ซาบรีนา เมิ่ง ประธานกรรมการหมุนเวียนตามวาระของหัวเว่ย กล่าวปาฐกถาภายในงานโมบาย เวิลด์ คองเกรส เซี่ยงไฮ้ 2023 (MWC Shanghai 2023) โดยเน้นย้ำถึงความสำเร็จของเทคโนโลยี 5G ตั้งแต่มีการนำมาใช้ในเชิงพาณิชย์ และกล่าวย้ำถึงบทบาทของ 5G ที่ได้เข้ามาพลิกโฉมตลาดผู้บริโภค อุตสาหกรรม และสภาพเศรษฐกิจสังคมทั่วโลก
“เทคโนโลยี 5G ถูกนำมาใช้ในเชิงพาณิชย์ทั่วโลกมากว่า 4 ปีแล้ว ทั้งในภาคอุตสาหกรรมและตามครัวเรือนทุกมุมโลก จะเห็นได้ว่า 5G ได้เข้ามาเปลี่ยนวิถีชีวิตและการทำงานของผู้คน สร้างคุณประโยชน์ทั้งในเชิงเศรษฐกิจ อุตสาหกรรม และสังคม”
เมื่อมองไปถึงอนาคตของ 5G ซาบรีนา เมิ่ง แสดงวิสัยทัศน์ต่อ 5.5G ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่ต่อยอดไปอีกขั้น โดยมั่นใจว่า 5.5G จะเป็นก้าวถัดไปของหัวเว่ยในการพลิกโฉมตลาดให้กับอุตสาหกรรมโทรศัพท์มือถือรุ่นใหม่ และยังกล่าวย้ำถึงบทบาทของหัวเว่ยในการขับเคลื่อนการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัลให้กับหลาย ๆ ภาคอุตสาหกรรม และเน้นย้ำความสำคัญของการพัฒนาความสามารถและกระบวนการทำงานต่าง ๆ ให้มีความบูรณาการมากขึ้น
“เทคโนโลยี 5.5G ไม่เพียงเชื่อมต่อผู้คนได้ดียิ่งขึ้น แต่จะนำไปสู่โอกาสทางธุรกิจที่ยอดเยี่ยมอีกมากมาย และยังมาพร้อมกับระบบสนับสนุนที่ตรงกับความต้องการของอุตสาหกรรมมากขึ้น เช่น เทคโนโลยี IoT, ระบบ sensing และกระบวนการผลิตที่ทันสมัยยิ่งขึ้น” ซาบรีนา เมิ่งกล่าว
เทคโนโลยี 5G, คลาวด์ และ AI สู่ปฏิกิริยาลูกโซ่
ซาบรีนา เมิ่งย้ำถึงบทบาทสำคัญของเทคโนโลยี 5G ระบบคลาวด์คอมพิวติ้งและ AI ที่มีต่อผู้บริโภคซึ่งนำไปสู่สถานการณ์ต่าง ๆ ที่หล่อหลอมขึ้นเป็นสภาพแวดล้อมที่เอื้อให้ผู้คนได้เข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมทั้งการซื้อและขาย
ในอุตสาหกรรมโทรคมนาคมสื่อสาร การให้บริการผู้บริโภคสามารถสร้างรายได้อย่างต่อเนื่อง จากการให้บริการเครือข่าย เมื่อเทคโนโลยี 5G มีการเข้าถึงและใช้งานกันอย่างแพร่หลายมากขึ้น ประสบการณ์อันยอดเยี่ยมที่ได้รับจากเทคโนโลยีนี้ยังนำไปสู่การเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้บริโภค เช่น ปริมาณการใช้งานวิดิโอความละเอียดสูงที่เพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดด
ในอนาคต เทคโนโลยี 5G จะปูทางให้กับอุปกรณ์และแอปพลิเคชันใหม่ ๆ ที่มอบประสบการณ์ที่สมจริงมากยิ่งขึ้น เช่น
