ธนาคารแห่งปี 2557 (Bank of the Year 2014)

icon 9 มี.ค. 59 icon 61,313
ธนาคารแห่งปี 2557 (Bank of the Year 2014)

ธนาคารแห่งปี 2557 (Bank of the Year 2014)

เป็นประจำทุกปีที่ "การเงินธนาคาร" ได้จัดอันดับ "ธนาคารแห่งปี" หรือ Bank of the Year เพื่อยกย่องธนาคารที่มีผลประกอบการยอดเยี่ยมและสร้างความโดดเด่นทางธุรกิจ สำหรับการจัดอันดับธนาคารแห่งปี 2557 ในปีนี้ การเงินธนาคาร ใช้ผลประกอบการของธนาคารพาณิชย์ 15 แห่ง ในรอบปี 2556 ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม - 31 ธันวาคม 2556 มาพิจารณาจัดอันดับ
โดยปัจจัยที่ใช้วัดยังคงใช้เกณฑ์ที่เป็นมาตรฐานสากล ซึ่งพิจารณาถึงอัตราส่วนทางการเงินทั้งหมด 12 ด้าน เพื่อวัดประสิทธิภาพของธนาคารในด้านผลการดำเนินงาน (Strong Performance) และด้านคุณภาพของงบดุล (Strong Balance Sheet) ที่แสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพในการบริหารจัดการ ความสามารถในการแข่งขัน ควบคู่ไปกับเสถียรภาพและความมั่นคงของแต่ละธนาคาร
ธนาคารกรุงเทพโชว์ความแข็งแกร่ง คว้าตำแหน่งธนาคารแห่งปี 2557 ธนาคารไทยพาณิชย์นั่งแท่นอันดับ 2 ธนาคารกสิกรไทยครองอันดับ 3 เผยธนาคารพาณิชย์ฝ่าวิกฤติเศรษฐกิจทำกำไรสูงสุดเป็นประวัติการณ์กว่า 2 แสนล้านบาท

อันดับ 1 ธนาคารกรุงเทพ


ธนาคารกรุงเทพโชว์ความแข็งแกร่งคว้าแชมป์ธนาคารแห่งปี 2557 โดยก้าวขึ้นจากอันดับ 2 เมื่อปีที่แล้ว ธนาคารมีกำไรสุทธิ 35,905.56 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 2,884.10 ล้านบาท หรือ 8.73% และมีกำไรสุทธิต่อหุ้นสูงเป็นอันดับ 1 จำนวน 18.81 บาท รวมทั้งมีมูลค่าตามบัญชีต่อหุ้น (Book Value) สูงสุดที่ 155.03 บาท
ในปี 2556 ที่ผ่านมา ธนาคารมีการเติบโตจากลูกค้าทุกกลุ่ม ทั้งลูกค้าธุรกิจรายใหญ่ ลูกค้าธุรกิจรายกลางและรายปลีก ลูกค้าบุคคล และลูกค้าต่างประเทศ เนื่องจากธนาคารมีการติดตามดูแลลูกค้าอย่างใกล้ชิด ทำให้ธนาคารสามารถคาดการณ์ความต้องการด้านต่างๆ ของลูกค้าได้อย่างถูกต้อง และสามารถสนับสนุนลูกค้าในด้านต่างๆ ได้อย่างเหมาะสม ซึ่งในปี 2557 ธนาคารพร้อมที่จะเติบโตเคียงข้างไปกับลูกค้า สมกับปณิธานที่ได้ยึดถือมาโดยตลอด คือ "เพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน"

