เคยมั้ย? อยาก Refinance บ้าน แต่ไม่รู้เริ่มต้นยังไงดี

icon 26 มี.ค. 61 icon 8,994
เคยมั้ย? อยาก Refinance บ้าน แต่ไม่รู้เริ่มต้นยังไงดี


เคยมั้ย? อยาก Refinance บ้าน แต่ไม่รู้เริ่มต้นยังไงดี

สำหรับคนที่กำลังผ่อนบ้านมาสักระยะหนึ่งแล้ว จะเห็นได้ว่าโปรโมชั่นดอกเบี้ยที่เรากำลังผ่อนสบายๆ อยู่นี้ จะหมดโปรฯ ลงไปในไม่ช้า ซึ่งส่วนใหญ่แล้วก็จะอยู่ในช่วง 3 ปีแรก (ตามเงื่อนไขในสัญญา) และหลังจากนี้ดอกเบี้ยที่ดำเนินต่อไปก็จะสูงขึ้น แพงขึ้น แน่นอนว่าคนส่วนใหญ่ต้องการที่จะได้ดอกเบี้ยที่เท่าเดิมหรือถูกลง ดังนั้น บรรดาสถาบันการเงินต่างๆ จึงต้องออกผลิตภัณฑ์สินเชื่อมาเพื่อตอบสนองผู้บริโภคอย่างเราๆ ด้วยการจัดผลิตภัณฑ์ Refinance ขึ้นมา พร้อมกับจูงใจลูกค้าด้วยการเสนอดอกเบี้ยต่ำ และโปรโมชั่นอื่นๆ อีกมากมาย เพื่อนๆ เคยสงสัยกันมั้ยค่ะว่าถ้าเราต้องการจะ Refinance บ้าน จะต้องเริ่มต้นยังไง? วันนี้ CheckRaka.com มีคำตอบมาให้ทุกคนทำความเข้าใจและเตรียมพร้อมกับการ Refinance แล้วค่ะ 

การ "Refinance" บ้านคืออะไร?

"รีไฟแนนซ์" (Refinance) คือ การกู้ยืมเงินสินเชื่อก้อนใหม่เพื่อไปโปะหนี้ก้อนเดิม เนื่องจากได้รับผลประโยชน์หรือข้อเสนอที่ดีกว่าสัญญาเงินกู้ก้อนเดิม โดยจุดประสงค์ก็ขึ้นอยู่กับผู้กู้เอง บางคนรีไฟแนนซ์เพื่อเป็นการลดดอกเบี้ยเดิม หรือบางคนรีไฟแนนซ์เพื่อต้องการมีเงินส่วนต่างมาใช้จ่าย เป็นต้น ซึ่งไม่ว่าจะเป็นการรีไฟแนนซ์ด้วยเหตุผลอะไรก็ตาม...จำไว้เสมอนะคะว่า ต้องคิดให้รอบคอบก่อนตัดสินใจเพราะมันจะส่งผลทำให้เราเป็นหนี้ระยะยาวขึ้นนั่นเอง 

มีเหตุผลอะไรบ้าง...ที่ทำให้คนส่วนใหญ่เลือกที่จะ Refinance?

จากความหมายของการรีไฟแนนซ์ข้างต้น เพื่อนๆ ก็พอจะเข้าใจกันแล้วนะคะว่ารีไฟแนนซ์คืออะไร มีประโยชน์ยังไง...คราวนี้มาถึงคำถามที่ว่าทำไมเราจะต้องเลือกรีไฟแนนซ์แทนการผ่อนชำระต่อเนื่องตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ตั้งแต่แรก เหตุผลหลักๆ ที่ทำให้คนหันมาขอกู้เงินด้วยการ Refinance ก็มีอยู่ด้วยกัน 2 ข้อ ดังนี้

