ยกเลิกสำเนาทะเบียนบ้าน สำเนาบัตรประชาชน เพื่ออะไร...ดียังไง? มาหาคำตอบกัน!!

icon 16 ส.ค. 61 icon 6,005
ยกเลิกสำเนาทะเบียนบ้าน สำเนาบัตรประชาชน เพื่ออะไร...ดียังไง? มาหาคำตอบกัน!!

ยกเลิกสำเนาทะเบียนบ้าน สำเนาบัตรประชาชน เพื่ออะไร...ดียังไง? มาหาคำตอบกัน!!

จากประกาศยกเลิกการใช้สำเนาทะเบียนบ้าน และสำเนาบัตรประชาชน ของนายกรัฐมนตรี (พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา) เพื่อเป็นการรองรับนโยบาย Thailand 4.0 ก้าวสู่รัฐบาลดิจิทัล (Digital Government) ให้มีผลในเดือนสิงหาคม 2561 ซึ่งจากเดิมนั้นการติดต่อราชการไม่ว่าจะเป็นเรื่องอะไรก็ต้องถ่ายเอกสารบัตรประชาชน และ/หรือทะเบียนบ้านทุกครั้งไป แต่เคยสงสัยกันมั้ยคะว่า...ทั้งๆ ที่มีสมาร์ทการ์ดในบัตรประชาชนแล้ว ทำไมยังต้องใช้เอกสารเพิ่มเติมทุกครั้งไป แล้วแบบนี้ประโยชน์ของชิปนั้นคืออะไร (แอบรู้สึกเล็กๆ) วันนี้สิ่งที่หลายๆ คนรอคอยมาตลอดได้มาถึงแล้วค่ะ นั่นคือ "การยกเลิกการใช้สำเนาทะเบียนบ้าน และสำเนาบัตรประชาชน" ดังนั้น เรามาดูกันต่อเลยค่ะว่านโยบายนี้มีขึ้นเพื่ออะไร...และจะส่งผลดีกับประชาชนอย่างเรายังไงบ้าง?

ยกเลิกการใช้สำเนานี้...เพื่ออะไร?

ก่อนอื่นเรามาทำความเข้าใจกันก่อนนะคะว่า...ประกาศยกเลิกการใช้สำเนาทะเบียนบ้าน และสำเนาบัตรประชาชนนี้จะใช้ได้ในกรณีที่เราไปติดต่อหน่วยงานราชการ หน่วยงานผู้ให้บริการภาครัฐเท่านั้น ซึ่งในปัจจุบันมีจุดให้บริการประชาชนกว่า 40,000 จุดบริการ และพร้อมเปิดใช้แอปพลิเคชันบอกข้อมูลบริการ หลังจากนี้ในเดือนตุลาคม 2561 ก็จะมีการยกเลิกการใช้สำเนาหนังสือรับรองนิติบุคคล ตามมาด้วยเดือนมกราคม 2562 ก็จะมีการเปิดใช้ระบบ Citizen Feedback เพื่อให้ประชาชนประเมินการใช้บริการของหน่วยงานภาครัฐ และที่ต้องมีประกาศยกเลิกการใช้สำเนาทะเบียนบ้าน และสำเนาบัตรประชาชนนี้ก็เพื่อผลักดันเรื่องรัฐบาลดิจิทัล และจัดระบบการบริหารราชการแผ่นดิน โดยเฉพาะปรับปรุงเรื่องระบบการทำงานของเจ้าหน้าที่รัฐให้สมกับ Thailand 4.0 นั่นเอง

ข้อดีของการยกเลิกสำเนา...คืออะไร?

เป็นที่รู้กันดีอยู่แล้วว่า...ทุกครั้งที่จะต้องติดต่อราชการไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานอะไร เอกสารที่หน่วยงานจะต้องใช้คือ "สำเนา" ดังนั้น เวลาไปติดต่อสถานที่ราชการ บางครั้งเราก็จะต้องหาที่ถ่ายเอกสารเพื่อนำสำเนาทะเบียนบ้าน หรือสำเนาบัตรประชาชนไปให้เจ้าหน้าที่หรือหน่วยงานที่เราติดต่อ บางคนก็มองว่ามันเป็นเรื่องเสียเวลา และสิ้นเปลืองทรัพยากร (กระดาษ) เป็นอย่างมาก นอกจากนั้นยังเพิ่มการจัดเก็บเอกสารให้กับเจ้าหน้าที่มากขึ้นอีกด้วย ดังนั้น เรามาดูข้อดีของการประกาศยกเลิกการใช้สำเนาทะเบียนบ้าน และ/หรือสำเนาบัตรประชาชนฉบับนี้กันค่ะ
 ประชาชนได้รับความสะดวก รวดเร็ว ในการติดต่อหน่วยงานราชการ
 เป็นการนำเทคโนโลยีมาใช้ในระบบราชการมากขึ้น
 ทำให้การเชื่อมโยงข้อมูลของส่วนราชการ ระหว่างกรมต่อกรม ส่วนกลางไปสู่ภูมิภาค ได้ง่ายและรวดเร็วขึ้น
 ลดจำนวนการจัดเก็บเอกสารในหน่วยงานราชการลงได้ หรือที่เรียกว่า "สถานที่ปลอดเอกสาร"
 จัดระบบการบริหารราชการให้ก้าวไปสู่ยุคสังคมดิจิทัล
ประกาศการยกเลิกการใช้สำเนาทะเบียนบ้าน และ/หรือสำเนาบัตรประชาชน จากนายกฉบับนี้ นับได้ว่าเป็นประโยชน์สำหรับทุกฝ่าย แต่ก็ยังคงเป็นการใช้ภายในหน่วยงานราชการเท่านั้น ซึ่งในส่วนของการทำธุรกรรมกับธนาคาร หรือสถาบันการเงินอื่นๆ ก็ยังจำเป็นต้องใช้สำเนาทะเบียนบ้าน และ/หรือสำเนาบัตรประชาชนอยู่ เพราะเนื่องจากการทำธุรกรรมทางการเงินนี้มีรายละเอียดในส่วนของข้อกฎหมาย พร้อมความต้องการในการยืนยันหลักฐานที่เป็นเอกสาร โดยเฉพาะการสมัครสินเชื่อ หรือขอกู้เงินต่างๆ ทางเราก็หวังว่าในอนาคตอันใกล้นี้จะมีการพัฒนาเทคโนโลยีในส่วนนี้เพื่อช่วยลดเวลา และค่าใช้จ่าย จากการใช้เอกสารในส่วนนี้ได้นะคะ
แท็กที่เกี่ยวข้อง ข้อดี สำเนาทะเบียนบ้าน สำเนาบัตรประชาชน ยกเลิก ข้อเสีย
Money Guru
เขียนโดย เช็คราคา.คอม Money Guru

พูดคุยกับกูรูได้ที่




เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)