x
icon-filter ค้นหาโทรศัพท์มือถือ
product filter
product filter
product filter
product filter

Huawei เปิดตัวโซลูชั่น Safe City Compact สร้างความปลอดภัยให้เมืองขนาดกลาง และขนาดย่อม

icon 30 ส.ค. 61 icon 1,470
Huawei เปิดตัวโซลูชั่น Safe City Compact สร้างความปลอดภัยให้เมืองขนาดกลาง และขนาดย่อม
Huawei เปิดตัวโซลูชั่น Safe City Compact สร้างความปลอดภัยให้เมืองขนาดกลาง และขนาดย่อม


Huawei เตรียมจัดงานประชุม Global Safe City Summit ขึ้นในกรุงเทพฯ ระหว่างวันที่ 30 - 31 สิงหาคม นี้ ภายใต้แนวคิด "Leading New ICT, The Road To Collaborative Public Safety" พร้อมเปิดตัวโซลูชั่นเมืองปลอดภัย Safe City Compact สำหรับเมืองขนาดกลางและขนาดย่อม เพื่อแก้ไขปัญหาด้านภัยคุกคามและปกป้องประชาชนให้ปลอดภัย และแชร์ประสบการณ์แนวทางที่ดีที่สุด โดยเฉพาะโซลูชั่นเมืองปลอดภัย C-C4ISR ของหัวเว่ยที่ช่วยสร้างความปลอดภัยสาธารณะอย่างกว้างขวางในประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก อาทิ เคนยา เยอรมนี มอริเชียส และเซอร์เบีย

