วางแผนการเงินอย่างไร ให้เกษียณก่อนอายุ 40

icon 21 มี.ค. 65 icon 14,183
วางแผนการเงินอย่างไร ให้เกษียณก่อนอายุ 40
คำว่า "วางแผนการเงิน" ในวันนี้ ไม่ได้เป็นเรื่องไกลตัวอีกต่อไปแล้ว เพราะหลายๆ คนก็ต่างให้ความสำคัญในเรื่องวางแผนการเงินมากขึ้น โดยเฉพาะคนรุ่นใหม่ที่อยากเกษียณเร็ว ไม่อยากทำงานไปจนถึงอายุ 55 ปี หรือ 60 ปี แต่อยากทำงานถึงอายุ 40 ปี แล้วออกไปใช้ชีวิตในแบบที่อยากใช้
 
ถ้าอยากวางแผนการเงิน ให้เกษียณได้ก่อนอายุ 40 ปีจะต้องเตรียมเงินไว้เท่าไหร่ถึงจะพอ บทความนี้มีคำตอบ
 
วางแผนเกษียณตั้งแต่อายุน้อย ดีอย่างไร
 
ก่อนอื่นมารู้จักข้อดีของการวางแผนเกษียณตั้งแต่อายุยังน้อยกันก่อน ว่ามีอะไรกันบ้าง
  • มีเวลาลงทุนยาวนาน : ถ้าเราเริ่มวางแผนเกษียณตั้งแต่เริ่มต้นทำงาน ที่อายุประมาณ 22 ปี เท่ากับว่าถ้าเราอยากเกษียณตอนอายุ 40 ปี เรายังมีเวลาลงทุนถึง 18 ปีเลยทีเดียว
  • รับความเสี่ยงได้สูง : จากระยะเวลาการลงทุนที่มีมากกว่า 10 ปี ทำให้สามารถลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงสูงได้ เพื่อเพิ่มโอกาสการรับผลตอบแทนในระยะยาว
  • ใช้เงินลงทุนน้อย : จากการที่เรามีระยะเวลาการลงทุนที่ยาวนาน และรับความเสี่ยงได้สูง ทำให้มีจำนวนเงินลงทุนในแต่ละเดือนที่ไม่สูง
4 ขั้นตอนการวางการเงิน ให้เกษียณก่อนอายุ 40 ปี
 
ขั้นตอนที่ 1 ประเมินค่าใช้จ่ายรายเดือน
 
เป็นขั้นตอนที่ค่อนข้างสำคัญ เพราะเป็นขั้นตอนแรกที่ทำให้เราได้ประเมินว่าเราอยากใช้ชีวิตหลังเกษียณแบบไหน เริ่มต้นดูจากปัจจุบันเป็นหลัก โดยการจดรายรับ-รายจ่ายเป็นรายเดือน เพื่อดูว่าทุกวันนี้เรามีนิสัยการใช้จ่ายในแต่ละเดือนเป็นยังไงบ้าง
 
รายจ่ายจะแบ่งเป็นรายจ่ายคงที่ เช่น ค่าน้ำ-ค่าไฟ ค่าโทรศัพท์ ค่าผ่อนบ้าน ผ่อนรถ ค่าเบี้ยประกัน และรายจ่ายไม่คงที่ ที่ผันแปรไปตามการใช้เงินของเรา เช่น ค่าอาหาร ค่าท่องเที่ยว ค่าเดินทาง ค่าใช้จ่ายสุขภาพ
 
เมื่อรู้แล้วว่าเราใช้จ่ายแต่ละเดือนอยู่ที่เท่าไหร่ แบ่งเป็นค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง ก็มาเริ่มคำนวณต่อว่าถ้าเกษียณแล้วเราอยากปรับเพิ่มลดตรงไหนบ้าง ในทุกวันนี้เพื่อนๆ บางคนอาจจะไม่ได้เที่ยวเลย ไม่เจ็บไม่ป่วยเลย แต่พอเกษียณแล้วอยากเที่ยวให้มากขึ้น และประเมินว่าค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลน่าจะมากขึ้น ก็ต้องเผื่อค่าใช้จ่ายตรงนี้ไว้
 
ขั้นตอนที่ 2 ประเมินอายุขัยของเรา
 
หลังจากประเมินค่าใช้จ่ายรายเดือนได้แล้ว ก็มาประเมินเรื่องอายุขัยกันต่อ เพื่อจะได้คำนวณได้ว่าเราน่าจะใช้เงินหลังเกษียณไปอีกกี่ปี
 
ข้อมูลจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI : The Board of Investment of Thailand) บอกไว้ว่าสถิติอายุขัยของประชากรไทยปี 2563 เพศชายอยู่ที่ 72.4 ปี เพศหญิงอยู่ที่ 78.9 ปี ถ้าเราเป็นเพศหญิงเท่ากับว่าอายุขัยเราจะอยู่ที่ประมาณ 80 ปี ดังนั้นเราจะต้องเตรียมเงินเพื่อใช้ชีวิตหลังเกษียณถึง 40 ปี
 
