ประเภท วัตถุประสงค์ และจุดเด่น - จุดด้อยของสินเชื่อส่วนบุคคล

icon 5 มี.ค. 58 icon 25,371
ประเภท วัตถุประสงค์ และจุดเด่น - จุดด้อยของสินเชื่อส่วนบุคคล


ประเภท & วัตถุประสงค์ของสินเชื่อส่วนบุคคล

ทุกวันนี้ธนาคารพาณิชย์ให้ความสำคัญกับลูกค้า และมองลูกค้าเป็นศูนย์กลางมากขึ้น  (Customer Centric) จึงได้มีการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์สินเชื่อส่วนบุคคลขึ้นมา แล้วตั้งชื่อเรียกกันหลากหลายเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าให้ครบทุก Segment  เวลาเราเดินเข้าไปในธนาคารแล้วเห็นโบรชัวร์สินเชื่อส่วนบุคคลที่วางอยู่ในเคาน์เตอร์ธนาคารเต็มไปหมด เราอาจจะงงว่าอะไรคืออะไร เพื่อให้เข้าใจ และเลือกขอใช้สินเชื่อได้ถูกประเภท เราพอจะแยกประเภทสินเชื่อส่วนบุคคลในเมืองไทยเราให้เข้าใจกันง่ายๆ ได้ดังนี้ค่ะ (บทความนี้จะไม่รวมเรื่องสินเชื่อเช่าซื้อรถ รถแลกเงิน และสินเชื่อเกี่ยวกับบ้านทั้งหมดนะคะ)
1. สินเชื่อบัตรกดเงินสด (เช่น KTC CASH Revolve, K-EXPRESS CASH, Umay Plus เป็นต้น) เป็นสินเชื่อหมุนเวียนที่ต้องใช้บัตรกดเงินสดเป็นตัวเบิกเงินจากตู้ ATM โดยผู้ขอสินเชื่อซึ่งเป็นบุคคลธรรมดาจะสามารถเบิกเงินจากตู้ATM เมื่อไหร่ก็ได้ แต่ต้องไม่เกินวงเงินที่กำหนด ดอกเบี้ยจะเริ่มคิดเมื่อมีการกดเงินจากตู้ATM และผู้ให้บริการสินเชื่อหรือธนาคารจะแจ้งรายการเบิกเงินให้ผู้ขอสินเชื่อทราบทุกเดือน โดยสามารถชำระคืนได้ทั้งจำนวน หรือชำระเพียงบางส่วน ในทางปฏิบัติ สินเชื่อบัตรกดเงินสด และสินเชื่อที่เบิกเงินสดจากบัตรเครดิตอาจฟังดูคล้ายกัน แต่จริงๆ แล้วมีความแตกต่างกันในเรื่องค่าธรรมเนียมเบิกใช้ สินเชื่อบัตรกดเงินสดจะไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมการเบิกใช้ แต่จะเสียเพียงดอกเบี้ยตามยอดที่เบิกเท่านั้น แต่สินเชื่อเบิกเงินสดจากบัตรเครดิตจะต้องเสียค่าธรรมเนียมในการเบิกเงินสด 3% ของยอดที่เบิกนอกเหนือจากดอกเบี้ยที่จะต้องเสียบนยอดที่เบิกด้วย
2. สินเชื่อบุคคลประเภทเงินก้อน (เช่น สินเชื่อสมาร์ทแคช สินเชื่ออเนกประสงค์ของหลายๆ ธนาคาร เป็นต้น) เป็นสินเชื่อเงินกู้ยืมที่ให้เป็นก้อนสำหรับบุคคลธรรมดาทั่วไป โดยเฉพาะผู้ที่มีรายได้มั่นคงและสม่ำเสมอ เช่น พนักงานประจำ โดยมอบเงินก้อนหนึ่งให้กับผู้ขอสินเชื่อนำไปใช้จ่ายตามต้องการ หรือตามวัตถุประสงค์ของสินเชื่อ ซึ่งวงเงินสินเชื่อสูงสุดที่ได้รับจะไม่เกิน 5 เท่าของรายได้ต่อเดือน โดยมีทั้งแบบที่ต้องใช้หลักทรัพย์เป็นประกัน บุคคลค้ำประกัน และไม่ต้องใช้หลักทรัพย์เป็นประกัน โดยทั่วไปเวลาเราไปติดต่อธนาคาร เราสามารถแบ่งสินเชื่อบุคคลประเภทเงินก้อนพวกนี้เป็นกลุ่มๆ ได้ประมาณนี้ค่ะ
  • สินเชื่ออเนกประสงค์ เป็นสินเชื่อที่ไม่ได้บังคับว่าจะต้องนำเงินไปใช้เพื่อวัตถุประสงค์อะไรเป็นพิเศษ (มีทั้งแบบมี หรือไม่มีหลักทรัพย์เป็นประกัน และ/หรือบุคคลค้ำประกัน)
