หมดเวลาแล้วกับการซื้อประกันแบบงงๆ เลือกยังไงให้ตอบโจทย์เราทั้ง "ภาษี" และ "ความคุ้มครอง"
ปัจจุบัน สินค้าประกันในเมืองไทยเราเริ่มเยอะขึ้นเรื่อยๆ หลายคนก็งงๆ รู้แค่ว่าประกันซื้อแล้วได้ความคุ้มครองมาบ้าง ได้ลดหย่อนภาษีมาบ้าง แต่จะมีสักกี่คนที่เข้าใจ และเลือกซื้อประกันพวกนี้ได้ตรงตามความต้องการ และคุ้มเงินที่เสียไป ประกันที่เราเจอกันบ่อยๆ ก็มีทั้งประกันคุ้มครองชีวิต ประกันสุขภาพ ประกันบำนาญ และประกันแบบสะสมทรัพย์ วันนี้ เรามาดูกันครับว่า ถ้าเราไม่เน้นประกันคุ้มครองชีวิตมาก แต่อยากให้ดูแลเรื่องสุขภาพ เป็นเงินออมระยะยาว และได้ประโยชน์ภาษีด้วย ระหว่างประกัน 3 ตัวนี้ คือประกันสุขภาพ บำนาญ และสะสมทรัพย์ ตัวไหนจะเหมาะกับเรา
คำถามแรก: ใครควรซื้อประกันพวกนี้บ้าง ?
ตอบแบบง่ายๆ เลย ใครที่ไม่ได้สนใจ 3 เรื่องต่อไปนี้ ก็ไม่ต้องซื้อประกันพวกนี้เลยนะครับ
1. คนที่อยากบริหารความเสี่ยงเรื่องค่ารักษาพยาบาล
ไม่ว่าเราจะอายุเท่าไหร่ ถ้าเราต้องการบริหารความเสี่ยงเกี่ยวกับสุขภาพ (เช่น ทำงานที่มีความเสี่ยงต่อสุขภาพ หรืออายุเริ่มเยอะ) แล้วถ้าเกิดปัญหาสุขภาพ ล้มป่วย ไม่สามารถทำงานได้ เราจะอยากได้เงินมาช่วยจ่ายค่ารักษาพยาบาล
2. คนที่อยากมีเงินออมในรูปแบบอื่นที่ไม่ใช่เงินฝาก
หากเราอยากหาที่เก็บเงินแล้วได้ผลประโยชน์ในระดับหนึ่ง และไม่อยากฝากในรูปเงินฝาก หรือซื้อตราสารหนี้ หรือตราสารทุนต่างๆ เราควรหันมามองประกันประเภทสะสมทรัพย์ครับ
3. คนที่อยากลดภาษีบุคคลธรรมดาที่ต้องเสียแต่ละปี
หากเรามีรายได้ในระดับหนึ่งที่ต้องเสียภาษีบุคคลธรรมดาตอนสิ้นปี และอยากได้ประกันเป็นตัวช่วยในการลดจำนวนภาษีที่ต้องเสีย ประกันทั้ง 3 ประเภทคือ ประกันสุขภาพ ประกันแบบสะสมทรัพย์ และประกันบำนาญ (รวมถึงประกันชีวิตทั่วไปที่คุ้มครอง 10 ปีขึ้นไป) จะตอบโจทย์เราได้ครับ ส่วนคำถามว่าต้องมีรายได้เท่าไหร่ถึงต้องเสียภาษี และใช้ประโยชน์จากประกันพวกนี้ได้ หลักการก็คือถ้าเป็นคนโสด รายได้ต่อเดือนต้องอย่างน้อยประมาณ 27,000 บาทครับ ถึงจะเข้าเกณฑ์ต้องเสียภาษี และคุ้มที่จะซื้อประกันพวกนี้
คำถามสอง: แล้วประกันสุขภาพ สะสมทรัพย์ หรือบำนาญซื้อตัวไหนดี ?
