รวมมาให้แล้ว...บริจาคเงินสู้โควิด-19 ที่ไหน ลดหย่อนภาษีได้ 2 เท่า!

icon 28 พ.ค. 63 icon 26,659
รวมมาให้แล้ว...บริจาคเงินสู้โควิด-19 ที่ไหน ลดหย่อนภาษีได้ 2 เท่า!

รวมมาให้แล้ว...บริจาคเงินสู้โควิด-19 ที่ไหน ลดหย่อนภาษีได้ 2 เท่า!

"คนไทยไม่ทิ้งกัน" ยังคงเห็นได้เสมอเมื่อยามมีวิกฤตการณ์ต่างๆ เช่น วิกฤตโควิด-19 ล่าสุด ที่ทั้ง Mask เจลแอลกอฮอล์ และชุดป้องกัน PPE สำหรับบุคลากรทางการแพทย์ น้ำยาตรวจหาเชื้อ COVID-19 ที่ยังขาดแคลนอยู่มาก หน่วยงานต่างๆ รวมถึงโรงพยาบาลเองก็ต้องเปิดรับบริจาค ไม่ว่าจะเป็นเงิน หรือสิ่งของที่ขาดแคลน เพื่อจะได้มีอุปกรณ์เพียงพอต่อการใช้ในการรักษาพยาบาลผู้ป่วย และถึงแม้วันนี้ (27 เม.ย. 63) จำนวนตัวเลขผู้ป่วยในประเทศไทยเพิ่มขึ้นไม่ถึง 10 คนแล้วก็ตาม แต่หากมีการผ่อนปรนมาตรการ Lock Down คนเริ่มออกมาดำเนินชีวิตนอกบ้านมากขึ้น ตัวเลขผู้ติดเชื้ออาจมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นก็เป็นได้ ดังนั้นการบริจาคเงินเพื่อช่วยเหลือไปยังหน่วยงานต่างๆ ก็ยังเป็นธารน้ำใจที่เราคนไทยยังควรส่งต่อถึงกันอย่างไม่ขาดสายค่ะ 
และไหนๆ ก็มีจิตเป็นกุศล อยากบริจาคเงินช่วยเหลือผู้อื่นกันแล้ว ลองเช็กกันหน่อยก็ดีนะคะว่า...สำหรับคนที่ยังต้องทำหน้าที่เสียภาษีกันอยู่ หากบริจาคเงินโควิด-19 เข้าสถานพยาบาล มูลนิธิ หรือหน่วยงานต่างๆ สามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้เท่าไหร่ และมีเงื่อนไขอย่างไรบ้าง
1. เงินบริจาคที่สามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้ 2 เท่า >> เงินบริจาคสนับสนุน โรงพยาบาลหรือหน่วยงานของราชการ หรือของรัฐโดยตรง โดยมีเงื่อนไขสำหรับบุคคลธรรมดา และนิติบุคคล ดังนี้
  • บุคคลธรรมดา สิ่งที่บริจาค แล้วสามารถนำไปหักลดหย่อนภาษีได้ 2 เท่า คือ บริจาคเป็น "เงิน" โดยยอดบริจาคเมื่อรวมกับเงินที่ได้รับการยกเว้นสำหรับเป็นค่าใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนการศึกษาสำหรับโครงการที่กระทรวงศึกษาธิการให้ความเห็นชอบแล้วไม่เกินร้อยละ 10 ของเงินได้พึงประเมินหลังค่าใช้จ่าย และค่าลดหย่อนแล้ว โดยหลักฐานที่นำมาแสดงจะเป็น ใบเสร็จรับเงิน หรือตรวจสอบในระบบ e-Donation
  • นิติบุคคล สิ่งที่บริจาค แล้วสามารถนำไปหักลดหย่อนภาษีได้ 2 เท่า คือ บริจาคเป็น "เงิน" หรือ "สิ่งของ" โดยยอดบริจาคเมื่อรวมกับรายจ่ายเพื่อสนับสนุนการศึกษาสำหรับโครงการที่กระทรวงศึกษาธิการให้ความเห็นชอบแล้ว และรายจ่ายสร้าง บำรุงรักษาสนามเด็กเล่น สวนสาธารณะ สนามกีฬาไม่เกินร้อยละ 10 ของกำไรสุทธิก่อนหักรายจ่ายเพื่อการกุศลสาธารณะ สาธารณะประโยชน์ และรายจ่ายเพื่อการศึกษา หรือรายจ่ายเพื่อการกีฬา โดยหลักฐานที่นำมาแสดงจะเป็น ใบเสร็จรับเงิน หรือตรวจสอบในระบบ e-Donation
2. สามารถลดหย่อนได้ตามยอดที่บริจาคจริง >> เงินบริจาคสนับสนุน มูลนิธิหรือโครงการของโรงพยาบาลเพื่อการระดมทุน 
3. ไม่สามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้ >> เงินบริจาคสนับสนุน โรงพยาบาลเอกชน 