  1. เพื่อให้มีภาระผ่อนชำระน้อยลง ซึ่งเป็นที่รู้กันดีอยู่แล้วว่าดอกเบี้ยจากการกู้ซื้อบ้านจะเป็นแบบลอยตัว โดยช่วงแรกดอกเบี้ยที่ได้รับจะมีอัตราที่ค่อนข้างต่ำเพื่อเป็นสิ่งจูงใจให้ผู้กู้รายใหม่สนใจและเลือกที่จะกู้ซื้อบ้านกับสถาบันการเงินนั้นๆ (ส่วนใหญ่จะอยู่ที่ 3 ปีแรก) แล้วหลังจากนั้นดอกเบี้ยที่เคยต่ำก็จะลอยตัวสูงขึ้นตามลำดับที่เป็นไปตามเงื่อนไขของสัญญาเงินกู้ แต่ละสถาบันการเงินก็จะไม่เท่ากัน ดังนั้น เราในฐานะผู้กู้จะต้องตรวจสอบดูส่วนต่างระหว่างการผ่อนต่อกับสถาบันการเงินเดิม หรือการเริ่มรีไฟแนนซ์กับสถาบันการเงินใหม่ที่ไหนคุ้มค่ากว่ากัน ทำการบวกลบคูณหารให้ดี หากมีกำไรคุ้มค่าจากการรีไฟแนนซ์ที่ใหม่ ก็ทำการย้ายไปได้เลยค่ะ

  2. เพื่อนำส่วนต่างออกมาใช้จ่าย แน่นอนว่าการรีไฟแนนซ์บ้านทุกครั้งจะต้องมีการประเมินมูลค่าของหลักทรัพย์ค้ำประกันใหม่ทุกครั้ง ซึ่งก็คือบ้านที่เรากำลังผ่อนอยู่นั่นเอง และส่วนใหญ่แล้วราคาบ้าน ราคาที่ดิน ก็จะมีการเพิ่มมูลค่าขึ้นทุกปี จึงทำให้เงินจากการขอรีไฟแนนซ์นั้นได้มาเยอะกว่าหนี้สินที่เหลืออยู่ ซึ่งเกิดเป็นส่วนต่างที่เราสามารถนำเงินจำนวนนั้นมาใช้จ่ายได้ และทำให้หลายคนขอกู้รีไฟแนนซ์ด้วยเหตุผลนี้เนื่องจากสภาพคล่องทางการเงินลดลง จำเป็นจะต้องมีเงินสดมาหมุนเวียนซึ่งอาจจะเป็นได้ทั้งเอามาใช้หมุนเวียนในธุรกิจ หรือชำระหนี้สินอื่น เช่น หนี้บัตรเครดิต หรือหนี้สินเชื่อส่วนบุคคล เป็นต้น

4 เทคนิคเริ่มต้น "รีไฟแนนซ์"


