ใครกู้สินเชื่อส่วนบุคคลได้บ้าง และจากที่ไหน?

icon 5 มี.ค. 58 icon 44,077
ใครกู้สินเชื่อส่วนบุคคลได้บ้าง และจากที่ไหน?


ใครกู้สินเชื่อส่วนบุคคลได้บ้าง และจากที่ไหน?
สมมติว่าพวกเราสนใจจะกู้สินเชื่อส่วนบุคคลกันแล้ว เราลองมาดูกันค่ะว่าเราจะมีคุณสมบัติครบถ้วนที่จะขอสินเชื่อกันไหม และจะขอจากที่ใดได้บ้าง
ผู้มีสิทธิ์กู้
โดยทั่วไปผู้ที่กู้ได้คือ พนักงานบริษัท ข้าราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจรวมถึงผู้ประกอบธุรกิจส่วนตัว และเจ้าของกิจการซึ่งสถาบันการเงินแต่ละแห่งจะมีการกำหนดเกณฑ์ของผู้ขอกู้แยกได้เป็น 2 ประเภท ซึ่งผู้ขอกู้ต้องมีคุณสมบัติตามเงื่อนไขคร่าวๆ ดังนี้
ผู้มีสิทธิ์กู้
กรณีพนักงานบริษัท ข้าราชการ รัฐวิสาหกิจ กรณีผู้ประกอบธุรกิจส่วนตัวหรือเจ้าของกิจการ
  1. มีสัญชาติไทย  อายุระหว่าง 20 - 65 ปี
  2. มีรายได้เพียงพอต่อการชำระค่างวด ส่วนมาก ฐานรายได้ขั้นต่ำจะอยู่ที่ 10,000 - 15,000 บาท
  3. มีประวัติการชำระดี ไม่มีพฤติกรรมการค้างชำระ 
  4. มีที่อยู่อาศัยเป็นหลักแหล่ง และมีเบอร์โทรศัพท์ที่สามารถติดต่อได้ (ไม่ใช่มือถือ)
  1. ผู้สมัครต้องมีอายุ 20 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป 
  2. ต้องดำเนินกิจการ และจดทะเบียนมาแล้วไม่น้อยกว่า
    1 ปี 
  3. มีเงินหมุนเวียนในบัญชีธนาคารขั้นต่ำประมาณ 50,000 -150,000 บาท ต่อเดือน
  4. ไม่ติด Blacklist กับสถาบันการเงินอื่น