วันนี้...เราได้รวบรวมมาให้บางส่วนนะคะว่าโรงพยาบาลไหนที่เปิดรับบริจาคอะไร ผ่านช่องทางไหน และที่ไหนที่บริจาคแล้วสามารถนำไปหักลดหย่อนภาษีได้ 2 เท่าบ้าง ไปดูพร้อมกันเลยค่ะ 

สถาบันบำราศนราดูรได้รับมอบหมายให้ดูแลผู้ป่วยกลุ่มคนไข้เสี่ยงและติดเชื้อ COVID-19 สำหรับผู้ประสงค์บริจาคทางสถาบันได้แยกประเภทของสิ่งของที่ต้องการบริจาคไว้ ดังนี้ค่ะ
1. อุปกรณ์ และเวชภัณฑ์ทางการแพทย์ สามารถเข้าไปแจ้งความประสงค์ได้ใน Facebookของสถาบันบำราศนราดูร เข้าไปพิมพ์ในช่องแสดงความคิดเห็นใต้ภาพอุปกรณ์ทางการแพทย์ แจ้งจำนวน ชื่อผู้บริจาค วัน และเวลาที่จะไปบริจาค และให้เบอร์ติดต่อกลับ โดยทาง Admin จะติดต่อกลับเราภายใน 20.00 น. ของวันที่เราแจ้งไปค่ะ 

2. อาหาร และเครื่องดื่ม สามารถเข้าไปแจ้งความประสงค์ได้ใน Facebookของสถาบันบำราศนราดูร เข้าไปพิมพ์ในช่องแสดงความคิดเห็นใต้ภาพอาหาร และเครื่องดื่ม แจ้งว่าต้องการบริจาคอะไร จำนวนเท่าไหร่ ชื่อผู้บริจาค วันและเวลาที่จะเข้ามาบริจาค พร้อมเบอร์โทรติดต่อกลับ ถ้าเป็นอาหารพร้อมรับประทานที่มีระยะเวลาการรับประทานจำกัด ทางadmin จะขอนัด วัน เวลา รับบริจาคเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดตามวัตถุประสงค์ โดยทางสถาบันขอรับบริจาคกรณีอาหารพร้อมรับประทาน ก่อนเวลา 15.00 น. เพื่อการกระจายอาหารให้เกิดประโยชน์สูงสุดค่ะ

3. บริจาคเงิน เพื่อสนับสนุนการตรวจวินิจฉัย รักษา หรือฟื้นฟูสภาพผู้ป่วย covid-19 ที่สถาบันบำราศนราดูรกำลังให้การดูแลและรักษาในขณะนี้ สามารถบริจาคผ่านระบบ QR code หรือโอนผ่านบัญชี โดยดำเนินการดังนี้
บริจาคผ่านระบบ QR code
  • ทำการ scan QR code แล้วดำเนินการตามขั้นตอนในแอปพลิเคชัน
  • ระบบจะแจ้งไปยังสรรพากร เพื่อการลดหย่อนภาษีได้โดยตรงซึ่ง สามารถลดหย่อนภาษีได้ 2 เท่าของยอดเงินบริจาคโดยอัตโนมัติ
  • กรณีที่ต้องการใบอนุโมทนาบัตรให้แจ้งรายละเอียดการบริจาคมาที่อีเมล bidibill@outlook.co.th แนบข้อมูลการโอนเงิน และที่อยู่ในการจัดส่งใบอนุโมทนาบัตร

