อัพเดทการอบรมเพื่อทำใบอนุญาตเพิ่มความเข้มขึ้นเริ่ม มกราคม 2560
จากกรณีการสอบทำใบอนุญาตขับขี่รถยนต์จะถูกปรับเพิ่มความเข้มข้นมากยิ่งขึ้น ใกล้ระยะเวลาการบังคับใช้เข้ามาทุกทีแล้วนะครับ ซึ่งไม่ว่าจะเป็นการสอบใหม่ หรือผู้ที่ขาดการต่ออายุใบขับขี่แบบชั่วคราวที่เกิน 1 ปีขึ้นไป ต้องสอบในระบบใหม่ทั้งหมด โดยปรับปรุงเนื้อหาการอบรมจากเดิม 4 ชั่วโมง เป็น 5 ชั่วโมง เพิ่มเนื้อหาเกี่ยวกับข้อปฏิบัติเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน และการขับรถอย่างปลอดภัยมากขึ้น รวมถึงเพิ่มจำนวนชั่วโมงอบรมเพื่อปลูกฝังจิตสำนึกความปลอดภัยในการใช้รถเข้าไปด้วย มาดูรายละเอียดจากประกาศทางกรมขนส่งกันครับ
การทำใบขับขี่รถยนต์มีขั้นตอนที่ไม่มากมาย เพียงแต่อาจต้องให้ความสำคัญกับการอบรมให้มากขึ้น และการสอบปฏิบัติควรฝึกซ้อมให้ชำนาญเพื่อการสอบเป็นไปอย่างราบรื่น โดยการทำใบขับขี่มีรายละเอียดดังนี้
หลักฐานประกอบคำขอ
- ภาพถ่ายบัตรประจำตัวประชาชนหรือภาพถ่ายใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว หรือภาพ ถ่ายหนังสือเดินทาง หรือภาพถ่ายหนังสือสำคัญประจำตัวอย่างอื่น
- สำเนาหรือภาพถ่ายทะเบียนบ้าน (กรณีที่อยู่ไม่ตรงกับที่อยู่ในทะเบียนราษฎร์) หรือเอกสารแสดงถิ่นที่อยู่
- รูปถ่ายครึ่งตัว หน้าตรง ไม่สวมหมวกและแว่นตาดำ ขนาด 1 นิ้ว ซึ่งถ่ายไว้ไม่เกิน 6 เดือน จำนวน 2 รูป ในกรณีการขอใบอนุญาตแบบกระดาษ ส่วนการขอใบอนุญาตแบบพลาสติกไม่ต้องใช้
- ใบรับรองแพทย์ ออกก่อนวันยื่นคำขอไม่เกิน 1 เดือน
ขั้นตอนการดำเนินการ
1.เข้ารับการทดสอบสมรรถภาพของร่างกาย ดังต่อไปนี้ ทดสอบปฏิกิริยา และทดสอบสายตา
2.เข้ารับการศึกษาอบรม ดังต่อไปนี้
- ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายว่าด้วยการจราจรทางบก และกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ 30 นาที
- ความรู้เกี่ยวกับเทคนิคการขับรถอย่างปลอดภัย 30 นาที
- ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก กฎหมายแพ่งและกฎหมายอาญา 30 นาที
- ความรู้เกี่ยวกับหน้าที่ผู้ขับรถและการบำรุงรักษารถ 30 นาที
- ความรู้เกี่ยวกับมนุษยสัมพันธ์และมารยาทในการขับรถ 30 นาที
- ความรู้เกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพพลานามัย 30 นาที
- หน้าที่และความรับผิดชอบของผู้ขับรถ 30 นาที
- หัวใจของการบริการทางการขนส่ง 30 นาที
- การตรวจความพร้อมของรถก่อนและหลังการใช้งาน 30 นาที
- ความรู้เกี่ยวกับการขับรถลากจูง และการขับรถลากจูงอย่างปลอดภัย 30 นาที
