เปิดสถานะรหัสตัวเลขในรายงานเครดิตบูโร เลขไหน สถานะคืออะไร ที่นี่!!

icon 27 ก.พ. 67 icon 25,458
เปิดสถานะรหัสตัวเลขในรายงานเครดิตบูโร เลขไหน สถานะคืออะไร ที่นี่!!
พอได้ยินคำว่า เครดิตบูโร หลายคนอาจจะเข้าใจว่าเป็นเรื่องของคนที่เป็นหนี้เสียเท่านั้น แต่จริงๆ แล้วเรื่องข้อมูลเครดิตบูโร เป็นการจัดเก็บข้อมูลของบริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ ที่ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางในการจัดเก็บข้อมูลเกี่ยวกับบัญชีสินเชื่อ และประวัติการชำระสินเชื่อทุกประเภทของบุคคลธรรมดา และนิติบุคคล ซึ่งเป็นข้อมูลที่ส่งมาจากสถาบันการเงิน และบริษัทผู้ให้บริการสินเชื่อที่เป็นสมาชิกเครดิตบูโร โดยข้อมูลที่จัดเก็บจะแบ่งออกเป็น 2 ส่วนหลัก คือ
 
1. ข้อมูลที่บ่งชี้ถึงตัวตนลูกค้า เช่น ชื่อ ที่อยู่ วันเดือนปีเกิด เลขที่บัตรประชาชน และกรณีที่เป็นนิติบุคคล จะเป็น ชื่อ สถานที่ตั้ง เลขที่ทะเบียนนิติบุคคล เป็นต้น 
 
2. ข้อมูลเกี่ยวกับสินเชื่อที่ได้รับอนุมัติ และประวัติการชำระสินเชื่อ รวมทั้งสถานะบัญชีที่แสดงสถานะของบัญชีสินเชื่อแต่ละบัญชีที่แสดงในรายงานข้อมูลเครดิต เช่น สินเชื่อปกติ สินเชื่อที่ปิดบัญชีแล้ว สินเชื่อที่ค้างชำระเกิน 90 วัน สินเชื่อที่อยู่ในกระบวนการทางกฎหมาย เป็นต้น โดยสถานะบัญชีเครดิตบูโรจะแสดงออกมาเป็นตัวเลข ซึ่งสถานะบัญชีเครดิตบูโรสำคัญที่ควรรู้ มีดังนี้
 
  • 01หรือ 010 หมายถึง ปกติ ไม่มีหนี้ค้างชำระเกินกว่า 90 วัน
  • 11 หรือ 011 หมายถึง ปิดบัญชีเรียบร้อยแล้ว ลูกหนี้ชำระหนี้หมดหรือชำระครบตามยอดที่ได้ทำสัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้ระหว่างลูกหนี้กับเจ้าหนี้
  • 12 หรือ 012 หมายถึง พักชำระหนี้ตามนโยบายของสมาชิก
  • 013 หรือ 13 หมายถึง: มีการขอพักชำระหนี้ตามนโยบายของรัฐ 
  • 014 หรือ 14 หมายถึง มีการขอพักชำระหนี้เกษตรกรตามนโยบายของรัฐ
  • 20 หรือ 020 หมายถึง หนี้ค้างชำระเกินกว่า 90 วัน เข้าข่ายเป็นหนี้เสีย (NPL)
  • 21 หรือ 021 หมายถึง หนี้ค้างชำระเกินกว่า 90 วัน เนื่องจากลูกหนี้ได้รับผลกระทบจากสถานการไม่ปกติ
  • 30 หรือ 030 หมายถึง อยู่ระหว่างกระบวนการทางกฎหมาย
  • 31 หรือ 031 หมายถึง อยู่ระหว่างชำระหนี้ตามคำพิพากษาตามยอม
  • 32 หรือ 032 หมายถึง ศาลยกฟ้องเนื่องจากคดีขาดอายุความ หรือเหตุอื่นเว้นแต่การยกฟ้องเนื่องจากการเป็นหนี้มิได้มีอยู่จริง
  • 33 หรือ 033 หมายถึง ปิดบัญชีเนื่องจากตัดหนี้สูญ ปิดบัญชีเนื่องจากลูกหนี้ไม่นำเงินมาชำระ และสมาชิกตัดหนี้สูญทั้งหมดโดยไม่ติดใจทวงถามอีกต่อไป
  • 40 หรือ 040 หมายถึง อยู่ระหว่างชำระสินเชื่อเพื่อปิดบัญชี ลูกหนี้ไม่สามารถใช้บัญชีได้อีกหรืออยู่ระหว่างชำระหนี้เมื่อลูกหนี้ชำระหนี้เสร็จสิ้นจะต้องปรับเป็น ปกติ หรือ ปิดบัญชี
  • 41 หรือ 041 หมายถึง อยู่ระหว่างตรวจสอบรายการ เจ้าของข้อมูลขอตรวจสอบรายการหรือ สมาชิกอยู่ระหว่างตรวจสอบรายการ เนื่องจากการทุจริต หรือฉ้อฉลโดยอยู่ระหว่างพิสูจน์ข้อเท็จจริง และยังไม่ได้ข้อยุติ
  • 42 หรือ 042 หมายถึง โอนขายหนี้ที่ค้างชำระเกินกว่า 90 วัน สมาชิกโอนหรือขายหนี้ที่ค้างชำระให้กับบุคคลอื่น
  • 43หรือ 043 หมายถึง โอนหรือขายหนี้และชำระหนี้เสร็จสิ้น ไปยังนิติบุคคลอื่นและลูกหนี้ได้มีการชำระหนี้เสร็จสิ้นให้แก่ผู้รับโอน
  • 44 หรือ 044 หมายถึง โอนหรือขายหนี้ที่สถานะบัญชีปกติซึ่ง สามาชิกโอนหรือขายหนี้ที่ไม่ค้างชำระ หรือค้างชำระไม่เกิน 90 วันไปบุคคลอื่น
หากเป็น "หนี้เสีย" สถานะเครดิตบูโร 020 ต้องทำอย่างไร? 
 