  • สินเชื่อเงินก้อนเพื่อวัตถุประสงค์เฉพาะทาง เป็นสินเชื่อที่กำหนดว่าจะต้องนำเงินไปใช้เพื่อวัตถุประสงค์เฉพาะ เช่น สินเชื่อบุคคลเพื่อการศึกษา สินเชื่อเพื่อการไปทำงานต่างประเทศ (มีทั้งแบบมี หรือไม่มีหลักทรัพย์เป็นประกัน และ/หรือบุคคลค้ำประกัน)
  • สินเชื่อรีไฟแนนซ์หรือสินเชื่อเพื่อการโอนหนี้ เป็นสินเชื่อที่ให้ผู้ขอสินเชื่อได้รับเงินก้อนไปชำระหนี้เดิมที่มีอยู่กับสถาบันการเงินอื่น (มีทั้งแบบมี หรือไม่มีหลักทรัพย์เป็นประกัน และ/หรือบุคคลค้ำประกัน)
ทั้งนี้ ตามที่เกริ่นไว้ข้างต้นนะคะว่า ในบทความนี้จะไม่รวมถึงสินเชื่อประเภทที่เกี่ยวกับบ้าน และสินเชื่อที่เกี่ยวกับรถ เพราะทีมงานเราได้พูดถึงสินเชื่อเหล่านี้แยกต่างหากกันเป็นหมวดๆ ไว้หมดแล้ว เช่น ถ้าเกี่ยวกับสินเชื่อซื้อรถ ก็จะอยู่ในหมวดข้อมูลความรู้รถยนต์ใหม่ และถ้าเกี่ยวกับสินเชื่อบ้าน ก็จะอยู่ในหมวดข้อมูลความรู้บ้านโครงการใหม่
สรุปจุดเด่น - จุดด้อยของสินเชื่อบัตรกดเงินสด และสินเชื่อส่วนบุคคลประเภทเงินก้อน
ประเภทสินเชื่อ จุดเด่น จุดด้อยหรือข้อจำกัด 
สินเชื่อบัตรกดเงินสด
  • สมัครง่ายไม่ต้องมีหลักทรัพย์หรือบุคคลค้ำประกัน
  • วงเงินสูงสุดที่ได้รับอาจมีตั้งแต่  2-5 เท่าของรายได้ 
  • ขอสินเชื่อครั้งเดียวสามารถใช้วงเงินได้ตลอดไปในลักษณะของสินเชื่อหมุนเวียนตราบเท่าที่ไม่เกินวงเงินที่ให้
  • สามารถเบิกเงินมาใช้ หรือชำระคืนเมื่อไหร่ก็ได้ผ่านตู้ ATM
  • ไม่มีค่าธรรมเนียมในการเบิกเงินสด
  • เสียดอกเบี้ยเฉพาะเงินส่วนที่เบิกมาใช้เท่านั้น
  • สามารถเลือกผ่อนชำระขั้นต่ำได้ถ้าเรามีเงินไม่พอที่จะชำระในงวดนั้นๆ เช่น ขั้นต่ำ 10% ของยอดค้างชำระ
  • คำนวณดอกเบี้ยแบบลดต้นลดดอก
  • ไม่สามารถนำบัตรไปรูดซื้อสินค้าได้ (ไม่เหมือนบัตรเครดิต และบัตรเดบิต)
  • อัตราดอกเบี้ยสูงกว่าสินเชื่อเงินสดที่เบิกจากบัตรเครดิต
สินเชื่อส่วนบุคคล ประเภทเงินก้อน
  • ในกรณีที่เป็นสินเชื่อไม่มีหลักประกัน ได้รับวงเงินสูงสุดไม่เกิน 5 เท่าของรายได้
  • ในกรณีที่เป็นสินเชื่อที่มีหลักประกัน ได้รับวงเงินสูงสุดประมาณไม่เกิน 90% ของราคาประเมินหลักทรัพย์
  • สามารถผ่อนชำระได้ในระยะยาว
  • อาจเป็นแบบไม่จำกัดวัตถุประสงค์ในการใช้วงเงิน (กรณีสินเชื่ออเนกประสงค์) หรือจำกัดวัตถุประสงค์ (เช่น สินเชื่อเพื่อการศึกษา)
  • คำนวณดอกเบี้ยอาจมีทั้งแบบลดต้นลดดอก (Effective Rate) หรืออัตราคงที่ตลอดอายุสัญญาเงินกู้ (Flat Rate)
  • ผู้กู้ต้องรับภาระในการผ่อนชำระทุกเดือนจนกว่าจะครบสัญญา
  • ในกรณีที่ต้องการใช้เงินจำนวนมาก อาจต้องหาหลักทรัพย์มาค้ำประกันการขอสินเชื่อ
  • กรณีสินเชื่อเพื่อการโอนหนี้ หรือรีไฟแนนซ์ หนี้เดิมที่ไปรีไฟแนนซ์จะต้องไม่เป็นหนี้ที่เสียค่าปรับล่าช้า และไม่เป็นหนี้เสียอยู่


แท็กที่เกี่ยวข้อง
Money Guru
เขียนโดย เช็คราคา.คอม Money Guru

พูดคุยกับกูรูได้ที่




เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)