รู้ทันกลโกง "ธนาคารออนไลน์" 13 ข้อควรทำ และไม่ควรทำ

icon 20 ก.ค. 58 icon 15,823
รู้ทันกลโกง "ธนาคารออนไลน์" 13 ข้อควรทำ และไม่ควรทำ

รู้ทันกลโกง "ธนาคารออนไลน์" 13 ข้อควรทำ และไม่ควรทำ

ความทันสมัยของเทคโนโลยีในโลกดิจิตอลปัจจุบัน ทำให้คนยุคอดีตต้องร้อง "WoW" อย่างแน่นอน (คนที่อยู่ในยุคคาบเกี่ยวทั้ง 2 ยุค ก็ตื่นเต้นไม่แพ้กัน) เพราะทำให้การใช้ชีวิตประจำวันของคนเราง่ายขึ้น สะดวก รวดเร็ว ไม่เว้นแม้แต่การทำธุรกรรมทางการเงิน จะเห็นได้จากบริการ "ธนาคารออนไลน์" ของแต่ละธนาคารที่เปิดให้บริการแทบจะทุกแห่ง โดยมีทั้งแบบ Internet Banking และ App Mobile Banking สามารถใช้โอนเงิน ซื้อของ หรือทำธุรกรรมอื่นๆ ได้โดยไม่ต้องเดินทางไปธนาคารเหมือนเมื่อก่อน แต่ในความสะดวกสบายเหล่านี้ ก็เป็นช่องโหว่ให้แก่เหล่ามิจฉาชีพในการหากลโกงมาทำให้เราเดือดร้อนได้เช่นกัน 
มิจฉาชีพกับกลโกงที่เกิดขึ้นในปัจจุบันถือได้ว่า "ขั้นเทพ" เพราะไม่ว่าจะมีการป้องกันกลโกงจากระบบออนไลน์ที่แต่ละธนาคารจัดทำขึ้นดีเพียงใด เทพแห่งมิจฉาชีพเหล่านี้ก็มีความสามารถที่จะพยายามแทรกหาช่องโหว่จนได้ ด้วยการติดตั้งมัลแวร์ (Malware) ในคอมพิวเตอร์ หรือสมาร์ทโฟน เพื่อปลอมแปลงอีเมลหรือสร้างเว็บไซต์ใหม่ เพื่อขอรหัสผู้ใช้งาน (Username) และรหัสผ่าน (Password) ใช้เข้าบัญชีจากธนาคารออนไลน์ของผู้ตกเป็นเหยื่อ ดังนั้น เราจะทำอย่างไร? เพื่อไม่ให้ตกเป็นเหยื่อกับกลโกงของมิจฉาชีพเหล่านี้ มาดูวิธีที่จะช่วยป้องกัน และข้อควรระวังในการใช้งานธนาคารออนไลน์ให้ปลอดภัยกันค่ะ
13 วิธีป้องกันกลโกงธนาคารออนไลน์
Do Don't
  • ก่อนเข้าใช้ธนาคารออนไลน์ จะต้องมั่นใจหรือตรวจสอบให้แน่ใจว่าอุปกรณ์ที่ใช้นั้นไม่มีมัลแวร์ (Malware) แฝงอยู่ 

  • ติดตั้งโปรแกรมป้องกันไวรัสที่ถูกกฎหมาย พร้อมตรวจสอบและอัปเดตโปรแกรมอยู่เสมอ 

  • ตรวจสอบรายการเคลื่อนไหวในบัญชี และการเข้าใช้ระบบธนาคารออนไลน์อยู่เสมอว่าเป็นรายการที่ได้ทำไว้หรือไม่
 
  • ควร "ออกจากระบบ" (Logout) ทุกครั้งเมื่อไม่ใช้งาน 

  • จำกัดวงเงินในการทำธุรกรรมผ่านธนาคารออนไลน์ เพื่อลดความเสี่ยงในกรณีถูกมิจฉาชีพขโมยรหัสผ่าน
 