โซลูชัน 5G New Calling และเทคโนโลยี Naked-eye 3D ไม่เพียงเท่านั้น เทคโนโลยี 5G ยังเปิดประตูไปสู่ยุคใหม่ของการเชื่อมต่อแบบพิเศษระหว่างวัตถุและอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่จะเป็นการเสริมศักยภาพให้กับเครือข่ายอุปกรณ์ IoT และนำไปสู่การเพิ่มประสิทธิภาพในรูปแบบใหม่ ๆ
เทคโนโลยี 5G คือขุมพลังขับเคลื่อนการพัฒนาอุตสาหกรรม
เทคโนโลยี 5G มอบศักยภาพในการพลิกโฉมให้กับอุตสาหกรรม เปรียบเสมือนตัวกระตุ้นให้เกิดการพัฒนาสมรรถภาพและยกระดับประสิทธิภาพในหลาย ๆ อุตสาหกรรม เช่น ภาคธุรกิจน้ำมันและก๊าซ ภาคการผลิต และภาคการขนส่ง ซาบรีนา เมิ่ง ยังได้อธิบายถึงความสำคัญของการบูรณาการเทคโนโลยี 5G ไว้ในระบบการผลิต เพื่อรองรับกระบวนการผลิตเชิงอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ความรู้ความเข้าใจในเชิงลึกที่มีต่ออุตสาหกรรมต่าง ๆ ความอุตสาหะเชิงกลยุทธ์ และการปรับปรุงพัฒนาอย่างต่อเนื่องเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและผลตอบแทนจากการลงทุน (ROI) ได้ปูทางให้หัวเว่ยประสบความสำเร็จในการบูรณาการเทคโนโลยี 5G เข้ากับอุปกรณ์และกระบวนการผลิตในภาคอุตสาหกรรม
สำหรับในประเทศไทย หัวเว่ย เร่งเดินหน้าสนับสนุนเป้าหมายของประเทศไทยในการขึ้นเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยี 5G ของภูมิภาคอาเซียน โดยภายในสิ้นปี 2565 ที่ผ่านมา หัวเว่ยได้สนับสนุนลูกค้าในประเทศไทยติดตั้งสถานีฐาน 5G ไปแล้วกว่า 40,000 สถานีทั่วประเทศ ช่วยให้ลูกค้าสามารถให้บริการเครือข่าย 5G คุณภาพสูงแก่คนไทยมากกว่า 80 เปอร์เซ็นต์ ส่งผลให้ปัจจุบัน ประเทศไทยมียอดผู้ใช้งาน 5G แล้วมากกว่า 11 ล้านคน คิดเป็นสัดส่วน 40 เปอร์เซ็นต์ ของจำนวนผู้ใช้งาน 5G ในภูมิภาคอาเซียน นอกจากนี้ อัตราการเข้าถึงอุปกรณ์ที่ใช้งาน 5G Terminal และการใช้ข้อมูลบนโครงข่าย 5G ยังมากกว่า 20 เปอร์เซ็นต์ ทั้งนี้ จากการจัดอันดับโดยสมาคมผู้ให้บริการเครือข่ายโทรคมนาคมทั่วโลก (GSMA) ประเทศไทยติดหนึ่งในเมือง 10 อันดับแรกของโลกที่มีการเข้าถึงและใช้งานเทคโนโลยี 5G อย่างแพร่หลาย
ยุคแห่ง 5.5G กำลังใกล้เข้ามา
เมื่อมองสู่อนาคต ซาบรีนา เมิ่ง เผยวิสัยทัศน์ของหัวเว่ยต่อวิวัฒนาการเทคโนโลยี 5G พร้อมเปิดตัวคอนเซ็ปต์เทคโนโลยี 5.5G ภายใต้ชื่อ ‘5G Advanced’ โดยหัวเว่ย ซึ่งบริษัทวางเป้าหมายให้เทคโนโลยี 5.5G เป็นสะพานเชื่อมไปสู่เทคโนโลยี 6G ที่ต่อยอดยิ่งขึ้นจากศักยภาพของ 5G
