ประกาศสัญญาเช่าซื้อรถฉบับใหม่...ได้อัตราดอกเบี้ยน้อยลงจริง หรือเป็นแค่ความเข้าใจผิด!!

icon 10 ก.ย. 61 icon 16,333
ประกาศสัญญาเช่าซื้อรถฉบับใหม่...ได้อัตราดอกเบี้ยน้อยลงจริง หรือเป็นแค่ความเข้าใจผิด!!

ประกาศสัญญาเช่าซื้อรถฉบับใหม่...ได้อัตราดอกเบี้ยน้อยลงจริง หรือเป็นแค่ความเข้าใจผิด!!

ผลจากการที่รัฐบาลประกาศควบคุมสัญญาเช่าซื้อฉบับใหม่ เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2561 ที่ผ่านมา ในการกำหนดให้ผู้ประกอบการต้องทำการคิดดอกเบี้ย "แบบลดต้นลดดอกเบี้ย" จากเดิมที่คิดดอกเบี้ยเช่าซื้อ "แบบคงที่" เพื่อเพิ่มความคุ้มครองผู้บริโภคเช่าซื้อรถ โดยหวังว่าจะเป็นการลดการถูกเอาเปรียบลงได้นั้น ทำให้หลายคนตีความไปว่า ได้ดอกเบี้ยถูกลง หรือจ่ายดอกเบี้ยน้อยลง เป็นต้น แต่ในความเป็นจริงแล้ว มาตรการหรือประกาศฉบับนี้เป็นไปตามที่ผู้บริโภคส่วนใหญ่คิดหรือไม่? วันนี้ CheckRaka.com หาคำตอบมาให้เพื่อนๆ ได้เข้าใจตรงกันแล้วค่ะ

เหตุเกิดจากความเข้าใจของคนส่วนใหญ่!!

เมื่อได้ยินข่าวจากประกาศนี้มา การนำเสนอข่าวส่วนใหญ่จะเป็นไปในเชิงบวก ดูแล้วเหมือนว่าผู้บริโภคที่กำลังจะซื้อรถใหม่จะได้ใช้รูปแบบการคิดดอกเบี้ยใหม่ ที่ดีกว่าเดิม ถูกกว่าเดิม ไม่ถูกเอารัดเอาเปรียบจากผู้ประกอบการอีกต่อไป และจากเหตุนี้เองที่ทำให้ สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) ต้องออกประกาศมาชี้แจงและแจ้งความจริงให้ผู้บริโภคได้เข้าใจตรงกันในสัญญาที่รัฐบาลได้ประกาศใช้ก่อนหน้านี้

ประกาศจริงจาก "ราชกิจจานุเบกษา"

ประกาศว่าด้วยสัญญาเช่าซื้อรถยนต์ รถจักรยานยนต์ ที่มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2561 มีเนื้อหาโดยละเอียดดังนี้  ประกาศคณะกรรมการว่าด้วยสัญญา เรื่อง ให้ธุรกิจให้เช่าซื้อรถยนต์และรถจักรยานยนต์เป็นธุรกิจที่ควบคุมสัญญา 

ประกาศคุมธุรกิจเช่าซื้อรถยนต์-มอเตอร์ไซค์ฯ ของ สคบ.

ประกาศฉบับนี้เป็นประกาศที่สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) ออกเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2561 เพื่อชี้แจงจากประกาศที่ทางรัฐบาลได้แจ้งก่อนหน้านี้ โดยเหตุเกิดจากมีการเผยแพร่ในโซเชียลมีเดียที่มีความเข้าใจคลาดเคลื่อน ซึ่งอาจมีผลทำให้ผู้บริโภคส่วนใหญ่เกิดความเข้าใจผิดขึ้นได้ จึงได้มีประกาศชี้แจงดังนี้

สรุป...ใจความสำคัญจากประกาศการควบคุมสัญญาเช่าซื้อรถ ฉบับใหม่!!