อันดับ 2 ธนาคารไทยพาณิชย์


ปีนี้ ธนาคารไทยพาณิชย์ ครองอันดับ 2 โดยเสียแชมป์ธนาคารแห่งปีไปด้วยคะแนนทิ้งห่างเพียง 1 คะแนนเท่านั้น โดยในปี 2556 ธนาคารยังคงสามารถสร้างผลกำไรสุทธิสูงสุดเป็นประวัติการณ์และสูงที่สุดในระบบธนาคารพาณิชย์ จำนวน 50,232.79 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 10,012.89 ล้านบาท หรือ 24.90%
สำหรับในปี 2557 ธนาคารมีนโยบายที่จะลดต้นทุนของเงินฝากให้สอดคล้องกับภาวะการแข่งขันในตลาด มุ่งเสริมสร้างการเติบโตของรายได้ค่าธรรมเนียมและรายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ย โดยเฉพาะจากกลุ่มลูกค้าธุรกิจและธุรกิจขนาดใหญ่ และลดการเติบโตของค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานผ่านการควบคุมค่าใช้จ่ายอย่างเคร่งครัด รวมทั้งพัฒนาทักษะของผู้จัดการลูกค้าสัมพันธ์ (Relationship Manager : RM) ในทุกกลุ่มธุรกิจของธนาคารเพื่อสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้า และสร้างธุรกิจการบริหารความมั่งคั่งกับลูกค้าในกลุ่มลูกค้าบุคคล และกลุ่มลูกค้าธุรกิจ

อันดับ 3 ธนาคารกสิกรไทย


ธนาคารกสิกรไทย หล่นจากอันดับ 2 มาครองอันดับ 3 ในปีนี้ โดยมีรายได้รวมสูงเป็นอันดับ 1 ที่ 203,847.68 ล้านบาท และมีกำไรสุทธิสูงเป็นอันดับ 2 ที่ 41,324.81 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 6,065.01 ล้านบาท หรือ 17.20%
ในปี 2557 ธนาคารได้ดำเนินกลยุทธ์เพื่อรองรับความต้องการที่แตกต่างกันในแต่ละกลุ่มลูกค้าเพื่อส่งมอบประสบการณ์ที่ดีให้กับลูกค้าตามแนวคิด "บริการทุกระดับประทับใจ" โดยกลยุทธ์ธุรกิจลูกค้าบรรษัทที่มุ่งเน้นการเสริมสร้างความสามารถในการแข่งขัน ด้วยการให้คำปรึกษาและนำเสนอผลิตภัณฑ์และบริการท้งในด้านการเงินและไม่ใช่การเงินที่ครอบคลุมและเหมาะสมกับวงจรธุรกิจของลูกค้าแต่ละราย
ส่วนกลยุทธ์ธุรกิจลูกค้าผู้ประกอบการ มุ่งเน้นการรักษาความเป็นผู้นำในตลาดเอสเอ็มอีในทุกพื้นที่ที่มีศักยภาพ ผ่านผู้ดูแลความสัมพันธ์ลูกค้าทั้งในด้านการให้คำปรึกษาทางการเงิน การทำธุรกรรมที่สะดวกสบาย การสร้างเครือข่ายธุรกิจที่เข้มแข็งและการเสริมสร้างองค์ความรู้ และ 3 กลยุทธ์ธุรกิจลูกค้าบุคคลที่มุ่งเน้นการเป็นผู้ให้บริการทางการเงินหลักของลูกค้าทั่วประเทศ และมุ่งเน้นการขยายฐานลูกค้าโดยเฉพาะในพื้นที่จังหวัดยุทธศาสตร์ ผ่านการสื่อสารการตลาดที่มีประสิทธิภาพ และเหมาะสมกับลูกค้าในแต่ละท้องถิ่น