กรณีเป็น "หนี้เสีย" หรือเป็นหนี้ที่ค้างชำระเกิน 90 วัน (NPL : Non-performing Loan) ลูกหนี้ควรขอเจรจากับเจ้าหนี้เพื่อขอประนอมหนี้ สำหรับคนที่เป็นหนี้บัตรเครดิต หนี้ผ่อนบ้าน หนี้ผ่อนรถกับธนาคาร ให้ติดต่อกับธนาคารที่กู้สินเชื่อ โดยแจ้งความประสงค์ขอทำการประนอมหนี้ ธนาคารจะแจ้งรายละเอียด และขั้นตอนในการดำเนินการเพื่อเข้าสู่กระบวนการประนอมหนี้ต่อไป 
 
และเมื่อดำเนินการตามขั้นตอน และชำระหนี้หมดแล้วธนาคารจะส่งข้อมูลอัพเดทไปบังบริษัทข้อมูลเครดิตแห่งชาติเพื่อเปลี่ยนสถานะลูกหนี้เป็น 011 ปิดบัญชีเรียบร้อยแล้ว หลังจากนั้นธนาคารจะส่งข้อมูลเพื่ออัพเดทในระบบของบริษัทข้อมูลเครดิตแห่งชาติตามรอบการจัดส่ง ซึ่งหากเราต้องการเช็กข้อมูลในเครดิตบูโร สามารถเช็กได้หลังจากชำระหนี้เสร็จสิ้น หรือปิดบัญชีแล้ว ประมาณ 1 เดือน 
 
ตัวอย่างเช่น 
  • เดือนกุมภาพันธ์ 2566 : ลูกค้าชำระหนี้ หรือปิดบัญชีกับธนาคารที่ขอกู้สินเชื่อ
  • เดือนมีนาคม 2566 : ธนาคารจะส่งข้อมูลมาที่บริษัทข้อมูลเครดิตแห่งชาติ เมื่อบริษัทข้อมูลเครดิตฯ ประมวลผลแล้วก็จะนำส่งข้อมูลเข้าสู่ฐานข้อมูล
  • ตั้งแต่ 30 มีนาคม 2566 เป็นต้นไป : ลูกค้าสามารถตรวจเครดิตบูโร และเช็กสถานะของเดือนกุมภาพันธ์ 2566 ที่เป็นเดือนล่าสุดได้ 
ระยะเวลาในการจัดเก็บข้อมูลเครดิต
 
โดยปกติแล้วธนาคารสมาชิกบริษัทข้อมูลเครดิตมีหน้าที่ส่งข้อมูลสินเชื่อของลูกค้าแต่ละรายให้บริษัทข้อมูลเครดิตเป็นรายเดือน จนกว่าสินเชื่อนั้นจะชำระเสร็จสิ้น สำหรับกรณีที่ลูกค้าผิดนัดชำระหนี้ และค้างชำระเกิน 90 วัน 
 
  • ธนาคารจะส่งข้อมูลสินเชื่อคงค้างให้บริษัทข้อมูลเครดิตต่อเนื่องไปเป็นระยะเวลาไม่เกิน 5 ปี นับแต่วันที่ค้างชำระเกิน 90 วัน
  • บริษัทข้อมูลเครดิต จะเก็บข้อมูลเครดิตที่ได้รับจากธนาคารไว้ในฐานข้อมูลต่อไปอีก เป็นระยะเวลาไม่เกิน 3 ปี นับจากวันที่บริษัทข้อมูลเครดิตได้รับข้อมูลจากธนาคาร
"ข้อมูลเครดิต" เป็นข้อมูลที่สะท้อนถึงพฤติกรรม และวินัยทางการเงินของเจ้าของข้อมูล รวมถึงความตั้งใจในการชำระหนี้การบริหารจัดการหนี้ ซึ่งธนาคารจะใช้ข้อมูลเหล่านี้ประกอบการพิจารณาสินเชื่อในครั้งถัดไปนะคะ :)
แท็กที่เกี่ยวข้อง รายงานเครดิตบูโร เครดิตบูโร ตรวจเครดิตบูโร
Money Guru
เขียนโดย ชนานาถ จินตกสิกรรม Money Guru

พูดคุยกับกูรูได้ที่




เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)