"กฎหมายค้ำประกัน" เรื่องจริงใกล้ตัว...ที่ต้องรู้

icon 24 มี.ค. 59 icon 75,727
"กฎหมายค้ำประกัน" เรื่องจริงใกล้ตัว...ที่ต้องรู้

"กฎหมายค้ำประกัน" เรื่องจริงใกล้ตัว...ที่ต้องรู้

"การค้ำประกัน" คือ สัญญาซึ่งบุคคลหนึ่งเรียกว่า "ผู้ค้ำประกัน" สัญญาว่าจะชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ ถ้าหากลูกหนี้ไม่ยอมชำระหนี้ หนี้ที่ค้ำประกันนี้จะเป็นหนี้อะไรก็ได้ทั้งสิ้น เช่น หนี้เงินกู้, หนี้ค่าสินค้า, หนี้การก่อสร้าง เป็นต้น ข่าวสารในปัจจุบันทำให้เรารู้และเข้าใจความร้ายกาจของ "การค้ำประกัน"  มากขึ้น และดูเหมือนว่าจะรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ ด้วย
วันนี้ เรามาดู "กฎหมายค้ำประกัน" กันนะคะว่า เรามีทางจะหลีกเลี่ยง หรือทันกับปัญหาที่เกิดจากการ "ค้ำประกัน" อย่างไรได้บ้าง มาเริ่มด้วยมาตราต่างๆ ในกฎหมายค้ำประกันในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ กันได้เลยค่ะ

กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๖๘๐

"อันว่าค้ำประกันนั้น คือสัญญาซึ่งบุคคลภายนอกคนหนึ่ง เรียกว่า ผู้ค้ำประกัน ผูกพันตนต่อเจ้าหนี้คนหนึ่ง เพื่อชำระหนี้ในเมื่อลูกหนี้ไม่ชำระหนี้นั้น

อนึ่ง สัญญาค้ำประกันนั้น ถ้ามิได้มีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ค้ำประกันเป็นสำคัญ ท่านว่าจะฟ้องร้องให้บังคับคดีหาได้ไม่"
การเข้าค้ำประกันนั้น จะมีทั้งที่เป็นการค้ำประกันโดยบุคคลหลายคน เข้าทำสัญญาค้ำประกันผูกพันตนต่อเจ้าหนี้ และกรณีบุคคลคนเดียวเข้าค้ำประกัน
การเข้าค้ำประกันด้วยคนหลายคน ผู้ค้ำประกันจะมีลักษณะเป็นลูกหนี้ร่วมกัน นั่นหมายความว่า เจ้าหนี้จะบังคับให้ผู้ค้ำประกันคนใดคนหนึ่งใช้หนี้แทนจนหมดสิ้น หรือให้เฉลี่ยกัน หรือบังคับที่ใคร มากน้อยอย่างไรก็ได้

ดังที่ บัญญัติไว้ใน มาตรา ๖๘๒ วรรคสองว่า

"ถ้าบุคคลหลายคนยอมตนเข้าเป็นผู้ค้ำประกันในหนี้รายเดียวกัน ท่านว่าผู้ค้ำประกันเหล่านั้น มีความรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมกัน แม้ถึงว่าจะมิได้เข้ารับค้ำประกันรวมกัน"
แต่ถ้าเป็นการค้ำประกันด้วยคนๆ เดียว การเขียนในข้อสัญญาว่าให้ผู้ค้ำประกันมีความรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมด้วยนั้น ข้อสัญญานี้จะเป็นโมฆะ ตามที่มีการแก้ไขกฎหมาย และมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ ๑๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๘ เป็นต้นมา

ซึ่งอยู่ในมาตรา ๖๘๑/๑ ที่แก้ไขใหม่ ดังนี้

"มาตรา ๖๘๑/๑ ข้อตกลงใดที่กำหนดให้ผู้ค้ำประกันต้องรับผิดอย่างเดียวกับลูกหนี้ร่วมหรือในฐานะเป็นลูกหนี้ร่วม ข้อตกลงนั้นเป็นโมฆะ"
ทั้งนี้ หมายความว่า สัญญาค้ำประกันยังคงผูกพันอยู่ และผู้ค้ำประกันมีสิทธิเกี่ยงขอให้เจ้าหนี้เรียกให้ลูกหนี้ชำระหนี้ก่อน หรือขอให้บังคับเอากับทรัพย์สินของลูกหนี้ก่อน หรือร้องขอให้ชำระเอาจากหลักประกันที่เจ้าหนี้ยึดถือเป็นประกันไว้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๖๘๘, มาตรา ๖๘๙, มาตรา ๖๙๐ ได้
รู้แบบนี้แล้ว เพื่อนๆ คงจะตัดสินใจได้แล้วนะคะว่า เราควรจะไปค้ำประกันให้คนอื่นหรือไม่ จำไว้เสมอว่า จะช่วยใคร...ก็อย่าทำให้ตัวเองเดือดร้อน ไม่เช่นนั้นเราอาจจะหมดตัวหรือล้มละลายได้นะคะ
ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้จาก www.matichon.co.th วันที่ 18 ก.พ. 59
แท็กที่เกี่ยวข้อง
Money Guru
เขียนโดย เช็คราคา.คอม Money Guru

พูดคุยกับกูรูได้ที่




เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)