ใครจะซื้อ...ยกมือขึ้น!! หุ้น OR ในตำนาน เป็นความคุ้มค่าที่คุณคู่ควร หรือแค่คำโฆษณาที่ได้แค่มอง

icon icon 405
ใครจะซื้อ...ยกมือขึ้น!! หุ้น OR ในตำนาน เป็นความคุ้มค่าที่คุณคู่ควร หรือแค่คำโฆษณาที่ได้แค่มอง

ใครจะซื้อ...ยกมือขึ้น!! หุ้น OR ในตำนาน เป็นความคุ้มค่าที่คุณคู่ควร หรือแค่คำโฆษณาที่ได้แค่มอง

เกิดเป็นกระแสโด่งดังขึ้นมาอีกครั้งสำหรับคนที่ชื่นชอบการลงทุน เมื่อหุ้น OR เปิดให้ประชาชนทั่วไปได้เข้ามาลงทุน จึงกลายเป็นหุ้นที่มีการพูดถึงมากที่สุดในขณะนี้ วันนี้ทีมงาน CheckRaka จึงขอพาทุกคนไปทำความรู้จักกับหุ้นตัวนี้ให้มากขึ้น ใครที่อยากรู้ว่าหุ้น OR คืออะไร? ดีแค่ไหน? คุ้มค่ากับการลงทุนจริงหรือไม่? ทำไมนักลงทุนจึงไม่ควรพลาด? มาดูไปพร้อมกันเลยค่ะ
 "หุ้น OR" ในตำนาน คืออะไร? ทำไม...ได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก
หุ้น OR หรือหุ้นของบริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) นับเป็น Flagship ของกลุ่ม PTT ที่ดำเนินธุรกิจน้ำมันและธุรกิจค้าปลีกทั้งในประเทศและต่างประเทศ ได้รับอนุมัติคำขออนุญาตให้เสนอขายหุ้นสามัญต่อประชาชนทั่วไป (IPO = Initial Public Offering) เป็นครั้งแรก และเลือกใช้วิธีจัดสรรหุ้นแบบ Small Lot First เพื่อเป็นการกระจายหุ้นอย่างทั่วถึง
สิ่งที่ทำให้หุ้น OR ได้รับความสนใจ และเป็นที่พูดถึงจากนักลงทุนรายย่อยเป็นอย่างมากก็เพราะธุรกิจนี้เป็นธุรกิจขนาดใหญ่ที่มีชื่อเสียงติดอันดับในประเทศเป็นระยะเวลายาวนาน ซึ่งบริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) ประกอบธุรกิจหลักๆ ดังนี้  

1. ธุรกิจค้าปลีกน้ำมัน...มีทั้งสถานีน้ำมันภายใต้แบรนด์ PTT Satation สถานีบริการก๊าซปิโตรเลียมเหลว ศูนย์บริการยานยนต์ FIT Auto และคลังน้ำมัน คลังแอลพีจี หลายสาขาในปัจจุบัน โดยมีมาร์เก็ตแชร์เป็นอันดับ 1 ในอุตสาหกรรมประเภทเดียวกัน อยู่ที่ 38.9%
2. ธุรกิจค้าปลีก หรือ Non-Oil Business...อาหารและเครื่องดื่มให้บริการในปั๊ม PTT Station คือร้าน Cafe Amazon ที่ได้เริ่มมีการขยายร้านเป็นแบบแฟรนไชส์ ทำให้การเติบโตทางธุรกิจสูงขึ้น
3. ธุรกิจในต่างประเทศ...ซึ่งปัจจุบันมีขยายสถานีน้ำมันใน 4 ประเทศ และ Cafe Amazon ใน 10 ประเทศ
4. ธุรกิจอื่นๆ...Convenience Store หลายสาขา
ผลการดำเนินงานเติบโตอย่างต่อเนื่องแม้ในภาวะวิกฤตโควิด-19 โดยภาพรวมผลการดำเนินงานของ OR ในปี 2563 มีการเติบโตได้ดี แบ่งเป็นช่วง 9 เดือนแรกของปี 2563 ยอดขายรวมกว่า 3 ล้านบาท กำไรสุทธิหลังหักค่าใช้จ่าย (EBITDA) 12,523 ล้านบาท และกำไรสุทธิ 5,869 ล้านบาท ซึ่งสัดส่วนรายได้หลักยังมาจากธุรกิจน้ำมัน ซึ่งมีสัดส่วนกำไรก่อนหักภาษีและค่าเสื่อม (EBITDA) ที่ 68.7% ส่วนธุรกิจ Non-Oil อยู่ที่ 25.1% และธุรกิจต่างประเทศ 5.8%
 ย้อนรอยหุ้น ปตท. ในอดีต กับการเติบโตในปัจจุบัน
ก่อนหน้าที่หุ้น OR จะเปิดตัว ทาง ปตท. มีหุ้นเกิดขึ้นแล้ว 3 ตัว นั่นก็คือ PTT [บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)], PTTEP [บริษัท ปตท. สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน)] และ PTTGC [บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน)] เรามาเริ่มดูราคาของหุ้นแต่ละตัวใน 10 ปีแรกที่เปิดตัวกันตามลำดับตามนี้ค่ะ
 บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)
หุ้น PTT เปิดตัวในตลาดหลักทรัพย์ช่วงปลายปี 2544 ซึ่งตอนนั้นเป็นที่ทราบกันดีว่าเป็นหุ้นรัฐวิสาหกิจที่ผูกขาดตลาดด้านพลังงานของประเทศไทย จึงทำให้นักลงทุนหลายรายสนใจและมั่นใจว่าหุ้นตัวนี้ต้องดีแน่นอน โดยเปิดจองเริ่มต้นหุ้นละ 35 บาท เมื่อหุ้น PTT เข้ามาเทรดในตลาดวันที่ 6 ธันวาคม 2544 ขึ้นไป High ที่ราคา 38.25 บาท แต่ราคาของหุ้น PTT ก็มีขึ้นๆ ลงๆ มาตลอด จากราคาจอง 35 บาท แล้วมีลงไปต่ำสุด 28.75 บาท (30 เม.ย. 2545) ไล่ขึ้นไปอีกเป็น 38 บาท (12 มิ.ย. 2545) จากนั้นก็กดลงมาอีกเหลือ 34 บาท (2 ส.ค. 2545) และแล้วราคาก็มาอยู่ในกรอบช่วง 38 - 45 บาทนานหลายเดือน (จนถึงกลางเดือน เม.ย. 2546) หลังจากนั้นราคาหุ้น PTT ก็ดีดขึ้นไป 78 บาทแบบเร็วมาก (8 ก.ค. 2546) ต่อมาอีก 6 เดือน พุ่งถึง 193 บาท และสูงสุดแบบไม่น่าเชื่อถึงเกือบ 600 บาท เมื่อราคาหุ้นสูงมากไป ทาง PTT จึงประกาศแตกพาร์และเริ่มซื้อขายพาร์ใหม่ที่ 1 บาท/หุ้น จากเดิม 10 บาท ทำให้หุ้น PTT ราคาซื้อขายเริ่มต้นที่ 57.20 บาท จากราคาปิดที่ 572 บาท (23 เม.ย. 61)
 
