ฐานภาษีใหม่...ไฉไลกว่าเดิม

icon 14 ม.ค. 59 icon 19,246
ฐานภาษีใหม่...ไฉไลกว่าเดิม

ฐานภาษีใหม่...ไฉไลกว่าเดิม
เมื่อพูดถึง "ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา" ผู้มีรายได้ทั้งหลายคงต้องเข้าใจตรงกันว่า การเสียภาษี คือหน้าที่ของผู้มีรายได้ที่จะต้องทำเป็นประจำทุกปี หรือเรียกว่า "เทศกาลการเสียภาษีประจำปี" และในปีนี้เทศกาลนี้ก็กำลังจะเวียนมาอีกรอบ โดยประชาชนทั่วไป ซึ่งรวมถึงพวกเราชาว CheckRaka.com ที่มีรายได้ทุกคน จะต้องทำหน้าที่อย่างพร้อมเพรียงกัน ไม่ว่าจะเต็มใจหรือไม่ก็ตาม พอใกล้สิ้นปีก็จะมีคนจำนวนไม่น้อยที่กระตือรือร้นในการหาวิธีมาลดหย่อนภาษี เช่น การซื้อกองทุน RMF-LTF หรือซื้อประกันชีวิต เป็นต้น เพื่อเป็นการแบ่งเบาภาระในการเสียภาษีให้น้อยที่สุด แต่ในปี พ.ศ. 2556 นี้ ประชาชนผู้มีรายได้ทุกคนได้รับข่าวดีจากรัฐบาล โดย ครม. ไฟเขียว พ.ร.ฎ.ปรับโครงสร้างภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา โดยมีผลบังคับใช้ในปีภาษี 2556 ซึ่งจะใช้ในการคำนวณภาษีและยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีในเดือนมกราคม - มีนาคม 2557 โดยอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่เปลี่ยนแปลงจากเดิม เป็นอัตราภาษีใหม่ ดังนี้
รายได้สุทธิ  จำนวนเงิน อัตราภาษี จำนวนเงินภาษี 
 แบบเก่า แบบใหม่ แบบเก่า แบบใหม่ ลดลง
0 - 150,000 150,000 ยกเว้น ยกเว้น  -  -
150,001 - 300,000 150,000 10%
5% 15,000 7,500 7,500
300,001 - 500,000 200,000 10% 10% 20,000 20,000 -
500,001 - 750,000 250,000 20%  15% 50,000 37,500 12,500
750,001 - 1,000,000 250,000 20% 20% 50,000 50,000  -
1,000,001 - 2,000,000 1,000,000 30%  25%  300,000 250,000 50,000
2,000,001 - 4,000,000 2,000,000 30% 30% 600,000 600,000  -
มากกว่า 4,000,000 - 37% 35% ลดลงตามเงินได้สุทธิ 
จากตารางจะเห็นได้ว่า ช่วงรายได้สุทธิที่ได้ประโยชน์จากการปรับโครงสร้างภาษีครั้งนี้ เพราะเสียภาษีลดลงโดยรวมแล้วมีอยู่ 4 ช่วง ได้แก่
  • รายได้สุทธิในช่วง 150,000 - 300,000 บาท จะเสียภาษีลดลงสูงสุด 7,500 บาท
  • รายได้สุทธิในช่วง 500,001 - 750,000 บาท จะเสียภาษีลดลงสูงสุด 12,500 บาท
  • รายได้สุทธิในช่วง 1,000,001 - 2,000,000 บาท จะเสียภาษีลดลงสูงสุด 50,000 บาท
  • รายได้สุทธิมากกว่า 4,000,000 บาท จะประหยัดภาษีได้เพิ่มขึ้น 2% ของเงินได้สุทธิ (ขึ้นอยู่กับจำนวนของเงินได้)
ตามที่กล่าวมานี้ จะเห็นได้ว่า การลดอัตราภาษี เป็นอีกหนึ่งมาตรการที่ทำให้คนทุกคนได้ประโยชน์ ไม่ว่าจะมากหรือน้อยก็ตาม หลายคนอาจจะดีใจ หรือหลายคนอาจจะเฉยๆ กับการปรับโครงสร้างนี้ ขึ้นอยู่ที่ว่ารายได้สุทธิของคนๆ นั้นอยู่ที่เท่าไหร่ และได้รับผลประโยชน์มากน้อยเพียงใด แต่อย่างไรก็ตาม สิ่งที่เกิดขึ้นแน่ๆ จากการปรับโครงสร้างนี้ ก็คือ รัฐบาลจะกลายเป็นผู้เสียประโยชน์ที่สุดในการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ (เพราะต้องขาดรายได้เข้ารัฐไปปีละประมาณ 27,000 ล้านบาท) และเราก็ควรมาดูกันต่อว่า รัฐบาลจะมีมาตรการในการดำเนินการเพื่อรับมือกับเรื่องนี้อย่างไร

แท็กที่เกี่ยวข้อง
Money Guru
เขียนโดย เช็คราคา.คอม Money Guru

พูดคุยกับกูรูได้ที่



เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)