โอนผ่านบัญชี "เงินบริจาคของสถาบันบำราศนราดูร"เลขที่บัญชี 130-0-25584-6 ธนาคารกรุงไทย สาขาติวานนท์
  • ผู้โอนต้องแจ้งที่อยู่พร้อมหลักฐานการโอนมายัง อีเมล bidibill@outlook.co.th
  • แฟกซ์เอกสารการโอนมาที่ งานการเงิน 02-588-4997
มาบริจาคเงินสดด้วยตนเอง
  • สามารถมาบริจาคได้ที่งานประชาสัมพันธ์อาคารเฉลิมพระเกียรติ ชั้น 1 เบอร์โทร 02-590-3427
  • และสามารถตรวจสอบรายการบริจาคของได้ที่งานประชาสัมพันธ์ เบอร์โทร 02-590-3427

โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ เปิดอาคารโรงพยาบาลสนาม 308 เตียง เพื่อรองรับผู้ป่วย COVID-19 และขอเชิญร่วมบริจาคเงินเพื่อจัดซื้ออุปกรณ์การแพทย์ เร่งด่วน! โดยสามารถบริจาคผ่านบัญชีธนาคาร ชื่อบัญชี : รพ.ธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ 
  • ธนาคารกรุงเทพ 091-0-20188-8 สาขา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • ธนาคารทหารไทย 050-2-00002-9 สาขา ธรรมศาสตร์-รังสิต
  • หรือ ผ่านระบบ E-donation คลิกที่นี่ 
  • หรือ ผ่านทางริชเมนู Line@ : https://lin.ee/C9QBk04
*สำหรับการบริจาคโดยการโอนผ่านเลขบัญชีธนาคารติดต่อขอรับใบเสร็จได้ที่  https://lin.ee/C9QBk04


๗๑ ปี โรงพยาบาลของพ่อ ลูกขอช่วยเหลือคนไข้อย่างเต็มความสามารถสมกับเป็น" พ ลั ง ของแผ่นดิน " ขอเชิญร่วมบริจาคเพื่อซื้ออุปกรณ์ทางการแพทย์ โดยการโอนเงินเข้าบัญชี "มูลนิธิโรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช"
  • บัญชีธนาคารทหารไทย เลขที่บัญชี 049-1-07433-2
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม โทร. 02-534-7236 หรือ Facebook : โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช พอ.
*แก้ไขข้อมูลสำหรับการบริจาคเงินเข้าบัญชี "มูลนิธิโรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช" สามารถลดหย่อนภาษีได้ตามจริงค่ะ


สภากาชาดไทยได้จัด "โครงการร่วมใจป้องกันภัย COVID-19 ด้วยหน้ากากอนามัยแบบผ้า" เพื่อผลิตหน้ากากอนามัยแบบผ้า ตามมาตรฐานที่กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์กำหนด โดยมอบให้กับประชาชนกลุ่มเสี่ยงผ่านเหล่ากาชาดจังหวัดทุกจังหวัด
และขอเชิญประชาชนร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการป้องกัน และลดความเสี่ยงการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ด้วยการบริจาคเงินสมทบทุนการจัดทำหน้ากากอนามัยแบบผ้า โดย
  • โอนเงินผ่านบัญชีธนาคารกสิกรไทย สาขาสำนักสีลม ชื่อบัญชี "สภากาชาดไทย เพื่อภัยพิบัติ" ประเภทบัญชี "กระแสรายวัน" เลขที่ 001-1-34567-0 โดย
  • ขอรับใบเสร็จรับเงินเพื่อนำไปลดหย่อนภาษีได้ที่ donation@redcross.or.th พร้อมแจ้งชื่อ-นามสกุล ที่อยู่ในการจัดส่งใบเสร็จ และเบอร์โทรศัพท์ แนบหลักฐานการโอนเงิน พร้อมระบุ "เพื่อช่วยเหลือสถานการณ์ COVID-19 ในประเทศไทย"

