รู้ไหมว่า ใช้ E-Banking ธนาคารไหนปลอดภัยที่สุด?

icon 31 ก.ค. 60 icon 27,636
รู้ไหมว่า ใช้ E-Banking ธนาคารไหนปลอดภัยที่สุด?

รู้ไหมว่า ใช้ E-Banking ธนาคารไหนปลอดภัยที่สุด?

ทุกวันนี้ระบบอินเทอร์เน็ตได้คลืบคลานเข้ามาในชีวิตประจำวันของเราในหลายๆ ด้าน ไม่เว้นแม้แต่การทำธุรกรรมทางการเงิน ซึ่งก็ต้องยอมรับค่ะว่าเทคโนโลยีต่างๆ เหล่านี้สร้างความสะดวกสบายในการดำเนินชีวิตของเราได้เป็นอย่างมาก ทำให้เราสามารถทำธุรกรรมทางการเงินโดยที่ไม่ต้องเสียเวลาในการเดินทางไปที่ธนาคาร และทำธุรกรรมได้อย่างรวดเร็วโดยไม่ต้องไปรอคิว แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น การใช้ระบบอินเทอร์เน็ตในการทำธุรกรรมการเงินก็มีทั้งข้อดี ข้อเสีย และสิ่งที่ควรต้องระมัดระวังก็จะเป็นในเรื่องของความปลอดภัย เพราะแม้ว่าธนาคารจะมีระบบป้องกันให้ลูกค้าเป็นอย่างดีแล้ว แต่เหล่ามิจฉาชีพทั้งหลายก็ยังพยายามหาวิธีการล่อลวงในทางที่ไม่ดี ทำให้เกิดความเสียหายต่อผู้เป็นเจ้าของบัญชีได้ ตามที่เราทราบกันตามข่าวต่างๆ 
วันนี้เช็คราคา จะพาไปดูกันค่ะว่าการใช้ E-Banking ของธนาคารไหนปลอดภัยที่สุด จากการสำรวจของ Sustainable Banking Thailand โดยจะพูดถึงในเรื่องของกระบวนการรักษาความปลอดภัยของธนาคารผ่านเว็บไซต์, มาตรการเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคล และมาตราการรับผิดชอบของธนาคาร จากกลุ่มตัวอย่างธนาคารทั้งหมด 12 ธนาคาร คือธนาคารกรุงเทพ, ธนาคารกรุงไทย, ธนาคารกรุงศรีอยุธยา, ธนาคารกสิกรไทย, ธนาคารเกียรตินาคิน, ธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย, ธนาคารทหารไทย, ธนาคารไทยพาณิชย์, ธนาคารธนชาต, ธนาคารยูโอบี, ธนาคารแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ และธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด (ไทย)

กระบวนการรักษาความปลอดภัยของธนาคาร "ผ่านเว็บไซต์"

สำหรับในเรื่องของกระบวนการรักษาความปลอดภัยของธนาคารผ่านเว็บไซต์ จะสำรวจกันในหัวข้อหลักๆ 4 หัวข้อ ดังนี้
1. การเข้ารหัส, การเชื่อมต่อ ที่พบในกลุ่มตัวอย่างธนาคารทั้ง 12 ธนาคาร จะมี 2 รูปแบบ คือ การใช้ Forward Secrecy และการใช้โปรโตคอล TLS 1.2 เข้ารหัสแบบ 256 บิต
 การเข้ารหัส, การเชื่อมต่อ  ธนาคารที่ใช้
 ใช้ Forward Secrecy  
 ใช้โปรโตคอล TLS 1.2 เข้ารหัสแบบ 256 บิต  
2. เงื่อนไขรหัสผ่าน (รหัสผ่านที่ดีควรเป็นพยัญชนะ 8 ตัวอักษรขึ้นไป ใช้พยัญชนะพิมพ์ใหญ่ พิมพ์เล็ก และตัวเลข) ที่พบในกลุ่มตัวอย่างธนาคารทั้ง 12 ธนาคาร จะมี 3 รูปแบบ คือ รหัสผ่าน 8 ตัวอักษรขึ้นไป ใช้พยัญชนะพิมพ์ใหญ่/เล็ก และตัวเลข, รหัสผ่าน 8 ตัวอักษรขึ้นไป แต่ไม่บังคับพยัญชนะพิมพ์ใหญ่/เล็ก และตัวเลข, รหัสผ่านมีความยาวกว่า 8 ตัวอักษร
 เงื่อนไขรหัสผ่าน  ธนาคารที่ใช้
 รหัสผ่าน 8 ตัวอักษรขึ้นไป ใช้พยัญชนะพิมพ์ใหญ่/เล็ก และตัวเลข  
 รหัสผ่าน 8 ตัวอักษรขึ้นไป แต่ไม่บังคับพยัญชนะพิมพ์ใหญ่/เล็ก และตัวเลข  ,
 รหัสผ่านมีความยาวกว่า 8 ตัวอักษร  
 ไม่มีข้อมูล  
3. การยืนยันตัวตนด้วย OTP (รหัส OTP จะส่งมาทาง SMS ให้เจ้าของบัญชียืนยันตัวตนขั้นที่ 2 ) สำหรับกลุ่มตัวอย่างธนาคารทั้ง 12 ธนาคาร ทุกธนาคารใช้รหัส OTP ในการยืนยันตัวตน
4. ความรัดกุมของขั้นตอนการขอรหัสผ่านใหม่ ที่พบในกลุ่มตัวอย่างธนาคารทั้ง 12 ธนาคาร จะมี 2 รูปแบบ คือ ผู้ใช้บริการแสดงตนที่ธนาคารเมื่อลืมรหัสผ่าน และการใช้รหัสผ่าน ATM ยืนยันตัวตน
 ความรัดกุมของขั้นตอนการขอรหัสผ่านใหม่  ธนาคารที่ใช้
ผู้ใช้บริการแสดงตนที่ธนาคารเมื่อลืมรหัสผ่าน  
 ใช้รหัสผ่าน ATM ยืนยันตัวตน  

มาตรการเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคล

สำหรับเรื่องของมาตรการเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคล จะพิจารณาจากหัวข้อหลัก 6  หัวข้อ คือ 
1. การแจ้งนโยบายข้อมูล เข้าถึงข้อมูล ที่พบในกลุ่มตัวอย่างธนาคารทั้ง 12 ธนาคารจะมี 2 รูปแบบ คือ การแจ้งนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลเป็น ภาษาไทย ที่หน้าแรกของเว็บไซต์อย่างชัดเจน และการแจ้งนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลเป็น ภาษาอังกฤษ ที่หน้าแรกของเว็บไซต์อย่างชัดเจน
 การแจ้งนโยบายข้อมูล เข้าถึงข้อมูล  ธนาคารที่ใช้
การแจ้งนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลเป็น "ภาษาไทย" ที่หน้าแรกของเว็บไซต์อย่างชัดเจน  ,  ,  
การแจ้งนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลเป็น "ภาษาอังกฤษ" ที่หน้าแรกของเว็บไซต์อย่างชัดเจน  
2. การแจ้งให้ผู้ใช้บริการทราบว่าธนาคารมีการเก็บข้อมูลใดบ้าง ในกลุ่มตัวอย่างธนาคารทั้ง 12 ธนาคารจะมี 2 รูปแบบ คือ การให้รายละเอียดอย่างเฉพาะเจาะจงว่าเก็บข้อมูลใดบ้าง และการระบุว่าเก็บข้อมูลส่วนบุคคลเท่าที่จำเป็น
 การแจ้งให้ผู้ใช้บริการทราบว่าธนาคารมีการเก็บข้อมูลใดบ้าง  ธนาคารที่ใช้
การให้รายละเอียดอย่างเฉพาะเจาะจงว่าเก็บข้อมูลใดบ้าง  
ระบุว่าเก็บข้อมูลส่วนบุคคลเท่าที่จำเป็น  
3. แจ้งวัตถุประสงค์ของการรวบรวมข้อมูลโดยละเอียด จากกลุ่มตัวอย่างพบว่ามีธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด (ไทย) เพียง 1 ธนาคารที่แจ้งวัตถุประสงค์โดยละเอียด ส่วนธนาคารอื่นๆในกลุ่มตัวอย่างอีก 11 ธนาคาร จะเป็นการแจ้งวัตถุประสงค์กว้างๆ เช่น ใช้เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ของธนาคาร
4. ระบุระยะเวลาในการเก็บข้อมูล จากกลุ่มตัวอย่างพบว่ามีธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด (ไทย) เพียง 1 ธนาคารที่มีการระบุระยะเวลาในการเก็บข้อมูล ส่วนธนาคารอื่นๆในกลุ่มตัวอย่างอีก 11 ธนาคาร ไม่มีการระบุระยะเวลา
5. ระบุแนวทางการส่งต่อข้อมูลไปยังบุคคลที่สาม ที่พบในกลุ่มตัวอย่างธนาคารทั้ง 12 แห่ง จะมี 3 รูปแบบ คือ การระบุแนวทางโดยละเอียด, การระบุแนวทางอย่างกว้างๆ เช่น ใช้เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ของธนาคาร และไม่แจ้งแนวทาง
ระบุแนวทางการส่งต่อข้อมูลไปยังบุคคลที่สาม  ธนาคารที่ใช้
การระบุแนวทางโดยละเอียด  
การระบุแนวทางอย่างกว้างๆ เช่น ใช้เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ของธนาคาร  ,
ไม่แจ้งแนวทาง  
ไม่มีข้อมูล  
6. มีนโยบายให้ลูกค้าเลือก "ไม่ยอมรับ" ให้ส่งต่อข้อมูลให้กับบุคคลที่สาม (opt-out) พบว่ากลุ่มตัวอย่างธนาคารทั้ง 12 ธนาคาร ไม่มีนโยบายให้เลือก "ไม่ยอมรับ"

