รู้ 3 เรื่องนี้ เป็นหนี้ไม่บานปลาย

icon 18 ก.ค. 66 icon 73,820
รู้ 3 เรื่องนี้ เป็นหนี้ไม่บานปลาย
หนี้บานปลาย หมายถึง เป็นหนี้แล้วไม่สามารถจ่ายชำระได้ตามกำหนด เกิดดอกเบี้ยทบต้นไปเรื่อยๆ จนไม่สามารถจ่ายไหว ซึ่งอาจเกิดจากหลายสาเหตุ แต่หากคุณรู้ 3 เรื่องนี้ น่าจะทำให้สามารถจัดการหนี้ วางแผนการใช้จ่าย ให้สอดคล้องกับรายรับที่ได้ และสามารถเคลียร์หนี้ได้อย่างสบายๆ ไม่ติดขัดค่ะ
 
ซึ่งเรื่องหลักๆ ที่คนคิดจะเป็นหนี้ต้องรู้ เพื่อจะได้วางแผนจัดการหนี้ได้ คือ
  • การคิดดอกเบี้ยเงินกู้มีกี่แบบ และมีวิธีการคำนวณอย่างไร โดยก่อนคิดจะขอสินเชื่อ เราต้องทราบก่อนว่าสินเชื่อประเภทนั้นๆ มีการคิดดอกเบี้ยแบบไหน และมีวิธีการคำนวณดอกเบี้ยอย่างไร ซึ่งหากเราทราบวิธีการคิดดอกเบี้ยของสินเชื่อที่เราจะขอแล้ว เราสามารถคำนวณดอกเบี้ย และยอดเงินที่ต้องจ่ายต่อเดือนได้ และสามารถวางแผนการเงินในแต่ละเดือนเพื่อให้สามารถชำระหนี้ก้อนนี้ได้
  • ยิ่งผ่อนนาน ดอกเบี้ยยิ่งบานปลาย โดยเฉพาะสำหรับสินเชื่อที่มีการคิดอัตราดอกเบี้ยแบบลดต้นลดดอก (Effective Rate) เพราะการคิดดอกเบี้ยจะคิดจากยอดเงินต้นคงเหลือในแต่ละเดือน ยิ่งจ่ายช้า ตัดเงินต้นน้อย สุดท้ายเมื่อคิดรวมๆ แล้วดอกเบี้ยจ่ายก็จะยิ่งสูงขึ้น
  • โปะปิดยอด ควรทำหรือไม่? สำหรับสินเชื่อแต่ละประเภทก็มีวิธีการคิดดอกเบี้ยในรูปแบบที่แตกต่างกัน แบบไหนควรโปะ แบบไหนโปะแล้วไม่คุ้ม มาหาคำตอบไปด้วยกันที่นี่!!
ถ้าพร้อมแล้ว ไปหาคำตอบด้วยกันค่ะ cool
 
การคิดอัตราดอกเบี้ยมีกี่แบบ และมีวิธีการคำนวณอย่างไร?
 
รูปแบบการคิดดอกเบี้ย สำหรับวิธีการคิดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้โดยปกติ จะมี 2 รูปแบบ ดังนี้ค่ะ 
 
1. การคิดดอกเบี้ยแบบคงที่ (Flat Rate) มักใช้กับการขอสินเชื่อประเภทเช่าซื้อ เช่น สินเชื่อรถยนต์ เป็นต้น เป็นวิธีการคิดดอกเบี้ยจากยอดเงินต้นที่เรากู้ยืมมาทั้งหมด รวมกับเงินต้น และหารเฉลี่ยตามจำนวนปี หรือจำนวนเดือนที่ผ่อนชำระ ก็จะได้ยอดที่เราต้องผ่อนชำระต่อเดือนแบบเท่าๆ กัน 
 
