7 เรื่องต้องรู้ - ตั้งรับ สำหรับ "ภาษีการรับมรดก"

icon 27 ก.ค. 65 icon 41,516
7 เรื่องต้องรู้ - ตั้งรับ สำหรับ "ภาษีการรับมรดก"
"ภาษีการรับมรดก" เรื่องควรรู้ ที่หลายๆ คนอาจมองข้ามไป โดยเฉพาะคนที่ประกอบธุรกิจแบบครอบครัว หรือมีมรดกที่จะส่งต่อให้กับลูกหลาน หรือทายาท ควรมีการวางแผน และทำความเข้าใจ “ภาษีการรับมรดก” เพื่อจะได้ไม่เป็นการสร้างความยุ่งยากในอนาคตให้กับผู้ที่จะได้รับมรดก เพราะยิ่งมรดกมีมูลค่ามากก็จะยิ่งเกิดภาระทางภาษีแก่ผู้รับมรดกมากขึ้นตามไปด้วย 

วันนี้ เราจะพามาดู 7 ข้อต้องรู้ และเรื่องเตรียมตั้งรับ สำหรับ "ภาษีการรับมรดก" ที่เจ้ามรดก หรือผู้ได้รับมรดกควรรู้ เพื่อที่จะได้นำไปวางแผนก่อนส่งต่อมรดกสู่ลูกหลานกันนะคะ
 
 
1. ภาษีการรับมรดก คืออะไร และใครมีหน้าที่ต้องจ่าย
 
ภาษีการรับมรดก (Inheritance Tax) คือ ภาษีที่เรียกเก็บจากผู้ได้รับมรดกที่มีมูลค่าสุทธิรวมเกิน 100 ล้านบาท จะเกิดขึ้นเมื่อเจ้ามรดกตาย ผู้รับมรดกจากเจ้ามรดก แต่ละรายได้รับมรดกสุทธิมาในคราวเดียวหรือหลายคราว มีหน้าที่ต้องเสียภาษีตามที่กฎหมายกำหนด

ผู้มีหน้าที่เสียภาษีการรับมรดก

ผู้รับมรดกจะต้องเสีย "ภาษีการรับมรดก" ก็ต่อเมื่อมูลค่าของทรัพย์สินทั้งสิ้นที่ได้รับเป็นมรดก หักด้วยภาระหนี้สินอันตกทอดมาจากการรับมรดกเกิน 100 ล้านบาท ต้องเสียภาษีเฉพาะส่วนที่เกิน 100 ล้านบาท สำหรับผู้รับมรดก โดยผู้ที่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีการรับมรดก ตามที่กฎหมายกำหนด ตามเงื่อนไข ดังนี้

ผู้มีสัญชาติไทย
  1. บุคคลธรรมดา (เสียภาษีจากทรัพย์สินทั้งที่อยู่ในประเทศไทย และนอกประเทศ)
  2. นิติบุคคลที่จดทะเบียนในประเทศไทย  (เสียภาษีจากทรัพย์สินทั้งที่อยู่ในประเทศไทย และนอกประเทศ)
  3. นิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายในประเทศไทย (เสียภาษีจากทรัพย์สินทั้งที่อยู่ในประเทศไทย และนอกประเทศ)
    - ถือหุ้นเกินร้อยละ 50 ของทุนจดทะเบียนที่ชำระแล้วในขณะมีสิทธิได้รับมรดก หรือ
    - เป็นผู้มีอำนาจบริหารกิจการเกินกึ่งหนึ่งของคณะบุคคลซึ่งมีอำนาจบริหารกิจการทั้งหมด
ผู้มิได้มีสัญชาติไทย 
  1. บุคคลธรรมดาที่มีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักรตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง (เสียภาษีจากทรัพย์สินทั้งที่อยู่ในประเทศไทย และนอกประเทศ)
  2. บุคคลธรรมดาผู้ซึ่งได้รับมรดกอันเป็นทรัพย์สินที่อยู่ในประเทศไทย (เสียภาษีจากทรัพย์สินที่อยู่ในประเทศไทย)
  3. นิติบุคคลที่ได้รับมรดกอันเป็นทรัพย์สินที่อยู่ในประเทศไทย (เสียภาษีจากทรัพย์สินที่อยู่ในประเทศไทย)
2. ทรัพย์สินอะไรบ้างที่ต้องเสียภาษีการรับมรดก
 
ทรัพย์สินมรดกที่จะต้องเสียภาษีมีทั้งหมด 5 ประเภท ได้แก่
  1. อสังหาริมทรัพย์ เช่น บ้าน ที่ดิน 
  2. หลักทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ เช่น ตั๋วเงินคลัง พันธบัตร ตั๋วเงิน หุ้นกู้
  3. เงินฝากหรือเงินอื่นใดที่มีลักษณะอย่างเดียวกันซึ่งอยู่ในประเทศไทย ที่เจ้ามรดกมีสิทธิเรียกถอนคืนหรือสิทธิเรียกร้องจากสถาบันการเงินหรือบุคคลที่ได้รับเงินนั้นไว้
  4. ยานพาหนะที่มีหลักฐานทางทะเบียน เช่น รถยนต์ รถจักรยานยนต์
  5. ทรัพย์สินทางการเงินอื่นๆ (ที่กำหนดเพิ่มขึ้นโดยพระราชกฤษฎีกา)
3. อัตราภาษีการรับมรดก และการคำนวณภาษี
 