อันดับ 4 ธนาคารกรุงไทย


ธนาคารกรุงไทย ยังคงครองอันดับ 4 ติดต่อกันเป็นปีที่ 3 โดยมีกำไรสุทธิ 33,929.27 เพิ่มขึ้น 10,402.25 ล้านบาท หรือ 44.21% ทั้งนี้ ธนาคารได้กำหนดวิสัยทัศน์ใหม่ คือ "กรุงไทย ก้าวไกลไปกับคุณ : Growing Together" โดยมุ่งเน้นเป็นธนาคารที่เติบโตไปพร้อมกับลูกค้า พนักงาน สังคม และผู้ถือหุ้น
สำหรับนโยบายการดำเนินธุรกิจของธนาคารในปี 2557 จะให้ความสำคัญใน 4 ด้านหลักคือ
  1. มุ่งเน้นธุรกิจหลัก โดยจะเน้นการจัดกลุ่มลูกค้า และปรับปรุงรูปแบบการดูแลลูกค้าให้เหมาะสมกับแต่ละกลุ่ม รวมถึงปรับกระบวนการทำงานให้กระชับขึ้น
  2. เพิ่มขีดความสามารถในการทำงาน โดยเสริมศักยภาพในการบริหารความเสี่ยง ตลอดจนปรับปรุงกระบวนการอนุมัติสินเชื่อให้มีควาเหมาะสม รวมถึงวิเคราะห์ความต้องการของลูกค้า เพื่อให้สามารถเสนอผลิตภัณฑ์และบริการที่ตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้ดียิ่งขึ้น
  3. ต่อยอดสู่โอกาสใหม่ทางธุรกิจ โดยมีแผนพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการและดูแลลูกค้าในกลุ่ม Affluent Banking / Wealth Management พร้อมทั้งนำเสนอ Digital Banking และสร้างทีมผลิตภัณฑ์และการตลาดที่แข็งแกร่งด้าน Treasury รวมทั้งขยายธุรกิจใน AEC ผ่านทาง Supply Chain Financing ด้วย
  4. พัฒนากรุงไทยให้เป็นองค์กรที่มุ่งผลสำเร็จของงานเป็นสำคัญ โดยปรับปรุงด้านบุคลากร ทั้งในเรื่องของการวางแผนทรัพยากรบุคคลและกระบวนการสรรหาบุคลากร ปรับปรุงระบบการให้รางวัลและผลตอบแทนที่สะท้อนผลงานในระดับบุคคล จัดทำโครงการพนักงานศักยภาพสูง ทบทวนการกำหนดเส้นทางความก้าวหน้า รวมถึงตัวชี้วัด (KPls) ให้มีความเหมาะสม

อันดับ 5 ธนาคารเกียรตินาคิน


ธนาคารเกียรตินาคิน ก้าวขึ้นมาอยู่ในอันดับ 5 จากอันดับ 6 เมื่อปีที่แล้ว โดยมีกำไรสุทธิ 4,418.19 ล้านบาท 1,026.90 ล้านบาท หรือ 30.28% ซึ่งในส่วนของธุรกิจธนาคาร ในปี 2557 จะมุ่งเน้นการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการให้หลากหลาย การปรับเปลี่ยนรูปแบบของสาขาให้สอดคล้องกับความต้องการของลูกค้า การหาพันธมิตรทางธุรกิจที่จะมาเสริมในเรื่องผลิตภัณฑ์ที่ธนาคารไม่ได้ให้บริการ และพัฒนาธุรกิจใหม่ ได้แก่ สายการตลาดการเงิน สินเชื่อบรรษัท และสินเชื่อลูกค้าประกอบการ
สำหรับธุรกิจตลาดทุน ตั้งเป้าพัฒนาบริการเพื่อเพิ่มความเชื่อมโยงระหว่างผลิตภัณฑ์และบริการของธนาคารและตลาดทุน เช่น ธุรกิจที่ปรึกษาการลงทุนส่วนบุคคล (Private Wealth Management) ที่จะขยายฐานลูกค้าไปยังลูกค้าเงินฝากของธนาคารที่มีเงินลงทุนตั้งแต่ 2-30 ล้านบาท และธุรกิจวานิชธนกิจที่จะทำงานร่วมกับสินเชื่อบรรษัทของธนาคารในการในการสนับสนุนทางด้านเงินกู้ให้กับลูกค้าธุรกิจขนาดใหญ่
อันดับ 6 ธนาคารธนชาต

ธนาคารธนชาต ก้าวกระโดดจากอันดับ 9 เมื่อปีที่แล้วมาอยู่ในอันดับ 6 ในปีนี้ โดยมีกำไรสุทธิ 15,384.89 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 7,164.31 ล้านบาท หรือ 87.15% โดยนโยบายของธนาคารธนชาตในปี 2557 ธนาคารมุ่งมั่นที่จะเติบโตในสินเชื่อเพื่อการพาณิชย์ และสินเชื่อที่ไม่มีหลักประกันควบคู่กับการดำรงสถานะความเป็นผู้นำด้านสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ และพัฒนานโยบายการบริหารจัดการความเสี่ยงที่รัดกุม โดยการนำเทคโนโลยีมาใช้ในกระบวนการสินเชื่อ
พร้อมปรับโครงสร้างเงินฝากให้สอดคล้องกับหลักเกณฑ์การดำรงสินทรัพย์สภาพคล่องเพื่อรองรับความผันผวนในภาวะวิกฤติ ผ่านการนำเสนอนวัตกรรมใหม่ในการออมเงิน ผลิตภัณฑ์กลุ่มประกันภัยและผลิตภัณฑ์การลงทุนในขณะเดียวกันก็จะสร้างการเติบโตในรายได้ค่าธรรมเนียมของธนาคาร ผ่านการนำเสนอผลิตภัณฑ์และบริการทางการเงินแบบครบวงจร โดยการสร้างความสัมพันธ์กับกลุ่มลูกค้าปัจจุบัน เพื่อตอบสนองความต้องการทางการเงินของลูกค้าแต่ละราย
อันดับ 7 ธนาคารทิสโก้