เราสามารถคำนวณได้อีกทางจากญาติพี่น้องของเรา ว่าโดยเฉลี่ยมีอายุขัยกันเท่าไหร่ แต่ยุคนี้ เทคโนโลยีด้านสุขภาพก็พัฒนาขึ้นเรื่อยๆ เราอาจจะมีอายุขัยมากขึ้น ยิ่งคำนวณเผื่อไว้เยอะก็ยิ่งดี แต่นั่นแปลว่าเราต้องเก็บเงินมากขึ้นเช่นกัน
 
ขั้นตอนที่ 3 คำนวณเงินที่ต้องเตรียม
 
จาก 2 ขั้นตอนด้านบน ทำให้เรามีตัวแปรในคำนวณครบแล้วว่า ณ วันที่เราเกษียณที่อายุ 40 ปี เราต้องเตรียมเงินเก็บทั้งหมดเท่าไหร่ มาคำนวณกันเลย
 
สมมติว่าตอนนี้ เราอายุ 22 ปี ต้องการใช้เงินหลังเกษียณ 20,000 บาทต่อเดือน หรือ 240,000 บาทต่อปี และมีอายุขัยที่ 80 ปี ก็ดูจะคำนวณได้ไม่ยากนักว่าเราจะต้องเตรียมเงินไว้ทั้งหมด 240,000 x 40 = 9,600,000 บาท
 
แต่ก็ยังไม่จบเพียงเท่านี้ เพราะโลกนี้มีคำว่าเงินเฟ้ออยู่ สมมติว่าอัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยอยู่ที่ 3% ต่อปี ณ วันที่เราอายุ 40 ปี หรือในอีก 18 ปีข้างหน้า เงินก้อนนี้ก็จะกลายเป็น 16,343,357.39 บาท หรือประมาณ 16 ล้านบาทเลยทีเดียว
 
ขั้นตอนที่ 4 วางแผนการลงทุน
 
ในขั้นตอนสุดท้าย เราจะมาวางแผนกันว่า เราจะต้องลงทุนเดือนละกี่บาทเพื่อให้แผนนี้ไปถึงเป้าหมายได้สำเร็จ เนื่องจากมีระยะเวลาการลงทุนที่นานถึง 18 ปี พอร์ตการลงทุนนี้จะคาดหวังผลตอบแทนอยู่ที่ 10% ต่อปี
จะเห็นว่าเราต้องลงทุนถึงเดือนละ 29,240 บาท ซึ่งเป็นจำนวนเงินลงทุนสูงมากเลยทีเดียว เมื่อเทียบกับในวัย 22 ปี ทีมงานเลยได้คำนวณอายุเกษียณอื่นๆ มาให้เพื่อนดูด้วย ถ้าเพื่อนๆ รู้สึกว่าจำนวนเงินที่เราต้องเตรียมเพื่อให้สามารถเกษียณได้ตอนอายุ 40 ปีมากเกินไป สามารถทำได้ 3 ทาง
  1. ค่อยๆ เพิ่มจำนวนเงินลงทุน : ในตอนนี้เราอาจจะลงทุนด้วยเงินประมาณ 30,000 บาทไม่ไหว อาจจะเริ่มจากเงินลงทุนเท่าที่ไหว แล้วค่อยๆ เพิ่มตามฐานเงินเดือนที่เพิ่มขึ้นในแต่ละปี
  2. สร้างรายได้เพิ่ม : เพื่อให้เพียงพอต่อเงินที่ต้องลงทุนในแต่ละเดือน
  3. ยืดระยะเวลาเกษียณออกไป : เพื่อให้จำนวนเงินลงทุนต่อเดือนลดลง หากเรายืดระยะเวลาเกษียณออกไปที่อายุ 50 ปี และคาดหวังผลตอบแทนจากการลงทุน 10% เราจะเหลือเงินลงทุนเดือนละประมาณ 9,900 บาท

เพราะแผนการเงินที่ประสบความสำเร็จ คือ แผนที่เรามีวินัยที่จะทำต่อไปได้อย่างตลอดลอดฝั่ง หากตั้งใจเกษียณตอนอายุ 40 ปี แล้วทำให้ชีวิตการเงินในปัจจุบันตึงเกินไป เพื่อนๆ สามารถปรับแผนการลงทุนตามคำแนะนำของทีมงานด้านบนเพื่อแผนเกษียณสุขของเพื่อนๆ ทุกคน
แท็กที่เกี่ยวข้อง วางแผนการเงิน วางแผนเกษียณ วางแผนการเงินแบบมืออาชีพ วางแผนการเงินปี 2565 ทริคการเงิน
Money Guru
เขียนโดย เช็คราคา.คอม Money Guru

พูดคุยกับกูรูได้ที่



เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)