การตัดสินใจว่าจะรีไฟแนนซ์หรือไม่นั้น เราควรพิจารณาหลายๆ ด้านนะคะ เพราะถ้าจะทำแล้วต้อง "คุ้มค่า" ที่สุด คือทำแล้วต้องดีกว่าเดิม ซึ่งคงจะมีหลายคำถามตามมาว่า...แล้วจะมีวิธีเลือกอย่างไร ให้การรีไฟแนนซ์ครั้งนี้เป็นไปด้วยความคุ้มค่าที่สุด วันนี้เรามีคำตอบมาให้ทุกคนด้วย 4 เทคนิคเริ่มต้น "รีไฟแนนซ์" มาฝากค่ะ
1. เปรียบเทียบอัตราดอกเบี้ยเงินกู้เก่า และใหม่
เราควรดูและตรวจสอบอัตราดอกเบี้ยของหลายๆ ธนาคารที่มีบริการผลิตภัณฑ์รีไฟแนนซ์มาเปรียบเทียบกับอัตราดอกเบี้ยของธนาคารเดิมที่กำลังจะปรับเพิ่มขึ้น คำนวณดูว่าธนาคารไหนเสนอดอกเบี้ยถูกที่สุด คุ้มที่สุด ยิ่งมีโปรโมชั่นยิ่งดีค่ะ (ดูอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อบ้านธนาคารไหนถูกสุด?...ดูได้ที่นี่ และสินเชื่อรีไฟแนนซ์ (REFINANCE) บ้าน แบงค์ไหนถูก? แบงค์ไหนแพง?)
2. คำนวณค่าใช้จ่ายทั้งหมดจากการขอ Refinance
สอบถามค่าธรรมเนียมทุกอย่างจากธนาคารที่ขอกู้รีไฟแนนซ์ให้ครบถ้วน นำมาบวก ลบ คูณ หาร ให้เรียบร้อย แล้วดูว่าค่าใช้จ่ายทั้งหมดมันคุ้มหรือไม่ เพราะการรีไฟแนนซ์ก็คือการขอกู้เงินก้อนใหม่ ค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายที่ต้องจ่ายให้กับธนาคารก็ต้องเริ่มใหม่เช่นกัน ซึ่งมีทั้ง
  • ค่าสรุปยอดหนี้
  • ค่าประเมินทรัพย์สิน ประมาณ 2,500 บาท - 0.25% ของราคาประเมิน (จ่ายให้กับสถาบันการเงินใหม่)
  • ค่าธรรมเนียมสินเชื่อตามสัญญาใหม่ ประมาณ 0 - 1% ของวงเงินกู้ใหม่ (จ่ายให้กับสถาบันการเงินใหม่)
  • ค่าอากรแสตมป์ ประมาณ 0.05% ของวงเงินกู้ใหม่ (จ่ายให้กับสถาบันการเงินใหม่)
  • ค่าประกันอัคคีภัย ประมาณ 2,000 บาทต่อปี สำหรับบ้านมูลค่า 1 ล้านบาท (จ่ายให้กับสถาบันการเงินใหม่)
  • ค่าออกเช็ค, ค่านิติกรรม ประมาณ 1,000 - 2,000 บาท
  • ค่าไถ่ถอน (จ่ายให้กับกรมที่ดิน)
  • ค่าจดจำนอง ประมาณ 1% ของวงเงินกู้ (ไม่เกิน 200,000 บาท) (จ่ายให้กับกรมที่ดิน)
  • ค่าปรับปิดบัญชีก่อนกำหนด (กรณีไถ่ถอนจากสินเชื่อเดิมก่อนกำหนดจากสถาบันการเงินเดิม) ประมาณ 2-3% ของวงเงินกู้ทั้งจำนวน โดยอาจจะคิดจากมูลหนี้ที่เหลืออยู่ (จ่ายให้กับสถาบันการเงินเดิม กรณีรีไฟแนนซ์ก่อนครบกำหนด)
ทั้งหมดนี้ ค่าธรรมเนียมบางอย่างในช่วงโปรโมชั่นของบางธนาคารก็อาจจะได้รับยกเว้น เพราะฉะนั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่เราจะต้องตรวจสอบให้รอบคอบก่อนที่จะต้องเสียเงินไปแบบไม่คุ้มค่านะคะ ตัวอย่างเช่น

โปรโมชั่นสินเชื่อรีไฟแนนซ์บ้าน ธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย

รีไฟแนนซ์บ้าน ดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี 3.29% ฟรี 3 ต่อ
  • ฟรี! ค่าจดจำนอง สูงสุด 100,000 บาท
  • ฟรี! ค่าประเมินราคาหลักทรัพย์
  • ฟรี! ค่าอากรแสตมป์
รีไฟแนนซ์บ้านและขอวงเงินเพิ่ม ดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี 3.99%
  • ฟรี 3 ต่อ ไม่เข้าร่วมรายการ
ระยะเวลาโปรโมชั่นตั้งแต่วันที่ 1 ก.ย. - 31 ธ.ค. 60
3. ศึกษาเงื่อนไขจากสัญญาเงินกู้เดิม และใหม่ให้ละเอียด
ก่อนคิดจะตัดสินใจขอกู้สินเชื่อรีไฟแนนซ์นั้น เราต้องดูเงื่อนไขสัญญาเงินกู้ฉบับเดิมด้วยว่า ต้องผ่อนชำระขั้นต่ำกี่ปีถึงจะไม่ต้องเสียค่าปรับ (ส่วนใหญ่ประมาณ 3 ปี) ถ้าเราขอรีไฟแนนซ์ก่อนระยะเวลาที่เงื่อนไขกำหนดอาจจะทำให้เราต้องเสียทั้งค่าปรับจากสัญญาฉบับเดิม และเสียค่าธรรมเนียมใหม่จากสัญญาเงินกู้ใหม่ด้วย ซึ่งไม่คุ้มแน่นอน (แบบนี้ไม่แนะนำให้รีไฟแนนซ์นะคะ เพราะมีแต่เสียกับเสีย) และควรดูด้วยว่าการ Refinance ต้องมีขั้นตอนในสัญญาเดิมอะไรบ้าง..เช่นต้องแจ้งล่วงหน้า 30 วัน เป็นต้น
4. นำเงินส่วนต่างมาใช้ให้เกิดประโยชน์
บางครั้งการรีไฟแนนซ์จะทำให้เราได้เงินส่วนต่างจากการประเมินหลักทรัพย์ที่สูงกว่าหนี้ก้อนเดิม ดังนั้น เมื่อเราได้เงินส่วนต่างจำนวนนี้มาเราควรใช้มันให้คุ้มค่าที่สุด ไม่ใช้จ่ายสุรุ่ยสุร่าย ถ้าใครมีหนี้บัตรเครดิตก็ควรเอาไปปิดหนี้บัตรให้หมด หรือใครมีหนี้สินเชื่อบุคคลก็ควรเอาไปปิดหนี้สินเชื่อให้หมด เพราะดอกเบี้ยจากสินเชื่อพวกนี้แพงกว่าสินเชื่อรีไฟแนนซ์แน่นอนค่ะ ส่วนในทางกลับกันถ้าเราไม่จำเป็นต้องใช้เงินส่วนต่างนี้เราสามารถแจ้งสถาบันการเงินใหม่ได้ หากต้องการกู้เงินเท่ากับจำนวนหนี้สินที่ค้างอยู่ ในกรณีนี้จะทำให้เราได้ทั้งดอกเบี้ยที่ต่ำลง และหนี้สินที่หมดเร็วขึ้นนะคะ
เคล็ดลับจากเทคนิคที่นำเสนอนี้ เป็นสิ่งที่เราควรฉุกคิดก่อนเพื่อให้ได้มาซึ่งความคุ้มค่าจากการรีไฟแนนซ์ในทุกครั้ง ที่สำคัญนอกเหนือจากความคุ้มค่าในการผ่อนชำระแล้ว เราต้องพยายามใช้หนี้ก้อนนั้นให้หมดเร็วที่สุด พร้อมกับการวางแผนการใช้เงินของเรา โดยพยายามอย่าให้ตัวเองเดือดร้อน พิจารณาและคำนวณวงเงินให้ดีๆ เพราะถ้าเรายื่นกู้เงินไปแล้วได้รับการอนุมัติวงเงินที่เยอะเกินไป สุดท้ายเราอาจจะผ่อนไม่ไหวทำให้เกิดปัญหาเป็นดาบสองคมให้ตัวเราเองได้

ขั้นตอนการ "Refinance" บ้านต้องทำยังไง?

หลังจากที่เราตัดสินใจแล้วว่าจะต้องทำการรีไฟแนนซ์แน่นอน สิ่งที่เราควรทำก็ไม่มีอะไรยุ่งยากเลยค่ะ โดยพิจารณา 2 ข้อนี้ก่อน ดังนี้
  1. กรณี "รีไฟแนนซ์" บ้านเพื่อให้มีภาระผ่อนชำระน้อยลง เราต้องตรวจสอบกับสถาบันการเงินว่าที่ไหนให้อัตราดอกเบี้ยต่ำที่สุด เงื่อนไขดีที่สุด และโปรโมชั่นเจ๋งที่สุด มีขั้นตอนต้องแจ้งหรือขอความยินยอมจากธนาคารหรือไม่? ถ้าเลือกได้แล้วก็จัดการยื่นเอกสารได้เลยค่ะ

