ระวัง!! 6 หลุมพราง เงินเก็บเกษียณหมดกลางทาง

icon 18 ก.พ. 59 icon 26,297
ระวัง!! 6 หลุมพราง เงินเก็บเกษียณหมดกลางทาง

ระวัง!! 6 หลุมพราง เงินเก็บเกษียณหมดกลางทาง

ใครที่กำลังวางแผนเก็บเงินไว้ใช้หลังเกษียณ อย่าเพิ่งวางใจว่าทุกอย่างจะเป็นไปตามที่เราวางแผนนะคะ เพราะเหตุไม่คาดคิดอาจเกิดขึ้นได้เสมอ ซึ่งเหตุนั้นอาจทำให้เงินเก็บเกษียณของเราหมดลงกลางทางได้ แล้วอะไรที่จะทำให้เราเงินหมดกลางทาง และจะมีวิธีระวังตัวอย่างไร? วันนี้เรามีคำตอบค่ะ

1. การคำนวณเงินผิดพลาด

ไม่ว่าจะเป็นการออมเงิน หรือการคิดค่าใช้จ่ายต่อเดือนหลังเกษียณผิดพลาดซึ่งเกิดจากความไม่รอบคอบ คิดว่าจำนวนเงินที่ได้เตรียมเอาไว้พอ แต่เมื่อถึงช่วงวัยเกษียณแล้วเงินอาจจะหมดก่อนช่วงระยะเวลาที่คาดไว้ เช่น บางคนเกษียณตอนอายุ 60 และคาดว่าจะใช้ชีวิตประมาณ 20 ปี ก็เตรียมตัวสำหรับ 20 ปี แต่ไม่ได้คำนึงถึงกรรมพันธุ์ที่มีผลของการมีชีวิตที่ยืนยาวกว่านั้น อาจจะมีอายุถึง 90 - 100 ปีก็ได้ จำนวนเงินที่เตรียมไว้ย่อมไม่พอ

2. ค่ารักษาพยาบาลที่แพงกว่าที่คาดคิด

ซึ่งก็ต้องให้การประกันสุขภาพเข้ามาช่วยดูแลได้แต่ประกันสุขภาพไม่คุ้มครองครอบคลุมทุกอย่าง การใช้ชีวิตส่วนบุคคลจึงต้องดูแลรักษาสุขภาพให้ดีที่สุด ไม่ว่าจะเป็นการใช้ชีวิต การรับประทานหรือสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัย

3. การใช้มากกว่าที่ตั้งใจ

หรือใช้แบบไม่มีวินัย เช่น กำหนดตัวเองว่าจะใช้เงินต่อเดือนในช่วงเกษียณ 30,000 บาท แต่กลับใช้ไปมากกว่าที่ตั้งไว้ ส่งผลให้เงินที่เก็บออมไว้หมดไปก่อนกำหนด

4. การคิดว่าการวางแผนชีวิตในวัยเกษียณเป็นเรื่องไกลตัว

นับเป็นความประมาทในชีวิต ทำให้ไม่ได้มีการเตรียมพร้อมเลยตั้งแต่ช่วงที่ยังทำงาน ซึ่งขณะนี้หลายหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนก็ต่างพยายามรณรงค์ให้คนไทยเห็นความสำคัญในการวางแผนชีวิตในวัยเกษียณมากขึ้น โดยเริ่มตั้งแต่ที่ยังอายุไม่มาก เพื่อที่จะได้มีเวลาในการเตรียมตัวมากขึ้น

5. ลืมคิดเงินเฟ้อ

เพราะค่าของเงินที่ประเมินไว้ว่าจะเพียงพอในระยะเวลาอีก 20 - 30 ปีข้างหน้าค่าเงินอาจจะเปลี่ยนไป

6. การลงทุนหลังเกษียณ

ซึ่งเป็นทั้งความเสี่ยงและการหารายได้เพิ่ม เพราะสิ่งที่ไม่คาดคิดสามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา แผนที่เตรียมการไว้ตั้งแต่ช่วงก่อนเกษียณนั้นอาจจะได้รับผลกระทบได้ เช่น การเกิดปัญหาเงินเฟ้อรุนแรง หรือมีเหตุการณ์ที่จำเป็นต้องใช้เงินจำนวนมาก การลงทุนเพิ่มในช่องทางการเงินช่วยทำให้มีรายได้เพิ่มขึ้น แต่ต้องไม่ลืมความเสี่ยงที่อาจตามมาด้วย บางครั้งก็ไม่จำเป็นต้องลงทุนเกินความจำเป็น สำรวจตัวเองว่าสามารถรับความเสี่ยงได้แค่ไหน
แท็กที่เกี่ยวข้อง
Money Guru
เขียนโดย เช็คราคา.คอม Money Guru

พูดคุยกับกูรูได้ที่



เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)