นอกจากนี้ สภากาชาดไทยยังเปิดบัญชีรับบริจาคเงินเพื่อสมทบทุนจัดซื้อหน้ากาก N95 ชุด PPE เพื่อป้องกันการติดเชื้อ และจัดซื้ออุปกรณ์ทางการแพทย์ของโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย โดย
  • โอนเงินผ่านบัญชีธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาสภากาชาดไทย ชื่อบัญชี "สำนักงานจัดหารายได้ สภากาชาดไทย" ประเภทบัญชี "กระแสรายวัน" เลขที่ 045-3-04637-0
  • ขอรับใบเสร็จรับเงินเพื่อนำไปลดหย่อนภาษีได้ที่ donation@redcross.or.th พร้อมแจ้งชื่อ-นามสกุล ที่อยู่ในการจัดส่งใบเสร็จและเบอร์โทรศัพท์ แนบหลักฐานการโอนเงิน พร้อมระบุ "เงินบริจาค COVID-19 รพ.จุฬาลงกรณ์"
ทั้งนี้ ประชาชนสามารถบริจาคเงินด้วยตนเองที่ "ห้องรับบริจาคเงิน" สำนักงานจัดหารายได้ สภากาชาดไทย ตึกอำนวยนรธรรม ชั้น 2 ถนนพระรามที่ 4 ปทุมวัน กรุงเทพฯ เปิดให้บริการวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 08.30-16.30 น. 
สอบถามเพิ่มเติม โทรศัพท์ 02-256-4440, 02-255-9911 และ 02-251-1218 หรือ เพจ Redcrossfundraising - สำนักงานจัดหารายได้ สภากาชาดไทย
ขอบคุณข้อมูลจาก www.redcross.or.th


ร่วมบริจาคเพื่อสมทบทุนในการรักษาพยาบาลผู้ป่วยติดเชื้อโรคโควิค-19 เครื่องมือแพทย์ และอุปกรณ์ทางการแพทย์ ที่โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ สภากาชาดไทย โดย
  • สแกน QR Code ฬ.จุฬาสะพานบุญ E-DONATION เงินบริจาคโรคโควิด-19
  • โอนเข้าบัญชีออมทรัพย์ธนาคารกสิกรไทย สาขาโรงพยาบาลจุฬาภรณ์ ชื่อบัญชี "โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ สภากาชาดไทย (ฬ.จุฬา สะพานบุญ)" เลขที่บัญชี 059-1-938-94-0
สามารถส่งหลักฐานการโอนเงิน เพื่อขอรับใบเสร็จรับเงินฉบับจริงผ่านช่องทางไลน์ของฝ่ายการเงินโรงพยาบาลจุฬาภรณ์ Line ID:@478ebxxn หรือ email : lorchulasaphanboon@gmaiul.com

ร่วมบริจาคหน้ากาก N95 สำหรับใช้ในโรงพยาบาลเพื่อช่วยเหลือบุคคลากรทางการแพทย์ในการดูแลผู้ป่วยติดเชื้อโรค COVID-19 โดยบริจาคได้ที่ตึกอำนวยการ ชั้นล่าง โรงพยาบาลจุฬาภรณ์
  • ในเวลาราชการ (8.30 - 16.30 น.) โทร.02-256-4979
  • วันหยุดราชการ (9.00 - 16.30 น.) โทร.02-256-4497