  2. กรณี "รีไฟแนนซ์" บ้านเพื่อนำส่วนต่างออกมาใช้จ่าย ถ้าในเวลานั้นเรามีภาระที่ต้องดำเนินการ เช่น ใช้หมุนเวียนธุรกิจ, ปิดบัญชีบัตรเครดิต หรือปิดบัญชีสินเชื่อส่วนบุคคล สิ่งที่เราต้องทำ คือ ตรวจสอบอัตราดอกเบี้ยและเงื่อนไขที่ดีที่สุด แล้วลองยื่นเอกสารกับสถาบันการเงินที่ถูกใจอย่างน้อย 3 แห่งขึ้นไป หลังจากนั้นดูผลว่าสถาบันการเงินไหนประเมินราคาหลักทรัพย์และให้วงเงินกู้สูงสุดก็ให้เลือกสถาบันการเงินนั้น (สาเหตุที่ต้องลองยื่นเอกสารหลายแห่งก็เพราะบริษัทประเมินราคาของแต่ละสถาบันการเงินจะเป็นคนละบริษัทกัน ซึ่งอาจทำให้จำนวนเงินกู้ที่จะ Refinance ได้ แตกต่างกันพอสมควร) 
เริ่มขั้นตอนการรีไฟแนนซ์ด้วย...
  • ติดต่อขอรายการสรุปยอดหนี้สินเชื่อบ้านกับสถาบันการเงินเดิม
  • นำรายการยอดหนี้ที่ได้มาไปยื่นขอรีไฟแนนซ์บ้านกับสถาบันการเงินใหม่
  • รอเจ้าหน้าที่มาดำเนินการประเมินราคาหลักทรัพย์ค้ำประกัน (บ้าน)
  • รอผลอนุมัติสินเชื่อรีไฟแนนซ์
  • กรณีสินเชื่อรีไฟแนนซ์ได้รับการอนุมัติแล้ว ให้นำเอกสารไปไถ่ถอนบ้านจากสินเชื่อเงินกู้ฉบับเดิม
  • เริ่มทำสัญญาสินเชื่อรีไฟแนนซ์กับสถาบันการเงินใหม่ พร้อมกับนัดวันโอนบ้านที่ใช้เป็นหลักทรัพย์ค้ำประกัน ทั้งจากสถาบันการเงินเดิม และใหม่
  • กรณีที่สินเชื่อรีไฟแนนซ์ได้วงเงินกู้สูงกว่าราคาไถ่ถอน เราจะได้รับเช็ค 2 ฉบับ แบ่งเป็นเช็คสำหรับไถ่ถอน และเช็คส่วนต่างที่สามารถนำไปใช้จ่ายได้
  • ดำเนินการจัดการเรื่องโอนกรรมสิทธิ์ที่สำนักงานที่ดิน เขตที่บ้านตั้งอยู่ โดยมีเจ้าหน้าที่จากทั้ง 2 สถาบันการเงินไปด้วย
  • ยื่นโฉนดที่ดินให้กับสถาบันการเงินผู้ให้กู้สินเชื่อฉบับใหม่ ขั้นตอนเสร็จสิ้น

เมื่อยื่นกู้ "Refinance" ต้องระวังอะไรบ้าง?

การรีไฟแนนซ์นับได้ว่าเป็นทางเลือกที่ดีของคนที่ต้องการใช้ประโยชน์จากสินเชื่อประเภทนี้ แต่ถ้าเราใช้ประโยชน์จากสิ่งนั้นโดยไม่ระวังก็อาจจะทำให้เราได้รับโทษจากสิ่งนั้นด้วยเช่นกัน เพราะฉะนั้นทาง CheckRaka.com จึงไม่พลาดที่จะเตือนเพือนๆ ด้วย "ข้อควรระวัง" จากการใช้สินเชื่อรีไฟแนนซ์ มาฝากกันค่ะ (ย้ำกันให้เข้าใจ จะได้ไม่ลืมนะคะ)
  1. ควรคำนวณค่าใช้จ่ายทั้งหมดในการรีไฟแนนซ์ให้ดี เพราะอาจทำให้การตัดสินใจในครั้งนี้ไม่คุ้มค่า
  2. Rate อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ของแต่ละสถาบันการเงินไม่เท่ากัน การเปรียบเทียบดอกเบี้ยหลังหมดโปรโมชั่นของแต่ละสถาบันการเงินจึงไม่เท่ากัน
  3. บางสถาบันการเงินเราสามารถต่อรองดอกเบี้ยหลังจากหมดโปรโมชั่นได้ ซึ่งถ้าเป็นเช่นนั้นเราก็ไม่จำเป็นต้องขอรีไฟแนนซ์กับสถาบันการเงินใหม่ แถมยังไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายหรือค่าธรรมเนียมอื่นเพิ่มเติม
  4. ค่าใช้จ่ายในการรีไฟแนนซ์บางสถาบันการเงินอาจมีเงื่อนไขพิเศษ เช่น ฟรีค่าจดจำนอง ซึ่งเหมาะกับคนที่ไม่สะดวกเตรียมค่าจดจำนองในวันโอนกรรมสิทธิ์
  5. ประกันภัย หรือประกันชีวิตต่างๆ ที่สถาบันการเงินขายคู่กับสินเชื่อนั้น เราสามารถต่อรองได้ และควรเลือกที่เหมาะสมกับเราที่สุด 

