แบงก์ปลอม!! ดูจุดสังเกตง่ายๆ ผ่านแอปพลิเคชัน "Thai Banknotes" จากธนาคารแห่งประเทศไทย

icon 28 ก.ย. 61 icon 7,492
แบงก์ปลอม!! ดูจุดสังเกตง่ายๆ ผ่านแอปพลิเคชัน "Thai Banknotes" จากธนาคารแห่งประเทศไทย

แบงก์ปลอม!! ดูจุดสังเกตง่ายๆ ผ่านแอปพลิเคชัน "Thai Banknotes" จากธนาคารแห่งประเทศไทย

หลังจากที่ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ออกธนบัตรแบบใหม่ (แบบที่ 17) ขึ้นมาใช้เป็นแบบแรกในรัชกาลที่ 10 ยังได้มีการจัดทำแอปพลิเคชัน "Thai Banknotes" หรือ "ธนบัตรไทย" เพื่อเผยแพร่เรื่องจุดสังเกตต่างๆ บนธนบัตร โดยแอปพลิเคชันนี้จัดทำขึ้นเพื่อให้ผู้ใช้ธนบัตรไทยมีความรู้และเข้าใจวิธีสังเกตธนบัตรแบบใหม่ โดยแยกตามชนิดราคา และสามารถเรียนรู้วิธีสังเกตธนบัตร ด้วยวิธีการง่ายๆ นอกจากนั้นยังสามารถดูเทคโนโลยีพิเศษที่นำมาใช้กับธนบัตรรุ่นนี้ได้อย่างชัดเจนยิ่งขึ้น เช่น หมึกพิมพ์แม่เหล็กสามมิติเปลี่ยนสีได้ และยังมีฟังก์ชันพิเศษที่ทำให้โทรศัพท์มือถือสั่น เมื่อสัมผัสจุดสังเกตบนภาพธนบัตรผ่านแอปพลิเคชัน
และเพื่อช่วยกระตุ้นเตือนให้ประชาชนได้สังเกต และสามารถแยกแยะความแตกต่างระหว่างแบงก์จริง และแบงก์ปลอมได้ด้วยตนเอง ไม่ให้ตกเป็นเหยื่อของผู้ทุจริต และยับยั้งการแพร่กระจายของแบงก์ปลอม เรามารีวิวแอปพลิเคชันนี้ไปด้วยกันค่ะ

เช็คจุดสังเกตธนบัตรปลอมบน Application "Thai Banknotes"

เราสามารถเช็คจุดสังเกตการปลอมแปลงบนธนบัตรแบบใหม่ผ่าน Application "Thai Banknotes" ได้ 4 วิธี คือ การสัมผัส (Feel), การยกส่องด้วยแสงสว่าง (Look), การพลิกเอียง (Tilt), การส่องด้วยแบล็กไลท์ (Black Light) โดยมีรายละเอียดในแต่ละจุดสังเกต ดังนี้ค่ะ
จุดสังเกตธนบัตร ธนบัตรฉบับละ
20 บาท
ธนบัตรฉบับละ
50 บาท 
ธนบัตรฉบับละ 100 บาท ธนบัตรฉบับละ 500 บาท ธนบัตรฉบับละ 1,000 บาท
1. การสัมผัส (Feel) เพื่อสังเกตลวดลายเส้นนูนบนธนบัตร ซึ่งเมื่อสัมผัสที่จุดสังเกต โทรศัพท์มือถือของเราจะสั่นด้วยนะคะ มีจุดสังเกต 2 จุด    
1.1 ภาพพระตราประจำพระองค์ฯ คำว่า "รัฐบาลไทย" ตัวอักษร และตัวเลขแจ้งชนิดราคา จะรู้สึกสะดุดเมื่อสัมผัสด้วยปลายนิ้วมือ
1.2 สัญลักษณ์สำหรับผู้บกพร่องทางสายตา เป็นสัญลักษณ์แจ้งชนิดราคาที่พิมพ์ด้วยลวดลายนูนเป็นรูปดอกไม้แทนอักษรเบรลล์

     
ธนบัตรฉบับละ 20 บาท เป็นรูปดอกไม้ 2 ดอก แทนตัวเลข 2 ในอักษรเบรลล์ 
ธนบัตรฉบับละ 50 บาท เป็นรูปดอกไม้ 2 ดอก แทนตัวเลข 5 ในอักษรเบรลล์
ธนบัตรฉบับละ 100 บาท เป็นรูปดอกไม้ 3 ดอก แทนอักษร H (Hunderd) ในอักษรเบรลล์