โซลูชั่น "Safe City Compact" ยกระดับความปลอดภัยให้เมืองขนาดกลางและขนาดย่อม
จากระดับการก่ออาชญากรรม การก่อการร้ายและภัยพิบัติทางธรรมชาติที่เพิ่มสูงขึ้น ปัญหาด้านความปลอดภัยได้กลายมาเป็นประเด็นสำคัญของเมืองต่าง ๆ ทั่วโลก รวมถึงเมืองขนาดกลางและขนาดย่อม การปกป้องชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนจึงหมายรวมถึงการเสริมสร้างระบบเมืองปลอดภัยให้พร้อมรับมือกับความเสี่ยงต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้น เมื่อต้องเผชิญกับปัญหาความท้าทายในด้านความปลอดภัยหลาย ๆ อย่างเช่นเดียวกับเมืองใหญ่ในปัจจุบัน เมืองขนาดเล็กและขนาดกลางจึงต้องพยายามเพิ่มความมั่นคงและปลอดภัยให้มากขึ้นด้วยทรัพยากรที่มีอยู่จำกัด
เพื่อรับมือกับปัญหาเหล่านี้ Huawei จึงได้พัฒนาโซลูชั่น Safe City Compact ขึ้นเพื่อช่วยเมืองต่างๆ ที่มีประชากรตั้งแต่ 100,000 ถึง 500,000 คน ให้สามารถสร้างระบบแวดล้อมที่มีความปลอดภัยได้อย่างรวดเร็ว และก้าวทันภัยคุกคามที่กำลังเพิ่มขึ้น โซลูชั่นอัจฉริยะขนาดกะทัดรัดและผสานการใช้งานที่ลงตัวนี้ใช้สถาปัตยกรรมแบบคลาวด์ มีคุณสมบัติหลัก ๆ ที่เสริมสร้างเมืองปลอดภัยหลายประการด้วยกัน อาทิ การสั่งการแบบรวมศูนย์และภาพมอง (Converged & Visualized Command), วิดีโอคลาวด์อัจฉริยะ (Intelligent Video Cloud) และการสื่อสารแบบมัลติมีเดียในสถานการณ์คับขัน (Multimedia Critical Communication) ด้วยรูปแบบที่เป็นโมดูล โซลูชั่นดังกล่าวจึงสามารถรองรับการประกอบและแยกส่วน ผสานการทำงานเข้ากับซอฟต์แวร์ได้อย่างง่ายดาย เปรียบได้กับ “"Plug & Play" เสมือนเพียงเสียบปลั๊กและใช้งานได้ทันที โซลูชั่นนี้มีการติดตั้งใช้งานทั้งในประเทศชิลี โคลอมเบีย และฟิลิปปินส์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างเมืองอัจริยะ และปลอดภัยให้กับประเทศไทยในยุคดิจิทัล
จากความมุ่งมั่นของหัวเว่ยที่จะนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาสู่การใช้งานทุกระดับเพื่อทุกผู้คน ทุกครัวเรือน และทุกองค์กร เพื่อขับเคลื่อนโลกอัจฉริยะที่เชื่อมโยงถึงกันอย่างเต็มรูปแบบ บริษัทได้ร่วมมือกับพันธมิตรในประเทศ เพื่อเร่งให้ประเทศเดินหน้าไปสู่การเปลี่ยนผ่านสู่ยุคอุตสาหกรรมดิจิทัล และช่วยให้คนไทยได้ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อยกระดับชีวิตของพวกเขา หัวเว่ยจึงได้ทำงานร่วมมือกับพันธมิตรเหล่านี้อย่างใกล้ชิดเพื่อนำนวัตกรรมเทคโนโลยีชั้นนำระดับโลก ผลิตภัณฑ์คุณภาพสูง และโซลูชั่นไอซีทีครบวงจร เพื่อสร้างเมืองปลอดภัยที่ทุกคนสามารถใช้ชีวิตอยู่อย่างมีความสุขสงบ
เมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา หัวเว่ยได้ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยเหลือทีมนักฟุตบอลเยาวชนและโค้ช ซึ่งติดอยู่ในถ้ำหลวง-ขุนน้ำนางนอน จ. เชียงราย ซึ่งตั้งอยู่ในพื้นที่ภูเขาห่างไกล สัญญาณโทรศัพท์มือถือครอบคลุมจำกัด และมีความท้าทายอย่างยิ่งยวดในการติดต่อสื่อสาร หัวเว่ยจึงได้สนับสนุนระบบ eLTE ความเร็วสูง เพื่อใช้เป็นเครือข่ายการติดต่อสื่อสารชั่วคราว ที่มีทั้งความเสถียรและปลอดภัย เพื่อสนับสนุนการปฏิบัติภารกิจของทุกฝ่าย โซลูชั่นดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของโซลูชั่นเมืองปลอดภัยรุ่น C-C4ISR ของหัวเว่ยที่ใช้งานง่าย สามารถติดตั้งได้เร็ว เหมาะกับภารกิจกู้ภัยที่ระบบการติดต่อสื่อสารมีบทบาทสำคัญต่อความสำเร็จของการปฏิบัติภารกิจ
"เพื่อร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาประเทศไทย 4.0 เราพร้อมจะเป็นพันธมิตรที่ดีในการวางโครงสร้างพื้นฐานด้านไอซีที และเป็นผู้ผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนผ่านไปสู่อุตสาหกรรมแนวตั้ง ตลอดจนส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาบุคลากรด้านไอซีที" มร. เมิ่ง เฉียง หัวหน้ากลุ่มธุรกิจเอ็นเตอร์ไพรส์ของหัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) กล่าว "หัวเว่ยเห็นถึงความสำคัญด้านความปลอดภัยของทุกคนในเมืองต่าง ๆ ทั่วโลก เราจึงมุ่งมั่นพัฒนาโซลูชั่นและเทคโนโลยีใหม่ ๆ เพื่อยกระดับความปลอดภัยให้กับทุกชีวิตเสมือนเป็นอีกหนึ่งสาธารณูปโภคพื้นฐานที่ทำให้คุณภาพชีวิตดีขึ้น โดยเทคโนโลยีเหล่านี้จะช่วยส่งเสริมมาตรการด้านการรักษาความปลอดภัยได้อีกทางหนึ่งด้วย"