ร่วมแบ่งปันน้ำใจ (อาหารปรุงสำเร็จ อาหารแห้ง และสิ่งของอื่นๆ) ให้แก่ทีมแพทย์ พยาบาล และบุคลากรที่ปฏิบัติหน้าที่ในสถานการณ์ COVID-19 โดยสามารถติดต่อได้ที่ ศูนย์ประสานงานการรับบริจาคในสถานการณ์ COVID-19 โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ สภากาชาดไทย
  • ในเวลาราชการ (8.30 - 16.30 น.) โทร. 02-256-4979
  • วันหยุดราชการ (9.00 - 16.3 น.) โทร. 02-256-4497
  • นางสาวเขมจิรา เกตุแห่ง โทร. 095-507-4706
สถานที่ส่งของ : ตึกอำนวยการชั้นล่าง โรงพยาบาลจุฬาภรณ์
ขอบคุณข้อมูลจาก www.chulalongkornhospital.go.th



ร่วมบริจาคเพื่อเป็นทุนในการเร่งจัดหาอุปกรณ์ทางการแพทย์เพื่อช่วยชีวิตผู้ป่วย และเพื่อความปลอดภัยของบุคลากรทางการแพทย์ทีม Covid-19 ทุกคนได้ที่
  • ธนาคารกรุงเทพ เลขที่บัญชี 901-3-50034-4 ชื่อบัญชี ศิริราชมูลนิธิ (ศิริราชสู้ภัยโควิด)
  • ธนาคารไทยพาณิชย์ เลขที่บัญชี 016-3-04590-7 ชื่อบัญชี ศิริราชรักษภิบาล
ขอบคุณข้อมูลจาก Facebook sirirajpr


มูลนิธิโรงพยาบาลพระมงกุฏเกล้าขอเชิญร่วมบริจาคสมทบทุนการจัดซื้อเครื่องมือและอุปกรณ์ทางการแพทย์รักษาผู้ป่วย COVID-19 โดยร่วมบริจาคได้ที่
  • บัญชีธนาคารทหารไทย สาขาโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า เลขที่บัญชี 038-1-071745
  • สั่งจ่ายเช็คขีดคร่อม A/C PAYEE ONLY สั่งจ่าย "มูลนิธิโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า"
ขอบคุณข้อมูลจาก www.pmk.ac.th


เพิ่มเติมให้นะคะสำหรับการบริจาคให้กับมูลนิธิรามาธิบดีฯ ที่ขอเชิญร่วมบริจาคเงินเพื่อซื้อเครื่องมือแพทย์ช่วยชีวิตผู้ป่วยโควิด-19 ที่ถึงแม้จะนำไปลดหย่อนภาษีได้ตามที่บริจาคจริง แต่ก็สามารถบริจาคได้หลายช่องทาง และสะดวกมากๆ เลยค่ะ บริจาคออนไลน์ www.ramafoundation.or.th
  • บัญชี ธ.กรุงเทพ เลขที่บัญชี 090-3-50015-5
  • บัญชี ธ.กสิกรไทย เลขที่บัญชี 879-2-00448-3
  • บัญชี ธ.ไทยพาณิชย์ เลขที่บัญชี 026-3-05216-3

สามารถบริจาคเงินเพื่อซื้อเครื่องมือแพทย์ช่วยชีวิตผู้ป่วยโควิด-19 ผ่านทางแอปพลิเคชัน Shopee และ Lazada โดย >> เข้าแอปฯ Shopee หรือ Lazada >> ไปที่ร้านค้า "มูลนิธิรามาธิบดีฯ" >> เลือกซื้อ Voucher คูปองบริจาค เพื่อบริจาคเงินตามมูลค่าที่ต้องการ >> ชำระเงิน = บริจาค >> ใบเสร็จส่งให้ตามที่อยู่ทางไปรษณีย์

สามารถบริจาคเงินเพื่อซื้อเครื่องมือแพทย์ช่วยชีวิตผู้ป่วยโควิด-19 ที่ "เคาน์เตอร์เซอร์วิส 7-Eleven ทุกสาขา ทั่วประเทศ" โดยแจ้งพนักงานร้านว่า บริจาคมูลนิธิรามาธิบดีฯ โครงการโควิด-19 และสำหรับยอดบริจาค 100 บาทขึ้นไป ติดต่อรับใบเสร็จเพื่อใช้ลดหย่อนภาษีได้

