x
icon-filter ค้นหาโทรศัพท์มือถือ
product filter
product filter
product filter
product filter

dtac เชิญสื่อร่วมรับฟัง Nera แนะนำให้ยกเลิกการใช้กฎ N-1 และราคาตั้งต้นการประมูลคลื่นความถี่ที่สมเหตุสมผล

icon 15 ธ.ค. 60 icon 742
dtac เชิญสื่อร่วมรับฟัง Nera แนะนำให้ยกเลิกการใช้กฎ N-1 และราคาตั้งต้นการประมูลคลื่นความถี่ที่สมเหตุสมผล
dtac เชิญสื่อร่วมรับฟัง Nera แนะนำยกเลิกการใช้กฎ N-1 และราคาตั้งต้นการประมูลคลื่นความถี่ที่สมเหตุสมผล

ดีแทค ได้เชิญสื่อมวลชนร่วมรับฟัง ผลการศึกษาและวิเคราะห์การประมูลคลื่นความถี่ กฎระเบียบการประมูล "ดึงหรือดัน" ไทยให้ก้าวสู่ 4.0 โดย ฮานส์ อีลเล (Hans-Martin Ihle) ที่ปรึกษาอาวุโสประจำสำนักงานเนร่า (NERA) ซึ่งเป็นบริษัทที่ปรึกษาชั้นนำของโลกที่เชี่ยวชาญและวิเคราะห์ พร้อมทั้งออกแบบการประมูลคลื่นความถี่ทั่วโลกทั้ง เอเชียแปซิฟิก ยุโรป อเมริกา และแอฟริกา เปิดเผยผลการศึกษาต่อมุมมองในการประมูลคลื่นความถี่ 1800MHz และ 900MHz ของประเทศไทยที่จะจัดขึ้นในปี 2561 โดยจัดทำรายงาน ในหัวข้อ "ความเสี่ยงจากการประมูลคลื่นความถี่ ทำให้ประเทศไทยประสบกับการใช้งานดาต้าที่ช้า" พร้อมทั้งพูดคุยให้รายละเอียดต่อประเด็นต่างๆ จากมุมมองผู้เชี่ยวชาญระดับโลก

คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) กำลังเตรียมการเปิดประมูลคลื่นความถี่ย่าน 900 MHz และ 1800 MHz ในปี 2561 ซึ่งเป็นคลื่นความถี่ที่ดีแทคใช้ในการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ 2G และ 4G ภายใต้สัญญาสัมปทานกับ กสท ซึ่งจะหมดสัมปทานในปี 2561 ซึ่งไม่มีการต่อสัมปทานและนำคลื่นความถี่มาประมูล ทั้งนี้ ถ้าดีแทคต้องชนะการประมูลถ้าต้องการที่จะนำคลื่นความถี่ดังกล่าวไม่ว่าจะทั้งหมดหรือบางส่วนมาใช้งานต่อ การออกแบบการประมูลในชั้นแรกของ กสทช. มีข้อเสนอซึ่งผู้เขียนคิดว่าอาจทำให้เกิดข้อโต้เถียงสองประการ เนื่องจากข้อเสนอดังกล่าวไม่สนับสนุนกระบวนการจัดสรรคลื่นความถี่ที่มีประสิทธิภาพ
  • กรณีที่มีผู้เข้าร่วมประมูลน้อยราย จะไม่นำคลื่นความถี่บางคลื่นเข้ามาประมูล (ที่เรียกว่ากฎ N-1)
  • กำหนดราคาตั้งต้นที่สูงเป็นพิเศษ โดยอาศัยราคาจากการประมูลในปี 2558

