เกษียณสุขใจ เตรียมตัวอย่างไรดี?

icon 26 เม.ย. 61 icon 8,376
เกษียณสุขใจ เตรียมตัวอย่างไรดี?

เกษียณสุขใจ เตรียมตัวอย่างไรดี?

เมื่อว่ากันถึงเรื่องเกษียณ ก็คงต้องนึกถึงคนที่มีอายุตั้งแต่ 55 - 60 ปีขึ้นไป แล้วคนวัยนี้ทำยังไงถึงจะเกษียณอย่างมีความสุขได้น๊าาา...ตามธรรมดาที่เมื่อเกษียณอายุแล้ว รายได้ที่เคยได้รับจากการทำงานก็ต้องหดหายไปด้วย ฉะนั้นผู้ที่จะเข้าสู่วัยเกษียณควรต้องมีการเตรียมตัวมาเรื่อยๆ ตั้งแต่อยู่ในวัยทำงาน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการวางแผนการออม วางแผนเรื่องค่าใช้จ่ายต่างๆที่จะเกิดขึ้นหลังเกษียณ ไม่ว่าจะเป็นค่ากิน ค่าอยู่ หรือแม้แต่ค่ารักษาพยาบาล เราลองมาดูข้อควรทำ และข้อควรหลีกเลี่ยง เพื่อให้เราเกษียณอย่างสุขใจกันนะคะ^^

ข้อควรทำ


1. เคลียร์หนี้สินก่อน แนะนำให้ปลดหนี้ที่มีอยู่ให้หมดโดยเร็วก่อนที่จะเกษียณอายุ โดยนำเงินที่เหลือจากการใช้จ่ายในแต่ละเดือน หรือนำเงินก้อนที่ได้รับจากการทำงานมาจ่ายชำระหนี้สิน
2. สำรวจเงินก้อนว่ามีเท่าไหร่ ไม่ว่าจะเงินฝาก เงินออมในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เงินจากกองทุนประกันสังคม เงินจากกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กรณีข้าราชการ) หรือแม้แต่เงินชดเชยที่ได้รับเมื่อออกจากงาน หลายท่านอาจมีการออมด้วยตนเองอีกส่วนหนึ่งในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ หรือกรมธรรม์ประกันชีวิต
สิ่งสำคัญก็คือ ต้องไม่ลืมตรวจสอบสิทธิประโยชน์ของคุณ เช่น เราสามารถคงเงินไว้ในกองทุนดังกล่าวต่อไปได้อีกหรือไม่ หรือสามารถเลือกทยอยรับเงินเป็นรายงวดแทนได้หรือไม่ การคงเงินและการรับเงินเป็นงวดขึ้นอยู่กับกฎเกณฑ์ข้อบังคับกองทุน ซึ่งแต่ละกองทุนแต่ละบริษัทจะแตกต่างกันไป
3. ควบคุมการใช้จ่ายเงิน  ควรวางแผนใช้จ่ายในแต่ละเดือนว่าจะใช้จ่ายเท่าไหร่ และควบคุมให้เป็นไปตามนั้น ไม่ควรใช้จ่ายเกินตัว วิธีควบคุมรายจ่ายคือจดบันทึกรับจ่ายรายวัน เพราะนอกจากควบคุมตัวเลขแล้ว ยังฝึกสมองให้ได้คิด ได้จดจำเป็นการป้องกันโรคอัลไซเมอร์ได้อีกทางหนึ่งด้วย
4. กระจายเงินลงทุนให้ถูกที่  หากเงินเก็บของเรามีมากพอใช้จ่ายได้ไม่ขาดมือ และคุณรับความเสี่ยงจากการลงทุนได้ แนะนำว่า อาจจัดสรรเงินลงทุนในพอร์ตลงทุน เช่น ลงทุนในตราสารหนี้ระยะสั้นและเงินฝาก 25 - 30% หุ้นกู้และพันธบัตร 50-60% หุ้นไทย 15% ทองคำ 5% เป็นต้น ไม่ควรลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยง เช่น หุ้น ทองคำ น้ำมัน
5. ถอนอย่างไรให้สะดวก แนะนำให้ถอนหน่วยลงทุนออกจากกองทุนรวมตลาดเงินเข้าบัญชีเงินฝากออมทรัพย์เป็นรายเดือนโดยอัตโนมัติ เพื่อลดภาระในการขายคืนหน่วยลงทุนด้วยตนเองทุกเดือน ทั้งนี้ควรตั้งเป้าหมายรายจ่ายต่อเดือนให้ได้ก่อนว่าต้องการใช้เงินจำนวนเท่าไร แล้วขายหน่วยลงทุนตามจำนวนดังกล่าว
6. ซื้อความคุ้มครองโรคร้ายแรง และอุบัติเหตุ ค่าใช้จ่ายสำคัญที่อาจทำให้เงินคุณหมดลงคือค่ารักษาพยาบาล โดยเฉพาะผู้สูงวัยที่อาจเกิดเหตุการณ์หกล้ม กระดูกแตกหัก หรืออุบัติเหตุจากการเดินทางได้ง่าย การมีประกันอุบัติเหตุ หรือโรคร้ายแรงจะช่วย Save เงินในกระเป๋าสตางค์ และช่วยลดภาระทางการเงินหากเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝัน
7. ตรวจสุขภาพการเงินทุกปี นอกจากสุขภาพร่างกายที่คุณให้ความสำคัญแล้ว สุขภาพการเงินก็มีความสำคัญไม่แพ้กัน การพบผู้เชี่ยวชาญทางการเงินทุกปีเพื่อตรวจสอบ ติดตามแผนการเงินประจำปี จะช่วยให้คุณคลายความกังวล กรณีที่มีข้อสงสัยจะได้ซักถาม และขอคำปรึกษาได้อย่างจริงจังและเป็นส่วนตัว
8. อาชีพเสริมเพิ่มรายได้ อาชีพเสริมเป็นอีกหนึ่งกิจกรรมที่ทำให้สนุกและสร้างรายได้  เราอาจเลือกเป็นที่ปรึกษา อาจารย์ หรือทำขนม อาหารแล้วแต่ความถนัด ซึ่งจะช่วยเพิ่มรายได้ได้ทางหนึ่งอีกด้วย

