วางแผนตอนนี้ ชีวิตแฮปปี้แน่นอน! รวมทริควางแผนการออมเงินก่อนเข้าสู่วัยเกษียณ

icon 30 มิ.ย. 65 icon 3,502
วางแผนตอนนี้ ชีวิตแฮปปี้แน่นอน! รวมทริควางแผนการออมเงินก่อนเข้าสู่วัยเกษียณ
ใครๆ เขาก็ว่ากันว่าเรื่องเงินเรื่องใหญ่ เพราะไม่ว่าจะช่วงวัยไหน อายุเท่าไหร่ เราก็ต้องใช้ "เงิน" ยิ่งวัยเกษียณที่ไม่ได้ทำงานหาเงินแล้ว การวางแผนออมเงินให้เพียงพอต่อการใช้ชีวิตหลังเกษียณก็ถือว่าเป็นเรื่องที่ขาดไปไม่ได้เลยค่ะ เนื่องจากเมื่ออายุมากขึ้น อาจนำมาซึ่งข้อจำกัดหลายๆ อย่างที่จำเป็นต้องใช้เงิน อีกทั้งไม่อยากรบกวนเงินของลูกหลานให้ลำบากใจ ถ้าอย่างนั้นก็แวะดูทริคที่นำมาฝากกันในบทความนี้กันก่อนนะคะ รับรองว่าไม่ยาก สามารถทำตามกันได้แบบชิลๆ เลยค่ะ

อันดับแรก ก่อนที่จะเริ่มวางแผนการออมเงิน เราลองมาประเมินจำนวนเงินคร่าวๆ ที่ต้องมีในช่วงเกษียณอายุกันก่อนนะคะ โดยคำนวณดังนี้


"ค่าใช้จ่ายหลังเกษียณในแต่ละเดือน × 12 × จำนวนปีหลังเกษียณที่คาดว่าจะมีชีวิตอยู่"

 

ตัวอย่าง
 
คุณลอยด์คาดการณ์ไว้ว่าเมื่อเกษียณแล้ว แต่ละเดือนจะมีค่าใช้จ่ายประมาณ 30,000 บาท และคาดว่าหลังเกษียณน่าจะมีชีวิตอยู่อีกประมาณ 20 ปี เพราะฉะนั้นเงินเก็บที่คุณลอยด์จะต้องมี คือ (30,000 × 12) × 20 = 7,200,000 บาท
 
 
นอกจากนี้ บางคนอาจมีการออมเงินหลากหลายรูปแบบ เช่น การออมเงินไว้กับกองทุนต่างๆ รวมทั้งยังมีเรื่องของเงินเฟ้อที่ทำให้ของแพงขึ้นเรื่อยๆ ตามกาลเวลา จึงต้องนำอัตราดังกล่าวมาคำนวณด้วย ซึ่งตรงนี้ผู้เขียนขอแนะนำให้ใช้โปรแกรมจากหลายๆ เว็บไซต์มาช่วยคำนวณ เพื่อผลลัพธ์ที่ละเอียดมากยิ่งขึ้นค่ะ
ตัวอย่างโปรแกรมคำนวณค่าใช้จ่ายเพื่อเกษียณ จากเว็บไซต์ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
 
เมื่อรู้จำนวนเงินออมที่ควรมี ณ วันเกษียณเรียบร้อยแล้ว สิ่งที่ควรทำถัดมาคือการประเมินตัวเองว่าเงินออม ณ ตอนนี้ ใกล้เคียงเป้าหมายหรือไม่ ขาดเกินมากแค่ไหน โดยสามารถลองคำนวณจากเงินเก็บเฉลี่ยในแต่ละปี ไปจนถึงปีที่จะเกษียณ (เช่น ปัจจุบันมีเงินเก็บอยู่ประมาณ 3,000,000 บาท ยังขาดอีก 4,200,000 บาท และเหลือเวลาอีก 30 ปี จนกว่าจะเกษียณ ดังนั้นจึงต้องออมเงินให้ได้เฉลี่ยปีละ 140,000 บาท เป็นต้น)
 
