จริงหรือไม่-ใช่หรือมั่ว : คนที่ลงทะเบียนด้วยข้อมูลเป็นเท็จ โครงการ "เราไม่ทิ้งกัน" รับเงินชดเชยรายได้ 5,000 บาท จะถูกดำเนินคดีตามกฎหมาย

icon 13 เม.ย. 63 icon 4,627
จริงหรือไม่-ใช่หรือมั่ว : คนที่ลงทะเบียนด้วยข้อมูลเป็นเท็จ โครงการ "เราไม่ทิ้งกัน" รับเงินชดเชยรายได้ 5,000 บาท จะถูกดำเนินคดีตามกฎหมาย

จริงหรือไม่-ใช่หรือมั่ว คนที่ลงทะเบียนด้วยข้อมูลเป็นเท็จ โครงการ "เราไม่ทิ้งกัน" จะถูกดำเนินคดีตามกฎหมาย

จากผลกระทบทางเศรษฐกิจที่เกิดจากไวรัส COVID-19 นี้ มีคนจำนวนไม่น้อยที่เดือดร้อนและได้รับผลกระทบจากการที่รายได้ลดลง สูญเสียรายได้ หรือถูกเลิกจ้าง ซึ่งเป็นผลทำให้รัฐบาลต้องออกมาตรการเพื่อช่วยเหลือด้วยการให้เงินเยียวยาเดือนละ 5,000 บาท เป็นเวลา 6 เดือน (ตามมาตรการล่าสุด) รวมงบประมาณทั้งหมดกว่า 270,000 ล้านบาท ดังนั้น มาดูกันให้ชัดๆ ว่าใครมีสิทธิ์บ้าง? แต่อย่าลืมนะคะ ถ้าเราไม่อยู่ในเงื่อนไขที่รัฐบาลกำหนดก็อย่าลงทะเบียนเลยค่ะ เปิดโอกาสให้คนที่เค้าเดือดร้อนจริงๆ ดีกว่าค่ะ
เอ๊ะ!! ถ้ามีใครลงทะเบียนด้วยข้อมูลเท็จ เพราะอยากได้รับเงิน 5,000 บาท จะมีความผิดมั้ยน๊าาา...มาดูกันค่ะ

ใคร...มีคุณสมบัติ หรือมีสิทธิลงทะเบียนรับเงินเยียวยา 5,000 บาท 

ผู้มีสิทธิลงทะเบียนรับเงินเยียวยาในโครงการนี้ หลักๆ ก็คือ แรงงาน ลูกจ้าง หรือผู้ประกอบอาชีพอิสระ และผู้ที่ไม่ได้รับการเยียวยาจากประกันสังคม โดยทั้งหมดนี้จะต้องเป็นผู้ที่ได้รับผลกระทบจาก "COVID-19" ซึ่งจะต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้
  • มีสัญชาติไทย
  • มีอายุ 18 ปีขึ้นไป ณ วันลงทะเบียน
  • ไม่มีสถานะเป็นนักเรียนหรือนักศึกษา ณ วันลงทะเบียน
  • ไม่เป็นข้าราชการ เกษตรกรรม หรือไม่ทำงาน
  • เป็นลูกจ้าง หรือประกอบอาชีพอิสระในธุรกิจที่ถูกสั่งปิด เช่น ผับ/บาร์, ร้านทำผม, นวด, สปา, ขายของในตลาดที่ถูกสั่งปิด หรือธุรกิจอื่นๆ ที่ได้รับผลกระทบ คือ วินมอเตอร์ไซค์, แท็กซี่, ธุรกิจท่องเที่ยว, ไกด์ และมัคคุเทศก์

4 กลุ่มอาชีพ ที่มีสิทธิ์ได้รับเงินเยียวยาแน่นอน!!

หลักเกณฑ์ที่รัฐบาลคัดกรองให้เป็น "ผู้มีสิทธิ์" รับเงินเยียวยา 5,000 บาท หลังจากลงทะเบียนแล้ว แน่นอนก็คือ
  • กลุ่มผู้ค้าสลากกินแบ่งรัฐบาล
  • แท็กซี่
  • วินมอเตอร์ไซค์
  • มัคคุเทศก์

10 กลุ่มคนที่ไม่มีสิทธิ์รับเงินเยียวยา 5,000 บาทแน่นอน!