ธนาคารทิสโก้ ขึ้นมาอยู่ในอันดับ 7 จากอันดับ 8 เมื่อปีที่แล้ว โดยมีกำไรสุทธิ 3,123.54 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 18.43% ซึ่งในปี 2557 ธนาคารกำหนดแผนกลยุทธ์นการขยายฐานลูกค้าผ่านช่องทางการจำหน่ายและทีมขาย โดยขยายเครือข่ายไปทั่วทุกภูมิภาคทั่วประเทศ พร้อมสร้างสัมพันธ์อันดีในระยะยาวเพื่อตอบสนองความต้องการที่เฉพาะเจาะจงสำหรับลูกค้าแต่ละราย และพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการเพื่อสร้างโอกาสทางการเงินแก่ลูกค้าทุกกลุ่ม
รวมทั้งมุ่งเน้นการพัฒนาโครงสร้างธุรกิจและช่องทางการดำเนินธุรกิจ เพื่อรองรับปริมาณธุรกรรมและเครือข่ายการบริการที่เพิ่มสูงขึ้น และประสานความร่วมมือ (Synergy) ระหว่างบริษัทในกลุ่มควบคู่ไปกับการสร้างแบรนด์ภายใต้แนวคิด "โอกาส สร้างได้" โดยมุ่งเน้นการเป็นองค์กรแห่งโอกาสที่จะมอบโอกาสแก่สังคม และพัฒนาบุคลากรทั้งประสบการณ์ความรู้และความเชี่ยวชาญทางการเงิน เน้นการปลูกฝังเรื่องการกำกับดูแลกิจการที่ดี และคำนึงถึงความรับผิดชอบต่อสังคม
อันดับ 8 ธนาคารกรุงศรีอยุธยา และธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด (ไทย)