 
2. การคิดดอกเบี้ยแบบลดต้นลดดอก (Effective Rate) มักใช้กับการขอสินเชื่อประเภท สินเชื่อที่อยู่อาศัย หรือสินเชื่อบุคคล เป็นต้น เป็นการคิดดอกเบี้ยจากยอดเงินต้นคงเหลือในแต่ละงวด โดยช่วงแรกดอกเบี้ยจะสูง แต่จะค่อยๆ ลดลงเรื่อยๆ ตามยอดเงินต้นที่ลดลง
 
 
วิธีการคำนวณดอกเบี้ยเงินกู้
 
ในที่นี้จะยกตัวอย่างเปรียบเทียบการคำนวณดอกเบี้ยเงินกู้ทั้งแบบคงที่ และแบบลดต้นลดดอก ว่าทั้ง 2 วิธี มีการคำนวณที่แตกต่างกันอย่างไรนะคะ
 
ตัวอย่าง นายหมุนเงิน ต้องการกู้เงิน 20,000 บาท โดยมีระยะวลาผ่อนชำระ 6 เดือน อัตราดอกเบี้ยเงินกู้อยู่ที่ 24% ต่อปี 
การคำนวณดอกเบี้ยแบบคงที่ (Flat Rate) 
 
จากตัวอย่างข้างต้น ดอกเบี้ยที่นายหมุนเงินต้องจ่ายทั้งสิ้นตลอดอายุสัญญาเงินกู้ (6 เดือน) คือ 20,000x24%x6/12 เท่ากับ 2,400 บาท
 
ดังนั้นยอดที่นายหมุนเงินต้องจ่าย คือ (20,000 + 2,400)/6 = 3,733 บาทต่อเดือน
 
การคำนวณดอกเบี้ยแบบลดต้นลดดอก (Effective Rate)
 
สำหรับเงินกู้ที่เป็นการคิดดอกเบี้ยแบบลดต้นลดดอก ธนาคาร หรือสถาบันการเงินจะระบุยอดเงินที่ผู้กู้ต้องชำระคืนต่อเดือนมาให้เลย และในส่วนของการคำนวณดอกเบี้ยในแต่ละเดือนก็จะทยอยคำนวณจากยอดเงินต้นที่ลดลง (เงินต้นคงเหลือต่อเดือน) 
 
ซึ่งจากตัวอย่างข้างต้น สมมติว่า ธนาคารให้นายหมุนเงินผ่อนชำระคืนเดือนละ 3,600 บาท ดอกเบี้ยที่นายหมุนเงินต้องจ่ายสำหรับการคิดดอกเบี้ยวิธีนี้คือ 
 
ตัวอย่างการคำนวณงวดที่ 1 
  • ดอกเบี้ยงวดที่ 1 คิดเป็น (20,000x24%x30)/365 = 395 บาท
  • เงินต้นที่ลดลง คิดเป็น (จำนวนเงินที่ต้องจ่ายต่องวด - ดอกเบี้ยที่ต้องจ่ายในงวดนั้นๆ) => (3,600 - 395 = 3,205 บาท)
  • ดังนั้น ยอดเงินต้นคงเหลือสำหรับการคำนวณในงวดถัดไป คือ (เงินต้นคงเหลือจากงวดก่อน - เงินต้นที่ลดลง) => (20,000 - 3,205 = 16,795 บาท)
และคำนวณแบบนี้ไปเรื่อยๆ จนครบจำนวนงวดที่ต้องชำระ โดยมีรายละเอียดตามตารางด้านล่างนี้นะคะ 
 