ข้อควรหลีกเลี่ยง


1. การไม่ได้วางแผน หลายคนประสบความสำเร็จในการวางแผนว่าจะทำโน่น ทำนี่ ทำนั่น  แต่กลับล้มเหลว ในการวางแผนการเงินเพื่อเกษียณอายุ ทั้งที่เรื่องนี้เป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งในชีวิต
2. การหวังพึ่งเงินบำนาญ เงินสำรองเลี้ยงชีพ หรือเงินทดแทนสำหรับพนักงานเพียงอย่างเดียว เนื่องจากเงินเก็บเหล่านี้จะไม่เพียงพอ สำหรับในเวลาเกษียณ ดังนั้นเราจึงควรจะมองหาวิธีการหรือช่องทางการออมเงินแบบอื่นๆ ควบคู่กันไปด้วย
3. การลังเลที่จะเริ่มโปรแกรมการเก็บออมเงิน เพราะ "เวลา" เป็นได้ทั้งศัตรูและมิตร ถ้าเริ่มเก็บเงินสำหรับการเกษียณตั้งแต่เนิ่นๆ จะทำให้คุณมีเวลาใช้เงินทำงานกับคุณได้มากขึ้น จากพลังแห่ง "ดอกเบี้ยทบต้น"
4. ความหลากหลายของสินทรัพย์ลงทุนเพื่อการเกษียณ เพราะจำเป็นต่อการลดความเสี่ยง  และช่วยรักษา มูลค่าของทรัพย์สินของคุณ สิ่งที่ต้องจำไว้คือจงจัดกลุ่มสินทรัพย์ลงทุนของตนเองให้ดี เพื่อไปถึงเป้าหมายที่ตั้งใจไว้
5. อย่าละเลยความสำคัญของอัตราเงินเฟ้อที่จะทลายอำนาจการซื้อของคุณ  เพราะเป็นศัตรูตัวฉกาจของคนที่มีรายได้คงที่  เช่น ผู้เกษียณอายุ แม้ว่าขณะนี้ประเทศไทยจะยังไม่เคย พบกับปรากฎการณ์ร้ายแรงของอัตราเงินเฟ้อบ่อยครั้งนัก แต่ผู้ทำประกันเองก็ไม่ควรจะละเลยจุดนี้ และเตรียมรับมือไว้ล่วงหน้าจะดีกว่า

เมื่อเรามีการเตรียมความพร้อมสำหรับวัยเกษียณอย่างถูกวิธีแล้ว รับรองได้เลยนะคะว่า คุณภาพชีวิตในบั้นปลายเราจะมีความสุขอย่างแน่นอนค่ะ ไว้พบกันใหม่บทความหน้านะคะ
แท็กที่เกี่ยวข้อง วัยเกษียณ เกษียณ เตรียมตัวก่อนเกษียณ เกษียณสุขใจ
Money Guru
เขียนโดย เช็คราคา.คอม Money Guru

พูดคุยกับกูรูได้ที่



เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)