การใช้งานระบบความปลอดภัยสาธารณะทั่วโลก
โซลูชั่น Safe City Compact รุ่นใหม่ของหัวเว่ยพัฒนาขึ้นหลังจากโซลูชั่นเมืองปลอดภัย C-C4ISR สำหรับสร้างความปลอดภัยสาธารณะร่วมกันที่เปิดตัวไปเมื่อปี 2560 ประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก โซลูชั่นนี้ซึ่งสามารถใช้งานแอพพลิเคชั่นต่างๆ ได้ เช่น ศูนย์สั่งการแบบรวมศูนย์ วิดีโอคลาวด์และการสื่อสารแบบมัลติมีเดียในสถานการณ์คับขัน ได้รับการติดตั้งใช้งานเรียบร้อยแล้วใน 230 เมืองในกว่า 90 ประเทศทั่วทุกภูมิภาค รองรับผู้ใช้บริการเกือบ 1 พันล้านคน โดยมีเมืองต่างๆ ที่ติดตั้งใช้งานโซลูชั่นนี้ อาทิ
  • ในปากีสถาน รัฐบาลแห่งแคว้นปัญจาบได้ตั้งคณะเจ้าหน้าที่ด้านเมืองปลอดภัยประจำแคว้นปัญจาบ (Punjab Safe Cities Authority: PSCA) ขึ้นมาเมื่อปี 2558 โดยโครงการแรกของ PSCA คือ การร่วมกับหัวเว่ยวางระบบ Smart & Safe City ให้กับเมืองลาฮอร์ คณะ PSCA ยังได้จัดตั้งศูนย์ Safe City Integrated Command & Communication Centre (IC3) บนพื้นที่ 76,000 ตารางฟุต (7,060 ตร.ม.) โดยใช้เทคโนโลยีไอซีทีที่ล้ำสมัย อาทิ คลาวด์และบิ๊กดาต้า โดยศูนย์เมืองปลอดภัยของที่นี่มีสถาปัตยกรรมด้านเมืองปลอดภัยที่ครบวงจรและใหญ่ที่สุดในโลก
  • ในเยอรมนี หัวเว่ยร่วมกับ DVV สร้างระบบคลาวด์สำหรับภาครัฐ สำหรับนำไปใช้ในบริการสาธารณะด้านต่าง ๆ เช่น การศึกษา การดูแลสุขภาพ การคมนาคมขนส่ง และระบบประกันสังคม
  • ในปี 2560 หัวเว่ยได้ลงนามร่วมกับกระทรวงกิจการภายในของประเทศเซอร์เบียในสัญญาว่าด้วยความร่วมมือเชิงกลยุทธ์ด้านเมืองปลอดภัย โดยโครงการเฟสแรกเป็นการยกระดับศูนย์ควบคุมและศูนย์ข้อมูล (Command Center and Data Center) ในกรุงเบลเกรด และการใช้งานระบบบริหารจัดการเนื้อหาวิดีโอ นับตั้งแต่ดำเนินการมาเป็นเวลา 5 เดือน โครงการนี้ได้ช่วยให้กรมตำรวจป้องปรามการก่ออาชญากรรมร้ายแรงหลายคดี และยังช่วยเสริมสร้างความปลอดภัยในช่วงที่มีการจัดกิจกรรมการแข่งขันกีฬาใหญ่ ๆ ด้วย
  • ในประเทศมอริเชียส หัวเว่ยช่วยรัฐบาลมอริเชียสสร้างระบบออล-คลาวด์เซฟซิตี้ โครงการ "One Cloud, One Pool” จะช่วยให้ตำรวจท้องที่ลดเวลาตอบสนองต่อเหตุฉุกเฉินในเวลาไม่ถึง 15 นาที และเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการเหตุฉุกเฉินได้ราวร้อยละ 60


มร. เกา ฮง-เอ็ง หัวหน้านักวิทยาศาสตร์ด้านความปลอดภัยสาธารณะระดับโลกของหัวเว่ย กล่าวว่า "หัวเว่ยทำงานร่วมกับพันธมิตรชั้นนำระดับโลกทางด้านความปลอดภัยสาธารณะ เราผนวกเทคโนโลยีด้านไอซีทีใหม่ ๆ เช่น คลาวด์คอมพิวติ้ง, บิ๊กดาต้า, บรอดแบนด์ทรังค์, IoT และปัญญาประดิษฐ์ เพื่อพัฒนาโซลูชั่นอัจฉริยะในระบบภาพ ให้สามารถใช้งานร่วมกันได้และเปิดกว้าง ทำให้เมืองมีความปลอดภัยและน่าอยู่อาศัยมากยิ่งขึ้น"
งาน Huawei Global Safe City Summit 2018 จะมีผู้เข้าร่วมงานกว่า 500 คน ทั้งเจ้าหน้าที่ภาครัฐ ผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยสาธารณะ ผู้ให้บริการโซลูชั่นและนักวิเคราะห์อุตสาหกรรมจากทั่วโลก เพื่อร่วมกันหารือเกี่ยวกับวิธีการใช้แนวคิดเรื่องความปลอดภัยสาธารณะร่วมกันและโซลูชั่น ICT ขั้นสูงเพื่อสร้างเมืองที่ปลอดภัยและมีความชาญฉลาดทั่วโลก
สำหรับชื่อของ C-C4ISR มาจาก Collaborative-Command, Control, Communication, Cloud, Intelligence, Surveillance and Reconnaissance (การสั่งการร่วมกัน, การควบคุม, การสื่อสาร, คลาวด์, ความชาญฉลาด, การเฝ้าระวัง และการจดจำ)
แท็กที่เกี่ยวข้อง huawei safe city compact huawei global safe city summit 2018
Mobile Guru
เขียนโดย เช็คราคา.คอม Mobile Guru

พูดคุยกับกูรูได้ที่




เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)