ลงทุนทองคำระยะยาวดีหรือไม่?

icon icon 97
ลงทุนทองคำระยะยาวดีหรือไม่?

ลงทุนทองคำระยะยาวดีหรือไม่?

เริ่มต้นปี 2020 สถานการณ์โลกของเรายังคงผันผวน เริ่มที่สงครามการค้าที่ทุเลาเบาบางลง จากการที่สหรัฐอเมริกาเซ็นสัญญาสงบศึกสงครามการค้าในเฟสแรก ทำให้คนทั่วโลกคิดว่า ปี 2020 จะเป็นปีที่พลิกจากลบกลับมาเป็นบวกได้
แต่พอเริ่มต้นปีได้ไม่นาน เรากลับพบว่า มีกลิ่นสงครามจริงๆ เกิดขึ้นระหว่างสหรัฐอเมริกากับอิหร่าน ซึ่งผมขอไม่ลงในรายละเอียด แต่น่าแปลกใจว่า มันจบเร็วมาก ด้วยการจุดกระแสนี้ทำให้ราคาทองคำต้นปีปรับตัวสูงขึ้นมาอย่างน่าสนใจ
ยังไม่ทันหมดเดือนมกราคม 2020 ดี ก็มีข่าวใหม่ให้เราได้ตกใจ กับการระบาดของโรคอุบัติใหม่ ไวรัสโคโรน่า ที่มีต้นกำเนิดจากเมืองอู่ฮั่น ประเทศจีน และนั่นส่งผลกระตุ้นราคาทองคำอีกระลอก เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นติดๆ กันแบบนี้ ทำให้นักลงทุนหลายท่านเริ่มรู้สึกสนใจลงทุนในสินทรัพย์ปลอดภัย หนึ่งในนั้นก็คือ "ทองคำ"

ทองคำใช้ทำอะไรบ้าง?


ภาพแสดง Demand หรือความต้องการใช้ทองคำในรูปแบบต่างๆ
หากเรามาดูในรายละเอียดที่เจาะลึกลงไปหน่อย ก่อนที่เราจะคิดลงทุนในทองคำ เราจะพบว่าทองคำนั้นเป็นสินค้าโภคภัณฑ์อย่างหนึ่ง และถูกนำไปใช้ในหลากหลายรูปแบบ อันได้แก่ ใช้เป็นเครื่องประดับ (Jewelry) / ใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ (Technology) / ใช้เป็นสินทรัพย์ในการลงทุน (Investment) / ใช้เป็นแหล่งสินทรัพย์สำรองในธนาคารกลางแต่ละประเทศ (Central Banks) เป็นต้น
หากเราดูภาพข้างต้นจะพบว่า ทองคำถูกใช้เป็นเครื่องประดับมากที่สุด โดยภาพข้างต้นแสดงความต้องการ หรือ Demand ของทองคำในรอบกว่าสิบปี โดยในช่วงปีหลังๆ ตั้งแต่ปี 2012 เป็นต้นมา ดูเหมือนความต้องการทองคำจะลดลง ซึ่งสอดคล้องกับราคาทองคำ (เส้นสีทอง) ที่ลดลง และไปต่ำสุดในปี 2015 หลังจากนั้นก็ขยับตัวขึ้นเล็กน้อย แต่ก็ยังห่างไกลจากราคาสูงสุดที่เคยทำได้

ภาพแสดงแหล่งการผลิตทองคำ หรือ Supply
หากเรามาดูแหล่งการผลิตทองคำ หรือ Supply ของทองคำกันบ้าง เราจะพบว่า แหล่งการผลิตทองคำมาจากเหมืองทองคำเป็นส่วนใหญ่ และอีกส่วนจะมาจากการ Recycle ทองคำกลับมาใช้ใหม่
ถ้าเราดูตามภาพจะพบว่า ... สัดส่วนการผลิตทองคำทั้งจากเหมืองทองคำ และการ Recycle ทองคำกลับมาใช้ใหม่ จะมีกำลังการผลิตไม่เกิน 5,000 ตันต่อปี โดยจะสอดคล้องกับความต้องการการใช้ทองคำในตลาด หมายความง่ายๆ ว่า ถ้ามีความต้องการมาก เหมืองทองคำก็พร้อมจะผลิตออกมาเพื่อรองรับความต้องการนั้นๆ

ทองคำราคาจะขึ้นด้วยเหตุผลกลใดได้บ้าง?