ไม่ใช่ทุกคนที่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 จะมีสิทธิ์ลงทะเบียนเพื่อขอรับเงินเยียวยา 5,000 บาทได้นะคะ เพราะทางรัฐบาลก็มีวิธีคัดกรองเพื่อให้ผู้ที่มีความเดือดร้อนจริงๆ ได้รับการเยียวยาจากเงินก้อนนี้ โดยมีคำยืนยันออกมาแล้วว่า 10 กลุ่มคนที่หมดสิทธิ์ได้รับเงินชัวร์ๆ ก็คือ
  • ผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี จัดว่าเป็นผู้ที่ไม่ได้อยู่ในวัยทำงาน และไม่ใช่แรงงาน
  • นักเรียน นักศึกษา ซึ่งเรียนหนังสือเป็นหลัก ไม่ใช่กลุ่มแรงงาน ลูกจ้าง หรืออาชีพอิสระ หากมีหนี้ กยศ. จะได้รับการพักหนี้หลายล้านคน จาก กยศ.
  • คนที่ว่างงานอยู่ก่อนแล้ว ไม่ใช่คนที่เป็นกลุ่มแรงงาน ลูกจ้าง หรืออาชีพอิสระที่เดือดร้อนจาก COVID-19 
  • ผู้ที่ได้รับเงินชดเชยกรณีว่างงานจากประกันสังคม 
  • เกษตรกร ซึ่งรัฐจะให้ความช่วยเหลือเยียวยาผลกระทบ COVID-19 ในระยะที่ 3
  • ผู้ค้าขายออนไลน์ เพราะการขนส่งยังดำเนินไปได้แม้ยอดขายตก 
  • คนงานก่อสร้าง เนื่องจากกลุ่มอาชีพนี้ยังสามารถดำเนินต่อได้ การก่อสร้างยังไม่ถูกระงับ
  • โปรแกรมเมอร์ อาชีพนี้ยังมีความยืดหยุ่นในการทำงานสถานที่ใดก็ได้
  • ข้าราชการ ยังมีงานทำ และได้รับเงินเดือนปกติ
  • ผู้รับบำนาญ ยังได้รับการดูแลจากภาครัฐอย่างต่อเนื่อง

อยากได้เงินเยียวยา 5,000 บาท ลงทะเบียนแบบปิดบังข้อมูล (เท็จ) จะเป็นอะไรมั้ย?

จากการลงทะเบียนในเว็บไซต์ www.เราไม่ทิ้งกัน.com เพื่อรับเงินเยียวยา 5,000 บาท มียอดคนลงทะเบียนมากกว่า 24 ล้านคน โดยในจำนวนนั้นมีการพบว่า ข้อมูลบางส่วนที่มีการลงทะเบียนของคนจำนวนไม่น้อยเป็นข้อมูลเท็จ สร้างขึ้น และลงทะเบียนเพื่อต้องการที่จะได้รับเงินเพียงอย่างเดียว ซึ่งทราบมั้ยคะว่า...การให้ข้อมูลเท็จแบบนั้นเข้าข่ายมีความผิดตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ว่าด้วย... 
"การกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ 2560 มาตรา 14(2) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของประเทศ ความปลอดภัยสาธารณะ ความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศ หรือโครงสร้างพื้นฐานอันเป็นประโยชน์สาธารณะของประเทศ หรือก่อให้เกิดความตื่นตระหนกแก่ประชาชน โดยมีโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ"
ด้วยเหตุนี้เองทางภาครัฐจึงขอแนะนำและเปิดโอกาสให้ผู้ที่ลงทะเบียนด้วยข้อมูลเป็นเท็จได้เข้าไปทำการยกเลิกการลงทะเบียนโดยไม่มีความผิด แต่ถ้าใครยังไม่ยกเลิกหรือยืนยันที่จะใช้ข้อมูลเป็นเท็จในการลงทะเบียนขอรับเงินเยียวยาอยู่ก็จะต้องถูกดำเนินคดีตามกฎหมาย

สรุป...จากที่หลายคนสงสัยว่า "คนที่ลงทะเบียนด้วยข้อมูลเป็นเท็จ โครงการ "เราไม่ทิ้งกัน" รับเงินชดเชยรายได้ 5,000 บาท จะถูกดำเนินคดีตามกฎหมาย" นั้นจริงหรือไม่ ก็ตอบได้เลยค่ะว่า "จริงชัวร์ ไม่มั่วนิ่ม" แน่นอนค่ะ

แท็กที่เกี่ยวข้อง มาตรการช่วยเหลือจาก covid-19 เราไม่ทิ้งกัน เงินชดเชยรายได้ ขยายเวลาเงินชดเชย
Money Guru
เขียนโดย เช็คราคา.คอม Money Guru

พูดคุยกับกูรูได้ที่




เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)