ข้อกำหนดในการประมูลนี้มีขึ้นเพื่อให้ได้เงินจากการประมูลสูงสุด แต่อย่างไรก็ดี การกำหนดเช่นนี้อาจทำให้เกิดผลที่ไม่พึงประสงค์ กล่าวคือ ได้เงินจากการประมูลน้อยลง มีคลื่นความถี่ที่ไม่สามารถประมูลได้ ตลาดที่ไม่มีประสิทธิภาพ และผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ต้องแบกรับภาระทางการเงิน ซึ่งลดแรงจูงใจในการลงทุนและแข่งขันกันในการให้บริการข้อมูลผ่านอุปกรณ์เคลื่อนที่ในยุคต่อไป
การบังคับใช้กฎเกณฑ์ดังกล่าวอาจทำให้ประเทศไทยต้องประสบกับช่องทางการการใช้งานดาต้าที่เชื่องช้า เป็นการจำกัดขอบเขตในการเติบโตของเศรษฐกิจในอนาคต และส่งผลกระทบต่อวิสัยทัศน์ของรัฐบาลในการก้าวสู่ยุคประเทศไทย 4.0 และทำให้ประชาชน ผู้ใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ และธุรกิจได้รับความผลเสียหาย ประเทศไทยยังไม่ได้มีการจัดสรรคลื่นความถี่ใหม่สำหรับ 4G และยังตามหลังเศรษฐกิจประเทศตะวันตกและอีกหลายประเทศในเอเชียในการจัดสรรคลื่นความถี่ใหม่เพื่อตอบสนองต่อความต้องการการใช้งานการใช้ดาต้าที่เพิ่มขึ้น
ผลที่ไม่ได้ตั้งใจของกฎ N-1 คือ อาจจะทำให้มีช่องว่างนี้เพิ่มมากขึ้น เนื่องจากจะเป็นผลให้คลื่นความถี่อย่างน้อย 10% ไม่ได้ถูกนำมาใช้งานในตลาด ราคาตั้งต้นการประมูลที่สูงอาจไม่ทำให้เกิดแรงจูงใจในการเข้าร่วมประมูล และนำไปสูงผลลัพธ์ที่เป็นผลเสียต่อผู้ใช้บริการชาวไทย เมื่อเร็ว ๆ นี้ผู้เขียนได้มีทำการศึกษาสำหรับ GSMA ในหัวข้อเกี่ยวกับการกำหนดราคาคลื่นความถี่ที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งเป็นการชี้ให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างค่าคลื่นความถี่ที่สูง คุณภาพโครงข่ายที่ต่ำลง และค่าบริการที่สูงขึ้น ความเคลื่อนไหวในตลาดของประเทศไทยสอดคล้องกับความสัมพันธ์เช่นว่านี้
  • ประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่มีค่าคลื่นความถี่สูงที่สุดในโลก
  • ผู้ใช้บริการชาวไทยได้จ่ายค่าใช้บริการดาต้าสำหรับโทรศัพท์เคลื่อนที่แพงกว่าประเทศเพื่อนบ้านในเอเชียหลายๆ ประเทศ
  • ข้อมูลจาก OpenSignal แสดงให้เห็นว่าความเร็วและคุณภาพของโครงข่าย 4G ในไทยล้าหลังกว่าประเทศในระดับเดียวกัน

จากการประมาณการอย่างระมัดระวังและมีเหตุผลแสดงให้เห็นว่า การลดราคาตั้งต้นในการประมูลที่จะมาถึงนี้สามารถนำไปสู่การลดราคาค่าบริการดาต้าสำหรับโทรศัพท์เคลื่อนที่ซึ่งคิดเป็นประโยชน์ที่ผู้บริโภคจะได้รับอย่างน้อย 3,643 บาทต่อประชากรหนึ่งคน ภายในระยะเวลา15 ปีของใบอนุญาต
รายงานฉบับนี้แนะนำให้ยกเลิกการใช้กฎ N-1 และตั้งราคาตั้งต้นการประมูลที่สมเหตุสมผล ซึ่งในที่สุดแล้วจะเป็นประโยชน์ต่อผู้บริโภคชาวไทยและเศรษฐกิจองค์รวม ในการประมูลในอนาคต กสทช. ควรพิจารณา แบ่งย่อยช่วงคลื่นความถี่มาประมูล ให้มากกว่าการประมูลจำนวนมากต่อใบอนุญาต โดยยังสามารถนำมารวมเป็นช่วงคลื่นที่ติดกันได้ วิธีการนี้ได้รับการนำมาใช้งานโดยหลายองค์กรกำกับดูแลทั่วโลก ซึ่งเป็นวิธีที่ทำให้ผู้ให้บริการมีความยืดหยุ่นสูงสุดในการกำหนดเป้าหมายจำนวนคลื่นความถี่ที่ตนเองต้องการและเพิ่มการแข่งขันในการประมูลของช่วงความถี่ที่เพิ่มขึ้น แม้ว่าจะมีผู้เข้าร่วมประมูลน้อยราย
สำหรับรายงานชุดนี้จะมีการนำเสนอต่อ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ต่อไปครับ ซึ่งยังไม่อาจจะยืนยันได้ว่าทาง กสทช. จะรับฟังข้อเสนอแนะนี้หรือเปล่า แต่ที่แน่ๆในวันจันทร์ที่จะถึงนี้ทาง dtac จะมีการเปิดเผยข้อมูล ความเคลื่อนไหวในการเข้าร่วมประมูลคลื่นความถี่ย่าน 900 MHz และ 1800 MHz ในปี 2561 ที่จะถึงนี้ น่าติดตามเป็นอย่างยิ่งจริงๆนะครับ แฟนๆรอลุ้นกันได้เลย
แท็กที่เกี่ยวข้อง dtac nera
Mobile Guru
เขียนโดย เช็คราคา.คอม Mobile Guru

พูดคุยกับกูรูได้ที่




เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)