จำนำทะเบียน "สินเชื่อรถแลกเงินแบบโอนเล่ม" ทำอย่างไร และใช้เอกสารอะไรบ้าง?

icon 9 ม.ค. 67 icon 24,889
จำนำทะเบียน "สินเชื่อรถแลกเงินแบบโอนเล่ม" ทำอย่างไร และใช้เอกสารอะไรบ้าง?
อย่างที่ทราบกันแล้วว่าสินเชื่อรถแลกเงินมีอยู่ด้วยกัน 2 แบบ คือแบบจำนำทะเบียน (โอนเล่ม) และไม่จำนำทะเบียน (ไม่โอนเล่ม) ซึ่งทั้ง 2 แบบมีข้อแตกต่างกันอย่างไรบ้าง หากเลือกขอสินเชื่อรถแลกเงินแบบโอนเล่ม จะมีขั้นตอนการจำนำทะเบียนอย่างไร และใช้เอกสารอะไรบ้าง ตามมาดูกันเลยค่ะ 
สินเชื่อรถแลกเงิน แบบจำนำทะเบียน 
(โอนเล่ม)
สินเชื่อรถแลกเงิน แบบไม่จำนำทะเบียน 
(ไม่โอนเล่ม)
  • ต้องใช้ทะเบียนรถเป็นหลักประกันในการขอสินเชื่อ 
  • ต้องโอนเล่มทะเบียนรถฉบับจริงให้กับผู้ให้บริการสินเชื่อ โดยในสมุดทะเบียนรถ จะถูกเปลี่ยนชื่อเพื่อใช้เป็นหลักประกันในการขอกู้สินเชื่อ โดยต้องดำเนินการกับสำนักงานขนส่งทางบก 
  • เมื่อผ่อนชำระสินเชื่อหมดสามารถโอนกรรมสิทธิ์รถคืนมาได้ 
  • ต้องใช้ทะเบียนรถของตนเป็นหลักประกันในการขอสินเชื่อ 
  • เป็นเพียงการนำเล่มทะเบียนมาฝากไว้กับผู้ให้บริการสินเชื่อ โดยจะทำเป็นเอกสารโอนลอย เพื่อไว้ใช้เป็นหลักประกันในการขอกู้สินเชื่อเท่านั้น 
  • ชื่อบนสมุดทะเบียนรถยังเป็นชื่อของผู้กู้ไม่มีการโอนเปลี่ยนชื่อผู้ถือกรรมสิทธิ์รถแต่อย่างใด 
  • เมื่อผ่อนชำระสินเชื่อหมดก็สามารถรับเล่มทะเบียนรถคืนได้ 
หากเลือกสินเชื่อรถแลกเงินแบบจํานําทะเบียนรถ หรือแบบโอนเล่มทะเบียน จะต้องใช้เอกสารอะไรบ้าง และมีขั้นตอนการดำเนินการอย่างไร ตามไปดู...
 
เอกสารที่ต้องใช้กรณีเลือกขอสินเชื่อรถแลกเงินแบบโอนเล่มทะเบียน
  • หลักฐานประจำตัวผู้โอนและผู้รับโอน ได้แก่ สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือหนังสือรับรองการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล 
  • หลักฐานการโอนกรรมสิทธิ์ เช่น ใบเสร็จรับเงิน ใบกำกับภาษี สัญญาซื้อขาย หรือหลักฐานอื่นๆ ได้แก่ พินัยกรรม คำสั่งศาล แต่งตั้งผู้จัดการมรดก เป็นต้น
  • หลักฐานการจัดให้มีประกันภัยตาม พ.ร.บ. คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535
  • หนังสือแสดงการจดทะเบียนรถซึ่งลงลายมือชื่อผู้ประกอบการขนส่ง และผู้ถือกรรมสิทธิ์แล้ว
  • หนังสือมอบอำนาจกรณีไม่ได้มาดำเนินการด้วยตนเอง
  • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนผู้รับมอบ
ขั้นตอนการดำเนินการ
  • ยื่นแบบคำขอโอนและรับโอน (ตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก ซึ่งมีการกรอกข้อความและ ลงนามในคำขอแล้วพร้อมหลักฐาน แล้วนำรถเข้าตรวจสอบยังตรวจสภาพรถ)
  • ตรวจสอบการบรรจุรถในบัญชี ขส.บ.11 ของผู้รับโอน
  • ทำการชำระค่าธรรมเนียม
  • บันทึกรายการทางทะเบียนรถ
  • รับหนังสือแสดงการจดทะเบียนรถคืน
ตัวอย่างเอกสารแบบคำขอโอนและรับโอนตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ ของกรมการขนส่งทางบก
 
ปิดท้ายกันด้วยข้อดี-ข้อควรระวังของการของสินเชื่อรถแลกเงินแบบโอนเล่ม หรือจำนำทะเบียน ว่าหากตัดสินใจเลือกสินเชื่อประเภทนี้แล้วจะมีข้อดี และข้อควรระวังอะไรบ้าง
ข้อดีของสินเชื่อรถแลกเงินแบบโอนเล่ม ข้อควรระวังของสินเชื่อรถแลกเงินแบบโอนเล่ม
  • อัตราดอกเบี้ยถูกกว่าแบบไม่โอนเล่ม เพราะมีหลักประกันที่แน่นอน (โอนกรรมสิทธิ์เป็นของผู้ให้บริการสินเชื่อ)
  • ได้วงเงินสูงกว่า 
  • ต้องไปดำเนินการโอนเล่มทะเบียนที่สำนักงานขนส่งทางบก และอาจต้องเสียค่าใช้จ่ายในการโอนรถ ค่าอากร เพิ่มเติม
  • ใช้ระยะเวลาดำเนินการนานกว่า ประมาณ 7- 15 วัน 
ได้ข้อมูลกันไปครบถ้วนแล้ว หากใครที่กำลังคิดจะขอสินเชื่อรถแลกเงินอยู่ เตรียมเอกสารให้พร้อมแล้วไปติดต่อบริษัท หรือสถาบันการเงินที่ให้บริการได้เลยนะคะ เอกสารพร้อม รถพร้อม ประวัติการเงินพร้อม ก็เตรียมรอรับเงินได้เลยค่ะ :)
 
แท็กที่เกี่ยวข้อง สินเชื่อรถแลกเงิน รถแลกเงิน สินเชื่อรถแลกเงินแบบโอนเล่ม สินเชื่อรถแลกเงินแบบไม่โอนเล่ม จำนำทะเบียน ขั้นตอนการจำนำทะเบียน
Money Guru
เขียนโดย ชนานาถ จินตกสิกรรม Money Guru

พูดคุยกับกูรูได้ที่




เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)