 บริษัท ปตท. สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน)
เดิมเริ่มแรกหุ้น PTTEP เข้าเทรดเมื่อ 10 มิ.ย. 2536 ด้วยราคา IPO 33 บาท ที่ราคาพาร์ 10 บาท หลังจากนั้นก็เปลี่ยนราคาพาร์เป็น 5 บาท และ 1 บาท ในวันที่ 24 เม.ย. 2549 ต่อมาในปี 2549 หุ้น PTTEP มีสถิติราคาสูงสุด 684 บาท/หุ้น ซึ่งเป็นผลมาจากหลายๆ ปัจจัยที่เกิดขึ้นในประเทศ และแล้วหุ้น PTTEP แตกพาร์เมื่อวันที่ 21 เม.ย. 2549 มีราคาใหม่อยู่ที่ 129.60 บาท

 บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน)
หุ้น PTTGC เข้าเทรดวันที่ 21 ต.ค.2554 โดยการซื้อขายวันแรกจะไม่มีกำหนดราคาสูงสุดและต่ำสุด (Ceiling and Floor) ของหลักทรัพย์บนกระดานหลัก เพื่อให้หลักทรัพย์สามารถซื้อขายได้ตามสภาพความเป็นจริง โดยหุ้น PTTGC เปิดตลาดที่ 55.75 บาท

จะซื้อ หรือไม่ซื้อ? หุ้น OR คิดให้ดี ก่อนตัดสินใจ

เมื่อเรามองย้อนกลับไปดูหุ้นตัวอื่นๆ ที่เป็นสมาชิกในครอบครัวเดียวกับ OR ของตระกูล PTT แล้ว มาถึงตอนนี้ก็ต้องขึ้นอยู่กับการตัดสินใจในความน่าจะเป็นของหุ้นน้องใหม่ตัวนี้กันเองนะคะ ถ้าชอบก็ซื้อ ถ้ายังไม่ถูกใจก็รอดูไปก่อนค่ะ แต่ถ้าใครสนใจและตัดสินใจว่าจะซื้อแน่ละ มาดูกันต่อเลยค่ะว่า แนวทางการซื้อขายของหุ้นในแบบกระจายหุ้นอย่างทั่วถึง (Small Lot First) ของหุ้น OR เป็นแบบไหน...มีข้อจำกัดอย่างไรบ้าง?
1. ครั้งแรกให้คนละ 300 หุ้น (ซื้อได้แค่คนละประมาณ 5 พันกว่าบาท)
2. หลังจากนั้นจะกระจายเท่าๆ กันจนครบ
3. สุดท้ายจะใช้การสุ่มโดยโปรแกรม
**ซื้อได้ตั้งแต่วันนี้ - 2 ก.พ. 2564 เวลา 12.00 น.
ราคาหุ้น OR นี้ เปิดขายที่ 16 - 18 บาท แต่! การจองซื้อจะต้องซื้อเต็มที่ราคา 18 บาทก่อนนะคะ แล้วหลังจากนั้นจะได้รับส่วนต่างคืน โดยจะได้คืนช้าสุดในวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2564
ข้อดีของการซื้อหุ้น OR นี้คือ เป็นการซื้อหุ้นที่ง่ายมาก แม้ไม่มีพอร์ตก็ซื้อได้ ด้วยการซื้อผ่านเว็บไซต์ และโมบายแบงก์กิ้ง 3 ธนาคาร คือ ธนาคารกรุงเทพ ธนาคารกรุงไทย และธนาคารกสิกรไทย หรือถ้าใครสะดวกจะไปซื้อเองที่ธนาคารก็ได้ค่ะ
แท็กที่เกี่ยวข้อง
Money Guru
เขียนโดย เช็คราคา.คอม Money Guru

พูดคุยกับกูรูได้ที่




เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)