ธนบัตรฉบับละ 500 บาท เป็นรูปดอกไม้ 3 ดอก แทนอักษร F (Five Hunderd) ในอักษรเบรลล์
ธนบัตรฉบับละ 1000 บาท เป็นรูปดอกไม้ 4 ดอก อักษร T (Thousand) ในอักษรเบรลล์
2. การยกส่อง (Look) เพื่อสังเกตลายน้ำ และภาพซ้อนทับ     
2.1 ลายน้ำพระสาทิสลักษณ์ และตัวเลขแสดงชนิดราคาที่มีความโปร่งแสงเป็นพิเศษ สามารถมองเห็นชัดเจนทั้ง 2 ด้าน เมื่อยกส่องกับแสงสว่าง
2.2 ภาพทับซ้อน รูปพระครุฑพ่าห์ ด้านหน้าและด้านหลังจะพิมพ์ในตำแหน่งที่ตรงกัน เมื่อยกธนบัตรส่องกับแสงสว่างภาพจะซ้อนทับกันสนิท  
3. การพลิกเอียง (Tilt) เพื่อสังเกต แถบสี, ตัวเลขแฝง, หมึกพิมพ์พิเศษ, หมึกพิมพ์พิเศษสีเหลือบ และ หมึกพิมพ์แม่เหล็กสามมิติเปลี่ยนสีได้      
3.1 แถบสี ที่สังเกตได้จะเป็นแถบสีที่ฝังในเนื้อกระดาษ จะมีบางส่วนของแถบปรากฏให้เห็นเป็นระยะ เมื่อพลิกเปลี่ยนมุมมองจะมีการเปลี่ยนสี และจะเห็นภาพเคลื่อนไหว และภายในแถบจะมีข้อความแสดงชนิดราคาที่เราสามารถอ่านได้เมื่อยกส่องกับแสงสว่าง
3.2 ตัวเลขแฝง จะมีตัวเลขแสดงชนิดราคาของธนบัตรซ่อนไว้ในลายประดิษฐ์ โดยจะสามารถมองเห็นได้เมื่อพลิกเอียงธนบัตรเข้าหาแสงสว่าง
3.3 หมึกพิมพ์พิเศษ จะสามารถสังเกตได้ในธนบัตรฉบับละ 100 บาท โดยบนลายดอกประดิษฐ์ จะเห็นเป็นประกายเมื่อพลิกธนบัตรไปมา  -   -  -  -
3.4 หมึกพิมพ์พิเศษสีเหลือบ จะสามารถสังเกตได้ในธนบัตรฉบับละ 500 และ 1,000 บาท โดยลวดลายประดิษฐ์จะเรียงกันในแนวตั้ง เมื่อพลิกเปลี่ยนมุมมองจะเห็นเป็นสีเหลือบเหลือง   -  -  -
3.5 หมึกพิมพ์แม่เหล็กสามมิติเปลี่ยนสีได้ จะสามารถสังเกตได้ในธนบัตรฉบับละ 500 และ 1,000 บาท โดยตรงลายดอกประดิษฐ์ เมื่อพลิกเปลี่ยนมุมมองจะเกิดลวดลาย 3 มิติเคลื่อนไหว และเปลี่ยนสลับจากสีทองเป็นสีเขียว  -  -  -
4. แบล็กไลท์ (Black Light) หรือรังสีเหนือม่วง เมื่อเลือกไอคอนแสดงจุดสังเกตนี้จะพบว่า ลายประดิษฐ์ตอนกลางของธนบัตร ตัวเลขแสดงชนิดราคา และหมวดเลขหมายจะเรืองแสง และปรากฏเส้นใยเรืองแสง (หรือที่เราเรียก "ขนแมว") สีเหลือง สีแดง และสีน้ำเงินในเนื้อกระดาษ 
(คลิกดูภาพใหญ่ ที่นี่!)