มรดกที่ผู้เสียภาษีได้รับจากเจ้ามรดก เมื่อมีมูลค่าสุทธิเกินกว่า 100,000,000 บาท ส่วนที่เกินจะต้องเสียภาษี ในอัตรา ดังนี้ 
ตัวอย่างวิธีการคำนวณภาษีการรับมรดก 
 
ตัวอย่าง เมื่อผู้รับมรดกเป็นบุตรของเจ้ามรดก ที่ได้รับมรดกเป็นจำนวนเงิน 200 ล้านบาท (มูลค่ามรดกที่ไม่ ต้องเสียภาษี คือ 100 ล้านบาท) จะเสียภาษีที่อัตราร้อยละ 5%  มีวิธีการคำนวณ ดังนี้
4.  "ภาษีการรับมรดก" ต้องชำระเมื่อไหร่? และมีเงื่อนไขอย่างไร?
 
ผู้มีหน้าที่เสียภาษีการรับมรดก สามารถยื่นแบบแสดงรายการการรับภาาษีมรดก (ภ.ม.60) และ ชำระภาษีภายใน 150 วัน นับแต่วันที่ได้รับมรดก โดยสามารถยื่นแบบได้ที่สำนักงานสรรพากร

กรณีที่ 1 หากผู้ที่ได้รับมรดก และมีหน้าที่ต้องเสียภาษีการรับมรดก เสียชีวิตก่อนครบกำหนดเวลายื่นแบบ โดยยังมิได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษี ผู้จัดการมรดกของผู้นั้นมีหน้าที่ยื่นแบบและชำระภาษี พร้อมทั้งเงินเพิ่ม*ร้อยละ 1.50 ต่อเดือนหรือเศษของเดือนของเงินภาษีที่ต้องชำระ แทนผู้ตายภายใน 150 วันนับแต่วันที่ได้รับแต่งตั้งเป็นผู้จัดการมรดก โดยไม่ต้องเสียเบี้ยปรับ 

กรณีที่ 2 หากผู้ที่ได้รับมรดก และมีหน้าที่ต้องเสียภาษีการรับมรดก เสียชีวิตเมื่อครบกำหนดเวลา โดยยังมิได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษี ผู้จัดการมรดกของผู้นั้นมีหน้าที่ยื่นแบบ และชำระภาษี พร้อมทั้งเงินเพิ่ม*ร้อยละ 1.50 ต่อเดือนหรือเศษของเดือนของเงินภาษีที่ต้องชำระ แทนผู้ตายภายใน 150 วันนับแต่วันที่ได้รับแต่งตั้งเป็นผู้จัดการมรดก โดยเสียเบี้ยปรับ 1 เท่า ของเงินภาษีที่ต้องชำระ 

กรณีที่ 3 หากผู้ที่ได้รับมรดก และมีหน้าที่ต้องเสียภาษีการรับมรดก ยื่นแบบแสดงรายการภาษีและชำระภาษีภายหลังกำหนดเวลา ให้ชำระภาษีพร้อมทั้งเงินเพิ่ม*ร้อยละ 1.50 ต่อเดือนหรือเศษของเดือนของเงินภาษีที่ต้องชำระ โดยเสียเบี้ยปรับ 2 เท่า ของเงินภาษีที่ต้องชำระ 

กรณีที่ 4 หากมีการแต่งตั้งผู้จัดการมรดกมาดำเนินการแทนผู้มีหน้าที่เสียภาษี ให้กระทำภายใน 180 วัน หากไม่มีการแต่งตั้งผู้จัดการมรดกมาดำเนินการแทน ให้ทายาทซึ่งมีสิทธิรับมรดกของผู้ตายมีหน้าที่ยื่นแบบและชำระภาษี ภายใน 150 วันนับแต่วันที่พ้นกำหนดเวลา 180 วัน ในกรณีที่มีทายาทหลายคน ให้ทายาทตกลงมอบให้ทายาทคนหนึ่งเป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษี ถ้าไม่อาจตกลงกันได้ ให้ทายาทคนใดคนหนึ่งยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อแต่งตั้งผู้จัดการมรดกต่อไป

*เงินเพิ่ม เป็นบทลงโทษเกี่ยวกับภาษีอย่างหนึ่ง ในรูปของการคิดดอกเบี้ยเนื่องจากจ่ายภาษีล่าช้า ซึ่งจะคำนวณจากค่าภาษีที่จ่ายไม่ครบอีกร้อยละ 1.5 ต่อเดือนของภาษีที่ต้องจ่าย โดยคำนวณตั้งแต่วันที่ครบกำหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการจนถึงวันที่ชำระภาษีครบถ้วน แต่สุดท้ายเงินเพิ่มที่ต้องจ่ายจะต้องไม่เกินค่าภาษี)
 
5. ภาษีการรับมรดกสามารถผ่อนชำระได้หรือไม่ และมีเงื่อนไขอย่างไร?
 
