วิธีการเก็บเงินล้านให้ได้ภายใน 5 ปี

icon 19 ส.ค. 65 icon 15,398
วิธีการเก็บเงินล้านให้ได้ภายใน 5 ปี
การมีเงินล้านแรก คงเป็นความฝันของใครหลายๆ คน ยิ่งอยู่ในยุคที่คนรอบข้าง และคนที่เราเห็นใน Social Media ประสบความสำเร็จกันเร็วขึ้น มีบ้าน มีรถตั้งแต่อายุยังน้อย ทำให้อดไม่ได้ที่จะรู้สึกกดดันตัวเอง แต่ความกดดันนี้ ใช่ว่าจะส่งผลร้ายเสมอไป หากเราสามารถเปลี่ยนความกดดันมาเป็นแรงผลักดัน จะมีส่วนช่วยให้เราทำตามเป้าหมายให้สำเร็จ
 
แต่ละคนคงมีเป้าหมายในชีวิตที่แตกต่างกันไป บางคนอยากได้บ้าน บางคนอยากได้รถ บางคนอยากเป็นเจ้าของแบรนด์เนมสักชิ้น บางคนอยากไปท่องเที่ยว บางคนยังไม่มีเป้าหมายในชีวิตที่ชัดเจน เพียงแค่อยากเก็บเงินไปเรื่อยๆ บางคนอยากมีเงินล้าน บทความนี้จะมาแนะนำวิธีเก็บเงินล้านให้ได้ภายใน 5 ปี จะต้องทำอย่างไรบ้าง บทความนี้มีคำตอบ
 

รู้เงินที่ออมได้ต่อเดือน
 
อย่างแรกที่สำคัญที่สุด คือ รู้ว่าในตอนนี้เราออมเงินได้ต่อเดือนเท่าไหร่ สำหรับใครที่ออมเงินเป็นประจำอยู่แล้ว สามารถข้ามไปอ่านข้อถัดไปได้เลย แต่สำหรับใครที่กำลังเริ่มต้นอยากเก็บเงิน ทำได้ง่ายๆ 2  ทาง คือ
  1. กำหนดเปอร์เซ็นต์ออมเงินจากรายได้ เช่น 5% 10% 20% หากเรามีรายได้ 30,000 บาทต่อเดือน ประเมินจากสถานการณ์การเงินของตัวเองแล้วว่าสามารถออมเงินได้ 20% ของรายได้ เท่ากับออมเงินได้ที่ 6,000 บาทต่อเดือน
  2. สำรวจรายจ่ายของตัวเอง เพื่อให้รู้กำลังในการออมของเราในแต่ละเดือน
รู้ว่าขาดเหลือเท่าไหร่ เพื่อให้ถึงเป้าหมาย
 
หลังจากรู้แล้วว่าเรามีเงินที่ออมได้ต่อเดือนเท่าไหร่ มาดูกันต่อว่าการจะมีเงินล้านภายใน 5 ปี จะต้องเก็บเงินเดือนละเท่าไหร่ และเรายังขาดเหลืออีกเท่าไหร่ เพื่อให้ถึงเป้าหมายนั้น
 
 
จากตารางด้านบน แสดงให้เห็นว่าการลงทุนในแต่ละสินทรัพย์ ให้ผลตอบแทนที่คาดหวังแตกต่างกันไป หากเรารับความเสี่ยงได้สูง การลงทุนในกองทุนรวมหุ้นต่างประเทศทำให้ลดแรงในการเก็บเงินได้มากกว่าสินทรัพย์อื่นที่เสี่ยงต่ำกว่า แต่แน่นอนว่าสิ่งที่แลกมาคือโอกาสในการขาดทุนที่มีมากกว่าด้วยเช่นกัน
 
 
จากตารางด้านบนจะเห็นว่าการที่เรามีเงินตั้งต้นบางส่วน ช่วยลดจำนวนเงินที่ต้องออมลงได้ ทำให้เราไปถึงเป้าหมายได้เร็วขึ้น และจากตัวอย่างในข้อแรก หากเรามีรายได้ 30,000 บาท ออมเงินได้ 6,000 บาท และรับความเสี่ยงได้สูง
  • กรณีไม่มีเงินออมตั้งต้น จะต้องออมเพิ่ม 13,650 - 6,000 = 7,650 บาท
  • กรณีมีเงินตั้งต้น 50,000 บาท จะต้องออมเพิ่ม 12,551 - 6,000 = 6,551 บาท
  • กรณีมีเงินตั้งต้น 100,000 บาท จะต้องออมเพิ่ม 11,451 - 6,000 = 5,451 บาท
รู้ว่าจะทำอย่างไร เพื่อให้ถึงเป้าหมาย
 