  • หากเจอหรือคลิกลิงก์ต้องสงสัย ให้รีบติดต่อเจ้าหน้าที่ธนาคารหรือฝ่ายบริการลูกค้าของธนาคารทันที และขอคำปรึกษาเกี่ยวกับการใช้งานที่ปลอดภัย
 
  • ติดตามข่าวสารกลโกงธนาคารออนไลน์เป็นประจำ เพื่อรู้เท่าทันเล่ห์เหลี่ยมกลโกง 
  • ไม่ควรใช้รหัสผ่าน (Password) ที่ง่ายต่อการคาดเดา เช่น 123456 หรือ วัน/เดือน/ปี เกิด
 
  • ไม่เก็บเอกสารหรือข้อมูลสำคัญไว้ในสมาร์ทโฟนหรือแท็บเล็ต เช่น เลขที่บัตรประชาชน เลขที่บัญชีเงินฝาก
 
  • ไม่ติดตั้งหรือดาวน์โหลดโปรแกรมแปลกๆ หรือโปรแกรมที่ไม่ถูกกฎหมาย เพราะอาจเป็นช่องทางให้มัลแวร์เข้ามาในคอมพิวเตอร์ สมาร์ทโฟน หรือแท็บเล็ตได้
 
  • ไม่ใช้ลิงก์เชื่อมโยงที่มากับอีเมล หรือในเว็บไซต์ต่างๆ เพื่อเข้าสู่ระบบธนาคารออนไลน์ แต่ควรพิมพ์ URL ด้วยตัวเอง 

  • ไม่ทำธุรกรรมการเงินผ่านอินเทอร์เน็ตสาธารณะ แต่หากจำเป็นให้เปลี่ยนรหัสผ่านหลังจากใช้งานทันที
 
  • ธนาคารไม่มีนโยบายส่ง SMS หรือ e-mail เพื่อให้ดาวน์โหลด ติดตั้งโปรแกรมหรือเข้าสู่ระบบธนาคารออนไลน์ 
 

หากตกเป็นเหยื่อ ... ต้องทำอย่างไร?

  • หากพบเว็บไซต์ปลอมของธนาคาร ให้รีบแจ้งสถาบันการเงินนั้นๆ ทันที
  • หากได้รับข้อความหรือคลิกลิงก์เพื่อดาวน์โหลดโปรแกรมต้องสงสัยหรือให้ข้อมูลในเว็บไซต์ปลอมไปแล้ว ให้รีบติดต่อเจ้าหน้าที่ธนาคารทันที
  • หากได้รับรหัสผ่านชั่วคราวโดยที่ไม่ได้ส่งคำสั่งโอนเงิน ให้แจ้งเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นแก่เจ้าหน้าที่ธนาคารหรือฝ่ายบริการลูกค้าของธนาคารทันที และขอคำปรึกษาเกี่ยวกับการใช้งานที่ปลอดภัย

ถึงแม้ว่า จะมีวิธีป้องกันกลโกงจากมิจฉาชีพที่มากับบริการ "ธนาคารออนไลน์" ดีแค่ไหน ทุกวันนี้เราก็ยังได้ยินข่าวเกี่ยวกับการถูกหลอกให้โอนเงิน หรือเงินในบัญชีถูกโอนหายไปอยู่ดี เพราะมิจฉาชีพเหล่านี้จะเปลี่ยนวิธีการโกงอยู่เสมอ และเมื่อโดนโอนเงินออกจากบัญชีแล้ว ส่วนใหญ่เจ้าของบัญชีจะไม่ได้เงินคืน เนื่องจากบัญชีเหล่านั้นเกิดจากการจ้างคนทั่วไปให้เปิดบัญชี จึงทำให้เมื่อจับเจ้าของบัญชีได้ ก็จะปฏิเสธว่า "ไม่รู้ ไม่เห็น" เช่นเคย จึงยากแก่การเอาเงินที่ถูกโอนไปคืนกลับมา
แท็กที่เกี่ยวข้อง
Money Guru
เขียนโดย เช็คราคา.คอม Money Guru

พูดคุยกับกูรูได้ที่



เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)