สำหรับอันดับ 8 ในปีนี้ มี 2 ธนาคารครองตำแหน่งร่วมกัน ได้แก่ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา และธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด (ไทย)
ธนาคารกรุงศรีอยุธยา หล่นจากอันดับ 5 มาอยู่อันดับ 8 ในปีนี้ โดยมีกำไรสุทธิ 11,866.65 ล้านบาท ลดลง 2,758.68 ล้านบาท หรือ 18.86% ทั้งนี้ ในช่วงปลายปี 2556 ธนาคารได้เข้าเป็นบริษัทในเครือของ MUFG กลุ่มสถาบันการเงินที่ใหญ่ที่สุดในญี่ปุ่น หลังจากที่ธนาคารแห่งโตเกียว-มิตซูบิชิ ยูเอฟเจ (BTMU) ได้ถือครองหุ้น 72%
ในปี 2557 ธนาคารมุ่งเน้นการดำเนินธุรกิจผ่าน 5 กลยุทธ์หลัก คือ
  1. การขยายฐานธุรกิจลูกค้าขนาดใหญ่และกลุ่มลูกค้า SME ทั้งของไทย ญี่ปุ่น และบริษัทข้ามชาติอื่นๆ ด้วยการใช้ประโยชน์จากเครือข่ายของ MUFG และมุ่งสร้างความแข็งแกร่งและการรับรู้แก่แบรนด์กรุงศรี SME กับลูกค้ากลุ่ม SME 
  2. การคงความเป็นผู้นำในธุรกิจสินเชื่อรายย่อยด้วยการมุ่งเน้นนำเสนอผลิตภัณฑ์และบริการที่เข้าใจง่าย ไม่ซับซ้อน มีประสิทธิภาพ และสามารถตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าได้
  3. การสร้างฐานเงินฝากให้แข็งแกร่งด้วยต้นทุนที่ต่ำลง ด้วยการนำเสนอบริการทางการเงินที่ครบวงจร ครอบคลุมทั้งลูกค้าบุคคลและลูกค้าองค์กร
  4. การสร้างความแข็งแกร่งในกลุ่มลูกค้าที่ไม่สามารถเข้าถึงบริการทางการเงิน เช่น เจ้าของธุรกิจขนาดเล็ก หรือกลุ่มลูกค้าที่มีรายได้น้อย ภายใต้แบรนด์ "ศรีสวัสดิ์ เงินติดล้อ" 
  5. ขยายโอกาสในการทำธุรกิจในกลุ่มประเทศ CLM (กัมพูชา ลาว และพม่า) โดยเตรียมความพร้อมในการเติบโตไปผ่านการสนับสนุนของ BTMU
ส่วนธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด (ไทย) ปีนี้หล่นมาอยู่อันดับ 8 จากอันดับ 7 เมื่อปีที่แล้ว โดยธนาคารมีกำไรสุทธิ 2,950.75 ล้านบาท ลดลง 294.09 ล้านบาท หรือ 9.06% ซึ่งในปี 2557 ธนาคารยังคงยึดหลักการดำเนินที่มุ่งเน้นถึงความต้องการของลูกค้า ทั้งในสายงานบุคคลธนกิจ และสายงานสถาบันธนกิจ โดยเน้นการสร้างความแตกต่างด้วยการนำเสนอผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่ล้ำหน้า การให้บริการที่รวดเร็ว เป็นมิตรและถูกต้อง ตรงกับความต้องการด้านการเงินของลูกค้า
รวมทั้งใช้ความชำนาญในเชิงลึกในผลิตภัณฑ์ต่างๆ ทั้งเครือข่ายที่มีอยู่ทั่วโลกและความเข้าใจในตลาด ภายในประเทศรวมไปถึงระบบเทคโนโลยีที่ทันสมัย และความเชี่ยวชาญในการบริหารความเสี่ยง เพื่อให้ธนาคารมีความพร้อมในการสนองตอบความต้องการของลูกค้าได้อย่างแท้จริง
ขณะเดียวกันก็จะเน้นการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน โดยร่วมมือกับองค์กรที่เป็นที่ยอมรับเพื่อสร้างและดำเนินโครงการเพื่อสังคมเพื่อสร้างผลระยะยาว และยังได้ส่งเสริมให้พนักงานมีส่วนร่วมในโครงการเพื่อสังคมด้วย
อันดับ 10 ธนาคารยูโอบี

สำหรับอันดับ 10 ตกเป็นของธนาคารยูโอบี เช่นเดียวกับปีที่แล้ว ซึ่งจากการคาดการณ์ว่าภาวะเศรษฐกิจโลกจะปรับตัวดีขึ้นในปี 2557 โดยเฉพาะเศรษฐกิจในประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งประเทศไทยน่าจะได้รับประโยชน์จากการลงทุนของภาคเอกชน และภาคอุตสาหกรรมการผลิตที่เพิ่มขึ้น แต่สถานการณ์ความยืดเยื้อทางการเมืองในประเทศจะส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุนและผู้บริโภค ดังนั้น ธนาคารจึงยังคงไว้ซึ่งการบริหารความเสี่ยงที่แข็งแกร่ง และกระบวนการทำงานที่รอบคอบ เพื่อเน้นความยั่งยืนของธุรกิจในระยะยาว ควบคู่ไปกับการเติบโตของธุรกิจ
อันดับ 11 ธนาคารทหารไทย

ธนาคารทหารไทย หรือ ทีเอ็มบี ก้าวขึ้นจากอันดับ 13 มาอยู่อันดับ 11 ในปีนี้ โดยสามารถทำกำไรสุทธิได้เพิ่มขึ้นถึง 4,132.16 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 257.43% เป็น 5,737.34 ล้านบาท โดยธนาคารกำหนดทิศทางการดำเนินงานปี 2557 ว่าจะเป็นธนาคารสำหรับการทำธุรกรรมเพื่อช่วยให้ลูกค้าเชื่อโยงเครือข่ายสังคม และธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีความเข้าใจลูกค้าอย่างลึกซึ้ง ทั้งเฉพาะรายและเครือข่ายของลูกค้า เพื่อให้สามารถออกแบบและนำเสนอผลิตภัณฑ์และบริการที่ทันสมัยและตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้ตรงจุด
รวมทั้งสร้างฐานเงินฝากคุณภาพและบริหารจัดการต้นทุนเงินฝากให้อยู่ในระดับแนวหน้า ควบคู่ไปกับการสร้างความเป็นเลิศด้านธุรกรรมทางการเงิน พร้อมทั้งบริหารจัดการต้นทุนในการบริการและในทุกหน่วยงานของธนาคารอย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนใช้เงินทุนและบริหารสภาพคล่อง โดยมุ่งเน้นที่การวัดอัตราผลตอบแทนจากการลงทุนเมื่อเทียบกับความเสี่ยงให้บรรลุเป้ากำไรเพื่อผู้ถือหุ้น
อันดับ 12 ธนาคารไอซีบีซี (ไทย)