เมื่อรู้แล้วว่าเรายังขาดเหลืออีกเท่าไหร่ สิ่งถัดมา คือ รู้ว่าจะต้องทำอย่างไรต่อไป การจะมีเงินออมเพิ่มได้ มาได้จาก 3 ทางหลักๆ
  1. ลดรายจ่ายไม่จำเป็น : ลองสำรวจรายจ่ายแบบละเอียด ว่ามีรายจ่ายส่วนไหนที่สามารถลดทอนออกไปได้ เพื่อนำมาเก็บเพิ่มเติมสำหรับเป้าหมายนี้ แต่การจะลดรายจ่าย 5,400-7,600 บาท ไม่ใช่เรื่องง่าย สามารถทำควบคู่กับทางที่ 2 และ 3 ได้
  2. เพิ่มรายได้หลัก : เมื่อการลดจ่ายได้หลายๆ พันเป็นไปได้ยาก ลองกลับมาทบทวนดูว่าที่ทำงานของเราให้โอกาสในการเพิ่มรายได้มากน้อยแค่ไหน หากใครได้อยู่ในที่ทำงานที่เพิ่มฐานเงินเดือนให้จาก performance เป็นหลัก เราก็สามารถพัฒนาตัวเองเพื่อให้เป็น top performer และนำเงินที่ได้ปรับฐานมาเก็บเพิ่มได้ แต่ใครที่อยู่ในที่ทำงานที่มีกรอบการขึ้นเงินเดือนที่ชัดเจน และถูกกำหนดไว้แล้ว ทางนี้อาจจะไม่ง่ายมากนัก
  3. หารายได้เสริม : เมื่อการลดรายได้ และการเพิ่มรายได้หลักไม่ได้ง่ายสำหรับเรา การหารายได้เสริมจากสิ่งที่เราชอบเป็นอีกหนทางที่ทำให้เรามีรายได้เพิ่มขึ้น
รู้ข้อจำกัดและความยืดหยุ่นของเรา
 
วิถีการใช้ชีวิต และข้อจำกัดของแต่ละคนแตกต่างกัน เพื่อเป้าหมายเงินล้านภายใน 5 ปีนั้น ไม่ใช่ทุกคนที่จะสามารถลดรายจ่ายได้ ไม่ใช่ทุกคนที่จะมีช่องทางในการเพิ่มรายได้หลักได้ และไม่ใช่ทุกคนที่จะมีโอกาสและเวลาในการหารายได้เสริม
 
การที่มีเป้าหมายแล้วอยากไปให้ถึงเป็นสิ่งที่ดี แต่ถ้าการโฟกัสเพียงแต่เป้าหมายอย่างเดียว แล้วทำให้การใช้ชีวิตของเราไม่ยืดหยุ่น ต้องจำกัดงบในการใช้จ่าย ต้องหาลู่ทางในการเพิ่มรายได้ ถ้าการทำสิ่งเหล่านี้ ทำให้เราเครียด กินไม่ได้ นอนไม่หลับ เป้าหมายนี้อาจมีเพื่อทำร้ายเราแทน
 
ดังนั้นถ้าเงินล้านภายใน 5 ปี ทำได้ยากเกินไป สามารถลดจำนวนเงิน จาก 1 ล้านบาท เป็น 5 แสนบาท หรือ เพิ่มจำนวนปี จาก 5 ปี เป็น 10 ปี เพื่อให้เราสามารถใช้ชีวิตได้ยืดหยุ่น และมีความสุขในแต่ละวันมากขึ้น

ณ วันนี้ที่เพิ่งเป็นการเริ่มต้น คงยังไม่สามารถด่วนสรุปได้ ว่าเป้าหมายการเก็บเงินล้านภายใน 5 ปี จะเกิดขึ้นจริงหรือไม่ แต่ในวันนี้ที่ทุกคนมีเป้าหมายกับตัวเอง ล้วนเป็นสิ่งที่ดีทั้งนั้น แต่นอกจากจะต้องคอยหมั่นทบทวนพอร์ตการลงทุนของเรา อย่าลืมที่จะทบทวนความสุขของตัวเองระหว่างทางด้วย ว่ามีเพิ่มขึ้น เท่าเดิม หรือกำลังลดลง เพื่อให้เรายังมีกำลังใจในการเก็บเงินได้อย่างต่อเนื่อง และมีอิสรภาพการเงินในอนาคต
แท็กที่เกี่ยวข้อง การจัดการการเงิน วางแผนลงทุน บทความการเงิน อิสรภาพการเงิน การวางแผนการเงิน
Money Guru
เขียนโดย เช็คราคา.คอม Money Guru

พูดคุยกับกูรูได้ที่



เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)