ตัวอย่างสินเชื่อรีไฟแนนซ์บ้านที่น่าสนใจ

"รีไฟแนนซ์บ้าน" ธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย เป็นสินเชื่อเพื่อการไถ่ถอนสินเชื่อที่อยู่อาศัยจากสถาบันการเงินอื่น ช่วยลดภาระด้วยอัตราดอกเบี้ยต่ำ เปลี่ยนบ้านหลังเดิมมาเป็น "บ้านประหยัดดอกเบี้ย" รีไฟแนนซ์บ้าน" ดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี 3.29%

รีไฟแนนซ์บ้าน ดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี 3.29% ฟรี 3 ต่อ
  • ฟรี! ค่าจดจำนองสูงสุด 100,000 บาท
  • ฟรี! ค่าประเมินราคาหลักทรัพย์
  • ฟรี! ค่าอากรแสตมป์
ระยะเวลาโปรโมชั่นตั้งแต่วันที่ 1 ก.ย. - 31 ธ.ค. 60
รีไฟแนนซ์บ้านและขอวงเงินเพิ่ม* ดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี 3.99%
*ฟรี 3 ต่อ ไม่เข้าร่วมรายการ
อัตราดอกเบี้ย
รีไฟแนนซ์บ้าน Re-finance Balance Transfer Program
ประเภท ปีที่ 1 ปีที่ 2 ปีที่ 3 ระยะเวลาที่เหลือ อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา
MRTA 10 ปี MRR-4.46% MRR-4.46% MRR-4.46% MRR-2.25% 3.29% 5.00%
MRTA 5 ปี MRR-4.31% MRR-4.31% MRR-4.31% MRR-2.25% 3.44% 5.04%
No MRTA  MRR-4.16% MRR-4.16% MRR-4.16% MRR-2.25%  3.59%  5.07% 
รีไฟแนนซ์บ้านและขอวงเงินเพิ่ม Re-finance + Top up Program
ประเภท ปีที่ 1 ปีที่ 2 ปีที่ 3 ระยะเวลาที่เหลือ อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา
MRTA MRR-3.76% MRR-3.76% MRR-3.76% MRR-2.00% 3.99% 5.36%
No MRTA MRR-3.26% MRR-3.26% MRR-3.26% MRR-2.00% 4.49% 5.48%
หมายเหตุ :
  1. อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงข้างต้นเป็นเพียงตัวอย่างที่ใช้ในการคำนวณจากวงเงินกู้ 2 ล้านบาท ระยะเวลา 30 ปีเท่านั้น
  2. MRR = 7.75% ประกาศ ณ วันที่ 16 มิ.ย. 60
คุณสมบัติผู้สมัคร
  • ประเภทหลักประกัน ได้แก่ บ้านเดี่ยว, บ้านแฝด, ทาวน์เฮ้าส์, ทาวน์โฮม, คอนโดมิเนียม และ อาคารพาณิชย์ (สัญญาเงินกู้เดิมต้องเป็นสัญญาเพื่ออยู่อาศัย)
  • กรณี Re-finance Balance Transfer Program ต้องมีวงเงินสินเชื่อเดิมไม่ต่ำกว่า 2 ล้านบาท
  • สัดส่วนวงเงินกู้ต่อมูลค่าหลักประกัน เมื่อรวมค่าเบี้ยประกันชีวิต (MRTA) และ ค่าเบี้ยประกันอัคคีภัย ทั้งนี้ ต้องไม่เกินภาระหนี้คงค้างเดิม
    - กรณี Re-finance Balance Transfer Program สูงสุด 95% ของวงเงินสินเชื่อที่อยู่อาศัยเดิม
    - กรณี Re-finance + Top up Program สูงสุด 95% ของราคาประเมิน กรณีวงเงินไม่เกิน 30 ล้านบาท กรณีวงเงินเกิน 30 ล้านบาท สูงสุด 85% ของราคาประเมิน
  • กรณีลูกค้าได้รับการยกเว้นค่าจดจำนอง 1% ของวงเงินกู้ (สูงสุดไม่เกิน 100,000 บาท) หากลูกค้าปิดบัญชีก่อน 5 ปี ธนาคารจะเรียกเก็บค่าธรรมเนียมจดจำนอง 1% คืน โดยจะคำนวณจากวงเงินกู้ในสัญญา (วงเงินอนุมัติ) ทั้งนี้ ลูกค้าสามารถคืนค่าจดจำนองเป็นเงินสดหรือเช็คได้
  • หลักเกณฑ์และเงื่อนไขอื่นๆ เป็นไปตามที่ธนาคารกำหนด
  • ธนาคารขอสงวนสิทธิ์ในการเปลี่ยนแปลงข้อกำหนดและเงื่อนไข ระยะเวลา และสิทธิประโยชน์ต่างๆ โดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า
รายได้ต่อเดือน
รีไฟแนนซ์บ้าน Re-Finance Balance Transfer Program
อาชีพ สถานที่ทำงาน
กรุงเทพฯ และปริมณฑล ต่างจังหวัด
พนักงานกรณีกู้เดี่ยว >15,000 บาทขึ้นไป >15,000 บาทขึ้นไป
พนักงานกรณีมีผู้กู้ร่วม
- กู้หลัก
- กู้รอง
- กู้หลัก + กู้รอง