 
ด้วยยอดเงินต้นที่เท่ากัน หากคิดดอกเบี้ยด้วยวิธีที่ต่างกัน ผลลัพธ์ดอกเบี้ยจ่ายก็แตกต่างกันไปด้วย ซึ่งจากตัวอย่างข้างต้น 
  • ดอกเบี้ยจ่ายที่คิดแบบอัตราดอกเบี้ยคงที่ (Flat Rate) เท่ากับ 2,400 บาท
  • ดอกเบี้ยจ่ายที่คิดแบบอัตราดอกเบี้ยลดต้นลดดอก (Effective Rate) เท่ากับ 1,393 บาท
สรุปได้ว่า…การคิดดอกเบี้ยแบบลดต้นลดดอกทำให้จ่ายดอกเบี้ยถูกกว่าการคิดดอกเบี้ยแบบคงที่ถึง 1,007 บาทเลยค่ะ 

รู้หรือไม่! ยิ่งผ่อนนาน ดอกเบี้ยยิ่งบานปลาย
 
ปัจจุบันการขอสินเชื่อหมุนเวียนต่างๆ ธนาคาร หรือสถาบันการเงินจะมีกำหนดระยะเวลาการชำระหนี้ให้ผู้กู้แบบชัดเจน เช่น 6 เดือน 12 เดือน 24 เดือน 36 เดือน เป็นต้น โดยจะมี Keyword ที่เจ้าหน้าที่มักจะพูดเสมอๆ ว่า "คุณลูกค้าสามารถแบ่งจ่ายได้แบบสบายๆ โดยเลือกระยะเวลาผ่อนได้เอง ถ้าคุณลูกค้าไม่อยากจ่ายต่อเดือนเยอะๆ ก็สามารถเลือกระยะเวลาผ่อนให้นานขึ้นได้นะคะ หรือยิ่งผ่อนนาน ยอดที่จ่ายต่อเดือนก็น้อยลง" เป็นต้น 
 
แต่…คุณรู้หรือไม่ว่า ยิ่งผ่อนนานขึ้นเท่าไหร่ ดอกเบี้ยที่ต้องจ่ายก็จะยิ่งเพิ่มขึ้นตามไปด้วย โดยเราจะขอยกตัวอย่างมาให้ดู ดังนี้ค่ะ 
 
 
จากตัวอย่างการคำนวณข้างต้น จะเห็นได้ว่า การเลือกระยะเวลาผ่อนที่สั้นกว่า จะเสียดอกเบี้ยน้อยกว่า (1,393 - 790 = 603 บาท) แสดงให้เห็นว่า หากเรามีความสามารถใช้การชำระหนี้ต่องวดที่เพิ่มขึ้น เราจะลดภาระดอกเบี้ยจ่ายสำหรับเงินกู้ก้อนนั้นลงได้ด้วยนะคะ
โปะปิดยอด ควรทำหรือไม่? และควรทำกับสินเชื่อประเภทไหนดี?
 
สำหรับการโปะปิดยอดหนี้ หากคุณมีเงินก้อนที่สามารถโปะหนี้ได้ทั้งหมดเพื่อจะได้ไม่ต้องมีภาระจ่ายดอกเบี้ยอีกก็ควรทำค่ะ โดยอาจใช้หลักเกณฑ์ง่ายๆ ในการพิจารณา ดังนี้ 
 

1. เลือกปิดหนี้ที่คิดอัตราดอกเบี้ยสูงกว่าก่อน เช่น หนี้บัตรเครดิต บัตรกดเงินสด สินเชื่อส่วนบุคคล ที่อัตราดอกเบี้ยค่อนข้างสูง(ประมาณ 16 - 25%ต่อปี) หนี้เหล่านี้เป็นหนี้ที่คิดดอกเบี้ยแบบลดต้นลดดอก เมื่อเราผ่อนชำระเงินในแต่ละงวดจะทำให้เงินต้นลดลง และดอกเบี้ยที่เรียกเก็บก็จะลดลงตามไปด้วย ดังนั้นเราควรนำเงินไปโปะหนี้ประเภทนี้ก่อน เพราะจะช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายเรื่องดอกเบี้ยลงได้ ส่วนหนี้บ้าน (โดยเฉลี่ยอัตราดอกเบี้ยจะอยู่ที่ประมาณ 5 – 6% ต่อปี) ซึ่งอัตราดอกเบี้ยจะน้อยกว่าสินเชื่อบุคคล หนี้บัตรเครดิต เราอาจจะเลือกโปะในลำดับรองลงมาได้ค่ะ
 