คำถามต่อมาคือ ถ้าเรามีเงินอยู่ก้อนหนึ่ง เราควรจะซื้อประกันตัวไหนดี คำตอบตายตัวคงไม่มีครับ แต่กว้างๆ ก็น่าจะเป็นแบบว่า เราให้ความสำคัญกับเรื่องอะไรเป็นหลัก (เช่น ออมเงิน หรือความคุ้มครอง) เราเป็นเสาหลักของครอบครัวไหม (ถ้าไม่มีเรา ครอบครัวอาจไม่มีรายได้) อาชีพ หรือ Lifestyle เรามีความเสี่ยงไหม (ถ้าเสี่ยง ควรเน้นประกันสุขภาพ) เราจ่ายเบี้ยประกันในแต่ละปีได้เยอะแค่ไหน หรือแต่ละปีเราเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเยอะแค่ไหน (เช่น ถ้าเยอะ ก็ซื้อประกันได้หลายประเภท และหลายกรมธรรม์) ตารางข้างล่างนี้น่าจะเป็น Guideline ช่วยตอบคำถามเบื้องต้นได้ครับ
| ประกันสุขภาพ (Health Insurance) | ประกันแบบสะสมทรัพย์ (Endowment Insurance) | ประกันบำนาญ (Annuity Insurance) |
เหมาะกับใคร | - คนที่ไม่มีสวัสดิการรักษาพยาบาล หรือมี แต่อาจไม่พอกับความต้องการ
- คนที่เริ่มมีอายุแตะเลข 40
- คนที่หน้าที่การงานมีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดอุบัติเหตุ (ซึ่งอาจจะต้องเสียเบี้ยประกันเพิ่ม)
- คนที่มีรายได้ถึงเกณฑ์อยากลดหย่อนภาษี
| - คนที่อยากโดนบังคับให้ต้องออมเงิน
- คนที่ต้องการความคุ้มครองชีวิต และออมเงินไปในตัวด้วย (แต่ความคุ้มครองชีวิตมักจะต่ำกว่าประกันคุ้มครองชีวิต)
- คนที่มีรายได้ถึงเกณฑ์อยากลดหย่อนภาษี (แต่ต้องซื้อแบบคุ้มครองเกิน 10 ปี)
| - คนที่อยากมีเงินออม Long Term เพื่อใช้จ่ายหลังเกษียณ
- คนที่มีรายได้ถึงเกณฑ์อยากลดหย่อนภาษี
|
ลักษณะเด่นและประโยชน์ | ประกันสุขภาพที่ซื้อกับบริษัทประกันชีวิตมักจะขายพ่วงมาพร้อมกับประกันคุ้มครองชีวิต โดยประกันสุขภาพพวกนี้ หากเราล้มป่วย หรือได้รับอุบัติเหตุถึงขั้นต้องเข้าโรงพยาบาล บริษัทประกันจะจ่ายเงินให้เราสำหรับเป็นค่ารักษาพยาบาล หรือค่าชดเชยกรณีเราไม่สามารถทำงานได้ต้องนอนอยู่โรงพยาบาล
แต่หากเราอยากเน้นประกันสุขภาพอย่างเดียวเท่านั้น โดยไม่ต้องการซื้อพ่วงกับประกันคุ้มครองชีวิต เราก็สามารถทำได้ โดยซื้อโดยตรงกับบริษัทประกันวินาศภัย (ไม่ใช่บริษัทประกันชีวิต) | ประกันคุ้มครองชีวิตที่ออกแบบมาให้ผู้ถือกรมธรรม์สะสมทรัพย์ พร้อมกับมีความคุ้มครองแถมมาด้วย ซึ่งการสะสมทรัพย์มักจะได้รับผลประโยชน์ในกรณีหลักๆ ดังต่อไปนี้คือ (ก) กรณีเสียชีวิต (ข) กรมธรรม์ถึงปีที่มีการจ่ายผลประโยชน์เงินคืน และ (ค) ครบกำหนดสัญญาประกันภัย | ประกันคุ้มครองชีวิตที่เน้นการออมเงินคล้ายๆ กับแบบสะสมทรัพย์ แต่ประกันแบบบำนาญจะเป็นการออมเงินเพื่อการเกษียณโดยเฉพาะ โดยมีระยะเวลาการจ่ายเบี้ยประกันที่หลากหลายเช่นครั้งเดียวแบบ Single Premium หรือแบบหลายปี เช่น 5-10 ปี และเราจะเริ่มได้รับเงินคืนก็ต่อเมื่อเราอายุครบ 55 ปีแล้ว โดยการจ่ายเงินคืนจะมีได้ทั้งแบบจ่ายเงินคืนระหว่างกรมธรรม์ หรือรวมจ่ายทีเดียวเมื่อครบกรมธรรม์ |
สิทธิทางภาษี | เบี้ยประกันคุ้มครองสุขภาพสามารถนำไปลดหย่อนภาษีตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 15,000 บาท และเมื่อรวมกับเบี้ยประกันคุ้มครองชีวิตต้องไม่เกิน 100,000 บาท | - ประกันคุ้มครองชีวิตแบบสะสมทรัพย์ที่มีอายุกรมธรรม์มากกว่า 10 ปีขึ้นไป สามารถลดหย่อนภาษีได้สูงสุดจำนวนเงินไม่เกิน 100,000 บาทต่อปี
- การออมเงินในประกันคุ้มครองชีวิตนั้นผลตอบแทนที่ได้จะไม่ต้องเสียภาษี แตกต่างจากการฝากในธนาคาร ซื้อพันธบัตรรัฐบาล หรือลงทุนในหุ้นกู้ ที่ต้องเสียภาษีอีกถึง 15% ทำให้เราได้ผลตอบแทนแบบเต็มเม็ดเต็มหน่วย และไม่ถูกหักอะไรเลย
| เบี้ยประกันคุ้มครองชีวิตแบบบำนาญสามารถลดหย่อนภาษีได้ตามเบี้ยประกันที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 15% ของรายได้พึงประเมิน และไม่เกิน 200,000 บาท (หรือ 300,000 บาท ในกรณีที่ไม่เคยมีประกันคุ้มครองชีวิตแบบอื่นๆ) แต่ถ้ารวมกับเงินที่จ่ายเข้ากองทุนประเภทเดียวกันอื่นๆ เช่น กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กบข. กองทุนสงเคราะห์ตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน และเงินลงทุนกองทุน RMF แล้วต้องไม่เกิน 500,000 บาท |
เบี้ยประกัน | - เบี้ยประกันส่วนใหญ่จะเป็นเบี้ยสูญเปล่า คึอเมื่อจ่ายเบื้ยประกันไปแล้ว ถ้าไม่มีป่วย เบี้ยประกันปีนั้นๆ ก็จะสูญไปเลย จะไม่มีมูลค่าเงินสดสะสมเข้าไปในกรมธรรม์ (ยกเว้นพวกที่มี No Claim Bonus)
| - โดยประกันประเภทนี้จะมีความหลากหลายมากแล้วแต่เราเลือก แต่ส่วนใหญ่เบี้ยประกันจะไปรวมเป็นเงินคืนให้เรา หรือเป็นเงินตอบแทนคืนให้เราเมื่อถึงเวลาที่กำหนด แต่ก็มีบางแบบที่อาจได้เงินคืนไม่ครบจำนวนเบี้ยประกันที่จ่ายไปทั้งหมด
- จำนวนเบี้ยประกันมีได้ทั้งค่อนข้างต่ำ ไปจนถึงสูงมาก และระยะเวลาการออมมีได้ทั้งระยะปานกลาง หรือระยะยาว (แต่หากต้องการลดหย่อนภาษี ต้องซื้อแบบความคุ้มครองเกิน 10 ปี)
