จะรู้ได้ยังไงว่า...หนี้ที่เรามีอยู่นั้น เป็น "หนี้ดี" หรือ "หนี้ไม่ดี"

icon 19 พ.ค. 60 icon 7,327
จะรู้ได้ยังไงว่า...หนี้ที่เรามีอยู่นั้น เป็น "หนี้ดี" หรือ "หนี้ไม่ดี"

จะรู้ได้ยังไงว่า...หนี้ที่เรามีอยู่นั้น เป็น "หนี้ดี" หรือ "หนี้ไม่ดี"

"หนี้" ไม่ใช่เรื่องแย่ หรือดูร้ายแรงทั้งหมด แต่ "หนี้" ก็ยังมีมุมของความดีอยู่เหมือนกัน แค่เราทำความรู้จัก และเข้าใจการเป็นหนี้ให้ถูกวิธี ความดีของหนี้ก็จะทำให้เราเป็นเศรษฐีได้ ดังนั้น เรามาดูกันว่า จะรู้ได้ยังไงว่าหนี้ที่เรามีอยู่นั้นเป็นหนี้ดี หรือหนี้ไม่ดี ที่นี่มีคำตอบ...โดยเราจะแยกตามวัตถุประสงค์ของการก่อหนี้ และผลลัพธ์ที่เกิดจากการก่อหนี้ นะคะ

"หนี้ดี" หรือ "หนี้ไม่ดี"