2. คำนวณความคุ้มค่าที่จะเกิดจากเงินก้อนนั้น หากนำไปลงทุนอย่างอื่นก่อนตัดสินใจโปะปิดหนี้ โดยเฉพาะกรณีที่ปิดหนี้แล้วยังคงมีภาระต้องผ่อนชำระต่อไป ควรคำนวณดูความคุ้มค่าที่จะเกิดจากเงินก้อนนั้น เมื่อนำไปลงทุนอย่างอื่นก่อน ซึ่งถ้าผลตอบแทนได้จากการนำเงินก้อนนี้ไปลงทุนอย่างอื่นต่ำกว่า คุณควรโปะหนี้ก่อน เพราะจะทำให้ประหยัดดอกเบี้ย และผ่อนหนี้หมดเร็วขึ้นอีกด้วย 

3. หนี้ที่คิดอัตราดอกเบี้ยแบบคงที่ (Flat Rate) โปะปิดยอดจะคุ้มค่าหรือไม่ เพราะหนี้ที่คิดดอกเบี้ยแบบคงที่ บริษัทผู้ให้บริการสินเชื่อจะคำนวณดอกเบี้ยจากยอดเงินต้น แล้วนำดอกเบี้ย+เงินต้นทั้งก้อนมากระจายเป็นจำนวนเงินที่ต้องผ่อนชำระในแต่ละงวด ซึ่งก็หมายความว่า ถึงแม้จะมีการผ่อนเงินต้นในแต่ละงวด ดอกเบี้ยที่จ่ายก็ยังเท่าเดิม 
 
เช่น กรณีสินเชื่อรถยนต์ หากต้องการปิดยอดหนี้ก่อนกำหนด ถึงแม้ว่าสถาบันการเงินหรือบริษัทไฟแนนซ์จะมีส่วนลดดอกเบี้ยในส่วนที่เหลือประมาณ 50% แต่หากผ่อนสินเชื่อนี้ไปหลายปีแล้วดอกเบี้ยรวมที่เหลือก็จะน้อยลง ส่วนลด 50% ที่ได้ก็อาจจะเป็นเงินน้อยนิดก็ได้ค่ะ ดังนั้น อาจไม่จำเป็นต้องโปะหนี้ก้อนนี้ เพราะไม่ว่าจะโปะหนี้เพิ่มเท่าไรหรือเร็วขึ้นแค่ไหน ก็ไม่ได้ช่วยให้ภาระหนี้ลดลง หรือช่วยให้ลดลงเพียงเล็กน้อยเท่านั้น 

สรุป 3 สิ่งที่ควรรู้ก่อนตัดสินใจเข้าสู่วงจรหนี้ จะเป็นตัวช่วยให้เราวางแผนจัดการหนี้ได้อย่างแท้จริงค่ะ เพราะหากเรารู้ และเข้าใจว่าสินเชื่อประเภทที่เราขอคิดดอกเบี้ยแบบไหน และทราบระยะเวลาที่เราจะสามารถผ่อนจ่ายสินเชื่อก้อนนั้นหมดได้ ก็ช่วยให้เราสามารถวางแผนการใช้จ่าย ให้สอดคล้องกับรายรับที่ได้ และสามารถเคลียร์หนี้ได้อย่างสบายๆ ไม่ติดขัดนะคะ laugh
แท็กที่เกี่ยวข้อง วิธีการจัดการหนี้ แก้ปัญหาหนี้
Money Guru
เขียนโดย ชนานาถ จินตกสิกรรม Money Guru

พูดคุยกับกูรูได้ที่




เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)