- ความรู้เกี่ยวกับวัตถุอันตราย (เฉพาะใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถ ชนิดที่ 4) 6 ชั่วโมง
- ความรู้เกี่ยวกับรถบรรทุกวัตถุอันตราย และความรู้เกี่ยวกับหลักการบรรทุกวัตถุอันตราย 6 ชั่วโมง
3.เข้ารับการทดสอบข้อเขียน ดังนี้
- ผู้ขอรับใบอนุญาตชนิดที่ 1 หรือชนิดที่ 2 สอบข้อเขียนจำนวน 60 - 45 ข้อ
- ผู้ขอรับใบอนุญาตชนิดที่ 3 สอบข้อเขียนจำนวน 30 ข้อ
- ผู้ขอรับใบอนุญาตชนิดที่ 4 ทดสอบข้อเขียนเช่นเดียวกับ (2) และสอบข้อเขียนวิชาความรู้ เกี่ยวกับวัตถุอันตรายเพิ่มอีก จำนวน 30 ข้อ ผู้รับการทดสอบจะต้องได้คะแนนเฉลี่ยไม่ต่ำกว่าร้อยละ 60 จึงจะถือว่าผ่านการทดสอบ
4.เข้ารับการทดสอบขับรถ ดังนี้
ผู้ขอรับใบอนุญาตชนิดที่ 1 หรือชนิดที่ 2 สอบขับรถตามชนิดใบอนุญาต
ผู้ขอรับใบอนุญาตชนิดที่ 3 และชนิดที่ 4 สอบขับรถลากจูง พร้อมรถพ่วง หรือรถกึ่งพ่วง โดยทำการทดสอบขับรถ ไม่น้อยกว่า 3 ท่า ใน 6 ท่า ดังต่อไปนี้
- ท่าที่ 1 การเดินหน้าและหยุดรถเทียบทางเท้า
- ท่าที่ 2 การขับรถเดินหน้าและถอยหลังในทางตรง
- ท่าที่ 3 การขับรถถอยหลังเข้าจอดและออกจากช่องว่างด้านซ้าย
- ท่าที่ 4 การหยุดรถและออกรถบนทางลาด
- ท่าที่ 5 การกลับรถ
- ท่าที่ 6 การขับรถเดินหน้าเข้าจอดในช่องที่เป็นมุมฉาก
5.เมื่อผู้ขอรับใบอนุญาตผ่านการทดสอบสมรรถภาพร่างกาย ทดสอบข้อเขียนและทดสอบขับรถแล้ว
สำหรับใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถ ประเภทส่วนบุคคล ชำระค่าธรรมเนียมและรับใบอนุญาตได้
สำหรับใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถ ประเภททุกประเภท ทางราชการจะทำการตรวจสอบ ประวัติอาชญากรว่า ไม่เป็นผู้เคยได้รับโทษจำคุกหรือคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย ให้จำคุก เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดอันได้กระทำโดยประมาทที่มิใช่เกี่ยวกับการใช้รถ ในการกระทำความผิด หรือเป็นความผิดลหุโทษหรือได้พ้นโทษมาแล้วเกินสามปี จึงจะชำระค่าธรรมเนียม และรับใบอนุญาตได้
เท่านี้ก็จะเสร็จขั้นตอนการทำใบขับขี่จักรยานยนต์แล้วครับ ซึ่งใบขับขี่ที่ได้มาใบแรกนี้จะเป็นแบบชั่วคราว 1 ปีเท่านั้น พอครบ 1 ปี ก็เพียงไปที่สำนักงานขนส่งที่ท่านสะดวกเพื่อต่ออายุบัตรให้เป็นแบบ 5 ปี ซึ่งคราวนี้ไม่ต้องสอบข้อเขียน และปฏิบัติใหม่แล้วครับ แค่ทดสอบสมรรถภาพร่างกาย และยื่นเอกสารนิดหน่อยเท่านั้นเอง
เป็นยังไงกันบ้างครับ ไม่ยากเลยใช่ไหมครับ ยังไงก็ขอให้ขับขี่ปลอดภัย และสวมหมวกกันน็อคเวลาขับขี่จักรยานยนต์ด้วยนะครับ