หากใครที่รู้สึกว่าตัวเลขที่คำนวณออกมานั้นดูไกลความจริงไปหน่อย ให้เก็บปีละเท่านี้คงไม่ไหว สิ่งที่พอจะแนะนำได้ในตอนนี้คือควร "เลื่อนช่วงเวลาเกษียณ" ออกไปก่อน รวมทั้งนำทริคพิเศษอีกเล็กๆ น้อยๆ มาปรับใช้ ให้เราได้ขยับเข้าใกล้เป้าหมายมากกว่าเดิมค่ะ


1. จัดสรรเงิน และทำบัญชีรายรับ - รายจ่าย

สิ่งที่ไม่ควรขาดไป ไม่ว่าจะทำอะไรที่เกี่ยวกับเงินก็ตาม คือ "การจัดสรรที่ดี" ค่ะ การจดบันทึกรายรับ - รายจ่าย และการจัดสรรเงินให้เป็นสัดส่วน เปรียบเสมือนเป็นการวางแผนไปในตัวว่าแต่ละช่วงเวลานั้นเราได้ใช้จ่ายไปกับอะไรบ้าง หรือจะต้องแบ่งเงินไปใช้กับอะไร มากน้อยแค่ไหน ทำให้แผนการออมของเรานั้นง่ายขึ้นอีกเป็นเท่าตัวเลยค่ะ
 

2. แบ่งเงินออมบางส่วนไปลงทุน

ออมเงินไว้ในบัญชีธนาคารเฉยๆ คงไม่พอ ลองหันมาทำเงินให้งอกเงยด้วยการนำไปลงทุนดูสิคะ ไม่ว่าจะเป็นกองทุน, หุ้น, ทองคำ หรืออสังหาริมทรัพย์ ยิ่งมีความชำนาญมากเท่าใด โอกาสที่จะได้รับผลตอบแทนก็จะยิ่งมากขึ้นไปด้วย
 

3. ทำประกันสุขภาพ

เมื่อเวลาผ่านไป เป็นธรรมดาที่ร่างกายของคนเราจะต้องเริ่มเสื่อมโทรมลงตามอายุที่เพิ่มขึ้น หลายคนจึงหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องเสียเงินกันไปหลายหลักเพื่อแลกกับการรักษาที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด แม้ว่าตอนนี้เราจะยังแข็งแรงดีอยู่ แต่ก็ควรรีบทำประกันนะคะ เพราะจะได้จ่ายค่าเบี้ยประกันที่ถูกลงค่ะ
 

4. ทำอาชีพเสริม เพิ่มเติมรายได้

เงินไม่พอ ก็หาเพิ่มไปเลยสิคะ! ต้องบอกเลยว่าเดี๋ยวนี้ใครๆ ก็ทำอาชีพเสริมกันทั้งนั้น แถมบางคนยังสร้างรายได้ดีกว่าอาชีพหลักอีกด้วยนะคะ (ใครอยากเป็นเศรษฐี! หนทางหารายได้เสริมเตรียมเข้าสู่วัยเกษียณ อายุเยอะก็ทำได้)

สุดท้ายนี้ ไม่ว่าเราจะเลือกวิธีไหน วางแผนแบบใด สิ่งที่ผู้เขียนยังคงย้ำเตือนเสมอมา คือการที่เราต้องมีวินัยในการเก็บออมอย่างสม่ำเสมอ เมื่อเรารู้เป้าหมาย รู้แผน และรู้การแก้ปัญหาอย่างเหมาะสมควบคู่กับวินัย ท้ายสุดแล้วเมื่อถึงเวลาโบกมือลาชีวิตการทำงาน ก็เตรียมตัวเป็นเจ้าของเงินเก็บก้อนโตกันได้เลยค่ะ ♥
แท็กที่เกี่ยวข้อง เงินออม วางแผนออมเงิน ออมเงินเตรียมเกษียณ เกษียณอายุ
Money Guru
เขียนโดย สุทธิดา กาหา Money Guru

พูดคุยกับกูรูได้ที่



เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)