ธนบัตรชำรุดมีค่า อย่าทิ้ง!! อาจแลกคืนได้

icon 2 ส.ค. 61 icon 9,642
ธนบัตรชำรุดมีค่า อย่าทิ้ง!! อาจแลกคืนได้

ธนบัตรชำรุดมีค่า อย่าทิ้ง!! อาจแลกคืนได้

จากที่มีข่าวเรื่องมีคนนำเงินจำนวนกว่า 1 แสนบาท ที่โดนปลวกแทะกินไปทิ้งถังขยะ เพราะคิดว่าเงินคงใช้ไม่ได้แล้ว และธนาคารก็คงไม่รับแลก แต่ยังโชคดีนะคะที่มีคนเก็บได้ และนำไปส่งตำรวจเพื่อตามหาเจ้าของ ไม่อย่างนั้นคงสูญเงินนั้นไปโดยไม่รู้ตัวเลยค่ะ เพราะตามกฎหมาย "ธนบัตรชำรุด" ไม่สามารถนำมาชำระหนี้ได้ แต่เราสามารถนำไปแลกเปลี่ยนเป็นธนบัตรฉบับใหม่ได้นะคะ วันนี้เช็คราคาเลยรวบรวมข้อมูลจากธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่องของการรับแลกธนบัตรชำรุดมาฝากกันนะคะ 

แบบไหนที่เรียกว่า "ธนบัตรชำรุด"

ตามพระราชบัญญัติเงินตรา พ.ศ. 2501 มาตรา 18 ได้มีการจำแนกลักษณะธนบัตรชำรุดไว้ 4 แบบ ดังนี้ค่ะ
1. ธนบัตรชำรุดครึ่งฉบับ คือ ธนบัตรที่ถูกแยกตรงกลางหรือใกล้กับกลางเป็นสองส่วนตามยืนเท่านั้น ให้รับแลกเปลี่ยนธนบัตรแต่ละครึ่งฉบับได้ครึ่งราคาของราคาเต็มของธนบัตรนั้น

2. ธนบัตรต่อท่อนผิด คือ ธนบัตรซึ่งมีส่วนของธนบัตรฉบับอื่นมาต่อเข้าเป็นฉบับเดียวกัน ถ้าไม่เกิน 2 ท่อน และแต่ละท่อนเป็นธนบัตรแบบละชนิดเดียวกัน ให้รับแลกเปลี่ยนได้เต็มราคาของธนบัตรนั้น

3. ธนบัตรขาดวิ่น คือ ธนบัตรซึ่งมีส่วนหนึ่งส่วนใดขาดหายไป จะสามารถแลกได้เมื่อส่วนที่เหลืออยู่มีมากกว่าครึ่งฉบับ ให้รับแลกเปลี่ยนเต็มราคาของธนบัตรนั้น

4. ธนบัตรลบเลือน คือ ธนบัตรที่มีเหตุทำให้อ่านข้อความหรือตัวเลขไม่ได้ความ จะสามารถแลกเปลี่ยนได้เมื่อการลบเลือนนั้นไม่ถึงกับทำให้ไม่รู้ได้ว่าเป็นธนบัตรจริง โดยให้รับแลกเปลี่ยนเต็มราคาของธนบัตรนั้น

จะแลกเปลี่ยนธนบัตรชำรุดต้องทำอย่างไร?

