  • คำถามที่มักพบบ่อยคือ เมื่อไรควรจะเปลี่ยนยาง บางครั้งเราอาจจะรอให้ยางสึกจนหมดไม่เห็นลายดอกยางแล้ว จึงคิดถึงการเปลี่ยนยางเส้นใหม่ แต่ความจริงแล้วเป็นการเข้าใจผิดอย่างมาก และอาจส่งผลให้เกิดอันตรายในการขับขี่ได้ ยางทุกเส้นจะมีจุดบ่งบอกว่าควรเปลี่ยนยางเส้นใหม่ได้แล้ว บนยางทุกเส้นจะมีตำแน่ง TWI ซึ่งสามารถสังเกตเห็นได้ง่ายบนแก้มยาง ณ ตำแหน่งที่มีระบุ TWI อยู่ เมื่อมองลงไปในลายดอกยางแล้วเราจะเห็นว่า จะมียางนูนขึ้นมามากกว่าตำแหน่งทั่วไป เมื่อไหร่ก็ตามที่ยางสึกจนถึงตำแหน่งยางที่นูนขึ้นมาแล้ว ก็ควรจะเปลี่ยนยางเส้นใหม่
  • ทุกครั้งที่เปลี่ยนยางนอก ควรเปลี่ยนยางในไปพร้อมกันด้วย เพราะถ้ายางในยืดไปนานแล้ว เมื่อนำมาใส่กับยางนอกใหม่ อาจเกิดรอยพับที่ยางใน และจะทำให้เกิดการเสียดสีกันทำให้รั่วซึมได้
การรับน้ำหนักของยาง

ยางแต่ละเส้นจะมีระบุไว้ว่า สามารถรับน้ำหนักได้เท่าไร ซึ่งหมายรวมถึงน้ำหนักตัวรถ, น้ำหนักตัวผู้ขับขี่ และน้ำหนักบรรทุกทั้งหมด หากบรรทุกเกินน้ำหนักที่ยางจะรับได้จะทำให้เกิดแรงกดมากเกินไป, ทำให้ยางเสื่อมก่อนเวลาอันสมควร, สมรรถนะในการควบคุมรถลดลง และอาจทำให้ยางระเบิดได้
การอ่านตัวเลข และสัญลักษณ์ต่างๆ บนแก้มยางมอเตอร์ไซค์
การอ่านตัวเลขและสัญลักษณ์บนแก้มยางมีสองระบบ  คือ ระบบนิ้ว และระบบเมตริก
1) ระบบนิ้ว
  • ส่วนอธิบายขนาดประกอบด้วย ความกว้างภาคตัดของยางนอก และรหัสเส้นผ่านศูนย์กลางขนาดวงล้อ
  • ส่วนอธิบายการใช้งาน คือ อัตราชั้นผ้าใบ หรือประกอบด้วยดัชนีการรับโหลดกับสัญลักษณ์ความเร็ว
ตัวอย่างที่ 1 - "2.75-18 4 PR"
2.75 หมายถึง ความกว้างภาคตัดระบุของยางนอก

18 หมายถึง รหัสเส้นผ่านศูนย์กลางระบุของวงล้อ เท่ากับ 457 มิลลิเมตร

4 PR หมายถึง "อัตราชั้นผ้าใบ เท่ากับ 4 ชั้น"
ตัวอย่างที่2 - 2.75-18 42 P
2.75 หมายถึง ความกว้างภาคตัดระบุของยางนอก
18 หมายถึง รหัสเส้นผ่านศูนย์กลางระบุของวงล้อ เท่ากับ 457 มิลลิเมตร
42 หมายถึง ดัชนีการรับโหลด เท่ากับโหลดที่รับได้สูงสุด 150 กิโลกรัม

P หมายถึง สัญลักษณ์ความเร็ว เท่ากับ 150 กิโลเมตรต่อชั่วโมง

2) ระบบนิ้ว
  • ส่วนอธิบายขนาด และโครงสร้าง ประกอบด้วยความกว้างภาคตัดระบุของยางนอก (ระบบมิลลิเมตร) เครื่องหมายทับ (/) อัตราส่วนลักษณะยาง รหัสโครงสร้าง ("R" หมายถึง ผ้าใบเรเดียล) และรหัสเส้นผ่านศูนย์กลางระบุของวงล้อ
  • ส่วนอธิบายการใช้งาน คืออัตราชั้นผ้าใบ หรือประกอบด้วย ดัชนีการรับโหลดกับสัญลักษณ์ความเร็ว
ตัวอย่างที่ - "90/90"17 49 P"
90 หมายถึง ความกว้างภาคตัดระบุของยางนอก
90 หมายถึง อัตราส่วนลักษณะยาง 90
17 หมายถึง รหัสเส้นผ่านศูนย์กลางระบุของวงล้อ เท่ากับ 432 มิลลิเมตร
49 หมายถึง ดัชนีการรับโหลด เท่ากับโหลดที่รับได้สูงสุด 185 กิโลกรัม
P หมายถึง สัญลักษณ์ความเร็ว เท่ากับ 150 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
ยางนอกบางเส้น อาจใส่สัญลักษณ์ M/C ต่อท้ายรหัสเส้นผ่านศูนย์กลางระบุของวงล้อในชื่อขนาดยางนอกด้วย
เป็นอย่างไรกันบ้างครับ การเลือกใช้ยางเป็นเรื่องที่ไม่ยากเลยใช่ไหมครับ เพียงเราต้องสังเกตสภาพของยางอยู่เรื่อยๆ ตามระยะเวลาของมัน และการเลือกดูข้อมูลสัญลักษณ์ยางตามที่ผู้ผลิตยางกำหนดมาให้เข้าใจ เท่านั้นท่านก็สามารถที่จะใช้ยางได้เต็มประสิทธิภาพ และปลอดภัยแล้วครับ
แท็กที่เกี่ยวข้อง มอเตอร์ไซค์ ยาง
Motorbike Guru
เขียนโดย เช็คราคา.คอม Motorbike Guru

พูดคุยกับกูรูได้ที่




เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)