คำตอบง่ายๆ หมั่นท่องจำไว้ว่า...สิ่งที่จะเรียกว่าเป็น "หนี้ดี" ได้นั้น จะต้องทำให้เรามั่งคั่งขึ้น คือ มีรายได้หรือทรัพย์สินเพิ่มขึ้น และที่สำคัญต้องไม่กระทบต่อสภาพคล่องในการดำรงชีวิตประจำวัน แต่ถ้าไม่มีเรื่องความมั่งคั่งหรือสภาพคล่องข้อใดข้อหนึ่งไปจะถือว่าหนี้นั้นเป็น "หนี้ไม่ดี" ทันที
ตัวอย่างเช่น นายเอกกู้เงินซื้อบ้านเพื่ออยู่อาศัย 1 หลัง แม้ว่านายเอกจะต้องจ่ายค่าผ่อนบ้านเป็นประจำทุกเดือน แต่นายเอกก็มีความมั่งคั่งเพิ่มขึ้นจากการค่อยๆ สะสมความเป็นเจ้าของ (เงินต้นที่ไปหักหนี้ออกทุกเดือน) รวมไปถึงมูลค่าบ้าน และที่ดินที่สูงขึ้นตามเวลา อย่างนี้ถือว่าการซื้อบ้านสามารถสร้างความมั่งคั่งให้กับนายเอกได้
คำถามต่อมาจึงอยู่ที่ว่า...จำนวนเงินผ่อนรายเดือน ทำให้นายเอกมีปัญหาสภาพคล่องหรือไม่? ถ้าซื้อบ้านแล้วไม่มีปัญหาสภาพคล่อง ก็จะถือว่าบ้านหลังนี้เป็นหนี้ดี แต่ถ้าผ่อนบ้านแล้วทำให้เงินไม่พอใช้ อย่างนี้ก็ถือว่าเป็น "หนี้ไม่ดี"
หรือหาก น.ส.บีม กู้เงินมาเรียนต่อปริญญาโท ด้วยเหตุที่ว่าการศึกษาต่อทำให้คนเรามีวิชาความรู้เพิ่มขึ้น และมีแนวโน้มที่จะทำให้มั่งคั่งได้ในอนาคต ดังนั้น การจะพิจารณาว่าการกู้ยืมเพื่อการศึกษาสร้างหนี้ดีหรือไม่ดีนั้น ก็ให้ดูที่ความสามารถในการผ่อนชำระคืนเช่นกัน
ในส่วนของการกู้เงินซื้อรถยนต์ หากพิจารณาจากเกณฑ์ความมั่งคั่งจะพบว่า การซื้อรถยนต์นั้นจัดเป็นหนี้ไม่ดีทันที เพราะภายหลังจากเราถอยรถออกจากโชว์รูมหรือเต้นท์ ไม่มีทางเลยที่มูลค่ารถยนต์ของเราจะเพิ่มขึ้น มีแต่จะเสื่อมลงเรื่อยๆ
แต่สำหรับกรณีของรถยนต์นั้น อาจต้องพิจารณาให้ลึกซึ้งขึ้นอีกนิด เพราะแม้ว่ามูลค่าของรถจะไม่มีทางเพิ่มขึ้น แต่หากการซื้อรถทำให้ค่าใช้จ่ายในการเดินทางของเราลดลง (ค่าใช้จ่ายในการผ่อนชำระ ค่าน้ำมัน และค่าดูแลรักษา น้อยกว่าค่าเดินทางที่ต้องจ่ายอยู่เดิม) หรือหากการมีรถยนต์ทำให้เราสามารถรับงานพิเศษที่สร้างรายได้ให้มากขึ้นได้ เพียงพอที่จะจัดการกับค่าใช้จ่าย และทำให้มีเงินเหลือออมมากขึ้น อย่างนี้การซื้อรถยนต์ก็สามารถสร้างความมั่งคั่งให้เราได้เช่นกัน
จะเห็นว่าแนวคิดเรื่อง "หนี้ดี" และ "หนี้ไม่ดี" ค่อนข้างต้องอาศัยการไตร่ตรองที่ลึกซึ้งมากกว่าที่จะใช้เกณฑ์ใดๆ ตัดสินตายตัว เพราะท้ายที่สุดแล้ว... เชื่อว่าคงไม่มีคำตอบที่ถูกต้องที่สุดสำหรับปัญหาทางการเงิน มีเพียงคำตอบที่เฉพาะเจาะจงสำหรับแต่ละบุคคลเท่านั้น สำคัญที่สุดก็คือ เราต้องสามารถพินิจพิเคราะห์โจทย์ปัญหาทางการเงินของเราได้เอง และแก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณ นั่นต่างหากคือหนทางที่จะทำให้เราอยู่รอดปลอดภัยจากปัญหาทางการเงินได้
ทางที่ดี... ถ้ายังไม่เป็นหนี้ ก็อย่าพยายามสร้างหนี้ แต่เมื่อหลวมตัวเป็นหนี้ไปแล้ว ก็พยายามควบคุมหนี้ทุกประเภทอย่าให้เกิน 50% ของรายได้ อย่าลืมว่าในแต่ละเดือนคุณยังต้องกินต้องใช้ หากสร้างหนี้กองพะเนินเอาไว้ แล้วคุณจะเอาเงินที่ไหนใช้จ่ายเพื่อดำรงชีวิต
โดยสรุป "การมีหนี้" ไม่ใช่ปัญหาหรืออุปสรรคที่ทำให้คนเราไม่ร่ำรวย เพราะในโลกนี้มีทั้งหนี้ที่สร้างสรรค์คุณภาพชีวิต ไม่เป็นพิษเป็นภัยกับสุขภาพทางการเงิน (หนี้ดี) และหนี้ที่ไม่สร้างสรรค์ แถมบั่นทอนสุขภาพทางการเงิน (หนี้ไม่ดี) แต่ปัญหาอยู่ที่ว่า... เราเลือกสร้างหนี้ประเภทไหนให้กับชีวิตของเราต่างหาก
ขอขอบคุณข้อมูลทั้งหมดจาก www.set.or.th
แท็กที่เกี่ยวข้อง หนี้ดี ภาระหนี้ หนี้ไม่ดี
Money Guru
เขียนโดย เช็คราคา.คอม Money Guru

พูดคุยกับกูรูได้ที่




เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)