>10,000 บาทขึ้นไป
ไม่กำหนดขั้นต่ำ
>15,000 บาทขึ้นไป

>10,000 บาทขึ้นไป
ไม่กำหนดขั้นต่ำ
>15,000 บาทขึ้นไป
ประกอบธุรกิจส่วนตัวกรณีกู้เดี่ยว >30,000 บาทขึ้นไป/คน/ธุรกิจ
>20,000 บาทขึ้นไป/คน/ธุรกิจ
ประกอบธุรกิจส่วนตัวกรณีมีผู้กู้ร่วม
- กู้หลัก
- กู้รอง
- กู้หลัก + กู้รอง

>30,000 บาทขึ้นไป/คน/ธุรกิจ
ไม่กำหนดขั้นต่ำ
>30,000 บาทขึ้นไป/คน/ธุรกิจ

>20,000 บาทขึ้นไป/คน/ธุรกิจ
ไม่กำหนดขั้นต่ำ
>20,000 บาทขึ้นไป/คน/ธุรกิจ
หมายเหตุ : ปริมณฑล ได้แก่ นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ นครปฐม สมุทรสาคร
รีไฟแนนซ์บ้านและขอวงเงินเพิ่ม Refinance + Top up Program
อาชีพ สถานที่ทำงาน
กรุงเทพฯ และปริมณฑล ต่างจังหวัด
พนักงาน
กรณีกู้เดี่ยว 30,000 บาทขึ้นไป 30,000 บาทขึ้นไป
กรณีมีผู้กู้ร่วม
  • กู้หลัก
  • กู้รอง
  • กู้หลัก + กู้รอง