ธนาคารไอซีบีซี (ไทย) ยังคงอยู่ในอันดับ 12 เช่นเดียวกับปีที่แล้ว โดยนโยบายการของธนาคารในปี 2557 มีเป้าหมายหลักในการให้บริการสำหรับธุรกิจภายในประเทศทั้งสินเชื่อรายใหญ่ สินเชื่อ SME ในกลุ่มธุรกิจจีนที่ดำเนินธุรกิจในไทย และกลุ่มธุรกิจไทยที่ไปดำเนินธุรกิจในจีน พร้อมขยายธุรกิจเช่าซื้อไปสู่ตลาดเครื่องจักรและอุปกรณ์ขนาดใหญ่ และรักษาระดับการเติบโตและคุณภาพของธุรกิจเช่าซื้อรถยนต์ไว้เช่นเดิม
สำหรับกลุ่มธุรกิจรายย่อย ธนาคารมุ่งเน้นในการขยายฐานบัตรเครดิตเพิ่มมากขึ้น โดยจะยังคงชูจุดเด่นของการเป็นบัตรเครดิตสองสกุล เงินบาท-หยวน และยังมีแผนที่จะนำเสนอผลิตภัณฑ์และธุรกิจระหว่างประเทศ ได้แก่ กลุ่มลูกค้าธุรกิจนำเข้า-ส่งออก โดยอาศัยจุดแข็งของกลุ่ม ICBC ที่มีเครือข่ายทั่วโลกมาเป็นปัจจัยที่สนับสนุนความสำเร็จในกลุ่มธุรกิจนี้ และมุ่งเน้นเสริมสร้างความแข็งแกร่งในธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับเงินหยวนต่อไปในอนาคต
อันดับ 13 ธนาคารแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์

ธนาคารแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ ปีนี้หล่นมาอยู่ในอันดับ 13 จากอันดับ 11 เมื่อปีที่แล้ว ซึ่งในปี 2557 ธนาคารมุ่งเน้นการลดความเสี่ยงโดยเน้นการขยายสินเชื่อธุรกิจไปฐานลูกค้าธุรกิจรายใหญ่ที่มีฐานะการเงินมั่นคง และระมัดระวังในการปล่อยสินเชื่อในกลุ่มลูกค้าธุรกิจ SME และลูกค้าสินเชื่อรายย่อย พร้อมตั้งเป้าขยายสาขาเพิ่มอีก 21 สาขา ให้เป็น 122 สาขา โดยเน้นการขยายสาขาให้ครอบคลุมพื้นที่มากขึ้น ต่างจังหวัดรอบนอกและตามตะเข็บชายแดนที่เป็นจังหวัดหัวเมืองที่มีศักยภาพ ด้วยรูปแบบสาขาใหม่ " Micro Branch" ซึ่งเป็นการเปิดสาขาใหม่ในพื้นที่พันธมิตร "โฮมโปร"
นอกจากนี้ ยังมุ่งเน้นการลดต้นทุนทางการเงินของเงินฝาก โดยพัฒนาผลิตภัณฑ์ทางการเงินด้านอิเล็กทรอนิกส์เพื่อเพิ่มความสะดวกสบายให้ลูกค้ามากยิ่งขึ้น และแสวงหาลูกค้ากลุ่มใหม่ โดยเพิ่มจำนวนผลิตภัณฑ์และนำเสนอให้ตรงตามความต้องการของลูกค้า พร้อมปรับปรุงกระบวนการเพิ่มความสะดวกรวดเร็ว ทั้งขั้นตอนการพิจารณาอนุมัติการเบิกจ่ายสินเชื่อ รวมถึงการเปิดบัญชีเงินฝากรูปแบบ No-slip การพัฒนาแบบคำขอต่างๆ ด้วย E-form เป็นต้น
อันดับ 14 ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย

ธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย ยังคงอยู่ในอันดับ 14 เช่นเดียวกับปีที่แล้ว โดยในปี 2557 ธนาคารจะยังคงให้ความสำคัญกับลูกค้าทุกกลุ่มทั้งลูกค้ารายย่อย เอสเอ็มอี และรายใหญ่ สำหรับลูกค้ารายย่อย ธนาคารจะนำระบบ และบริการจากกลุ่มซีไอเอ็มบีมาปรับใช้เพื่อนำเสนอบริการใหม่ๆ แก่ลูกค้ารายย่อยของธนาคาร ขณะเดียวกันธนาคารมองว่า คนไทยหันมาให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการการเงินส่วนตัวมากขึ้น ธุรกิจ Wealth Management จะเติบโตได้อีกมาก
ด้านธุรกิจลูกค้ารายกลาง ธนาคารจะจัดเซ็กเมนเทชั่นกลุ่มลูกค้าเพื่อส่งต่อบริการได้ตรงความต้องการลูกค้ามากที่สุด และจะช่วยให้ธนาคารสามารถเข้าไปรุกฐานลูกค้าเอสเอ็มอีขนาดเล็กได้มากขึ้น ส่วนธุรกิจลูกค้ารายใหญ่ธนาคารตั้งเป้าหมายจะเข้าไปมีบทบาทมากขึ้นในการให้บริการลูกค้าธุรกิจขนาดใหญ่และขนาดกลางของไทยกว่า 50 กลุ่ม ที่มีแผนจะออกไปลงทุนในภูมิภาคอาเซียน โดยจะใช้ความได้เปรียบจากการมีเครือข่าย 8 จาก 10 ประเทศในอาเซียน และการมีทีมงานที่เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน
อันดับ 15 ธนาคารไทยเครดิต

อันดับ 15 ยังคงเป็นของธนาคารไทยเครดิต เพื่อรายย่อย ซึ่งในปี 2556 สินเชื่อของธนาคารมีอัตราการเติบโต 12% โดยกลุ่มสินเชื่อเพื่อธุรกิจรายย่อยมีการขยายตัวมากกว่า 6 เท่า หรือเท่ากับ 3,600 ล้านบาท ส่งผลให้ธนาคารสามารถพลิกฟื้นจากการขาดทุนถึง 156.84 ล้านบาท เมื่อปี 2555 มาเป็นมีกำไรสุทธิ 1.80 ล้านบาท
ทั้งนี้ ธนาคารมุ่งหวังที่จะเป็นธนาคารขนาดเล็กที่สุดในประเทศไทย เน้นกลุ่มลูกค้าเป้าหมายที่เป็นผู้ประกอบการรายย่อยและไมโครไฟแนนซ์ ซึ่งในปี 2557 ธนาคารยังคงเดินหน้ามุ่งเน้นธุรกิจกลุ่มสินเชื่อเพื่อรายย่อย ด้วยการขยายช่องทางการขายผ่านสาขาสินเชื่อเพื่อรายย่อยทั่วประเทศ โดยเป็นสาขาที่มุ่งเน้นการให้บริการด้านสินเชื่อเป็นหลัก ต้นทุนต่ำ และตั้งอยู่ในพื้นที่ใกล้กลุ่มเป้าหมาย และถูกออกแบบมาเพื่อการสร้างสัมพันธภาพที่ดีกับลูกค้าและเป็นส่วนหนึ่งของชุมชน
พร้อมทั้งพัฒนาระบบอนุมัติสินเชื่อ ส่วนปฏิบัติการระบบติดตามเร่งรัดหนี้สิน และส่วนงานสนับสนุนเพื่อการเติบโตที่ยั่งยืนและคุณภาพที่ดีของสินเชื่อ เพื่อการเติบโตที่สร้างผลกำไรแบบระยะยาว
แท็กที่เกี่ยวข้อง
Money Guru
เขียนโดย เช็คราคา.คอม Money Guru

พูดคุยกับกูรูได้ที่




เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)