โทษของความผิดที่เกี่ยวกับแบงก์ปลอม


ตามอัตราโทษ แก้ไขเพิ่มเติมโดยมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ 26) พ.ศ 2560 แบ่งตามความผิดที่กระทำ โดยมีรายละเอียด ดังนี้ค่ะ
มาตรา 240 หากผู้ใดทำปลอมขึ้นซึ่งเงินตรา ไม่ว่าจะปลอมขึ้นเพื่อให้เป็นเหรียญกษาปณ์ ธนบัตรหรือสิ่งอื่นใด ซึ่งรัฐบาลออกใช้หรือให้อำนาจให้ออกใช้ หรือทำปลอมขึ้นซึ่งพันธบัตรรัฐบาลหรือใบสำคัญสำหรับรับดอกเบี้ยพันธบัตรนั้นๆ ผู้นั้นกระทำความผิดฐานปลอมเงินตรา ต้องระวางโทษจำคุกตลอดชีวิต หรือจำคุกตั้งแต่ 10 ปี ถึง 20 ปี และปรับตั้งแต่ 200,000 บาท ถึง 400,000 บาท
มาตรา 241 ผู้ใดแปลงเงินตรา ไม่ว่าจะเป็นเหรียญกษาปณ์  ธนบัตรหรือสิ่งอื่นใดซึ่งรัฐบาลออกใช้หรือให้อำนาจให้ออกใช้ หรือแปลงพันธนบัตรรัฐบาล หรือใบสำคัญสำหรับรับดอกเบี้ยพันธบัตรนั้นๆ ให้ผิดไปจากเดิม เพื่อให้ผู้อื่นเชื่อว่ามีมูลค่าสูงกว่าจริง ผู้นั้นกระทำความผิดฐานแปลงเงินตรา ต้องระวางโทษจำคุกตลอดชีวิต หรือจำคุกตั้งแต่ 5 ปี ถึง 20 ปี และปรับตั้งแต่ 100,000 บาทถึง 400,000 บาท
มาตรา 244 ผู้ใดมีไว้เพื่อนำออกใช้ซึ่งสิ่งใดๆ อันตนได้มาโดยรู้ว่าเป็นของปลอมตามมาตรา 240 หรือของแปลงตามมาตรา 241 ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 1 ปีถึง 15 ปี และปรับตั้งแต่ 20,000 บาทถึง 300,000 บาท
มาตรา 245 ผู้ใดได้มาซึ่งสิ่งใดๆ โดยไม่รู้ว่าเป็นของปลอมตามมาตรา 240 หรือของแปลงตามมาตรา 241 ถ้าต่อมารู้ว่าเป็นของปลอมหรือของแปลงเช่นว่านั้น ยันขืนนำออกใช้  ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 10 ปี หรือปรับไม่เกิน 200,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา 246 ผู้ใดทำเครื่องมือหรือวัตถุสำหรับปลอมหรือแปลงเงินตราไม่ว่าจะเป็นเหรียญกษาปณ์ ธนบัตร หรือสิ่งใดๆ ซึ่งรัฐบาลออกใช้หรือให้อำนาจให้ออกใช้ หรือสำหรับปลอมหรือแปลงพันธบัตรรัฐบาลหรือใบสำคัญสำหรับรับดอกเบี้ยพันธบัตรนั้นๆ หรือมีเครื่องมือหรือวัตถุเช่นว่านั้น เพื่อใช้ในการปลอมหรือแปลง  ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 5 ปีถึง 15 ปี และปรับตั้งแต่ 100,000 บาทถึง 300,000 บาท 
มาตรา 249 ผู้ใดทำบัตรหรือโลหะธาตุอย่างใดๆ ให้มีลักษณะและขนาดคล้ายคลึงกับเงินตรา ไม่ว่าจะเป็นเหรียญกษาปณ์ ธนบัตรหรือสิ่งใดๆ ซึ่งรัฐบาลออกใช้หรือให้อำนาจให้ออกใช้ หรือพันธบัตรรัฐบาล หรือใบสำคัญสำหรับรับดอกเบี้ยพันธบัตรนั้นๆ หรือจำหน่ายบัตรหรือโลหะธาตุเช่นว่านั้น และ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ถ้าการจำหน่ายบัตรหรือโลหะธาตุดังกล่าวในวรรคแรก เป็นการจำหน่ายโดยการนำออกใช้ดังเช่นสิ่งใดๆ ที่กล่าวในวรรคแรก  ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

รางวัลนำจับธนบัตรปลอม 

สำหรับประชาชนที่แจ้งเบาะแสแหล่งผลิตหรือแหล่งจำหน่ายธนบัตรปลอม จนนำไปสู่การสืบสวนจับกุมตัวผู้กระทำความผิด ทางการได้ตั้งเงินสินบนให้กับผู้แจ้งความ และเงินรางวัลให้กับผู้จับกุมธนบัตรปลอมแปลง ตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจ่ายเงินสินบนและเงินรางวัลการจับกุมการปลอมแปลงธนบัตรและเหรียญกษาปณ์ พุทธศักราช 2526 ไว้ดังนี้ค่ะ