| - โดยประกันประเภทนี้จะมีความหลากหลายแล้วแต่เราเลือก แต่ส่วนใหญ่เบี้ยประกันจะไปรวมเป็นเงินคืนให้เราเมื่อเกษียณ หรือเป็นเงินตอบแทนคืนให้เราเมื่อเราเกษียณ
- จำนวนเบี้ยประกันมีได้ทั้งค่อนข้างต่ำ ปานกลาง หรือสูง ขึ้นอยู่กับระยะเวลาในการชำระเบี้ย เพศ และอายุ เช่น ถ้าทำตั้งแต่อายุน้อยๆ และจ่ายเบี้ยนานๆ จำนวนเบี้ยประกันก็จะเป็นจำนวนที่ไม่มาก และสามารถจ่ายได้สบายๆ
|
ตัวอย่างประกันของจริง
เพื่อให้เห็นภาพง่ายๆ เราขอยกตัวอย่างประกันสุขภาพ ประกันแบบสะสมทรัพย์ และประกันบำนาญของจริงที่ขายกันอยู่ในตลาด ณ ปัจจุบันนี้มาเปรียบเทียบให้เข้าใจง่ายๆ กันดูนะครับ โดยเราจะขอยกตัวอย่างของธนาคารธนชาต (ซึ่งรับประกันโดย บมจ. พรูเด็นเชียลประกันชีวิต (ประเทศไทย)) ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้สนับสนุนการทำบทความนี้มาให้ดูกัน
| ประโยชน์ด้านภาษี | คุ้มครองอะไรบ้างเบื้องต้น |
Perfect Saver 20/20 Package "แพคเกจประกันชีวิต และสุขภาพ" เป็นประกันคุ้มครองชีวิตแบบสะสมทรัพย์ควบคู่ความคุ้มครองสุขภาพ เหมาะกับคนที่ใส่ใจดูแลสุขภาพ ชำระเบี้ยฯ และคุ้มครองยาวนานถึง 20 ปี | - ผลประโยชน์ที่ได้รับจากกรมธรรม์ไม่ต้องเสียภาษี
- ลดหย่อนภาษีได้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 15,000 บาท และเมื่อรวมกับเบี้ยประกันคุ้มครองชีวิตทั่วไป ต้องไม่เกิน 100,000 บาท
| ด้านความคุ้มครองชีวิต - ปีที่ 1 - 10 รับเงินชดเชยไม่น้อยกว่า 100% ของทุนประกันภัย
- ปีที่ 11 - 20 รับเงินชดเชยไม่น้อยกว่า 150% ของทุนประกันภัย
ด้านความคุ้มครองสุขภาพ คุ้มครองหลากหลาย ในจำนวนที่แตกต่างกัน เช่น ค่ายาใน รพ. ค่าศัลยกรรม ค่าห้องผ่าตัด ค่ารักษาพยาบาลกรณีอุบัติเหตุฉุกเฉิน ค่าวินิจฉัยโรคด้วยรังสีเอ๊กซ์ ค่าปรึกษาแพทย์ใน รพ. เป็นต้น ขึ้นอยู่กับแผนประกันที่เลือก |
ธนชาต ปันผลเพิ่มสุข "ประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์" เป็นประกันคุ้มครองชีวิตแบบสะสมทรัพย์ ชำระเบี้ยสั้นเพียง 6 ปี แต่ให้ความคุ้มครองชีวิตยาวนานถึง 15 ปี รับเงินคืนเป็นประจำทุกปี และยังได้รับเงินคืนก้อนใหญ่เมื่อครบกำหนดสัญญา | - ผลประโยชน์ที่ได้รับจากกรมธรรม์ไม่ต้องเสียภาษี
- ถ้าประกันมีอายุกรมธรรม์เกิน 10 ปี สามารถนำเบี้ยประกันภัยไปลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสูงสุดไม่เกิน 100,000 บาทต่อปี