มาตรการรับผิดชอบของธนาคาร

ในส่วนของมาตรการรับผิดชอบจะพิจารณาใน 2 หัวข้อหลัก คือ ธนาคารรับผิดชอบเมื่อข้อมูลที่จัดเก็บไว้รั่วไหล และการรับผิดชอบเมื่อข้อมูลรั่วไหลระหว่างการเชื่อมต่อ ซึ่งธนาคารกลุ่มตัวอย่างทั้ง 12 ธนาคาร ไม่มีการระบุการรับผิดชอบในทั้ง 2 กรณี

ข้อสรุปจากการรวบรวมคะแนนในการสำรวจของ Sustainable Banking Thailand 


 ธนาคาร  คะแนน
 
ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด ไทย
 7.5

ธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย
 7.0

ธนาคารทหารไทย
 6.5

ธนาคารธนชาต
 6.5

ธนาคารกรุงเทพ 
 6.0
 
ธนาคารกรุงไทย
 6.0
 
ธนาคารกสิกรไทย
 6.0
 
ธนาคารกรุงศรีอยุธยา 
 5.0
 
ธนาคารเกียรตินาคิน
 5.0
 
ธนาคารไทยพาณิชย์ 
 5.0
 
ธนาคารแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์
 4.0
 
ธนาคารยูโอบี
 3.5

ข้อสังเกตเบื้องต้นจากการประเมินของ Sustainable Banking Thailand

1. "แอปพลิเคชัน" ของธนาคารมีการเปลี่ยนแปลงวิธีตรวจสอบตัวตนเพื่อให้ทันต่อภัยคุกคาม และมีวิธีการเป็นของตัวเอง เช่น ธ.ทหารไทยใช้รหัส 8 ตัว จากเดิม 6 ตัว และต้องใช้บริการผ่านเบอร์มือถือที่ลงทะเบียนไว้กับธนาคารเท่านั้น แต่การให้บริการ "ผ่านเว็บไซต์" ไม่พัฒนาการตรวจสอบที่รัดกุมเหมือนใน Application
2. หลายๆ ธนาคารใช้ "การแจ้งเตือนอัตโนมัติ" ผ่านอีเมล และ SMS เมื่อมีการทำธุรกรรมออนไลน์ เช่น ธ.กรุงเทพ
3. ประกาศของธนาคารที่ว่า "ธนาคารจะไม่รับผิดชอบต่อกรณีการรั่วไหลของข้อมูล" ท่ามกลางความเสี่ยงจากภัยคุกคามของระบบอินเตอร์เน็ตที่ทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ คำถามคือ แล้วใครจะเป็นคนรับผิดชอบ?
4. การให้ข้อมูลแก่ผู้ใช้บริการโดยเฉพาะการคุ้มครองความปลอดภัยของลูกค้าไม่ชัดเจนนัก แต่มักใช้คำกว้างๆ เช่น ง่ายๆ ปลอดภัย
5. จะดีกว่าไหมถ้าธนาคารออกมาตรการบังคับเพื่อให้การทำธุรกรรมมีความปลอดภัย เช่น บังคับตั้งรหัสผ่านที่ซับซ้อนขึ้น แทนการกำหนดโดย "สมัครใจ" ของผู้ใช้บริการเอง
6. ในทางปฏิบัติ ลูกค้าจำนวนมากไม่ได้รับการบริการที่เหมาะสม ล่าช้า ซับซ้อน และใจเย็นเกินไป เช่น ขณะที่นาย ก. กำลังคุยกับโอเปอร์เรเตอร์เพื่อแจ้งว่ามีความผิดปกติทางบัญชี แต่ต้องถือสายผ่านระบบอัตโนมัตินานมาก สุดท้ายมีคนถอนเงินออกจากบัญชีไปเรียบร้อยแล้ว 
7. เป้าหมายของธนาคารออนไลน์ คือทำที่ไหนและเวลาใดก็ได้ แต่การออกแบบมาตรการคุ้มครองความปลอดภัยบางครั้งไม่สอดคล้องกับเป้าหมายดังกล่าว เช่น ต้องส่ง SMS ยืนยันตัวบุคคล ซึ่งจะทำไม่ได้หากไม่มีสัญญาณโทรศัพท์มือถือ

อย่างไรก็ตาม ในการเลือกใช้บริการที่มีความสะดวกสบายมากขึ้น ผู้ใช้ก็ต้องยิ่งเพิ่มความระมัดระวังในการใช้งาน เพราะเราไม่สามารถทราบได้เลยว่า พวกมิจฉาชีพจะหาวิธีการใดมาหลอกลวง หรือดึงข้อมูลไปใช้ในทางที่ไม่ดี จนก่อให้เกิดความเสียหายต่อทรัพย์ของเราได้ ด้วยความปรารถนาดีจากพวกเราชาว เช็คราคา.คอมนะคะ 
ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.facebook.com/SustainableBankingThailand
แท็กที่เกี่ยวข้อง e-banking
Money Guru
เขียนโดย เช็คราคา.คอม Money Guru

พูดคุยกับกูรูได้ที่



เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)