เงินสินบน จ่ายให้แก่ผู้แจ้งความนำจับ ตามหลักเกณฑ์วิธีการ ดังนี้ 
กรณีที่ 1  จับได้ตัวผู้ต้องหา และของกลางเป็นอุปกรณ์ ให้จ่ายเงินสินบนในอัตราไม่เกินร้อยละ 30 ของราคาอุปกรณ์ตามที่กรมธนารักษ์ หรือธนาคารแห่งประเทศไทยแล้วแต่กรณีประเมินราคา แต่ต้องไม่เกิน 100,000 บาท 
กรณีที่ 2  จับได้ตัวผู้ต้องหา และของกลางเป็นธนบัตรปลอม ให้จ่ายเงินสินบนในอัตราไม่เกินร้อยละ 30 ของราคาในหน้าธนบัตรปลอม หรือเหรียญกษาปณ์ปลอมที่จับได้ แต่ต้องไม่เกิน 100,000 บาท 
เงินรางวัล จ่ายให้แก่ผู้จับกุม ตามหลักเกณฑ์วิธีการ ดังนี้ 
กรณีที่ 1  จับได้ตัวผู้ต้องหา และของกลางเป็นอุปกรณ์ ให้จ่ายเงินรางวัลในอัตราไม่เกินร้อยละ 25 ของราคาอุปกรณ์ตามที่กรมธนารักษ์ หรือธนาคารแห่งประเทศไทยแล้วแต่กรณีประเมินราคา แต่ต้องไม่เกิน 100,000 บาท 
กรณีที่ 2  จับได้ตัวผู้ต้องหา และของกลางเป็นธนบัตรปลอมให้จ่ายเงินรางวัลในอัตราไม่เกินร้อยละ 25 ของราคาในหน้าธนบัตรปลอม หรือเหรียญกษาปณ์ปลอมที่จับได้ แต่ต้องไม่เกิน 100,000 บาท
ในกรณีที่จับกุมได้โดยไม่มีผู้แจ้งความนำจับ ให้จ่ายเงินรางวัลแก่ผู้จับกุมไม่เกินร้อยละ 30 แล้วแต่กรณี 
การจ่ายเงินสินบนและเงินรางวัลจะจ่ายให้ทันทีครึ่งหนึ่ง เมื่ออัยการสั่งฟ้องผู้ต้องหา และเมื่อศาลพิพากษาลงโทษว่ามีความผิด จะจ่ายให้อีกครึ่งหนึ่ง 
การขอรับเงินสินบน เงินรางวัล ให้ผู้แจ้งความนำจับหรือผู้จับกุมยื่นคำขอต่อบุคคลต่อไปนี้ภายใน 90 วัน นับแต่วันสั่งฟ้องผู้ต้องหา หรือวันที่คดีถึงที่สุดแล้วแต่กรณี 
  1. ในกรุงเทพมหานคร ให้ยื่นต่ออธิบดีกรมธนารักษ์ 
  2. ในส่วนภูมิภาค ให้ยื่นต่อผู้ว่าราชการจังหวัด ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดซึ่งได้รับคำขอ ส่งคำขอรับเงินสินบน หรือเงินรางวัล พร้อมด้วยหลักฐานไปยังอธิบดีกรมธนารักษ์ ภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ได้รับคำขอรับเงิน 

สุดท้ายนี้ หากเราเกิดพลาดได้รับแบงก์ปลอมมา เราจะทำอย่างไรกับแบงก์ปลอมใบนั้นดี? ขอแนะนำให้ทำลาย อย่านำไปใช้ต่อนะคะ เพราะนอกจากจะมีโทษตามข้อมูลข้างต้นแล้ว ก็จะยิ่งทำให้แบงก์ปลอมแพร่กระจายไปทั่ว ส่งผลให้ผู้อื่นเดือนร้อนกันไปด้วย และหากเราทราบเบาะแสก็สามารถไปแจ้งตำรวจเพื่อดำเนินการต่อไปได้ค่ะ  
แท็กที่เกี่ยวข้อง ธนาคารแห่งประเทศไทย ธนบัตรปลอม แบงก์ปลอม ธปท. แบงก์ชาติ แบงค์ปลอม thai banknote ธนบัตรไทย วิธีดูแบงก์ปลอม วิธีดูแบงค์ปลอม thai banknotes
Money Guru
เขียนโดย เช็คราคา.คอม Money Guru

พูดคุยกับกูรูได้ที่



เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)