สำหรับขั้นตอนในการขอแลกเปลี่ยนธนบัตรชำรุด มีทั้งแบบที่สามารถแลกเปลี่ยนได้ทันที และในแบบที่ต้องเขียนคำร้องในการขอแลกเปลี่ยน ดังนี้ค่ะ 
1. กรณีแลกเปลี่ยนได้ทันที ได้แก่ ธนบัตรชำรุดมีเนื้อธนบัตรเหลืออยู่เกินกว่า 3 ใน 5 ส่วน สามารถแลกเปลี่ยนได้เต็มตามราคาหน้าธนบัตร
2. กรณีต้องเขียนคำร้อง จำแนกได้ 2 แบบ คือ
  • ธนบัตรชำรุดครึ่งฉบับ ธนบัตรต่อท่อนผิด และธนบัตรขาดวิ่นที่มีเนื้อน้อยกว่า 3 ใน 5 ส่วน ผู้ขอแลกต้องเขียนคำร้องขอแลกเปลี่ยนตามแบบที่กำหนด พร้อมแนบธนบัตรชำรุดยื่นต่อเจ้าหน้าที่ธนาคารเพื่อนำส่งให้ ธปท. พิจารณาค่าแลกเปลี่ยน โดย ธปท. จะโอนเงินค่าแลกเปลี่ยนเข้าบัญชีออมทรัพย์ หรือทางธนาณัติ ตามที่ผู้ขอแลกระบุไว้ในคำร้อง
  • ธนบัตรชำรุดที่ถูกไฟไหม้เกรียม ถูกสัตว์หรือแมลงกัดแทะ หรือเปี่อยติดกันเป็นปึกเป็นจำนวนมาก ซึ่งอาจได้รับความเสียหายระหว่างจัดส่ง ผู้ขอแลกต้องนำธนบัตรไปแสดงต่อเจ้าหน้าที่ธนาคารเพื่อขอออกหลักฐาน ก่อนนำมาขอแลกด้วยตนเอง ที่สายออกบัตรธนาคาร ธนาคารแห่งประเทศไทย 

 การขอแลกเปลี่ยนธนบัตรชำรุดไม่เสียค่าธรรมเนียมใดๆ ทั้งสิ้น

ธนบัตรชำรุด แลกได้ที่ไหน?

หากต้องการแลกเปลี่ยนธนบัตรชำรุด เราสามารถติดต่อได้ที่
  • ธนาคารออมสินทั่วประเทศ (ให้บริการในเวลาทำการทุกวัน)
  • ธนาคารพาณิชย์ทั่วประเทศ (ให้บริการเฉพาะวันพุธ ยกเว้นสาขาย่อยและสาขาในห้างสรรพสินค้า)
นอกจากนี้เราสามารถติดต่อสอบถามข้อมูลธนบัตรชำรุดเพิ่มเติมได้ ดังนี้ค่ะ
 จังหวัด สถานที่ และเบอร์ติดต่อ 
 กรุงเทพฯ แผนกตรวจพิสูจน์ธนบัตร
โทร. 02-356-8736-37 
 ระยอง ศูนย์จัดการธนบัตร ระยอง
โทร. 038-619-157 ต่อ 8810
 เชียงใหม่ ศูนย์จัดการธนบัตร เชียงใหม่
โทร. 053-931-025-6
 พิษณุโลก ศูนย์จัดการธนบัตร พิษณุโลก
โทร. 055-262-406-8 ต่อ 8840
 ขอนแก่น ศูนย์จัดการธนบัตร ขอนแก่น
โทร. 043-226-051-4 ต่อ 8988
 นครราชสีมา ศูนย์จัดการธนบัตร นครราชสีมา
โทร. 044-259-642 ต่อ 8869, 8870
 อุบลราชธานี ศูนย์จัดการธนบัตร อุบลราชธานี
โทร. 045-317-882-3 ต่อ 8900
 หาดใหญ่ ศูนย์จัดการธนบัตร หาดใหญ่
โทร. 074-272-000 ต่อ 4383
 สุราษฎร์ธานี ศูนย์จัดการธนบัตร สุราษฎร์ธานี
โทร 077-201-307-8 ต่อ 8929, 8930
 พังงา ศูนย์จัดการธนบัตร พังงา โทร. 076-460-746 ต่อ 8963
 "ธนบัตร มีค่า อย่าทิ้ง!" หากใครมีธนบัตรเก่า ขาด ชำรุดอย่างไร ก็ลองเอาไปแลกดูก่อนนะคะ :)
แท็กที่เกี่ยวข้อง ธนาคารแห่งประเทศไทย ธนบัตรชำรุด แบงก์ชาติ แลกคืนได้
Money Guru
เขียนโดย เช็คราคา.คอม Money Guru

พูดคุยกับกูรูได้ที่



เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)