บริจาคเงินเพื่อซื้อเครื่องมือแพทย์ช่วยชีวิตผู้ป่วยโควิด-19 ทางแอปพลิเคชัน True Money Wallet >> เข้าแอปฯ True Money Wallet >> คลิกบริจาค >> ระบุยอดบริจาค โดยยอดบริจาค 100 บาทขึ้นไป ติดต่อรับใบเสร็จเพื่อใช้ลดหย่อนภาษีได้

บริจาคเงินเพื่อซื้อเครื่องมือแพทย์ช่วยชีวิตผู้ป่วยโควิด-19 ผ่านทางแอปพลิเคชัน ธนาคารกสิกรไทย ธนาคารกรุงศรีอยุธยา และธนาคารไทยพาณิชย์ โดย >> เข้าแอปฯ ธนาคาร >> คลิกเมนูบริจาค >> เลือกมูลนิธิรามาธิบดีฯ >> ระบุยอดบริจาค โดยยอดบริจาค 100 บาทขึ้นไป ติดต่อรับใบเสร็จเพื่อใช้ลดหย่อนภาษีได้

บริจาคเงินเพื่อซื้อเครื่องมือแพทย์ช่วยชีวิตผู้ป่วยโควิด-19 เพียงกด *948*1111*100# โทรออก เพื่อบริจาคเงิน 100 บาท (ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) กดได้ทุกเครือข่าย
หมายเหตุ: ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% และไม่สามารถออกใบเสร็จรับเงินเพื่อลดหย่อนภาษีได้

บริจาคเงินเพื่อซื้อเครื่องมือแพทย์ช่วยชีวิตผู้ป่วยโควิด-19 โดยการแลก Point ร่วมบริจาคผ่านแอปพลิเคชัน KTC*, Krungsri, Kasikorn K+ และ Blue Card >> เข้าแอปฯ >> เช็ค Point >> กดเลือกแลก Point ร่วมบริจาค โดยยอดบริจาค 100 บาทขึ้นไป ติดต่อรับใบเสร็จเพื่อใช้ลดหย่อนภาษีได้
*KTC ร่วมสมทบทุนเพิ่ม 50 บาท ทุกการแลก 1000 พ้อยท์

บริจาคเงินเพื่อซื้อเครื่องมือแพทย์ช่วยชีวิตผู้ป่วยโควิด-19 โดยการแลก Point ผ่านแอปพลิเคชัน Grab และ True Point >> เข้าแอปฯ >> เช็ค Point >> กดเลือกแลก Point ร่วมบริจาค
หมายเหตุ: ไม่สามารถออกใบเสร็จรับเงินเพื่อลดหย่อนภาษีได้
ติดต่อรับใบเสร็จเพื่อใช้ลดหย่อนภาษีได้ที่ LINE @RamaFoundation, info@ramafoundation.or.th สอบถามโทร. 0-2201-1111
ขอบคุณข้อมูลจาก Facebook มูลนิธิรามาธิบดีฯ

หวังว่าข้อมูลข้างต้นจะช่วยเป็นสะพานบุญให้เพื่อนๆ ได้ร่วมบริจาคเพื่อช่วยเหลือทั้งผู้ป่วยโควิด-19 และบุคลากรทางการแพทย์ เพื่อจะได้รับมือกับวิกฤตการณ์นี้ และผ่านพ้นมันไปด้วยกันนะคะ และหากใครอยากทราบข้อมูลรายชื่อสถานพยาบาลของทางราชการ ที่หักลดหย่อนเงินบริจาคได้ 2 เท่า สามารถดูได้เพิ่มเติมที่นี่ค่ะ
แท็กที่เกี่ยวข้อง บริจาคเงินให้สถานพยาบาลของรัฐ สิทธิในการลดหย่อนภาษี ลดหย่อนภาษีปี 63 ลดหย่อนภาษีปี 62
Money Guru
เขียนโดย เช็คราคา.คอม Money Guru

พูดคุยกับกูรูได้ที่



เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)