| ด้านความคุ้มครองชีวิต - ปีที่ 1 - 5 รับเงินชดเชยไม่น้อยกว่า 100% ของทุนประกันภัย
- ปีที่ 6 - 15 รับเงินชดเชยไม่น้อยกว่า 150% ของทุนประกันภัย
ด้านการสะสมทรัพย์ - สิ้นปีที่ 1 - 14 รับเงินคืนปีละ 2.5% ของทุนประกันภัย
- ครบปีที่ 15 รับเงินคืน 150% ของทุนประกันภัย
- พร้อมโอกาสรับเงินปันผลเมื่อครบสัญญา ขึ้นอยู่กับผลตอบแทนจากการลงทุน ซึ่งอาจแตกต่างกันในแต่ละปี
|
Perfect Annuity 85/5 "ประกันชีวิตบำนาญ" เป็นประกันคุ้มครองชีวิตแบบบำนาญ ชำระเบี้ยฯสั้นเพียง 5 ปี และรับเงินบำนาญ 15% ของทุนประกันภัยทุกปีตั้งแต่อายุ 60 ปี จนถึง 85 ปี และอุ่นใจด้วยความคุ้มครองชีวิตสูงถึง 200% ของทุนประกันภัยตั้งแต่ปีแรก | - ผลตอบแทนที่ได้รับจากกรมธรรม์ไม่ต้องเสียภาษี
- เบี้ยประกันนำมาใช้เป็นสิทธิประโยชน์ทางภาษีได้สูงสุดไม่เกิน 200,000 บาท ต่อปี หรือสูงสุดไม่เกิน 300,000 บาท (ในกรณีที่ไม่มีเบี้ยประกันภัยคุ้มครองชีวิตแบบอื่นๆ) แต่ไม่เกินร้อยละ 15 ของเงินได้พึงประเมิน และเมื่อรวมกับเงินที่จ่ายเข้ากองทุนประเภทเดียวกันอื่นๆ ตัวอย่างเช่น กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กบข. กองทุนสงเคราะห์ตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชนและเงินลงทุนกองทุน RMF แล้วต้องไม่เกิน 500,000 บาท
| ด้านความคุ้มครองชีวิต - ช่วงก่อนรับเงินบำนาญ (ก่อนอายุ 60 ปี) รับเงินชดเชยไม่น้อยกว่า 200% ของทุนประกันภัย
- ช่วงรับเงินบำนาญ (อายุ 60 - 74 ปี) รับเงินชดเชยเท่ากับเงินบำนาญในส่วนที่ยังไม่ได้รับ ตามจำนวนที่บริษัทประกันชีวิตการันตี (การันตีเงินบำนาญเลี้ยงชีพ 15 งวด)
- ช่วงรับเงินบำนาญ (หลังอายุ 74 ปี) ไม่มีความคุ้มครองชีวิต
ด้านการสะสมทรัพย์ - ชำระเบี้ยฯสั้นเพียง 5 ปี แต่รับเงินบำนาญยาวนานต่อเนื่อง โดยสิ้นปีกรมธรรม์ที่ผู้เอาประกันภัยอายุครบ 60 - 85 ปี จะได้รับเงินบำนาญปีละ 15% ของทุนประกันภัยทุกปี (รวม 26 ปี การันตี 15 ปี)
|
อ่านมาถึงตรงนี้ ก็หวังว่าพวกเราจะพอมีไอเดียเลือกประกันได้ตรงกับความต้องการของตัวเอง และครอบครัวมากขึ้นนะครับ หากใครสนใจควรศึกษาทำความเข้าใจในรายละเอียดความคุ้มครอง และเงื่อนไขก่อนตัดสินใจทำประกันภัยทุกครั้ง โดยสามารถศึกษาข้อมูลประกันเหล่านี้เพิ่มเติมได้ที่ธนาคารธนชาต ในฐานะนายหน้าประกันชีวิต โดยกดดูตามรูปด้านบนได้เลยนะครับ