30,000 บาทขึ้นไป
ไม่กำหนดขั้นต่ำ
30,000 บาทขึ้นไป

30,000 บาทขึ้นไป
ไม่กำหนดขั้นต่ำ
30,000 บาทขึ้นไป
เอกสารประกอบการสมัคร
พนักงานประจำ/ข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ/พนักงานสัญญาจ้างของหน่วยงานราชการหรือรัฐวิสาหกิจ ผู้ประกอบธุรกิจส่วนตัว/เจ้าของกิจการ 
เอกสารส่วนตัว
  • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน / สำเนาบัตรข้าราชการ / สำเนาบัตรพนักงานรัฐวิสาหกิจ (ที่มีเลขบัตรประชาชนระบุ)
  • สำเนาทะเบียนบ้าน
  • สำเนาใบเปลี่ยนชื่อ-ชื่อสกุล / ทะเบียนสมรส / ทะเบียนหย่า (ถ้ามี)
  • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน / สำเนาบัตรข้าราชการ / สำเนาบัตรพนักงานรัฐวิสาหกิจ (ที่มีเลขบัตรประชาชนระบุ)
  • สำเนาทะเบียนบ้าน
  • สำเนาใบเปลี่ยนชื่อ-ชื่อสกุล / ทะเบียนสมรส / ทะเบียนหย่า (ถ้ามี)
เอกสารแสดงรายได้
  • สลิปเงินเดือน (สำเนา / ต้นฉบับ) หรือ หนังสือรับรองเงินเดือนจากบริษัท โดยสลิปเงินเดือน / หนังสือรับรองเงินเดือนย้อนหลังไม่เกิน 2 เดือนนับจากปัจจุบัน
  • สำเนาบัญชีธนาคารที่เงินเดือนเข้า ย้อนหลัง 3 เดือนต่อเนื่องกันนับจากปัจจุบัน 
  • สำเนาหนังสือจดทะเบียนการค้า หรือ สำเนาทะเบียนนิติบุคคล (กรณีเป็นบริษัทจำกัด เพิ่มบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น) ที่รับรองสำเนาโดยกระทรวงพาณิชย์ ลงวันที่ย้อนหลังไม่เกิน 6 เดือน หรือ หลักฐานการประกอบธุรกิจที่ออกจากหน่วยงานราชการ / หน่วยงานหรือองค์กรธุรกิจที่น่าเชื่อถือและสามารถตรวจสอบได้
  • สำเนาบัญชีธนาคารที่ใช้หมุนเวียนในธุรกิจ ย้อนหลัง 6 เดือนต่อเนื่องกัน 
เอกสารหลักประกัน  
  • สำเนาใบเสร็จการผ่อนชำระเงินกู้ หรือ ใบแจ้งยอดหนี้เงินกู้ (Statement) ย้อนหลังอย่างน้อย 3 เดือน
  • สำเนาหนังสือสัญญาเงินกู้เดิม
ดูรายละเอียดผลิตภัณฑ์ "รีไฟแนนซ์บ้าน" เพิ่มเติม

ทำไมต้องกู้สินเชื่อ "รีไฟแนนซ์บ้าน" กับธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย

ธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย เป็นธนาคารที่ให้ความสำคัญเรื่องความปลอดภัยของข้อมูลส่วนตัวลูกค้าที่ใช้ผลิตภัณฑ์และบริการต่างๆ ซึ่งเป็นที่ไว้วางใจแก่ลูกค้าของธนาคารเป็นอย่างมาก ในปัจจุบันธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย มีผลิตภัณฑ์ "รีไฟแนนซ์บ้าน" ออกมาให้บริการ นำเสนอลักษณะบริการเป็นที่น่าสนใจ และที่สำคัญคือ "ลดภาระด้วยอัตราดอกเบี้ยต่ำ" ด้วยการให้ดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปีแรก 3.29% ต่อปี พร้อมฟรีค่าธรรมเนียม เมื่อเทียบกับแบงค์อื่นถือว่าถูกมาก และน่าสนใจที่สุดในตอนนี้ ลักษณะหลักทรัพย์ก็เปิดกว้างหลายรูปแบบทั้งที่เป็นบ้านเดี่ยว, บ้านแฝด, ทาวน์เฮ้าส์, ทาวน์โฮม, คอนโดมิเนียม และอาคารพาณิชย์ ขั้นตอนการขอสินเชื่อก็ไม่ยุ่งยาก หากยังไม่แน่ใจในรายละเอียดก็สามารถสอบถามได้ทั้งที่สาขาธนาคาร และ CIMB THAI care center 0-2626-7777 โดยมีเจ้าหน้าที่พร้อมให้บริการในทุกข้อสงสัยเรื่อง "รีไฟแนนซ์" ค่ะ

แท็กที่เกี่ยวข้อง เทคนิค รีไฟแนนซ์ refinance
Money Guru
เขียนโดย เช็คราคา.คอม Money Guru

พูดคุยกับกูรูได้ที่




เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)