x
icon-filter ค้นหาโทรศัพท์มือถือ
product filter
product filter
product filter
product filter

หัวเว่ยยกทัพนวัตกรรมโชว์ Education Summit ครั้งแรกนอกกรุงเทพฯ รับแผนอุตฯการศึกษาปรับตัวยุคดิจิทัล

ข่าว icon 14 ก.ค. 66 icon 841
บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด จัดงาน Huawei Thailand Education Summit 2023 ครั้งแรกของประเทศไทย ภายใต้ธีม Accelerate the Digital Journey of Education ณ จังหวัดขอนแก่น นำเสนอเทรนด์และเทคโนโลยีล่าสุด สำหรับภาคการศึกษา เพื่อหวังเป็นแนวทางในการยกระดับความพร้อมและรับมือกับการเปลี่ยนแปลงในยุคดิจิทัล
ศ.ดร.ศุภชัย ปทุมนากุล รองปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กล่าวว่า หน้าที่หลักของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) คือ การพัฒนากำลังคน และการสร้างความเป็นเลิศ ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญของการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและความยั่งยืนของประเทศไทย การที่เราจะพัฒนาประเทศไปสู่ยุคอุตสาหกรรม 4.0 ได้นั้น การพัฒนากำลังคนจึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง โดยเฉพาะกำลังคนด้านดิจิทัล เนื่องจากเทคโนโลยีเป็นพื้นฐานของการพัฒนของทุกอุตสาหกรรม 
“ในปีที่ผ่านมา กระทรวง อว. ได้ร่วมกับ หัวเว่ย ประเทศไทยจัดทำสมุดปกขาวสำหรับการพัฒนาบุคลากรด้านดิจิทัลของประเทศไทย โดยผลการศึกษาได้ระบุว่า ประเทศไทยจะเผชิญกับการขาดแคลนบุคลากรดิจิทัลถึงกว่า 500,000 คน ภายในปี พ.ศ. 2573 โดยเฉพาะบุคลากรที่มีทักษะด้าน 5G, IoT, และคลาวด์ ในระดับ ในระดับ 4 (ระดับสูง) 
วันนี้ ผมขอร่วมแสดงความยินดีกับมหาวิทยาลัยขอนแก่นและหัวเว่ย ประเทศไทยในการจัดตั้ง Huawei ICT Academy Support Center ขึ้น ซึ่งตรงกับสิ่งที่กระทรวงเล็งเห็นว่าการสร้างกำลังคนจะต้องเป็นแบบ co-creation ระหว่างผู้ผลิตบัณฑิต และฝั่งอุตสาหกรรม ซึ่งจะก่อให้เกิดสังคมที่พร้อมสนับสนุนบัณฑิตทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืน”
ด้าน รศ.นพ.ชาญชัย พานทองวิยะกุล อธิการบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่น เผยว่า สำหรับมหาวิทยาลัยขอนแก่นขณะนี้อยู่ในช่วงของการเปลี่ยนแปลงดิจิทัล ซึ่งมหาวิทยาลัยฯได้เริ่มวางเป้าหมายในการพัฒนามหาวิทยาลัยขอนแก่นให้เป็น Smart Campus และ Smart University ที่ไม่เพียงเปลี่ยนแปลงในเชิงวิชาการเท่านั้น แต่คือการเปลี่ยนแปลงทั้งองค์รวม ทั้งคน ทั้งแนวคิดและเทคโนโลยีที่เป็นส่วนสำคัญ ซึ่งสิ่งที่ตอบโจทย์คือ Digital Technology ที่จะเปลี่ยนมหาวิทยาลัยขอนแก่นให้เป็น Paperless หรือ Digitalization
“ผมต้องขอขอบคุณที่มีงานในลักษณะนี้ที่นี่ ซึ่งเป็นประโยชน์อย่างยิ่งที่เราจะได้เห็นเทรนด์เทคโนโลยี สิ่งที่กำลังจะเกิดขึ้น และศักยภาพของบริษัทไอทีที่มีประสบการณ์ในอุตสาหกรรมระดับโลกนำเทคโนโลยี และนวัตกรรมมาให้เราสัมผัสกัน และจุดประกายไอเดียต่างๆในการนำไปประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับแต่ละหน่วยงาน”

