จับผิดแบงค์ปลอม: เทคนิคการดูและแยกแบงค์ปลอมกับแบงค์จริง

icon 22 ส.ค. 56 icon 195,988
จับผิดแบงค์ปลอม: เทคนิคการดูและแยกแบงค์ปลอมกับแบงค์จริง

จับผิดแบงค์ปลอม: เทคนิคการดูและแยกแบงค์ปลอมกับแบงค์จริง
ธนบัตรเป็นสิ่งพิมพ์มีค่าประเภทหนึ่ง มีความพิเศษแตกต่างจากสิ่งพิมพ์มีค่าประเภทอื่น เพราะนอกจากธนบัตรจะมีกระบวนการผลิตที่ป้องกันการปลอมแปลงแล้ว ลวดลายในธนบัตรยังต้องมีคุณค่าทางศิลปะ มีความประณีตสวยงาม และเน้นเอกลักษณ์ความเป็นไทย ดังนั้น เพื่อคงไว้ซึ่งความน่าเชื่อถือ สมเป็นสื่อกลางสำหรับใช้ในการแลกเปลี่ยน ธนบัตรต้องมีลักษณะพิเศษที่ยากต่อการปลอมแปลง
ทีนี้คำถาม คือถ้าเรารับธนบัตรมาแล้ว เราจะรู้ได้ไงว่า "แบงค์จริง" หรือ "แบงค์ปลอม" วันนี้เรามีเทคนิคในการตรวจสอบจากธนาคารแห่งประเทศไทยมาให้พวกเราชาว CheckRaka.com ดูกันเป็นตัวอย่างเบื้องต้นดังนี้ค่ะ
ธนบัตรชนิดราคา 1,000 บาท แบบไม่มีแถบฟอยล์




1. เมื่อยกส่องกับแสงสว่างจะเห็นลายน้ำพระบรมฉายาสาทิสลักษณ์ชัดเจนทั้งด้านหน้า และด้านหลัง และรูปลายพุ่มทรงข้าวบิณฑ์โปร่งแสงเป็นพิเศษ



2. เมื่อพลิกเอียงธนบัตรส่วนที่เป็นสีทองของตัวเลข 1000 จะเปลี่ยนสลับเป็นสีเขียว



3. เมื่อสัมผัสด้วยปลายนิ้วมือจะรู้สึกสะดุดกับหมึกพิมพ์ที่อยู่บนผิวกระดาษ



4. ลายรูปดอกบัว พิมพ์แยกไว้ทั้งด้านหน้าและด้านหลัง เมื่อยกส่องกับแสงสว่างจะซ้อนทับกันเป็นรูปดอกบัวที่สมบูรณ์



5. เมื่อเอียงธนบัตรเข้าหาแสงสว่าง และมองจากมุมล่างซ้ายเข้าหากึ่งกลางธนบัตรจะเห็นตัวเลขอารบิก 1000



6. เมื่อยกส่องกับแสงสว่างจะเห็นแถบสีโลหะฝังอยู่ในเนื้อกระดาษตามแนวตั้ง บนแถบมีตัวเลขจิ๋วแจ้งชนิดราคาธนบัตร

ลักษณะที่ปรากฎภายใต้รังสีเหนือม่วง (แสงแบล็กไลท์)
  • มีเส้นใยเรืองแสง สีแดง สีเหลือง และสีน้ำเงิน ในเนื้อกระดาษ
  • หมวดอักษรและเลขหมายเปลี่ยนจากสีแดงเป็นสีส้มเรืองแสง
  • สีเหลืองบริเวณลายประดิษฐ์รูปวงกลม และลายเส้นรัศมีตอนกลางเปลี่ยนเป็นสีเหลืองเรืองแสง
**ออกใช้เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2542**
ธนบัตรชนิดราคา 1,000 บาท แบบมีแถบฟอยล์ (ปรับปรุง)





1. เมื่อยกส่องกับแสงสว่างจะเห็นลายน้ำพระบรมฉายาสาทิสลักษณ์ชัดเจนทั้งด้านหน้าและด้านหลัง และรูปลายพุ่มทรงข้าวบิณฑ์โปร่งแสงเป็นพิเศษ



2. เมื่อพลิกเอียงธนบัตรส่วนที่เป็นสีทองของตัวเลข 1000 จะเปลี่ยนสลับเป็นสีเขียว




3. เมื่อสัมผัสด้วยปลายนิ้วมือจะรู้สึกสะดุดกับหมึกพิมพ์ที่อยู่บนผิวกระดาษ



4. แถบฟอยล์สีเงินรูปพระครุฑพ่าห์แนบเป็นเนื้อเดียวกับกระดาษ จะมองเห็นหลากสีหลายมิติ เมื่อพลิกเอียงธนบัตรไปมา



