ข้อควรระวัง! เซ็นชื่อรับรองสำเนาอย่างไรให้ถูกต้อง

icon 29 พ.ค. 56 icon 52,201
ข้อควรระวัง! เซ็นชื่อรับรองสำเนาอย่างไรให้ถูกต้อง

ข้อควรระวัง! เซ็นชื่อรับรองสำเนาอย่างไรให้ถูกต้อง
การเซ็นชื่อรับรองสำเนาในเอกสารสำคัญต่างๆ เช่น สำเนาเอกสารบัตรประจำตัวประชาชน สำเนาเอกสารทะเบียนบ้าน เป็นต้น ถือเป็นอีกเรื่องหนึ่งที่ผู้บริโภคทุกท่านควรให้ความสำคัญอย่างยิ่ง เพราะคนส่วนใหญ่มักจะไม่ค่อยให้ความสำคัญ ขาดความรอบคอบกับเรื่องนี้ และยังขาดความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับวิธีเซ็นรับรองสำเนาถูกต้องอย่างชัดเจน ปล่อยปละละเลยจนบางครั้งอาจกลายเป็นเรื่องที่สร้างความเดือดร้อนให้แก่ตนเองภายหลัง เพราะการเซ็นชื่อรับรองสำเนาที่ไม่รัดกุม หรือไม่ถูกวิธีจะเป็นเรื่องที่สร้างปัญหาในที่สุด
ดังนั้น เพื่อให้ผู้บริโภคเซ็นชื่อรับรองสำเนาในเอกสารสำคัญต่างๆ ทุกครั้งอย่างถูกวิธี จึงอยากจะขอแนะนำวิธีการเซ็นรับรองสำเนาอย่างถูกต้อง ดังนี้
  1. ทุกครั้งหลังจากเซ็นชื่อ และเขียนรับรองสำเนาถูกต้องแล้ว ต้องเขียนรายละเอียดกำกับไว้ด้วยว่าเอกสารฉบับนั้นใช้สำหรับทำอะไร เช่น "ใช้เฉพาะสมัครงานเท่านั้น" "ใช้สำหรับสมัครเรียนเท่านั้น" เป็นต้น 
  2. ต้องเขียนข้อความทั้งหมดทับลงบนสำเนาส่วนที่เป็นบัตรประชาชน และสำเนาทะเบียนบ้านหรือสำเนาเอกสารอื่นๆ ที่สำคัญ นี่เป็นวิธีเซ็นที่ถูกต้องในการรับรองสำเนาอย่างรัดกุม วิธีนี้จะป้องกันไม่ให้มิจฉาชีพเอาไปใช้จนสร้างหนี้ให้กับเรา 
  3. ในกรณีที่เซ็นเอกสารต้องใช้ปากกาหมึกสีดำเท่านั้นถึงจะปลอดภัยที่สุด เพราะเครื่องถ่ายเอกสารบางเครื่องสามารถถ่ายเอกสารโดยดึงหมึกสีน้ำเงินออก เหลือใช้เฉพาะข้อความของบัตรประชาชนแล้วทำให้มิจฉาชีพเซ็นเอกสารบัตรประชาชนนั้นแทนได้ เพราะฉะนั้นเราควรเซ็นด้วยปากกาหมึกสีดำเท่านั้น เพราะไม่สามารถดึงหมึกสีดำออกได้ หรือถ้าดึงสีดำออกได้ข้อความก็จะหายไปหมดเลยทั้งหน้าบัตรประชาชน 
  4. นอกจากกำกับรายละเอียดการใช้แล้ว ยังต้องกำกับ วัน เดือน ปี โดยเขียนลงบนสำเนาที่ใช้ด้วย ซึ่งจะช่วยกำหนดอายุการใช้สำเนาได้

ดังนั้น เพื่อความปลอดภัยต่อตัวท่านเองจึงควรมีความรอบคอบในการเซ็นชื่อรับรองสำเนาเอกสารสำคัญต่างๆ ให้ถูกต้องและถูกวิธีที่สุด เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้กลุ่มมิจฉาชีพ หรือผู้ไม่ประสงค์ดีที่อาจนำเอาเอกสารสำคัญต่างๆ ที่เราได้เซ็นชื่อรับรองสำเนาไปเรียบร้อยแล้ว ไปดัดแปลงแก้ไขจนสร้างปัญหาและสร้างความเดือนร้อนให้แก่เราได้ในที่สุด โดยที่เรายังไม่รู้ตัวเลยก็ได้
แท็กที่เกี่ยวข้อง
Money Guru
เขียนโดย เช็คราคา.คอม Money Guru

พูดคุยกับกูรูได้ที่




เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)