รศ.นพ.ชาญชัย พานทองวิยะกุล อธิการบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่น
นายเควิน เฉิง ประธานกลุ่มธุรกิจเอ็นเตอร์ไพรส์ บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด เผยว่า ภาคการศึกษาเป็นหนึ่งในตลาดสำคัญของหัวเว่ยในประเทศไทย ซึ่งนอกจากการเลือกสรรเทคโนโลยีและโซลูชันที่เหมาะสมกับโจทย์ความต้องการแล้ว หัวเว่ยยังมองถึงการส่งเสริมและพัฒนาให้ครอบคลุมทั้งอีโค่ซิสเต็มส์เพื่อให้เกิดการใช้ประโยชน์สูงสุดจากเทคโนโลยีเพื่อการยกระดับการเรียนการสอนของประเทศ
“เทคโนโลยีที่ดีที่สุดนั้นอาจไม่ใช่สิ่งใช่ที่สุดสำหรับทุกคนเสมอไป ดังนั้นการเลือกสิ่งที่ตรงกับความต้องการจริง และสามารถตอบสนองต่อภารกิจและเป้าหมายของหน่วยงานคือ น่าจะตอบโจทย์ความต้องการได้ดีกว่า ซึ่งในฐานะผู้นำไอซีทีชั้นนำ หัวเว่ยมุ่งมั่นที่จะทำงานร่วมกับลูกค้าและพาร์ทเนอร์เพื่อนําเทคโนโลยีการเชื่อมต่อ เอไอ คลาวด์คอมพิวติ้ง และเทคโนโลยีอื่นๆ มาประยุกต์ใช้กับการศึกษา ตลอดจนถึงการบ่มเพาะบุคลากรที่มีความสามารถด้านนวัตกรรม เร่งสร้างนวัตกรรมในการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ และลดความเหลื่อมล้ำทางดิจิทัล เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาทรัพยากรทางการศึกษาอย่างเท่าเทียม”

นายเควิน เฉิง ประธานกลุ่มธุรกิจเอ็นเตอร์ไพรส์ บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด
ในครั้งนี้ หัวเว่ยยังนำเทคโนโลยีพร้อมด้วยโซลูชันและนวัตกรรมด้านการศึกษา มาจัดแสดงให้คณะผู้บริหารสถาบันการศึกษา คณาจารย์และบุคคลากรที่เกี่ยวข้องได้เยี่ยมชมเป็นครั้งแรก ไม่ว่าจะเป็นเทคโนโลยี Virtual Reality in 5G Classroom, Intelligent Research Center, Next Generation of Campus Network, Wi-Fi 7, AI Camera ตลอดจนตัวอย่างการเปลี่ยนแปลงดิจิทัลของมหาวิทยาลัยขอนแก่น เพื่อเป็นแนวทางให้สถาบันและหน่วยงานต่างๆในการเตรียมพร้อมสำหรับหน่วยงานของตนเอง
พร้อมกันนี้ยังได้ร่วมมือกับพันธมิตรด้านไอซีที นำเทคโนโลยีเพื่อการศึกษายุคใหม่ที่น่าสนใจร่วมจัดแสดงภายในงาน WUNCA 43 การประชุมเชิงปฏิบัติการ “การดำเนินกิจกรรมบนระบบเครือข่ายสารสนเทศเพื่อพัฒนาการศึกษา ครั้งที่ 43 ณ มหาวิทยาลัยขอนแก่นในระหว่างวันที่ 10-13 กรกฎาคมที่ผ่านมาด้วย 
ในงานเดียวกันนี้ มหาวิทยาลัยขอนแก่น และบริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด ยังได้ลงนามความร่วมมือจัดตั้งโครงการ Huawei Academy support Center ซึ่งจะเป็นตัวแทนของหัวเว่ยในการพัฒนาบุคลากรด้านไอซีทีแห่งเดียวในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและเป็นแห่งแรกในประเทศไทย ทั้งนี้เพื่อมุ่งหวังให้เป็นศูนย์กลางความร่วมมือและส่งเสริมการพัฒนากำลังคนด้านไอซีที พร้อมเป็นผู้สนับสนุนที่จะส่งผ่านองค์ความรู้ด้านเทคโนโลยีในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อาทิเช่น การจัดอบรมหลักสูตรเทคโนโลยีต่างๆให้กับอาจารย์และนักเรียน นักศึกษา
รวมไปถึงความร่วมมือระหว่างสถาบันการศึกษาต่างๆ เพื่อเพิ่มศักยภาพให้นักศึกษาพร้อมรับมือกับความเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยีในปัจจุบันร่วมกันพัฒนากำลังคนที่พร้อมด้วยทักษะด้านเทคโนโลยีในเขตภาคอีสาน เข้าสู่ตลาดแรงงานด้านอุตสาหกรรมไอซีทีของประเทศโดยมหาวิทยาลัยและสถาบันการศึกษาที่สนใจสามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://e.huawei.com/en/talent/ict-academy/#/home, Facebook.com/HuaweiICTAcademyTH หรือติดต่อ วิทยาลัยการคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น โทรศัพท์ 043-009700 ต่อ 50525

รศ.นพ.ชาญชัย พานทองวิริยะกุล อธิการบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่น ให้เกียรติเป็นผู้รับมอบประกาศนียบัตรรับรองความร่วมมือจัดตั้ง โครงการ Huawei Academy support Center แห่งแรกของประเทศไทยและในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
 

แท็กที่เกี่ยวข้อง

ข่าว หัวเว่ย 2023 ข่าว Huawei 2023 huawei

ข่าวและอีเว้นท์โทรศัพท์มือถือล่าสุด




เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)