ด้วยความห่วงใยในผลประโยชน์ของผู้บริโภคจากสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) นี้เองที่ทำให้ สคบ. ต้องออก "ประกาศคุมธุรกิจเช่าซื้อรถยนต์-มอเตอร์ไซค์ฯ ของ สคบ. ไม่มีการคิดอัตราดอกเบี้ย "ลดต้น ลดดอก" ฉบับนี้ขึ้นมา ดังนั้น เรามาสรุปใจความสำคัญของประกาศฉบับนี้ย้ำกันอีกรอบ ซึ่งมีใจความสำคัญโดยสรุป ดังนี้
 การคิดดอกเบี้ยเช่าซื้อรถยนต์ และรถจักรยานยนต์ ยังคงใช้แบบ "เงินต้นคงที่" (Flat Rate) เหมือนเดิม : ตามที่ใช้ในการคำนวณค่าเช่าซื้อในแต่ละงวด
 กำหนดให้ผู้ประกอบการจัดทำตารางแสดงภาระหนี้สินตามสัญญาสำหรับผู้เช่าซื้อแต่ละราย โดย ให้ระบุ "อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงต่อปี (Effective Interest Rate) ซึ่งไม่ได้กำหนดว่าให้ใช้ Effective Interest Rate แต่อย่างใด

  กรณีผู้เช่าซื้อประสงค์จะปิดบัญชีค่าเช่าซื้อก่อนครบกำหนดสัญญา จะได้ส่วนลดอัตราดอกเบี้ยที่ยังไม่ถึงกำหนดชำระร้อยละ 50
 กำหนดให้การคิดเบี้ยปรับกรณีผู้เช่าซื้อผิดนัดชำระเงินค่างวดให้ผู้ประกอบธุรกิจ คิดเบี้ยปรับได้ไม่เกินอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงต่อปี (Effective Interest Rate) บวกร้อยละ 3 ต่อปี แต่ต้องไม่เกินร้อยละ 15 ต่อปี

ดูกันชัดๆ...เปรียบเทียบการคิดดอกเบี้ยระห่วางแบบ "เงินต้นคงที่" และ "ลดต้นลดดอก"

เพื่อให้เห็นภาพชัดขึ้นระหว่างการคิดดอกเบี้ยแบบ "เงินต้นคงที่" และ "ลดต้นลดดอก" นั้น จะทำให้ผลลัพธ์จากความแตกต่างนี้ ต่างกันหรือไม่? มาดูไปพร้อมกันกับตัวอย่างนี้เลยนะคะ


ตัวอย่างตารางอัตราดอกเบี้ยเช่าซื้อรถ ธนาคารธนชาต
การคิดดอกเบี้ยแบบเงินต้นคงที่ (Flat Rate)

จากสูตร...ดอกเบี้ยที่ต้องชำระทั้งหมด = 800,000 x 3.80% x 5
เพราะฉะนั้น ดอกเบี้ยที่ต้องชำระทั้งหมด = 152,000 บาท

จากสูตร...จำนวนเงินที่ต้องชำระในแต่ละงวด = (800,000 + 152,000) / 60
เพราะฉะนั้น จำนวนเงินที่ต้องชำระในแต่ละงวด = 15,866.67 บาท
 การคิดดอกเบี้ยเงินกู้แบบเงินต้นคงที่ (Flat Rate) เป็นการคิดดอกเบี้ยจากเงินต้นทั้งจำนวนและระยะเวลาในการผ่อนชำระทั้งหมด จากนั้นจะนำดอกเบี้ยที่คำนวณได้มารวมกับเงินต้น แล้วหารด้วยจำนวนงวดที่จะผ่อนชำระ โดยเงินที่ผ่อนชำระจะเท่ากันทุกงวด เช่นเดียวกับจำนวนเงินต้นและดอกเบี้ยที่จะคงที่ทุกงวดด้วย
การคิดดอกเบี้ยแบบลดต้นลดดอก (Effective Rate)

**จำนวนวันใน 1 ปี ขึ้นกับการกำหนดของแต่ละสถาบันการเงิน ซึ่งอาจเป็น 360 วัน, 365 วัน หรือ 366 วันก็ได้**
จากสูตร...ดอกเบี้ยจ่ายในงวดนั้น (งวดแรก) = (800,000 x 7.12% x 30) / 365
เพราะฉะนั้น ดอกเบี้ยจ่ายต่องวด = 4,746.67 บาท