5. เมื่อเอียงธนบัตรเข้าหาแสงสว่าง และมองจากมุมล่างซ้ายเข้าหากึ่งกลางธนบัตร จะเห็นตัวเลขอารบิก 1000



6. เมื่อยกส่องกับแสงสว่างจะเห็นแถบสีโลหะฝังอยู่ในเนื้อกระดาษตามแนวตั้ง บนแถบมีตัวเลขจิ๋วแจ้งชนิดราคาธนบัตร

ลักษณะที่ปรากฎภายใต้รังสีเหนือม่วง (แสงแบล็กไลท์)
  • มีเส้นใยเรืองแสง สีแดง สีเหลือง และสีน้ำเงิน ในเนื้อกระดาษ
  • หมวดอักษรและเลขหมาย เปลี่ยนจากสีแดงเป็นสีส้มเรืองแสง
  • สีเหลืองบริเวณลายประดิษฐ์รูปวงกลม และลายเส้นรัศมีตอนกลางเปลี่ยนเป็นสีเหลืองเรืองแสง
**ออกใช้เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2548**
ธนบัตรชนิดราคา 500 บาท





1. เมื่อยกส่องกับแสงสว่างจะเห็นลายน้ำพระบรมฉายาสาทิสลักษณ์ชัดเจนทั้งด้านหน้าและด้านหลัง และรูปลายประจำยามโปร่งแสงเป็นพิเศษ




2. เมื่อพลิกเอียงธนบัตรตัวเลข 500 จะเปลี่ยนสลับจากสีเขียวเป็นสีม่วง




3. เมื่อสัมผัสด้วยปลายนิ้วมือจะรู้สึกสะดุดกับหมึกพิมพ์ที่อยู่บนผิวกระดาษ



4. แถบฟอยล์สีเงินมีตราอักษรพระปรมาภิไธย "ภ.ป.ร." และตัวเลข ๕๐๐ แนบเป็นเนื้อเดียวกับกระดาษ จะมองเห็นหลากสีหลายมิติ เมื่อพลิกเอียงธนบัตรไปมา


5. เมื่อเอียงธนบัตรเข้าหาแสงสว่าง และมองจากมุมล่างซ้ายเข้าหากึ่งกลางธนบัตรจะเห็นตัวเลขอารบิก 500


6. เมื่อยกส่องกับแสงสว่างจะเห็นแถบสีโลหะฝังในเนื้อกระดาษตามแนวตั้งบนแถบมีตัวเลขจิ๋วแจ้งชนิดราคาธนบัตร

ลักษณะที่ปรากฎภายใต้รังสีเหนือม่วง (แสงแบล็กไลท์)
  • มีเส้นใยเรืองแสง สีแดง สีเหลือง และสีน้ำเงิน ในเนื้อกระดาษ
  • หมวดอักษรและเลขหมายเปลี่ยนจากสีแดงเป็นสีส้มเรืองแสง
  • บริเวณลายพื้นตอนกลางธนบัตรเปลี่ยนเป็นสีเขียวเรืองแสง
**ออกใช้เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2544**
ธนบัตรชนิดราคา 100 บาท แบบปรับปรุง





1. เมื่อยกส่องกับแสงสว่างจะเห็นลายน้ำพระบรมฉายาสาทิสลักษณ์ชัดเจนทั้งด้านหน้าและด้านหลัง และรูปลายประจำยามโปร่งแสงเป็นพิเศษ




2. เมื่อสัมผัสด้วยปลายนิ้วมือจะรู้สึกสะดุดกับหมึกพิมพ์ที่อยู่บนผิวกระดาษ



3. แถบฟอยล์สีเงินรูปพระราชลัญจกรประจำพระองค์รัชกาลที่ ๙ แนบเป็นเนื้อเดียวกับกระดาษ จะมองเห็นหลากสีหลายมิติ เมื่อพลิกเอียงธนบัตรไปมา



4. เมื่อเอียงธนบัตรเข้าหาแสงสว่างและมองจากมุมล่างซ้ายเข้าหากึ่งกลางธนบัตร จะเห็นตัวเลขอารบิก 100



5. ที่ตัวเลขไทยด้านหน้าธนบัตรบรรจุตัวเลขอารบิก 100 ขนาดจิ๋วมองเห็นได้ชัดเจนเมื่อใช้แว่นขยาย