ผู้รับมรดก หรือผู้มีหน้าที่เสียภาษีการรับมรดก สามารถยื่นคำร้องขอผ่อนชำระภาษี พร้อมกับการยื่นแบบแสดงรายการภาษีภายในเวลาที่กฎหมายกำหนด ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขาแห่งใดแห่งหนึ่ง หรือ ณ สถานที่อื่นใดตามที่อธิบดีกำหนด โดยมีเงื่อนไข ดังนี้
  1. การขอผ่อนชำระภาษี ภายใน 2 ปี ได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียเงินเพิ่ม 
  2. การผ่อนชำระที่เกินกว่า 2 ปี แต่ไม่เกิน 5 ปี ให้เสียเงินเพิ่มร้อยละ 0.50 ต่อเดือน
  3. การผ่อนชำระภาษี สามารถผ่อนชำระภาษีให้เสร็จสิ้นก่อนกำหนดเวลาที่ขอผ่อนชำระภาษีได้
  4. หากผู้ผ่อนชำระภาษี ผิดนัดชำระภาษีงวดใดงวดหนึ่ง ผู้ผ่อนชำระภาษีจะหมดสิทธิการผ่อนชำระภาษีและต้องชำระภาษีที่ค้างอยู่ทั้งจำนวนพร้อมเงินเพิ่ม
  5. ห้ามผ่อนชำระภาษี เมื่อพบว่ามูลค่ามรดกที่ต้องเสียภาษีขาดไปเกินกว่าร้อยละ 25 หรือพบว่ามีรายการที่ผู้ยื่นมิได้แสดงไว้ในแบบแสดงรายการภาษีหรือแสดงไว้เป็นเท็จ
6. การขอคืนเงินภาษีการรับมรดก
 
ในกรณีผู้ที่ยื่นแบบแสดงรายการภาษีได้ชำระภาษีโดยไม่มีหน้าที่ต้องเสีย สามารถยื่นคำร้องขอคืนภาษีการรับมรดก ภายใน 5 ปี นับแต่วันชำระภาษีทั้งหมด 
 
7. บทกำหนดโทษสำหรับกรณี หลีกเลี่ยง ละเว้น ซ่อนเร้น ไม่ชำระภาษีการรับมรดก
 
การเลี่ยงภาษีมรดก เป็นความผิดอาญา อาจต้องได้รับโทษ ดังนี้
  1. กรณีไม่ยื่นแบบแสดงรายการภาษี โดยไม่มีเหตุอันสมควร ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 500,000 บาท
  2. กรณีไม่ปฏิบัติตามหมายเรียกหรือคำสั่งของเจ้าพนักงานประเมิน หรือไม่ยอมตอบคำถามของเจ้าพนักงานประเมิน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 เดือนหรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
  3. กรณีทำลาย ย้าย ซ่อนเร้น หรือโอนไปซึ่งทรัพย์สินที่ถูกยึด หรืออายัด ให้แก่บุคคลอื่น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี และปรับไม่เกิน 400,000 บาท
  4. กรณีจงใจยื่นข้อความเท็จ หรือให้ถ้อยคำเท็จ หรือตอบคำถามด้วยถ้อยคำอันเป็นเท็จ หรือนำพยานหลักฐานเท็จมาแสดงเพื่อหลีกเลี่ยงการเสียภาษี หรือให้ความเท็จ โดยเจตนาละเลย โดยฉ้อโกงหรือใช้อุบาย โดยวิธีการอย่างหนึ่งอย่างใด หลีกเลี่ยงหรือพยายามหลีกเลี่ยงการเสียภาษี หรือแนะนำหรือสนับสนุนให้บุคคลอื่นกระทำการดังกล่าว ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 200,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
  5. กรณีผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล ให้กรรมการผู้จัดการ ผู้จัดการ หรือผู้แทนของนิติบุคคล ต้องรับโทษ โดยถือว่ามีส่วนร่วมในการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้น

การรับมรดกที่มีมูลค่าเกินกว่า 100 ล้านบาท มีราคาที่ต้องจ่ายคือ "ค่าภาษี" ดังนั้น เจ้ามรดกควรมีการวางแผนการส่งมอบทรัพย์สิน และมรดกไว้ตั้งแต่ยังมีชีวิต โดยอาจจะทยอยส่งมอบทรัพย์สินบางส่วนไปบ้าง และเก็บไว้เป็นมรดกเพียงส่วนหนึ่ง เพื่อช่วยลดค่าใช้จ่ายทางด้านภาษีในอนาคตนะคะsmiley
แท็กที่เกี่ยวข้อง ภาษีการรับมรดก วางแผนภาษี Inheritance Tax
Money Guru
เขียนโดย ชนานาถ จินตกสิกรรม Money Guru

พูดคุยกับกูรูได้ที่



เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)