เทคโนโลยี 5.5G ในอุตสาหกรรมการสื่อสารกำลังใกล้เข้ามาอย่างรวดเร็ว เทคโนโลยีขั้นสูงนี้คาดว่าจะเข้ามายกระดับความสามารถของเครือข่ายเพิ่มขึ้นอีก 10 เท่า และจะเพิ่มโอกาสทางธุรกิจให้กับผู้ประกอบการเครือข่ายอีก 100 เท่า สำหรับในงาน MWC Shanghai ปีนี้ หัวเว่ยได้จัดแสดง 4 คุณสมบัติหลักของเทคโนโลยี 5.5G ซึ่งรวมถึงการยกระดับสู่ 10 Gbps, การยกระดับสู่ 1 Gbps, การเชื่อมต่อ 1 แสนล้านจุด และการบูรณาการใช้งานระบบ AI ตั้งแต่รากฐาน
นอกจากนี้ หัวเว่ยเร่งเดินหน้าสำรวจและพัฒนาการเชื่อมต่อด้วยเทคโนโลยี 5.5G ใน 5 ด้านหลัก ได้แก่ การเชื่อมต่อสำหรับผู้คน วัตถุสิ่งของ ยานยนต์ อุตสาหกรรม และบ้านพักที่อยู่อาศัย หัวเว่ยได้เริ่มสนับสนุนช่วยเหลือผู้ให้บริการเครือข่ายจำนวนมากทั่วโลกในการริเริ่มรับรองมาตรฐานการใช้งานเทคโนโลยี 5.5G ในเชิงพาณิชย์ อุตสาหกรรม 5.5G จะเติบโตอย่างต่อเนื่องและรวดเร็ว ในขณะที่มาตรฐาน 5.5G ฉบับแรกจะสิ้นสุดลงในช่วงครึ่งปีแรกของปี พ.ศ. 2567 และเทคโนโลยีที่เกี่ยวเนื่องกันนี้เริ่มได้รับการรับรองมาตรฐานอย่างครอบคลุม
ซาบรีนา เมิ่งยังเน้นย้ำว่า หัวเว่ยเชื่อว่าการให้การสนับสนุนจากลูกค้า พันธมิตรในอีโคซิสเต็ม สมาคมต่าง ๆ ในอุตสาหกรรม และสถาบันการศึกษา จะช่วยเดินหน้ายกระดับและเสริมความแข็งแกร่งให้กับระบบโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัล ความร่วมมือจากหลากภาคส่วนนี้จะเร่งขับเคลื่อนการเดินหน้าสู่ยุค 5.5G และโลกอัจฉริยะได้รวดเร็วยิ่งขึ้น
บูธจัดแสดงเทคโนโลยีของหัวเว่ย ในงาน MWC Shanghai 2023
ในโลกอัจฉริยะแห่งอนาคต ระบบโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัลจะถูกบูรณาการอย่างไร้รอยต่อกับทุกแง่มุมในชีวิตของผู้คน อุตสาหกรรม และสังคมโดยรวมอย่างสมบูรณ์ ซาบรีนา เมิ่งเน้นย้ำถึงแง่มุมสำคัญ 2 ด้านของการบูรณาการศักยภาพทางดิจิทัล ด้านแรกคือ การบูรณาการเทคโนโลยีที่แตกต่างเข้าด้วยกัน ด้วยการออกแบบที่เป็นระบบและการพัฒนานวัตกรรมในแบบ cross-domain จึงช่วยให้หัวเว่ยประสบความสำเร็จในการบูรณาการโซลูชันคลาวด์ เน็ตเวิร์ก edge computing และอุปกรณ์ต่าง ๆ เข้าด้วยกันเพื่อประสิทธิภาพที่ดียิ่งขึ้น และสำหรับด้านที่สอง จะมุ่งเน้นการบูรณาการแนวทางการบริหารจัดการที่หลากหลาย