6. เมื่อยกส่องกับแสงสว่างจะเห็นแถบสีโลหะฝังในเนื้อกระดาษตามแนวตั้ง บนแถบมีตัวเลขจิ๋วแจ้งชนิดราคาธนบัตร

ลักษณะที่ปรากฎภายใต้รังสีเหนือม่วง (แสงแบล็กไลท์)
  • มีเส้นใยเรืองแสง สีแดง สีเหลือง และสีน้ำเงิน ในเนื้อกระดาษ
  • หมวดอักษร และเลขหมายเปลี่ยนจากสีแดงเป็นสีส้มเรืองแสง
  • บริเวณลายประดิษฐ์ตอนกลาง และลายเส้นรอบพระราชลัญจกรเปลี่ยนเป็นสีส้มและสีเขียวเรืองแสง
**ออกใช้เมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2548**
ธนบัตรชนิดราคา 50 บาท





1. เมื่อยกส่องกับแสงสว่างจะเห็นลายน้ำพระบรมฉายาสาทิสลักษณ์ชัดเจนทั้งด้านหน้าและด้านหลัง และรูปลายดอกลอยโปร่งแสงเป็นพิเศษ



2. เมื่อสัมผัสด้วยปลายนิ้วมือจะรู้สึกสะดุดกับหมึกพิมพ์ที่อยู่บนผิวกระดาษ



3. ตัวเลข 50 พิมพ์แยกไว้ทั้งด้านหน้าและด้านหลัง เมื่อยกส่องกับแสงสว่างจะซ้อนทับกันเป็นเลข 50 ที่สมบูรณ์




4. เมื่อเอียงธนบัตรเข้าหาแสงสว่างและมองจากมุมล่างซ้ายเข้าหากึ่งกลางธนบัตรจะเห็นตัวเลขอารบิก 50




5. ที่ตัวเลขไทยด้านหน้าธนบัตรบรรจุตัวเลขอารบิก 50 ขนาดจิ๋ว มองเห็นได้ชัดเจนเมื่อใช้แว่นขยาย


6. เมื่อยกส่องกับแสงสว่างจะเห็นแถบสีโลหะฝังอยู่ในเนื้อกระดาษตามแนวตั้ง บนแถบมีตัวเลขจิ๋วแจ้งชนิดราคาธนบัตร

ลักษณะที่ปรากฎภายใต้รังสีเหนือม่วง (แสงแบล็กไลท์)
  • มีเส้นใยเรืองแสง สีแดง สีเหลือง และสีน้ำเงินในเนื้อกระดาษ
  • หมวดอักษร และเลขหมาย เปลี่ยนจากสีแดงเป็นสีส้มเรืองแสง
  • บริเวณลายประดิษฐ์ตอนกลาง เปลี่ยนเป็นสีเหลืองเรืองแสง
**ออกใช้วันที่ 1 ตุลาคม 2547**
ธนบัตรชนิดราคา 50 บาท แบบปรับปรุง





1. ตัวเลข 50 พิมพ์แยกไว้บนด้านหน้าและด้านหลัง เมื่อยกธนบัตรส่องดูกับแสงสว่าง จะเห็นเป็นตัวเลข 50 ที่สมบูรณ์



2. ตัวเลขแฝง "50" ซ่อนในลายกนกอยู่ในกรอบสีน้ำเงินเข้ม มองเห็นได้เมื่อยกธนบัตรเอียงเข้าหาแสงสว่าง โดยมองผ่านจากมุมล่างซ้ายเข้าหากึ่งกลางของธนบัตร



3. ลายน้ำ พระบรมฉายาสาทิสลักษณ์มองเห็นได้ชัดเจน เมื่อยกธนบัตรส่องดูกับแสงสว่าง และตัวเลข   "๕๐" มีความโปร่งแสงเป็นพิเศษ



4. พระบรมฉายาสาทิสลักษณ์ ตัวอักษรตัวเลขแจ้งราคา ลวดลายประดิษฐ์ และพระครุฑพ่าห์พิมพ์เส้นนูน จะรู้สึกสะดุดเมื่อสัมผัสด้วยปลายนิ้ว



5. สัญลักษณ์แจ้งชนิดราคาสำหรับผู้พิการทางสายตาพิมพ์นูนเป็นรูปดอกไม้ในแนวเฉียง 2 ดอก

6. เส้นแถบสีน้ำเงิน ฝังในเนื้อกระดาษตามแนวยืน โดยมีบางส่วนของแถบสีน้ำเงินปรากฎให้เห็นเป็นระยะที่ด้านหลังของธนบัตร และจะเปลี่ยนเป็นสีแดงเมื่อเปลี่ยนมุมมองภายในแถบมีข้อความ "50 บาท BAHT" ขนาดเล็กสามารถอ่านได้ทั้งสองด้านเมื่อยกส่องดูกับแสงสว่าง