แล้วถ้าหากเราอยากจะลงทุนระยะยาวกับทองคำในช่วงนี้ล่ะ ควรจะลงทุนหรือไม่ และทองคำจะขึ้นด้วยเหตุผลอะไร ... คำตอบก็คือ ราคาทองคำมักจะสะท้อนจากปัจจัยดังต่อไปนี้
  1. เหตุการณ์ไม่สงบของโลก ... อย่างที่เรารู้ๆ กัน เมื่อเกิดกลิ่นว่าสงครามจะประทุ ราคาทองคำที่ถือว่าเป็นสินทรัพย์ปลอดภัยก็ขยับปรับขึ้นทันที และล่าสุดคือข่าวการเกิดขึ้นของโรคไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่
  2. ความต้องการทองคำพุ่งสูงขึ้น ... หากมีความต้องการทองคำพุ่งสูง อาจมาจากการใช้ทองคำเป็นวัตถุดิบในการผลิตสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ แบบนี้ก็จะทำให้ราคาทองขยับปรับขึ้นได้
  3. เทศกาลที่ต้องใช้ทองคำ ... เช่น ตรุษจีน ที่ชาวจีนต้องการทองคำเป็นเครื่องประดับ และมอบให้แก่กันในช่วงตรุษจีน ซึ่งปีนี้จะดูเหงาๆ หน่อย เนื่องจากมีเหตุการณ์แทรกเข้ามา (เกิดการระบาดของไวรัส) หรือแม้แต่งานแต่งงานของชาวอินเดีย ที่นิยมใช้ทองคำเป็นสินทรัพย์ ก็จะทำให้ราคาทองขยับปรับขึ้นได้
  4. การผลิตทองคำลดลง หรือฝั่ง Supply หายไป ... เช่น เหมืองทองคำลดลง สายแร่ทองคำหายากขึ้น การผลิตทองคำลดลงไม่สอดคล้องกับความต้องการทองคำ
สาเหตุดังกล่าวอาจส่งผลกระทบกับราคาทองคำ บางสาเหตุอาจส่งผลระยะสั้นๆ เช่น งานเทศกาลตรุษจีน แต่บางสาเหตุอาจส่งผลระยะยาว เช่น หากความต้องการใช้ทองคำสูงขึ้นติดต่อกันยาวนาน หรือปริมาณการผลิตทองจากเหมืองลดลงมากๆ ก็จะทำให้ราคาทองคำวิ่งได้เหมือนกัน
สำหรับการลงทุนระยะยาวกับทองคำ ... หากเราคิดว่า ราคาทองคำตกต่ำมานาน และนี่อาจเป็นจุดเริ่มต้น จุดประกายของราคาทองคำรอบใหม่ ก็น่าสนใจที่จะลงทุนยาวๆ สักระยะกับทองคำได้ เพราะทองคำอย่างไรก็ยังเป็นทองคำ มีตัวตนจับต้องได้ ถ้าคิดจะลงทุนยาวๆ คงต้องศึกษาหาความรู้ให้มากขึ้น และเริ่มต้นได้แล้วครับ!
ข้อสรุป และข้อคิดก็คือ ... ทองคำ ยังคงเป็นสินทรัพย์ที่น่าสนใจเสมอ และมักจะเป็นที่พักเงินยามเกิดวิกฤติ ที่จริงหากราคาทองคำปรับขึ้น มันอาจส่อแววว่าจะมีวิกฤติอะไรเกิดขึ้นหรือเปล่า? สำหรับการลงทุนในระยะยาว ทองคำถือว่าเป็นอะไรที่น่าสนใจ ส่วนตัวคิดว่าน่าจะลงทุนได้นะครับ อาจรอรับตอนราคาทองคำปรับฐาน แต่ต้องติดตามศึกษาหาความรู้ให้มากขึ้น เพื่อป้องกันความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นได้ในอนาคตนั่นเองครับ
สนับสนุนบทความโดย #นายแว่นลงทุน
แท็กที่เกี่ยวข้อง
Money Guru
เขียนโดย เช็คราคา.คอม Money Guru

พูดคุยกับกูรูได้ที่




เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)