จากสูตร...เงินต้นลดลง = 15,886.29 - 4,746.67
เพราะฉะนั้น เงินต้นลดลง = 11,139.62 บาท

จากสูตร...เงินต้นคงเหลือ (เพื่อคำนวณงวดถัดไป) = 800,000 - 11,139.62
เพราะฉะนั้น 
เงินต้นคงเหลือ = 788,860.38 บาท
ตัวอย่าง...ตารางคำนวณค่างวดในแต่ละเดือน แบบลดต้นลดดอก

 การคิดดอกเบี้ยเงินกู้แบบลดต้นลดดอก (Effective Rate) เป็นการคิดทีละงวดจากฐานเงินต้นที่ทยอยลดลงตามการชำระหนี้ ซึ่งถ้าชำระหนี้ในแต่ละงวดเท่าๆ กัน ในอัตราดอกเบี้ยเท่าเดิม จะพบว่า เงินที่จ่ายไปในงวดแรกๆ ส่วนใหญ่จะถูกจ่ายเป็นค่าดอกเบี้ย เนื่องจากจำนวนเงินต้นยังสูงอยู่นั่นเอง แต่เมื่อมีการผ่อนชำระไปสักพักก็จะเห็นว่าดอกเบี้ยค่อยๆ ลดลงตามจำนวนเงินต้นที่ค่อยๆ ลดลง
สุดท้าย...ท้ายสุด!!
จากที่ยกตัวอย่างให้ดูในครั้งนี้ก็เพราะอยากให้เพื่อนๆ ได้เข้าใจตรงกันในประกาศที่ออกมา พร้อมกับทำความเข้าใจเกี่ยวกับการคิดดอกเบี้ยของทั้ง 2 แบบ นั่นก็คือ 1)การคิดดอกเบี้ยแบบเงินต้นคงที่ (Flat Rate) และ 2)การคิดดอกเบี้ยแบบลดต้นลดดอก (Effective Rate) ว่าเป็นการแจ้งให้ผู้ประกอบการต้องระบุดอกเบี้ยทั้ง 2 แบบ ให้ผู้บริโภคทราบ ซึ่งไม่ได้เป็นการเปลี่ยนการคิดดอกเบี้ยอย่างที่หลายคนเข้าใจ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ผลลัพธ์จากการคิดคำนวณดอกเบี้ยของทั้ง 2 แบบ ก็ไม่ต่างกันมาก เนื่องจากการกำหนดให้ผู้ประกอบการจัดทำตารางแสดงภาระหนี้สินตามสัญญาสำหรับผู้เช่าซื้อแต่ละราย โดยให้ระบุ "อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงต่อปี (Effective Interest Rate) ด้วยนั้น ทางผู้ประกอบการจะต้องแปลงอัตราดอกเบี้ย จากอัตราดอกเบี้ยเงินกู้แบบเงินต้นคงที่ เป็นแบบลดต้นลดดอก ทำได้คร่าวๆ ด้วยการใช้ 1.8 หรือใช้ 2 คูณกับอัตราดอกเบี้ยเงินกู้แบบเงินต้นคงที่ ซึ่งจะเห็นได้จากตัวอย่างด้านบนที่ถ้าเป็นอัตราดอกเบี้ยแบบเงินต้นคงที่ก็จะเท่ากับ 3.80% ต่อปี แต่ถ้าแปลงมาเป็นอัตราดอกเบี้ยแบบลดต้นลดดอกก็จะเท่ากับ 7.12% ต่อปี (ตัวอย่างอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อรถจากธนาคารธนชาต)
แท็กที่เกี่ยวข้อง อัตราดอกเบี้ย ดอกเบี้ย เช่าซื้อรถยนต์ สัญญาเช่าซื้อ สัญญาเช่าซื้อรถยนต์ คิดดอกเบี้ย อัตราดอกเบี้ยคงที่ อัตราดอกเบี้ยแบบลดต้นลดดอก ประกาศ ดอกเบี้ยเงินต้นคงที่ ดอกเบี้ยลดต้นลดดอก flat rate effective rate
Money Guru
เขียนโดย เช็คราคา.คอม Money Guru

พูดคุยกับกูรูได้ที่




เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)