ลักษณะพิเศษที่ปรากฎภายใต้รังสีเหนือม่วง (แบล็กไลท์)
  • ลายประดิษฐ์ และลายพันธุ์พฤกษาสีเหลือง จะเปลี่ยนเป็นสีส้มเรืองแสง
  • ลายพันธุ์พฤกษาสีม่วงเบื้องขวา จะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองอมเขียวเรืองแสง
  • หมวดอักษรและเลขหมายเปลี่ยนจากสีแดงเป็นสีส้มเรืองแสง
  • มีเส้นใยเรืองแสงสีเหลือง แดง น้ำเงิน ในเนื้อกระดาษ
**ออกใช้เมื่อวันที่ 18 มกราคม 2555**
ธนบัตรชนิดราคา 20 บาท





1. เมื่อยกส่องกับแสงสว่างจะเห็นลายน้ำพระบรมฉายาสาทิสลักษณ์ชัดเจนทั้งด้านหน้าและด้านหลัง และรูปลายดอกจอกโปร่งแสงเป็นพิเศษ



2. เมื่อสัมผัสด้วยปลายนิ้วมือ จะรู้สึกสะดุดกับหมึกพิมพ์ที่อยู่บนผิวกระดาษ



3. ตัวเลข 20 พิมพ์แยกไว้ทั้งด้านหน้าและด้านหลัง เมื่อยกส่องกับแสงสว่างจะซ้อนทับกันเป็นเลข 20 ที่สมบูรณ์




4. เมื่อเอียงธนบัตรเข้าหาแสงสว่างและมองจากมุมล่างซ้ายเข้าหากึ่งกลางธนบัตร จะเห็นตัวเลขอารบิก 20




5. ที่ตัวเลขไทยด้านหน้าธนบัตรบรรจุตัวเลขอารบิก 20 ขนาดจิ๋วมองเห็นได้ชัดเจนเมื่อใช้แว่นขยาย



6. เมื่อยกส่องกับแสงสว่างจะเห็นแถบสีโลหะฝังอยู่ในเนื้อกระดาษตามแนวตั้ง บนแถบมีตัวเลขจิ๋วแจ้งชนิดราคาธนบัตร

ลักษณะที่ปรากฎภายใต้รังสีเหนือม่วง (แสงแบล็กไลท์)
  • มีเส้นใยเรืองแสง สีแดง สีเหลือง และสีน้ำเงินในเนื้อกระดาษ
  • หมวดอักษรและเลขหมาย เปลี่ยนจากสีแดงเป็นสีส้มเรืองแสง
  • บริเวณลายประดิษฐ์ตอนกลาง เปลี่ยนเป็นสีส้มเรืองแสง
**ออกใช้เมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2546**
อย่างไรก็ดี เพื่อความมั่นใจเราจึงควรสังเกตจุดสำคัญต่างๆ บนธนบัตรอย่างน้อย 3 จุดขึ้นไป สำหรับธนบัตรแบบที่ใช้หมุนเวียนกันในปัจจุบัน ทางทีมงาน CheckRaka.com ได้สรุปจุดสำคัญที่ไม่ควรพลาด คือ
  • สังเกตธนบัตรปลอมด้วยวิธีสัมผัส เพื่อสัมผัส ตรวจสอบคุณสมบัติของกระดาษและลวดลายเส้นนูน
  • สังเกตธนบัตรปลอมด้วยวิธียกส่อง เพื่อสังเกตสิ่งที่อยู่ในเนื้อกระดาษและลวดลายซ้อนทับ
  • สังเกตธนบัตรปลอมด้วยวิธีพลิกเอียง เพื่อสังเกตการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น
สรุปคือ ทุกครั้งที่รับธนบัตรชนิดต่างๆ มา อย่าลืม!! สังเกตจุดสำคัญต่างๆ ที่กล่าวมาข้างต้น เพื่อหลีกเลี่ยงการตกเป็นเหยื่อแก่พวกมิจฉาชีพทั้งหลาย และเพื่อประโยชน์ของตัวเราเอง โดยเฉพาะพวกเราชาว CheckRaka.com ที่เป็นพ่อค้า แม่ค้า หรือเถ้าแก่ที่รับเงินสดกันเป็นประจำทุกวันนะคะ
แท็กที่เกี่ยวข้อง
Money Guru
เขียนโดย เช็คราคา.คอม Money Guru

พูดคุยกับกูรูได้ที่




เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)