หลักเกณฑ์เบื้องต้นในการพิจารณาอนุมัติสินเชื่อ
ถ้าคุณสมบัติเราครบถ้วนตรงตามกำหนดของธนาคารแล้ว ก็ไม่ได้หมายความว่าธนาคารจะให้สินเชื่อส่วนบุคคลแก่เราในทุกๆ กรณีนะคะ เพราะในทางปฏิบัติแต่ละธนาคารก็จะมีหลักเกณฑ์ภายในอีกหลายๆ เรื่อง (ซึ่งขึ้นอยู่กับดุลพินิจของแต่ละธนาคาร) ที่ธนาคารใช้เป็นหลักในการพิจารณา ซึ่งโดยส่วนใหญ่จะคล้ายคลึงกัน ในการขอสินเชื่อส่วนบุคคล สถาบันการเงินจะให้ผู้ขอกรอกใบสมัครขอสินเชื่อ ยื่นเอกสารประกอบ และหนังสือยินยอมเปิดเผยข้อมูลเครดิตของผู้ขอสินเชื่อ เพื่อใช้เป็นเอกสารอ้างอิงประกอบการพิจารณาในเบื้องต้น ทั้งนี้ หลักเกณฑ์ที่สถาบันการเงินใช้ในการพิจารณาอนุมัติสินเชื่อส่วนบุคคลนี้ ในวงการธนาคารมักจะเรียกกันย่อๆ ว่า หลัก 6 C ดังนี้
1. Character หรือ Credit Reputation เป็นการวิเคราะห์ความพร้อมของผู้กู้ โดยวิเคราะห์จาก วินัยในการใช้ และการชำระสินเชื่อ ความสามารถในการจัดการกับสินเชื่อ การแก้ไขปัญหาต่างๆทางการเงิน เป็นต้น
2. Capacity ความสามารถในการจ่ายชำระหนี้คืนในระยะเวลาที่กำหนด ซึ่งปัจจัยที่นำมาวิเคราะห์ เช่น หน้าที่การงาน อายุการทำงาน รายได้ ซึ่งปัจจัยต่างๆ เหล่านี้จะแสดงถึงความมั่นคงของรายได้ ที่จะนำมาชำระหนี้ในอนาคต
3. Capital สถาบันการเงินจะพิจารณา เงินทุนหรือสินทรัพย์ของผู้ขอกู้ในขณะที่พิจารณาสินเชื่อนั้นๆ เพราะแหล่งเงินทุนนี้จะเป็นแหล่งเงินสำรองสำหรับการชำระหนี้ของผู้กู้ในกรณีที่เกิดปัญหากับรายได้ของผู้กู้
4. Conditions คือ ปัจจัยที่เป็นเงื่อนไขอื่นที่มีผลกระทบต่อรายได้ ไม่ว่าจะเป็น เศรษฐกิจ อาชีพ หรือเงื่อนไขในการกู้ เช่น ในสภาวะของเงินเฟ้อที่เพิ่มสูงขึ้นจะทำให้รายได้สุทธิลดลง ซึ่งจะมีผลต่อความสามารถในการชำระหนี้
5. Collateral คือ หลักประกันที่เป็นทรัพย์สินซึ่งผู้กู้จะนำมาจำนำ หรือจำนองเพื่อให้สถาบันการเงินมีความมั่นใจและลดความเสี่ยงหากผู้ขอสินเชื่อไม่ชำระหนี้ตามกำหนด ซึ่งการให้สินเชื่อประเภทนี้ก็มักจะมีอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำ
6. Common Sense คือ ปัจจัยที่สถาบันการเงินใช้ในการพิจารณาสินเชื่อว่า ผู้ขอสินเชื่อจะใช้สินเชื่ออย่างสมเหตุสมผลและจะไม่เป็นการก่อร่างสร้างหนี้จนเกินตัว
แหล่งสินเชื่อ และจุดเด่น-จุดด้อย
แหล่งสินเชื่อส่วนบุคคลมีได้ทั้งที่เป็นสถาบันการเงิน และผู้ประกอบการที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน (ที่เราเรียกกันว่า Non-Bank) ซึ่งแต่ละที่ก็มีการให้บริการสินเชื่อในรูปแบบต่างๆ ทั้งที่จำกัดวัตถุประสงค์ และไม่จำกัดวัตถุประสงค์ในการใช้วงเงิน เพื่อให้ผู้ใช้บริการสามารถเลือกให้ตรงกับความต้องการได้ โดยมีข้อแตกต่าง จุดเด่น หรือจุดด้อยของแต่ละที่ดังนี้
แหล่งเงินกู้ จุดเด่น จุดด้อย
สถาบันการเงิน (เช่นธนาคาร)
  1. ค่อนข้างมีสถานะการเงินมั่นคงที่ดี และน่าเชื่อถือ
  2. มีสาขาหลากหลายให้ผู้ใช้บริการได้เลือกตามความสะดวก
  3. การให้บริการครบวงจรกว่านับตั้งแต่การฝาก ถอน หรือโอนเงิน รวมถึงประกันชีวิต และสินเชื่อในรูปแบบอื่นๆ

  1. มีขั้นตอนในการดำเนินงานหลายขั้นตอน
  2. ใช้เวลาในการพิจารณาอนุมัตินาน
ผู้ประกอบการที่ไม่ใช่
สถาบันการเงิน
(เช่น Aeon , Easy Buy, FirstChoice)
  1. ขั้นตอนในการดำเนินการไม่ยุ่งยาก และเงื่อนไขในการให้สินเชื่อไม่ยากเท่าสถาบันการเงิน
  2. ระยะเวลาในการอนุมัติค่อนข้างเร็ว
  1. อาจมีสถานะทางการเงินที่น่าเชื่อถือน้อยกว่าสถาบันการเงิน
  2. มีสาขาให้บริการน้อย
  3. อาจคิดดอกเบี้ยที่สูงกว่าสถาบันการเงิน

แท็กที่เกี่ยวข้อง
Money Guru
เขียนโดย เช็คราคา.คอม Money Guru

พูดคุยกับกูรูได้ที่




เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)